โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สีทอง (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สีทอง (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์)

สีทอง (มุทราศาสตร์) vs. สีแดง (มุทราศาสตร์)

ีทองทางซ้าย หรือ ลายประ ตราแผ่นดินของนอร์เวย์ สีทอง หรือ ออร์ (Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)” คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ. กูลสสีแดงทางซ้าย หรือ แถวเส้นดิ่งทางขวา สีแดง หรือ กูลส (Gules) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่หมายถึงลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีแดง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “กูลส” ก็จะเป็นแถวเส้นดิ่งหรือ บริเวณที่จารึกด้วยอักษรย่อ “gu.” ของคำว่า “Gules” คำว่า “Gules” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ว่า “goules” หรือ “gueules” ที่แปลว่า “คอหอย” ที่หมายถึงปากของสัตว์ ปากและคอหอยมีสีแดงฉะนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกสี นักประพันธ์ทางมุทราศาสตร์เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วว่าคำว่า “Gules” มาจากภาษาเปอร์เซีย “gol” หรือ “กุหลาบ” ที่เข้ามาในยุโรปทางสเปนมุสลิมหรืออาจจะนำกลับมาโดยนักรบครูเสดที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง แต่เบร้าท์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนข้อเสนอนี้ ในเครื่องอิสริยาภรณ์โปแลนด์ “กูลส” เป็นสีที่นิยมใช้เป็นพื้นตรามากที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราวครึ่งหนึ่งของตราอาร์มของขุนนางในโปแลนด์ใช้พื้นตราสีแดงโดยมี เครื่องหมาย (Charge) ที่เป็นสีขาว หนึ่งหรือสองเครื่องหมายบนพื้น รงคตราสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สีทอง (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์)

สีทอง (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์) มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พื้นตรา (มุทราศาสตร์)มุทราศาสตร์ผิวตรา (มุทราศาสตร์)นิยามของตรา

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)

ื้นตรา (Field) ในมุทราศาสตร์พื้นตราคือสีพื้นของตราอาร์ม ที่มักจะประกอบด้วยผิวตรา หนึ่งหรือสองสีที่อาจจะเป็น (สี หรือ โลหะ) หรือ ขนสัตว์ (Heraldic fur) พื้นตราอาจจะแบ่งเป็นช่องตรา (Division of the field) ที่อาจจะเป็นลักษณะลวดลาย (Variation of the field) ในบางกรณีที่ไม่บ่อยนักพื้นตราหรือช่องตราจะไม่มีรงคตรา แต่จะเป็นภูมิทัศน์ พื้นตราที่เป็นภูมิทัศน์ถือกันโดยนักมุทราศาสตร์ว่าไม่ถูกต้องตามหลักมุทราศาสตร์และทำให้ลดค่าลง เพราะเป็นขัดกับหลักมุทราศาสตร์ที่ว่าตราต้องเป็นลวดลายที่ง่าย เป็นรูปที่มีสีจัด และไม่อาจจะนำมาจากคำนิยามได้ ตัวอย่างดังกล่าวก็ได้แก่ตราอาร์มของเคานท์เซซาเร ฟานี ที่ตรงกับคำนิยามของตราที่ว่า "sky proper" หรือตราของอินเวอราเรย์ และสภาดิสตริคท์คอมมินิตี้ในสกอตแลนด์มีพื้นตราเป็น "คลื่นทะเล".

พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และสีทอง (มุทราศาสตร์) · พื้นตรา (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

มุทราศาสตร์และสีทอง (มุทราศาสตร์) · มุทราศาสตร์และสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)

ผิวตรา (Tincture) ในภาษามุทราศาสตร์ “ผิวตรา” เป็นองค์ประกอบของการให้คำนิยามตราอาร์มหรือธงที่หมายถึงสีที่ใช้หรือลักษณะของผิวของตรา ผิวตราแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มๆ ที่มีสีอ่อนเรียกว่า “โลหะ”, กลุ่มๆ ที่มีสีแก่เรียกว่า “สี”, กลุ่มๆ ที่มีสีต่างจากสีหลักเรียกว่า “สีเพี้ยน” (stains), กลุ่ม “ขนสัตว์” (furs), กลุ่ม “ธรรมชาติ” (proper หรือ natural) สีกลุ่มหลังเป็นสีที่พบตามธรรมชาติ กฎพื้นฐานสองสามข้อของมุทราศาสตร์คือผิวตราในกลุ่มเดียวกันจะไม่ใช้ด้วยกันเช่นสีทองและสีเงินจะไม่ใช้ด้วยกันเพราะทั้งสองสีเป็นสีในกลุ่ม “โลหะ” แต่ผิวตราจากต่างกลุ่มกันใช้ด้วยกันได้ เช่นผิวตราจากกลุ่ม “ขนสัตว์” ใช้กันได้กับผิวตราจากกลุ่ม “ธรรมชาติ” เป็นต้น กฎเหล่านี้บรรยายในบทความกฎของผิวตรา กลุ่ม “สีเพี้ยน” มาเริ่มใช้กันในยุคกลางตอนปลายแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนักเพราะไม่ตรงกับปรัชญาของการใช้สีของมุทราศาสตร์ที่เน้นการใช้ภาพที่เด่นและสีที่สด ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาก็เกิดความนิยมที่ค่อนข้างแปลกที่จับคู่ระหว่างสีตรากับดาวเคราะห์ อัญมณี ดอกไม้ สัญลักษณ์โหราศาสตร์ หรืออื่นๆ แต่ก็เลิกทำกันไปและถือกันว่าเป็นเรื่องนอกขอบเขตของมุทราศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มมีการใช้ “ภูมิทัศน์” และผิวตรากลุ่มสี “ธรรมชาติ” โดยเฉพาะในการประยุกต์ตรา โดยเฉพาะในมุทราศาสตร์เยอรมันมากกว่าในมุทราศาสตร์อังกฤษ แต่ความนิยมนี้ก็เช่นกันถือว่าทำให้คุณค่าของมุทราศาสตร์ลดลง.

ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีทอง (มุทราศาสตร์) · ผิวตรา (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

นิยามของตราและสีทอง (มุทราศาสตร์) · นิยามของตราและสีแดง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สีทอง (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์)

สีทอง (มุทราศาสตร์) มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ สีแดง (มุทราศาสตร์) มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 4 / (13 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สีทอง (มุทราศาสตร์)และสีแดง (มุทราศาสตร์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »