โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สุมาเต๊กโชและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สุมาเต๊กโชและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

สุมาเต๊กโช vs. เตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

มาเต๊กโช (Sima Hui) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก นักปราชญ์เต๋าผู้ได้รับการนับถืออย่างมากของนักปราชญ์คนสำคัญ ๆ ในสามก๊ก เช่น จูกัดเหลียง, ชีซีและบังทอง เป็นเพื่อนสนิทกับบังเต็กกง ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของบังทอง เป็นผู้ให้ฉายา "ฮองซู" แก่บังทอง และ "ฮกหลง" แก่ขงเบ้ง เป็นผู้ที่สามารถอ่านผู้คนและสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ จนได้ฉายาว่า "ซินแสคันฉ่องวารี" และยังได้สมญานามจากยาขอบว่า "ผู้ชาญอาโปกสิณ" อาศัยในเขตเมืองซงหยง เป็นปราชญ์ที่ยึดติดกับธรรมชาติ ไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง. ตียวเหลียง หรือ จางเหลียง (Zhang Liang; 张亮; พินอิน: Zhāng liàng อ่านว่า จางเลี่ยง; ? - 189 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก โดยรับใช้หลิวปัง (ฮั่นเกาจู่) มาตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์ฉิน จนถึงสงครามฉู่-ฮั่น ระหว่างหลิวปังและเซี่ยงอวี่ (ฌ้อปาอ๋อง) จนเป็นที่มาของวรรณกรรมจีนอมตะเรื่องไซ่ฮั่น เมื่อหลิวปังได้ชัยชนะเหนือฌ้อป้าอ๋องแล้วและขึ้นครองราชย์เป็นฮั่นเกาจู่ ก็ทรงแต่งตั้งเตียวเหลียงเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ เชื่อกันว่า เตียวเหลียงได้รับคัมภีร์พิชัยสงครามที่ตกทอดมาจากเจียง ไท่กง หรือเจียง จื่อหยาง ที่ปรึกษาและเสนาธิการคนสำคัญอีกคนหนึ่งในยุคราชวงศ์โจวตอนต้น และในประวัติศาสตร์จีน จึงทำให้เตียวเหลียงวางแผนไม่เคยผิดพลาด ซือหม่า เชียน นักบันทึกประวัติศาสตร์ในยุคจีนโบราณได้บันทึกถึงเตียวเหลียงเอาไว้ว่า "เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าฮั่นโกโจเผชิญปัญหาหนักหนาถึงขนาดคอขาดบาดตาย เตียวเหลียงผู้นี้ก็มักจะเป็นคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากเรื่องเหล่านั้นเสมอ" นอกจากนี้แล้ว เตียวเหลียงยังได้รับการกล่าวขานอีกว่า เป็นบุรุษที่มีใบหน้าสวยราวกับอิสตรีคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ผู้คนมักจะเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นอิสตรี ในวรรณกรรมสามก๊ก นอกจากขวันต๋ง, งักเย และเจียง จื่อหยาง แล้ว ความสามารถของขงเบ้งที่ทั้งชีซี ผู้เป็นสหาย และสุมาเต็กโช ผู้เป็นอาจารย์มักจะกล่าวเปรียบเปรยนั้น เตียวเหลียงก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มักถูกหยิบยกไปเทียบเคียงกับขงเบ้ง โดยระบุว่า "หนึ่งในนั้นคือเกงสง (เจียง จื่อหยาง) ผู้วางฐานรากของราชวงศ์โจวอย่างแน่นหนาเป็นเวลาแปดร้อยปีและคนอื่น ๆ เตียวเหลียงที่ทำให้ราชวงศ์ฮั่นรุ่งโรจน์เป็นเวลาสี่ร้อยปี" เตียวเหลียงถึงแก่อสัญกรรรมเมื่อ 189 ปีก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สุมาเต๊กโชและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

สุมาเต๊กโชและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สามก๊กจูกัดเหลียงตันฮก

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

สามก๊กและสุมาเต๊กโช · สามก๊กและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

จูกัดเหลียงและสุมาเต๊กโช · จูกัดเหลียงและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

ตันฮก

ีซี (Xu Shu) หรือตันฮก (Shan Fu) ได้รับฉายาจากยาขอบว่าเป็น "ผู้เผ่นผงาดเหนือเมฆ" มีชื่อรองว่า เหวียนจื่อ เป็นชาวเมืองเองจิ๋ว มณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยร่ำเรียนวิชากระบี่ เติบใหญ่ขึ้นมาได้ศึกษาศิลปศาสตร์ ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนชำนาญ โดยเป็นศิษย์ของสุมาเต็กโชได้ร่วมสำนักเดียวกับขงเบ้ง และบังทอง เมื่อยามว่างมักจะถกเถียง หารือกับขงเบ้งเสมอ ๆ ต่อมาเมื่อเกิดกลียุค ชีซีได้ฆ่าขุนนางชั่วผู้หนึ่งตาย จึงหลบหนีมาและปลอมชื่อว่าตันฮก.

ตันฮกและสุมาเต๊กโช · ตันฮกและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สุมาเต๊กโชและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก)

สุมาเต๊กโช มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ เตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 8.11% = 3 / (22 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สุมาเต๊กโชและเตียวเหลียง (ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »