เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม)และเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม)และเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน

สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม) vs. เพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน

รณรัฐจีนเป็นรัฐในเอเชียตะวันออก ปัจจุบันมักเรียก ประเทศไต้หวัน สาธารณรัฐจีนยังอาจหมายถึง. กองทหารเกียรติยศ) เพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน (แปลตามตัวว่า "เพลงธงชาติ" ในภาษาอังกฤษรู้จักในชื่อ "National Banner Song") เป็นเพลงสำหรับใช้ในพิธีเชิญธงชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ขึ้นสู่ยอดเสาและลงจากยอดเสาโดยเฉพาะ แต่เพลงนี้ไม่ใช่เพลงชาติของสาธารณรัฐจีนที่แท้จริง ประพันธ์คำร้องโดย ไต้ฉวนเซี่ยน (จีนตัวเต็ม: 戴傳賢; พินอิน: Dài Chúanxían) ผู้มีส่วนรวมในการเขียนบทร้องของเพลงชาติสาธารณรัฐจีน ทำนองโดย หวงจื้อ (จีนตัวเต็ม: 黃自; พินอิน: Huáng Zì) ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติเช่นกีฬาโอลิมปิก โดยที่สาธารณรัฐจีนต้องใช้ชื่อประเทศว่า "จีนไทเป" เพลงนี้ใช้เป็นเพลงสำหรับสาธารณรัฐจีนแทนที่เพลงชาต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม)และเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน

สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม)และเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ประเทศไต้หวันและสาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม) · ประเทศไต้หวันและเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม)และเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน

สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม) มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ เพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.76% = 1 / (7 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สาธารณรัฐจีน (แก้ความกำกวม)และเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: