สารบัญ
22 ความสัมพันธ์: พลาสมาเซลล์พันธะไดซัลไฟด์มวลโมเลกุลรกระบบภูมิคุ้มกันทางเดินหายใจส่วนบนทางเดินอาหารนมน้ำลายน้ำอสุจิน้ำตาน้ำเลือดแบคทีเรียแอนติเจนโปรตีนไวรัสเมือกเม็ดเลือดขาวเยื่อเมือกเหงื่อเอนไซม์เซลล์บี
- วิทยาภูมิคุ้มกัน
- ไกลโคโปรตีน
พลาสมาเซลล์
ลาสมาเซลล์ (plasma cell, plasma B cell, plasmocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่สร้าง antibody ขนส่งทางน้ำเลือด (blood plasma) และ ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) โดยพลาสมาเซลล์นั้นถูกสร้างขึ้นที่ไขกระดูก (bone marrow) เมื่อออกจากไขกระดูกก็จะเป็น B cell ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะมาเป็นพลาสมาเซลล์ พบได้ที่ต่อมน้ำเหลือง.
ดู สารภูมิต้านทานและพลาสมาเซลล์
พันธะไดซัลไฟด์
ันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) เป็นพันธะโควาเลนต์ ได้จากการจับคู่ของหมู่ไทออล 2 หมู่ เกิดเป็นพันธะระหว่าง S-S คำนี้นิยมใช้ในทางชีวเคมี ในบางครั้งจะเรียก C-S-S-C ว่า พันธะเปอร์ซัลไฟด์ แบบเดียวกับพันธะเปอร์ออกไซด์ (R-O-O-R).
ดู สารภูมิต้านทานและพันธะไดซัลไฟด์
มวลโมเลกุล
มวลโมเลกุล (อังกฤษ: Molecular Mass) คือ มวลของสารนั้น ๆ 1 โมล โดยมวลโมเลกุลหาได้จากการเอามวลอะตอมของธาตุทั้งหมดในสูตรโมเลกุลนั้นมารวมกัน คำนี้ต่างจากน้ำหนักสูตร (Formula weight) ในกรณีที่สูตรของสารนั้นไม่ใช่สูตรโมเลกุล เช่น สารประกอบไอออนิก สารที่มีโครงสร้างผลึกร่างตาข่าย สารที่มีพันธะโลหะ หรือ พอลิเมอร์ ที่จะใช้สูตรอย่างง่ายแทนสูตรโมเลกุล และในกรณีที่ โมเลกุล อยู่ในรูป High polymer หรือมีการต่อพันธะเป็นพอลิเมอร์มาก จะมีการแสดงมวลโมเลกุลในรูปค่าเฉลี่ย เนื่องจากแต่ละโมเลกุลมี น้ำหนักไม่เท่ากัน หมวดหมู่:เคมี.
ดู สารภูมิต้านทานและมวลโมเลกุล
รก
ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.
ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.
ดู สารภูมิต้านทานและระบบภูมิคุ้มกัน
ทางเดินหายใจส่วนบน
ทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory tract, upper airway) ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเหนือกล่องเสียง (larynx) ขึ้นไป เช่น จมูก, คอหอย (pharynx) เป็นต้น โดยทางเดินหายใจส่วนบนนั้นจะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศจากภายนอกเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างต่อไป.
ดู สารภูมิต้านทานและทางเดินหายใจส่วนบน
ทางเดินอาหาร
PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).
ดู สารภูมิต้านทานและทางเดินอาหาร
นม
นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.
น้ำลาย
แพทย์กำลังเก็บตัวอย่างน้ำลายของคนไข้ น้ำลาย คือสสารที่คล้ายน้ำและมักจะเป็นฟอง ถูกผลิตขึ้นในปากของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ น้ำลายถูกผลิตขึ้นจากต่อมน้ำลาย น้ำลายของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ 98% ส่วนที่เหลือเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมือก สารยับยั้งแบคทีเรีย และเอนไซม์ชนิดต่างๆ เอนไซม์ในน้ำลายสามารถย่อยแป้งที่อยู่ในอาหารในระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการย่อยอาหาร น้ำลายช่วยชะล้างอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันและปกป้องไม่ให้เกิดการเน่าเสียจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ น้ำลายยังช่วยหล่อลื่นและปกป้องฟัน ลิ้น และเนื้อเยื่ออ่อนบางภายในช่องปาก สัตว์หลายชนิดมีพัฒนาการการใช้น้ำลายเฉพาะทางมากไปกว่าการย่อยอาหาร นกนางแอ่นใช้น้ำลายที่เหนียวคล้ายยางในการสร้างรัง ซึ่งรังนกนางแอ่นนี้ใช้ทำเครื่องดื่มรังนก Marcone, M.
น้ำอสุจิ
น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.
น้ำตา
กายวิภาคของอวัยวะอันเกี่ยวข้องกับน้ำตาBreak a) ต่อมน้ำตาBreak b) จุดน้ำตาชั้นบนBreak c) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นบนBreak d) ถุงน้ำตาBreak e) จุดน้ำตาชั้นล่างBreak f) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นล่างBreak g) คลองท่อน้ำตา น้ำตา เกิดจากการหลั่งน้ำตา (Lacrimation หรือ lachrymation) ที่มีหน้าที่ทำความสะอาดและหล่อลื่นดวงตาเพื่อตอบสนองต่ออาการระคายเคืองตา น้ำตาที่เกิดจากการร้องไห้มีผลมาจากความรู้สึกรุนแรงภายใน เช่น ความโศกเศร้า ความปิติยินดี อารมณ์ ความกลัวเกรง หรือความยินดี การหัวเราะและการหาวก็สามารถทำให้เกิดน้ำตาได้.
น้ำเลือด
น้ำเลือด หรือ พลาสมา (plasma) คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว โดยปกติจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ในเลือด พลาสมาได้จากการนำเลือด (blood)ไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสมาสามารถแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดแดง ไปอยู่ชั้นบนสุดได้ ส่วนซีรั่มก็คือพลาสมาที่ปราศจากไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นของเหลวที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือ.
แบคทีเรีย
แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.
แอนติเจน
255px ในวิทยาภูมิคุ้มกัน แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ) ผู้เสนอให้ใช้คำว่าแอนติเจนคือ ลาสโล เดเทอร์ (László Detre) ซึ่งใช้ครั้งแรกในบทความวิชาการที่เขียนร่วมกับอีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) ในปี..
โปรตีน
3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..
ไวรัส
วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ.
เมือก
มูกหรือเมือก (mucus) ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสิ่งคัดหลั่งลื่นที่เยื่อเมือกสร้างขึ้นปกคลุม น้ำเมือกตรงแบบผลิตจากเซลล์ที่พบในต่อมมูก เซลล์มูกหลั่งผลิตภัณฑ์ที่มีไกลโคโปรตีนและน้ำสูง น้ำเมือกยังอาจเกิดจากต่อมผสม (mixed gland) ซึ่งมีทั้งเซลล์หลั่งน้ำใสและหลั่งเมือก เมือกเป็นคอลลอยด์หนืดซึ่งมีเอนไซม์ระงับเชื้อ (เช่น ไลโซไซม์) อิมมูโนโกลบูลิน เกลืออนินทรีย์ โปรตีนอย่างแลกโตเฟอร์ริน และไกลโคโปรตีนซึ่งรู้จักกันในชื่อ มิวซิน ซึ่งผลิตโดยเซลล์กลอเบล็ต (goblet cell) ในเยื่อเมือกและต่อมชั้นใต้เยื่อเมือก เมือกนี้ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (บุท่อ) ในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ปัสสาวะและเพศ การเห็นและการได้ยินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และเหงือกในปลา การทำหน้าที่หลักของเมือกนี้ คือ ปกป้องต่อสิ่งก่อโรคอย่างเห็ดรา แบคทีเรียและไวรัส ในร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยผลิตเมือกราวหนึ่งลิตรต่อวัน.
เม็ดเลือดขาว
A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.
ดู สารภูมิต้านทานและเม็ดเลือดขาว
เยื่อเมือก
ื่อเมือก (mucous membranes, mucosa) เป็นชั้นที่บุผิวที่มักเจริญมาจากเอนโดเดิร์ม (endoderm) ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบุผิว มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูดซึมและหลั่งสาร เยื่อเมือกจะดาดอยู่ที่หลายช่องว่างของอวัยวะซึ่งติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกและอวัยวะภายใน เยื่อเมือกในหลายที่ที่ติดต่อมาจากผิวหนัง เช่นที่รูจมูก (nostril), ริมฝีปาก, หู บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก สารข้นเหนียวที่หลั่งออกมาจากเยื่อเมือกและต่อมเรียกว่า เมือก หรือมูก (mucus) ช่องว่างภายในร่างกายที่พบเยื่อเมือกนี้รวมถึงส่วนใหญ่ของระบบทางเดินหายใจ ลึงค์ (ส่วนหัวขององคชาต) และส่วนหัวของคลิตอริส และภายในของหนังหุ้มปลายองคชาต (prepuce หรือ foreskin) ต่างเป็นเยื่อเมือก ไม่ใช่ผิวหนัง.
ดู สารภูมิต้านทานและเยื่อเมือก
เหงื่อ
หยดเหงื่อบนใบหน้า เหงื่อ เป็นของเสียชนิดหนึ่งที่ร่างกายขับออกมาในรูปของเหลว และจะขับออกมาทางผิวหนังหรือตามซอกต่างๆของร่างกาย มักมีรสเค็มเพราะมีเกลือเป็นส่วนประกอบ การออกกำลังกายหรือเวลาอากาศร้อนก็มีเหงื่อได้เช่นกัน เหงื่อประกอบด้วย น้ำ 99% ส่วนอีก 1% ได้แก่ โซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล ไขมัน กรดอะมิโนบางชนิด โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก.
เอนไซม์
TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.
เซลล์บี
ี เซลล์ มีหน้าที่สังเคราะห์แอนติบอดี ที่ถูกกระตุ้นจากแอนติเจน บีเซลล์ (B lymphocyte, B cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารแปลกปลอมหรือแอนติเจนจะพัฒนาเป็นพลาสมาเซลล์ที่มีหน้าที่หลั่งแอนติบอดีมาจับกับแอนติเจน บีเซลล์มีแหล่งกำเนิดในร่างกายจากสเต็มเซลล์ ที่ชื่อว่า "Haematopoietic Stem cell" ที่ไขกระดูก พบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณก้นกบของไก่ ที่ชื่อว่า Bursa of Fabricius จึงใช้ชื่อว่า "บีเซลล์" (บางแห่งอ้างว่า B ย่อมาจาก Bone Marrow หรือไขกระดูกซึ่งเป็นที่กำเนิดของบีเซลล์ แต่นี่เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น) ในขณะที่ ลิมโฟไซต์อีกชนิด คือ ทีเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณไทมัส จึงใช้ชื่อว่า "ทีเซลล์" บีเซลล์เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive Immune System).
ดูเพิ่มเติม
วิทยาภูมิคุ้มกัน
- การกดภูมิคุ้มกัน
- การดื้อยา
- การติดเชื้อฉวยโอกาส
- การอักเสบ
- พลาสมาเซลล์
- ภาวะภูมิต้านตนเอง
- ภูมิแพ้
- วิทยาภูมิคุ้มกัน
- สารภูมิต้านทาน
- สารภูมิต้านทานโมโนโคลน
- อะพอพโทซิส
- อิมมูโนโกลบุลินต่อ Rho(D)
- เซลล์บี
- เม็ดเลือดขาว
ไกลโคโปรตีน
- ระบบหมู่โลหิตเอบีโอ
- สารภูมิต้านทาน
- ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์
- ไกลโคโปรตีน
หรือที่รู้จักกันในชื่อ AntibodiesAntibodyIgAImmunoglobulinอิมมิวโนโกลบูลินอิมมูโนโกลบูลินอิมมูโนโกลบูลินเออิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA)แอนติบอดีแอนติบอดี้แอนตี้บอดี้