ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สำนักศิลปินอุตะกะวะและโยะชิโทะชิ
สำนักศิลปินอุตะกะวะและโยะชิโทะชิ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นภาพอุกิโยะอุตะงะวะ คุนิซะดะอุตะงะวะ คุนิโยะชิฮิโระชิเงะคะบุกิ
ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น
ทศกาลตุ๊กตา คุนิชิคะ โตะโยะฮะระ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (木版画, moku hanga, Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก.
ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและสำนักศิลปินอุตะกะวะ · ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นและโยะชิโทะชิ ·
ภาพอุกิโยะ
ทิวทัศน์ของภูเขาฟูจิภาพหนึ่งในชุด “สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด” (Fifty-three Stations of the Tōkaidō) โดยฮิโระชิเงะ ตีพิมพ์ ค.ศ. 1850 ภาพอุกิโยะ (浮世絵, Ukiyo-e) คือกลุ่ม (genre) ของภาพศิลปะของของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคเอะโดะ (Edo) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนชั้นกลางในยุคนั้น โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการขับร้อง สตรีในแหล่งเริงรมย์ ภูมิทัศน์ แต่มีบางส่วนที่อยู่ในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาด้วย โดยภาพศิลปะในกลุ่มนี้ มีทั้งภาพเขียนด้วยมือ (肉筆画) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเพราะแต่ละภาพมีเพียงชิ้นเดียว และ ภาพที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (木版画) ที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะเป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นี้ คำว่า “อุกิโยะ” (ukiyo) ความหมายแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ เขียนเป็นตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นว่า 憂世 หมายถึง โลกนี้มีแต่ความทุกข์ หลังจากนั้นรับความหมายจากภาษาจีนของคำว่า 浮生 ซึ่งหมายถึง ชีวิตนี้ไม่เที่ยง (แปรปรวน) เข้ามารวมกัน กลายเป็นตัวเขียนใหม่คือ 浮世 ซึ่งหมายถึง โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้คนในยุคหลังที่ใช้ชีวิตบันเทิงเริงรมย์ และหันหลังให้ความเคร่งครัดทางศาสนาในยุคก่อนหน้า มองว่าในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ควรปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งที่บันเทิงใจ (浮かれる ukareru) จึงนำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายในยุคแรก ภาพที่วาดออกมาตามแนวนี้ จึ่งเป็นภาพของสิ่งบันเทิงใจในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับละครคะบุกิ ซูโม่ เกอิชา หญิิงงามเมืองทั้งระดับทั่วๆ ไป และระดับสูงที่อยู่บริเวณ Yoshimura ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Oira (花魁) ไปจนถึงภาพที่แสดงการเสพกามที่เรียกว่า ชุงงะ (春画 shunga) ลักษณะดังกล่าวทำให้ “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกที่น่าบันเทิงใจ” เป็นกลุ่มภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเองต่างไปจากภาพเขียนประเภทอื่น นักประพันธ์ร่วมสมัยอะซะอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) ได้บรรยายถึง เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของความหมายตามยุคสมัยของคำว่า “อุกิโยะ” ในนิยายชื่อ Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของ อุกิโยะ") ที่เขียนในปี..
ภาพอุกิโยะและสำนักศิลปินอุตะกะวะ · ภาพอุกิโยะและโยะชิโทะชิ ·
อุตะงะวะ คุนิซะดะ
อุตะงะวะ คุนิซะดะ (ค.ศ. 1786 - ค.ศ. 1865) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.
สำนักศิลปินอุตะกะวะและอุตะงะวะ คุนิซะดะ · อุตะงะวะ คุนิซะดะและโยะชิโทะชิ ·
อุตะงะวะ คุนิโยะชิ
อุตะงะวะ คุนิโยะชิ (ราว ค.ศ. 1797 - 14 เมษายน ค.ศ. 1861) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะของสำนักศิลปินอุตะงะวะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.
สำนักศิลปินอุตะกะวะและอุตะงะวะ คุนิโยะชิ · อุตะงะวะ คุนิโยะชิและโยะชิโทะชิ ·
ฮิโระชิเงะ
อุตะงะวะ ฮิโระชิเงะ (ภาษาญี่ปุ่น: 歌川広重, ภาษาอังกฤษ: Hiroshige หรือ Utagawa Hiroshige หรือ Andō Hiroshige (安藤広重)) (ค.ศ. 1797 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858) เป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) สมัยที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” ซึ่งเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์ ตำนานจากประวัติศาสตร์ การละคร และจากชีวิตความสนุก ฮิโระชิเงะเกิดเมื่อปี..
สำนักศิลปินอุตะกะวะและฮิโระชิเงะ · ฮิโระชิเงะและโยะชิโทะชิ ·
คะบุกิ
การแต่งหน้าแบบคะบุกิ คาบูกิ เป็นศิลปการแสดงของญี่ปุ่น โดยมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ โดยมีเนื้อเรื่อง 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไร และ เรื่องราวชีวิตของชาวเมือง คาบูกิ เริ่มต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 17 โดยมีการเปิดการแสดงในเกียวโต โดยคณะละครที่ประกอบด้วยผู้ร่ายรำสตรีที่นำโดยผู้ดูแลศาลเจ้าอิซุโมะ แต่หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1629 ได้มีประกาศรัฐบาลห้ามสตรีแสดงด้วยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาศีลธรรมของประชาชน ดังนั้นคะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชายและเมื่อรัฐบาลห้ามมิให้ผู้หญิงแสดง คะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชาย เช่น ผู้ร้ายหน้าสีน้ำเงิน พระเอกหน้าสีขาว เวทีละครสร้างอย่างวิจิตรงดงาม เป็นต้น.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ สำนักศิลปินอุตะกะวะและโยะชิโทะชิ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง สำนักศิลปินอุตะกะวะและโยะชิโทะชิ
การเปรียบเทียบระหว่าง สำนักศิลปินอุตะกะวะและโยะชิโทะชิ
สำนักศิลปินอุตะกะวะ มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ โยะชิโทะชิ มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 19.35% = 6 / (10 + 21)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สำนักศิลปินอุตะกะวะและโยะชิโทะชิ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: