โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สังคมราษฎรนิยมและเขมรแดง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สังคมราษฎรนิยมและเขมรแดง

สังคมราษฎรนิยม vs. เขมรแดง

ระนโรดม สีหนุ ผู้นำพรรคสังคมระหว่างพ.ศ. 2498– 2513 สังคมราษฎรนิยม (សង្គមរាស្ត្រនិយម สงฺคมราสฺตฺรนิยม; Sangkum Reastr Niyum; People's Socialist Community) เป็นพรรคการเมืองในกัมพูชา มีชื่อเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า สังคม ก่อตั้งเมื่อ.. ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) เขมรแดง (เขมร: ខ្មែរក្រហម; แขฺมรกฺรหม; อ่านว่า คแมร์กรอฮอม /ฝรั่งเศสและอังกฤษ: Khmer Rouge) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “กองทัพแห่งชาติกัมพูชาประชาธิปไตย” (Armée nationale du Kampuchéa démocratique) คือ กองกำลังคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่เคยปกครองราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 เขมรแดงถือเป็นตัวแทนความสำเร็จเชิงอำนาจของพรรคการเมืองลัทธิคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ที่ต่อมาได้พัฒนาไปเป็น “พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา” (Communist Party of Kampuchea; Parti communiste du Kampuchéa – PCK) และ “พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย” (Parti du Kampuchéa démocratique) รูปแบบการปกครองของเขมรแดงมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง "สังคมใหม่" โดยใช้รากฐานทางอุดมการณ์ที่เรียกว่า "อุดมการณ์ปฏิวัติแบบเบ็ดเสร็จ" (idéologie de révolution totale) ที่มีการรักษาเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งแรกที่เขมรแดงกระทำหลังจากได้รับอำนาจ คือ การกวาดต้อนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดจากกรุงพนมเปญและเมืองสำคัญอื่น ๆ มาบังคับให้ทำการเกษตรและใช้แรงงานร่วมกันในพื้นที่ชนบท เพื่อจำแนกประชาชนที่ถือว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" ไม่ว่าจะเป็น ทหาร ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ ผู้มีการศึกษา หรือผู้มีวิชาชีพเฉพาะในด้านต่าง ๆ ออกมาเพื่อขจัดทิ้ง การกระทำดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องเสียชีวิตจากการถูกสังหาร ถูกบังคับใช้แรงงาน และความอดอยาก เป็นจำนวนประมาณ 850,000 ถึง 3 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนของประชาชนที่เสียชีวิตต่อจำนวนประชาชนกัมพูชาทั้งหมดในขณะนั้น (ประมาณ 7.5 ล้านคน ใน พ.ศ. 2518) ถือได้ว่าระบอบการปกครองของเขมรแดงเป็นหนึ่งในระบอบที่มีความรุนแรงที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขมรแดงปกครองกัมพูชาเป็นระยะเวลา 4 ปี ใน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สังคมราษฎรนิยมและเขมรแดง

สังคมราษฎรนิยมและเขมรแดง มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุพล พตลอน นอลสีสุวัตถิ์ สิริมตะฮู นิมประเทศกัมพูชาประเทศไทยเวียดมินห์เขียว สัมพัน

พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา

ธงแดงรูปค้อนเคียวของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (ต่อมาคือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตย) พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (Communist Party of Kampuchea; គណបក្សកុំមុយនីសកម្ពុជា; CPK) หรือพรรคคอมมิวนิสต์เขมร (Khmer Communist Party), เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในกัมพูชา ซึ่งต่อมา กลุ่มที่ได้ครองอำนาจรัฐใน..

พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาและสังคมราษฎรนิยม · พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

ระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (នរោត្ដម សីហនុ; นโรตฺฎม สีหนุ ออกเสียง โนโรด็อม สีหนุ) (31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 — 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555)  พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 - 2498 และ พ.ศ. 2536 - 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสนโรดม สีหมุนี และดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา) ในท้ายสุด พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world's greatest variety of political offices) กล่าวคือ เป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย ทั้งนี้พระองค์เป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลเขมรแดงช่วงปี ค.ศ. 1975–1976.

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุและสังคมราษฎรนิยม · พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

พล พต

ซาลต ซอ (សាឡុត ស สาฬุต สอ) หรือ พล พต (ប៉ុល ពត ปุล พต, ออกเสียง: ปล โปต; 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 - 15 เมษายน พ.ศ. 2541) เป็นนักปฏิวัติชาวกัมพูชาที่เป็นผู้นำเขมรแดง ตั้งแต..

พล พตและสังคมราษฎรนิยม · พล พตและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ลอน นอล

ลอน นอล (លន់ នល់ ลน่ นล่; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 - 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985) เป็นนายทหารและนักการเมืองกัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชาสองสมัย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมอีกหลายครั้ง เป็นผู้ก่อการรัฐประหารล้มอำนาจของรัฐบาลเจ้านโรดม สีหนุในปี..

ลอน นอลและสังคมราษฎรนิยม · ลอน นอลและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

สีสุวัตถิ์ สิริมตะ

นักองค์ราชวงศ์ (หม่อมราชวงศ์) สีสุวัตถิ์ สิริมตะ (អ្នកឣង្គរាជវង្ស ស៊ីសុវត្ថិ សិរិមតះ; Sisowath Sirik Matak; 22 มกราคม พ.ศ. 2457 — 21 เมษายน พ.ศ. 2518) เป็นสมาชิกในราชวงศ์กัมพูชา สายราชสกุลสีสุวัตถิ์ นักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ เป็นที่จดจำจากการมีบทบาททางการเมืองในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกับนักการเมืองฝ่ายขวาในปี พ.ศ. 2513 เพื่อก่อการรัฐประหารต่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ประมุขแห่งรัฐซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์เอง และร่วมมือกับลอน นอล ในการสถาปนารัฐบาลสาธารณรัฐเขมร.

สังคมราษฎรนิยมและสีสุวัตถิ์ สิริมตะ · สีสุวัตถิ์ สิริมตะและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ฮู นิม

ู นิม (Hu Nim) เกิดเมื่อ..

สังคมราษฎรนิยมและฮู นิม · ฮู นิมและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ประเทศกัมพูชาและสังคมราษฎรนิยม · ประเทศกัมพูชาและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและสังคมราษฎรนิยม · ประเทศไทยและเขมรแดง · ดูเพิ่มเติม »

เวียดมินห์

งเวียดมินห์ กองทัพประชาชนเวียดนาม หรือ เหวียดมิงห์ หรือ เวียดมินห์ (Việt Nam Độc Lập Đồng Minh Hội หรือ Việt Minh) หรือบางแหล่งก็เรียก สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม คือ ขบวนการทางการเมือง โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลดปล่อยเวียดนามออกจากการปกครองของฝรั่งเศส จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดยมีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ และมีนายพลหวอ เงวียน ซ้าป เป็นผู้บัญชาการกองทัพคนแรก.

สังคมราษฎรนิยมและเวียดมินห์ · เขมรแดงและเวียดมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

เขียว สัมพัน

ียว สัมพัน ก่อนการพิจารณาคดีที่ศาลพิเศษคดีอาชญากรสงคราม กรุงพนมเปญ ในปี 2009 เขียว สัมพัน (ខៀវ សំផន เขียว สํผน; เกิด 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1931) เป็นอดีตประธานสภาเปรซิเดียมแห่งกัมพูชาประชาธิปไตยในช่วงปี..

สังคมราษฎรนิยมและเขียว สัมพัน · เขมรแดงและเขียว สัมพัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สังคมราษฎรนิยมและเขมรแดง

สังคมราษฎรนิยม มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขมรแดง มี 185 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 4.74% = 10 / (26 + 185)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สังคมราษฎรนิยมและเขมรแดง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »