โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สัตว์กินเนื้อ vs. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท. ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยูเธอเรียวอลรัสวงศ์แมวน้ำสกังก์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังหมาหมาป่าหมีนากแร็กคูนไฟลัมไฮยีน่าเพียงพอน

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ยูเธอเรียและสัตว์กินเนื้อ · ยูเธอเรียและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

วอลรัส

วอลรัส (walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในวงศ์ Odobenidae และสกุล Odobenus อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่ตัวใหญ่กว่ามากและมีเขี้ยวยาว วอลรัสเพศผู้โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม และมีอายุยืนถึง 20-30 ปี วอลรัสมีความสำคัญต่อชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตอาร์กติก การล่าวอลรัสในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ส่งผลให้จำนวนวอลรัสลดลง.

วอลรัสและสัตว์กินเนื้อ · วอลรัสและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แมวน้ำ

วงศ์แมวน้ำแท้ (อังกฤษ: true seal, earless seal) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ วงศ์ Phocidae (ไม่มีใบหู) และวงศ์ Otariidae (มีใบหู) และ Odobenidae (วอลรัส).

วงศ์แมวน้ำและสัตว์กินเนื้อ · วงศ์แมวน้ำและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สกังก์

กังก์ (Skunk) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อ ที่อยู่ในวงศ์ Mephitidae สกังก์ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กจำนวนมาก เช่น วีเซล, มาร์เทิน, หมาหริ่ง, หมูหริ่ง, แบดเจอร์ ซึ่งสกังก์เคยถูกเป็นวงศ์ย่อยใช้ชื่อว่า Mephitinae แต่ปัจจุบันได้มีการศึกษาทางพันธุศาสตร์พบว่าสกังก์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงศ์เพียงพอน จึงแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก.

สกังก์และสัตว์กินเนื้อ · สกังก์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และสัตว์กินเนื้อ · สัตว์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์กินเนื้อและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

สัตว์กินเนื้อและหมา · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่า

หมาป่า หรือ หมาป่าสีแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพัน.

สัตว์กินเนื้อและหมาป่า · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

หมี

หมี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร.

สัตว์กินเนื้อและหมี · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและหมี · ดูเพิ่มเติม »

นาก

นาก (ไทยถิ่นเหนือ: บ้วน) เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ใหญ่ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับวีเซลหรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) เป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้างแบน หูมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้ขน นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายน้ำร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับปลาและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบางชนิดอาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น บึง, ทะเลสาบ, ลำธาร, ป่าชายเลน แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ท้องร่องในสวนผลไม้, นาข้าว หรือนากุ้ง เป็นต้น พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ บางชนิดพบในทะเล คือ นากทะเล (Enhydra lutris) ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย นากมีความสำคัญต่อมนุษย์ คือ ในอดีตมีการล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปมีการล่าอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ ซึ่งเสื้อขนสัตว์ 1 ตัว ต้องใช้ขนของนากมากถึง 40 ตัว จนทำให้ใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งในปี ค.ศ. 1975 ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้นากได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการลักลอบกันอยู.

นากและสัตว์กินเนื้อ · นากและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

แร็กคูน

แร็กคูน (raccoon, common raccoon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyon lotor อยู่ในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) มีความยาวลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวงมีแถบสีดำคาดเป็นปล้อง ๆ ยาวราว 10 นิ้ว ขนตามลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดจากตาไปเป็นแถบตลอดแก้ม แลดูคล้ายเหมือนโจรสวมหน้ากาก เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลางในหลายพื้นที่ ทั้งในป่า หรือแม้แต่ชุมชนของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเนื้อสัตว์และพืช อีกทั้งยังชอบที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการจับสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร เช่น กบ, ปลา, กุ้ง และปู หรือเต่าขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งนกหรือแมลงปีกแข็งขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ จะใช้วิธีการจับในน้ำตื้น ๆ ที่ขาหยั่งถึงแทน ในช่วงฤดูแล้งที่อาหารขนาดแคลนก็จะกินลูกไม้, ผลไม้ และดอกข้าวโพด เป็นอาหาร หรืออาจจะบุกเข้าไปในบ้านเรือนของมนุษย์ ขุดคุ้ยหาขยะหรือเศษอาหาร หรือแม้กระทั่งเปิดตู้เย็นหากิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนมือสำหรับหยิบจับอาหาร ซึ่งสามารถกระทำได้ถึงขนาดคลายปมเชือก และยังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมพิเศษ คือ ก่อนจะกินอาหาร มักจะนำไปล้างน้ำเสียก่อน จนมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์รักสะอาด แต่ความจริงแล้ว เป็นพฤติกรรมที่จะนวดอาหารให้นิ่มซะก่อน ก่อนที่จะกิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้เก่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ในเวลากลางวันจะนอนขดอยู่ตามพงไม้ หรือซอกหิน หรือนอนผึ่งแดดอยู่ในรัง ในตอนกลางคืนจะออกหากิน โดยใช้เส้นทางเดิม และมักจะใช้เส้นทางที่เป็นพื้นแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดรอยเท้า ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล แร็กคูน เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก จึงมีผู้นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง อีกทั้งขนและหนังมีความหนานุ่มและสีสวย จึงมีการล่าเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ด้วย ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยแร็กคูนถูกนำเข้าไปในเยอรมนีครั้งแรกเมื่อปี..

สัตว์กินเนื้อและแร็กคูน · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

สัตว์กินเนื้อและไฟลัม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไฮยีน่า

ีนา (hyena; มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า ὕαινα ออกเสียงว่า /ฮือไอนา/ หรือ /ฮือแอนา/) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Hyaenidae ไฮยีนา มีลักษณะและรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสุนัขหรือหมาป่า ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์ Canidae แต่ไฮยีนาก็ไม่ใช่สุนัข หากแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของตนเองต่างหาก โดยอยู่ในอันดับย่อย Feliformia ซึ่งใกล้เคียงกับแมวและเสือ (Felidae) มากกว.

สัตว์กินเนื้อและไฮยีน่า · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและไฮยีน่า · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M. sibirica), เพียงพอนเหลือง (M. nudipes) และเพียงพอนเส้นหลังขาว (M. strigidorsa).

สัตว์กินเนื้อและเพียงพอน · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สัตว์กินเนื้อ มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มี 175 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 6.57% = 14 / (38 + 175)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัตว์กินเนื้อและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »