โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานเฉลิมหล้า 56

ดัชนี สะพานเฉลิมหล้า 56

นเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้าง ในยุครัชกาลที่ 5 ภาพในปัจจุบัน สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้าง เป็นสะพานในชุดเฉลิม สะพานที่ 15 สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ที่ถนนพญาไท เพื่อเชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้ คู่กับสะพานเฉลิมโลก 55 สะพานนี้อยู่ติดกับวังสระปทุม สะพานเฉลิมหล้า 56 เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 56 มีลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานเป็นคอนกรีตรูปโค้ง มีรายละเอียดงดงามมาก หัวสะพานทั้งสี่มุม มีรูปประดับเป็นช้าง 4 ด้าน ลูกกรงหล่อแบบลูกมะหวดฝรั่ง กลางสะพานมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร.

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2452พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระนครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวังสระปทุมสะพานเฉลิมโลก 55ถนนพญาไทคลองแสนแสบ15 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2452

ื พุทธศักราช 2452 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1909 เป็ๆนปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และพ.ศ. 2452 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระนคร

ระนคร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วังสระปทุม

วังสระปทุม ตั้งอยู่บริเวณถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินให้เป็นที่สร้างวังของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แต่ยังมิได้มีการสร้างวังขึ้น ณ ขณะนั้น เนื่องจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ได้เสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้เสด็จออกมาประทับนอกพระบรมมหาราชวัง ทรงเริ่มสร้างพระตำหนักขึ้น ณ วังสระปทุม และเสด็จประทับเป็นการถาวรตลอดพระชนม์ชีพพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และครอบครัว ปัจจุบัน วังสระปทุมเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ วังสระปทุมยังใช้เป็นสถานที่จัดงานอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รวมทั้ง ยังเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถอีกด้ว.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และวังสระปทุม · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเฉลิมโลก 55

นเฉลิมโลก 55 สะพานเฉลิมโลก 55 เป็นสะพานในชุดเฉลิม สะพานที่ 14 สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ที่ถนนราชดำริและถนนเพชรบุรี (บริเวณแยกประตูน้ำในปัจจุบัน) เพื่อเชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้ โดยสะพานนี้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแห่งแรกในประเทศไทย สะพานเฉลิมโลก 55 เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 55 โดยมีพระราชดำริว่า สะพานข้ามคลองบางกะปิจะเป็นสะพานสำคัญที่จะเชื่อมพระนครทั้งตอนเหนือและตอนใต้ให้สัญจรไปมาได้โดยสะดวก สะพานเฉลิมโลก 55 เป็นสะพานข้ามคลองใหญ่ เรือค้าขายสัญจรไปมามาก การก่อสร้างแตกต่างจากสะพานเฉลิมแห่งอื่น ๆ ด้วยการก่อสร้างอย่างมั่นคงถาวรโดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก พนักราวสะพานทึบและมีลายประดับแบบเรขาคณิต มีชื่อสะพานทำเป็นอักษรกดลึกติดอยู่กับพนักสะพานด้านใน โดยใช้นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อสร้าง จากรายงานคำกราบบังคมทูลบางส่วนของพระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยายมราช อธิบดีกรมสุขาภิบาลในพิธีเสด็จเปิดสะพาน ระบุถึงเหตุผลในการเลือกที่ตั้งและรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับการก่อสร้างสะพานนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า “...ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าสพานข้ามคลองนี้เปนสพานสำคัญที่จะเชื่อมพระนครตอนเหนือแลตอนใต้ให้ใกล้ถึงกัน จึงได้ทรงเลือกสรรให้สร้างเปนสพานเฉลิม...

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และสะพานเฉลิมโลก 55 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

คลองแสนแสบ

รือด่วนในคลองแสนแสบ คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี ใน คือ อานามสยามยุทธ คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันนั้นมีปัญหามลภาวะทางน้ำ ส่งกลิ่นเหม็นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยการทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ทำให้คลองแสนแสบนั้นมีสภาพที่สกปรกไม่น่ามอง.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และคลองแสนแสบ · ดูเพิ่มเติม »

15 พฤศจิกายน

วันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 319 ของปี (วันที่ 320 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 46 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สะพานเฉลิมหล้า 56และ15 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะพานหัวช้างสะพานเฉลิมหล้า56

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »