โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา

สัตว์ขาปล้อง vs. เชลิเซอราตา

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน. ฟลัมย่อยเชลิเซอราตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chelicerata) หรือ เชลิเซอเรต (Chelicerate) เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธพอดา (Arthropoda) หรือ อาร์โธพอด ถือกำเนิดมาแล้วกว่า 600 ล้านปี ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในไฟลัมย่อยนี้คือ ไม่มีกราม และไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลทอแรกซ์ และส่วนท้อง เซฟาโลทอแรกซ์เป็นส่วนที่รวมส่วนหัวและส่วนอกเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเปลือกแข็งชิ้นเดียวคลุมอยู่เรียก คาราเพช ระยางค์ทั้ง 6 คู่ ประกอบด้วยระยางคู่แรกเป็นระยางค์หนีบ ระยางค์คู่ที่ 2 คือ เพดิพาลพ์ ช่วยในการฉีกอาหาร ระยางค์อีก 4 คู่ เป็นขาเกิน ส่วนท้องไม่มีระยางค์ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา

สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การสูญพันธุ์การตั้งชื่อทวินามสัตว์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแมงแมงมุมแมงมุมทะเลแมงดาแมงป่องไฟลัมเมอโรสโทมาทา

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

การสูญพันธุ์และสัตว์ขาปล้อง · การสูญพันธุ์และเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและสัตว์ขาปล้อง · การตั้งชื่อทวินามและเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และสัตว์ขาปล้อง · สัตว์และเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

Invertebrata สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) หมายความรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังสำหรับยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกันของร่างกาย จัดเป็นสัตว์ประเภทที่ไม่มีกระดูก และไม่มีกระดูกอ่อนอยู่ภายในร่างกาย มีความแตกต่างจากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ทั้งหมดถูกจัดอยู่ในไฟลัมเดียวในอาณาจักรสัตว์ แต่สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีจำนวนมากมายหลากหลายไฟลัม และมีจำนวนมากกว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลกบพิธ - นันทพร จารุพันธุ์, สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เล่ม 1, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545 หน้า 1 สัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนมากว่าสัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น.

สัตว์ขาปล้องและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง · สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและเชลิเซอราตา · ดูเพิ่มเติม »

แมง

แมง (arachnid) เป็นชื่อเรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มของสัตว์ขาปล้อง ชื่อในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากสตรีนามว่าอะแรกนีในเทพปกรณัมกรีก ร่างกายของแมงเมื่อโตเต็มที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ หัวกับอกรวมกันเป็นส่วนหนึ่งและท้องอีกส่วนหนึ่ง การแยกแยะระหว่างแมงกับแมลง คือ แมงมี 8 หรือ 10 ขา ส่วนแมลงมี 6 ขา นอกจากนี้แมงยังไม่มีหนวดและปีกอีกด้วยซึ่งต่างจากแมลงที่มีหนวดและส่วนใหญ่มีปีก แมงมีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 0.08 มิลลิเมตร ถึง 21 เซนติเมตร ตัวอย่างของสัตว์ประเภทแมง ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง แมงดาทะเล เห็บ และไร เป็นต้น.

สัตว์ขาปล้องและแมง · เชลิเซอราตาและแมง · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

สัตว์ขาปล้องและแมงมุม · เชลิเซอราตาและแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมทะเล

แมงมุมทะเล (Sea spiders) หรือ พีคโนโกนิดา เป็นสัตว์ทะเลไม่มีแกนสันหลังที่ในไฟลัมอาร์โธพอด จัดอยู่ในชั้น Pycnogonida และอันดับ Pantopoda แมงมุมทะเล เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับแมงมุม ที่เป็นอาร์โธพอดจำพวกแมงที่อยู่บนพื้นผิวโลก แต่ทั้งสองมิได้เกี่ยวเนื่องอะไรกันเลยนอกจากจะอยู่ในไฟลัมเดียวกัน แมงมุมทะเลมีลักษณะเด่น คือ ส่วนขาที่ยาวที่อาจยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร เป็นสัตว์นักล่าที่โดยดูดกินเนื้อเยื่อสัตว์อื่นเป็นอาหาร ที่อาศัยที่พื้นทะเล พบได้ในทะเลต่าง ๆ เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลแคริบเบียน รวมถึงมหาสมุทรอาร์กติก แต่พบมากที่มหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยที่มหาสมุทรแอนตาร์กติกนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในที่อื่น แมงมุมทะเลเป็นสัตว์ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำและเบามาก โดยระบบการไหลเวียนของเลือดจะอยู่ช่วงล่างของลำตัว ขณะที่ลำไส้ที่เป็นท่อลงไปและช่วงขาที่มีความแข็งแรง ลักษณะการเดินของแมงมุมทะเล เป็นไปในลักษณะขึ้น ๆ ลง ๆ เรียกว่า เพอริสทอลซิส (Peristalsis) คือ กระบวนการที่กล้ามเนื้อบีบรัดและคลายตัวอย่างมีจังหวะ เป็นกระบวนการเช่นเดียวกับการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารไปจนถึงลำไส้ของมนุษย์ หากแต่กระบวนนี้ในแมงมุมทะเลอยู่ไกลกว่าจะเป็นที่ต้องการสำหรับการย่อยอาหาร เพราะต้องได้รับออกซิเจนเพียงพอในร่างกายด้ว.

สัตว์ขาปล้องและแมงมุมทะเล · เชลิเซอราตาและแมงมุมทะเล · ดูเพิ่มเติม »

แมงดา

การผสมพันธุ์ของแมงดา แมงดา หรือที่บางครั้งเรียกว่า แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae.

สัตว์ขาปล้องและแมงดา · เชลิเซอราตาและแมงดา · ดูเพิ่มเติม »

แมงป่อง

แมงป่อง (ภาษาไทยถิ่นอีสาน: แมงงอด; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงเวา) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง เป็นสัตว์มีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมงป่องที่มีอายุถึง 440 ล้านปี ตั้งแต่ยุคซิลลูเรียน เช่น Archaeobuthus estephani หรือ Protoischnurus axelrodorum http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name.

สัตว์ขาปล้องและแมงป่อง · เชลิเซอราตาและแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

สัตว์ขาปล้องและไฟลัม · เชลิเซอราตาและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

เมอโรสโทมาทา

มอโรสโทมาทา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Merostomata) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรโพดา ชั้นย่อยเชลิเซอราตา เป็นสัตว์น้ำที่แบ่งออกได้เป็น 2 อันดับ ได้แก่ Eurypterida หรือ แมงป่องทะเล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กับ Xiphosura หรือ แมงดาทะเล ที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยเมอโรสโมมาทาได้พัฒนาแยกออกมาจากอาร์โธรโพดาเมื่อกว่า 480 ล้านปีมาแล้ว แมงดาทะเล ในปัจจุบันเหลือเพียง 5 ชนิด จัดว่าเป็นเซริเชอราตาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 60 เซนติเมตร ที่พบเป็นฟอสซิลยาวถึง 2 เมตร ด้านหลังของคาราเพชมีตาประกอบ 1 คู่ ด้านล่างของเซฟาโรทอแรกซ์เป็นที่ตั้งของระยางค์ทั้ง 6 คู่ โดยระยางค์ขา 3 คู่ มีลักษณะเป็นก้ามหนีบ ยกเว้นขาคู่สุดท้ายใช้ในการกวาดโคลน ทราย ปล้องส่วนท้องจะรวมกัน ด้านท้ายสุดจะยื่นยาวออกเป็นหาง ด้านล่างของส่วนท้องเป็นที่ตั้งของเหงือก 5 คู่ และมีแผ่นปิดเหงือก แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นอันตราย จะใช้ระยางค์ขาคู่สุดท้ายดันขุดดินไปด้านหลังเพื่อฝังตัวลงในโคลนหรือทราย การดำรงชีวิตเป็นทั้งกินพืชและกินซาก รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม.

สัตว์ขาปล้องและเมอโรสโทมาทา · เชลิเซอราตาและเมอโรสโทมาทา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา

สัตว์ขาปล้อง มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ เชลิเซอราตา มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 19.30% = 11 / (30 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สัตว์ขาปล้องและเชลิเซอราตา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »