โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สิงโตทรานส์วาลและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สิงโตทรานส์วาลและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์

สิงโตทรานส์วาล vs. อุทยานแห่งชาติครูเกอร์

งโตทรานส์วาล หรือ สิงโตแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ (Transvaal lion, Southeast african lion) เป็นชนิดย่อยของสิงโตชนิดหนึ่งที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เป็นสิงโตที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เช่น อุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเขตสงวนส่วนบุคคลคาลาฮารี โดยที่ได้ชื่อมาจากจังหวัดทรานส์วาลในแอฟริกาใต้ โดยได้รับการจำแนกออกมาจากสิงโตแหลมกู๊ดโฮป (P. l. melanochaitus) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งไม่แตกต่างอะไรจากสิงโตที่พบในแอฟริกาใต้ ดังนั้นสิงโตแหลมกู๊ดโฮปอาจจะถือได้ว่าเป็นตัวแทนของสิงโตทรานส์วาล ตัวผู้มีขนแผงคอใหญ่และยาว มีความยาวลำตัว 2.6-3.20 เมตร รวมทั้งหาง ตัวเมียยาว 2.35-2.75 เมตร น้ำหนักของตัวผู้โดยทั่วไป 150-250 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 110-182 กิโลกรัม ความสูงที่หัวไหล่ 0.92-1.23 เมตร ล่าสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ม้าลาย, ควายป่า, แอนทิโลป เป็นอาหาร รวมถึงลูกยีราฟที่เกิดใหม่หรืออ่อนแอด้วย นอกจากนี้แล้ว สิงโตทรานส์วาลยังมีอีกประเภทหนึ่งที่หายาก คือ สิงโตขาว ที่มีลำตัวและแผงคอเป็นสีขาวเกือบทั้งหมด โดยที่ไม่ใช่สัตว์เผือก แต่เกิดจากการผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งหาได้ยากมากและมีปริมาณที่น้อยมากแล้วในธรรมชาติ โดยจะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์เท่านั้น สิงโตทรานส์วาลมีมากกว่า 2,000 ตัวที่ได้รับการลงทะเบียนและคุ้มครองในอุทยานแห่งชาติครูเกอร์The Kruger Nationalpark Map. right อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ (Kruger National Park) เดิมคือ เขตสงวนล่าสัตว์ซาบี (Sabi Game Reserve) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแอฟริกาใต้ ซึ้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ พอล ครูเกอร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐทรานส์เวล นับเป็นอุทยานแห่งใหญ่ที่แห่งหนึ่ง และเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติตามประกาศของยูเนสโก อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ก่อตั้งในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สิงโตทรานส์วาลและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์

สิงโตทรานส์วาลและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาวะผิวเผือกสิงโตขาวประเทศแอฟริกาใต้

ภาวะผิวเผือก

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที.

ภาวะผิวเผือกและสิงโตทรานส์วาล · ภาวะผิวเผือกและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตขาว

งโตขาวเพศผู้ ลูกสิงโตขาว สิงโตขาว (White lion) เป็นสิงโตประเภทหนึ่ง โดยที่ไม่ใช่ชนิดย่อย เป็นสิงโตที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสิงโตปกติหรือชนิดย่อยต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีขนสัตว์ขนสีน้ำตาลอ่อนกว่าสิงโตทั่วไป จนคล้ายเป็นสีขาว ซึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรม โดยที่มิใช่ภาวะผิวเผือก (Albino) หากแต่เป็นภาวะที่เรียกว่า "ภาวะด่าง" (Leucism) เช่นเดียวกับเสือโคร่งขาว นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า การที่สิงโตกลุ่มนี้มีสีขาว เกิดจากยีนที่ตกทอดมาจากยุคน้ำแข็ง ที่สิงโตยังมีการแพร่กระจายในทวีปเอเชียและยุโรปด้วย สิงโตที่มีขนสีขาวสามารถปรับตัวได้ดีในภาวะแวดล้อมที่มีแต่น้ำแข็ง ซึ่งในสิงโตทั่วไปก็มียีนสีขาวอันนี้ และถ้าสิงโตที่มียีนสีขาว 2 ตัวผสมพันธุ์กัน มีโอกาสที่จะเกิดเป็นลูกสิงโตขาว 1 ใน 4 สิงโตขาวเป็นสัตว์ที่ปรากฏถึงในนิทานปรัมปราของชนเผ่าพื้นเมืองของแอฟริกาใต้ ที่กล่าวถึง ราชินีนามบี ซึ่งเป็นหญิงชรา วันหนึ่งมีลูกไฟขนาดใหญ่ตกลงมาจากท้องฟ้า เมื่อกระทบถึงพื้นได้เกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่ จะมีเสียงเรียกชื่อของพระนาง เมื่อราชินีนามบีได้เดินเข้าไปหา พระนางได้เปลี่ยนการเป็นหญิงสาวที่งดงาม และสิงโตก็ได้ตกลูกออกมาเป็นสิงโตขาว ในปัจจุบันนี้ชาวพื้นเมืองของแอฟริกาใต้ก็ยังเชื่อว่า สิงโตขาวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณ สิงโตขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่จะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในประเทศแอฟริกาใต้แห่งเดียวเท่านั้น ปัจจุบันเหลือจำนวนประชากรราว 300 ตัวเท่านั้น ซึ่งในธรรมชาติ โอกาสที่สิงโตขาวจะอยู่รอดได้มีน้อยกว่าสิงโตธรรมดา เนื่องจากสีขนที่เห็นได้ชัดเจน ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะล่าอาหารได้เหมือนสิงโตธรรมดาที่แฝงตัวได้ดีกว่าในธรรมชาติ เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1970 เหลือจำนวนประชากรสิงโตขาวในธรรมชาติเพียง 3 ตัวเท่านั้น ปริมาณสิงโตขาวที่เพิ่มขึ้น เกิดจากการที่สิงโตธรรมดาผสมพันธุ์กันและตกลูกออกมาเป็นสีขาวจำนวน 3 ตัว และสิงโตขาวในปัจจุบันก็ล้วนแต่เกิดจากลูกสิงโตขาวทั้ง 3 ตัวนี้ ปัจจุบัน สิงโตขาว เป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์และปกป้องสายพันธุ์จากมนุษย์ มีการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อขยายพันธุ์และศึกษาในธรรมชาติรวมถึงสถานที่เลี้ยง และมีการส่งสิงโตขาวไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่น สวนสัตว์ลอนดอน ในประเทศอังกฤษ, สวนสัตว์ฟิลาเดียเฟีย ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสิงโตขาวในสถานที่เลี้ยงเหล่านี้ ได้ตกลูกออกมาหลายตัว สำหรับในประเทศไทย มีจัดแสดงที่สวนสัตว์ขอนแก่น.

สิงโตขาวและสิงโตทรานส์วาล · สิงโตขาวและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ประเทศแอฟริกาใต้และสิงโตทรานส์วาล · ประเทศแอฟริกาใต้และอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สิงโตทรานส์วาลและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์

สิงโตทรานส์วาล มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 13.64% = 3 / (18 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สิงโตทรานส์วาลและอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »