โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สหภาพโซเวียต

ดัชนี สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

180 ความสัมพันธ์: บอริส เยลต์ซินบอลเชวิกบากูบิชเคกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลโลก 1966พ.ศ. 2461พ.ศ. 2465พ.ศ. 2488พ.ศ. 2504พ.ศ. 2520พ.ศ. 2531พ.ศ. 2534พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตกลยุทธ์กลัสนอสต์กลุ่มตะวันออกกองทัพแดงกองทุนการเงินระหว่างประเทศการกวาดล้างใหญ่การยึดครองรัฐบอลติกการลงประชามติสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534การล่มสลายของสหภาพโซเวียตการผ่อนคลายความตึงเครียดการตรวจพิจารณาการปฏิวัติรัสเซียการปฏิวัติเดือนตุลาคมกติกาสัญญาวอร์ซอกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพภาษารัสเซียมอสโกมองโกเลียมินสค์มีฮาอิล กอร์บาชอฟมีฮาอิล คาลีนินยุทธการที่สตาลินกราดยุทธวิธีทางทหารยูริ กาการินยูรี อันโดรปอฟรัฐบริวารรัฐบอลติกรัฐพรรคการเมืองเดียวราชวงศ์โรมานอฟรายพระนามผู้ปกครองรัสเซียรายนามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียตรีกาลัทธิมากซ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ลิทธิเบรจเนฟวลาดีมีร์ เลนิน...วอสตอค 1วันชัย (9 พฤษภาคม)วันพิทักษ์ปิตุภูมิวันสตรีสากลวันขึ้นปีใหม่วันนักบินอวกาศวาเลนตีนา เตเรชโควาวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาวิลนีอุสศาสนาพุทธศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจสมัยระหว่างสงครามสหพันธรัฐสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัสสหภาพยุโรปสหภาพโซเวียตสหรัฐสหราชอาณาจักรสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจานสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิชสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัคสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนสถาบันสมิธโซเนียนสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานสงครามเย็นสงครามเวียดนามสนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียตอภิมหาอำนาจอะเลคเซย์ โคซีกินอะเลคเซย์ เลโอนอฟอัลมาตีอาชกาบัตอุดมการณ์องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียจักรวรรดิรัสเซียทบิลีซีทวีปยูเรเชียทะเลแคสเปียนทาชเคนต์ทาลลินน์ดาวเทียมสปุตนิก 1ดิอินดีเพ็นเดนต์ดูชานเบความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตคอนสตันติน เชียร์เนนโคคีชีเนาคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (สหภาพโซเวียต)คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตะวันออกกลางประวัติศาสตร์รัสเซียประเทศฟินแลนด์ประเทศกัมพูชาประเทศฝรั่งเศสประเทศรัสเซียประเทศสโลวาเกียประเทศอัฟกานิสถานประเทศอังกฤษประเทศอิหร่านประเทศฮังการีประเทศจีนประเทศตุรกีประเทศนอร์เวย์ประเทศแอลเบเนียประเทศโรมาเนียประเทศโซมาเลียประเทศโปแลนด์ประเทศเกาหลีเหนือนายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียตนารวมนาซีเยอรมนีนีกีตา ครุชชอฟนโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้นแมกซิม กอร์กีแองเตอร์นาซิอองนาลแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โรมันคาทอลิกโลกที่หนึ่งโจเซฟ สตาลินโปรเตสแตนต์โปลิตบูโรโนโวซีบีสค์ไลก้าเพลงชาติสหภาพโซเวียตเยเรวานเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเลโอนิด เบรจเนฟเหมา เจ๋อตงเอเชียกลางเฮลซิงกิเจอรัลด์ ฟอร์ดเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊กเครมลินแห่งมอสโกเคียฟเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเปโตรซาวอดสค์เปเรสตรอยคา.su1 พฤษภาคม1 มกราคม12 เมษายน19 สิงหาคม20 สิงหาคม23 กุมภาพันธ์25 ธันวาคม5 ธันวาคม7 พฤศจิกายน7 กุมภาพันธ์7 ตุลาคม8 มีนาคม9 พฤษภาคม ขยายดัชนี (130 มากกว่า) »

บอริส เยลต์ซิน

อริส นีโคลาเยวิช เยลต์ซิน (Бори́с Никола́евич Е́льцин, Boris Yeltsin, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 - 23 เมษายน พ.ศ. 2550) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย ดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและบอริส เยลต์ซิน · ดูเพิ่มเติม »

บอลเชวิก

การประชุมพรรคบอลเชวิก บอลเชวิก (Bolshevik "บอลเชอวิก"; большеви́к "บาลชือวิก") แผลงมาจากคำว่าБольшинство แปลว่า ส่วนใหญ่ หรือ หมู่มาก บอลเชวิก หมายถึงสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDLP ย่อมาจาก Russian Social Democratic Labour Party) ซึ่งนิยมลัทธิมากซ์ กลุ่มนี้นำโดยเลนิน ในพรรคนี้ยังมีอีกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่า меньшевик เมนเชวิก ซึ่งแผลงมาจากคำในภาษารัสเซีย Меньшинство แปลว่า ส่วนน้อย กลุ่มเมนเชวิกนำโดย จูเลียส มาร์ตอฟ เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดคนหนึ่งของเลนิน การแตกคอกันมีขึ้นในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์และลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1903 และท้ายที่สุดแล้วกลุ่มบอลเชวิกก็กลายมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต พวกบอลเชวิกมองเศรษฐกิจในแนวสัมคมนิยมสุดขั้วและเชื่อในความเป็นสากลของชนชั้นกรรมาชีพ พวกเขายึดหลักอำนาจเผด็จการพรรคเดียวและเป้าหมายสูงสุดเรื่องการปฏิวัติโลก พวกเขาปฏิเสธความเป็นชาติรัฐของรัสเซีย ความเชื่อและแนวทางปฏิบัติของพวกเขามักถูกเรียกรวม ๆ ว่า ลัทธิบอลเชวิก (Bolshevism).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและบอลเชวิก · ดูเพิ่มเติม »

บากู

กู บากู หรือ บากี (Bakı หรือ Baky; ซีริลลิก: Бакы) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอาเซอร์ไบจาน ตั้งอยู่ชายฝั่งทางใต้ของคาบสมุทรเล็ก ๆ ที่ยื่นออกไปในทะเลแคสเปียนชื่ออับชิรอน (Abşeron) กรุงบากูประกอบด้วยพื้นที่สามส่วน ได้แก่ ย่านเมืองเก่า (อิตแชรีแชแฮร์) ตัวเมืองปัจจุบัน และตัวเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยโซเวียต รวมแล้วมีประชากร 2,074,300 คน (ค.ศ. 2003) แต่มีประมาณ 3 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตมหานคร (เนื่องจากมีผู้อพยพและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเป็นจำนวนมาก) ปัจจุบันมีนายฮาชีบาลา อาบูตาลีบอฟ (Hajibala Abutalybov) เป็นนายกเทศมนตรี ประวัติศาสตร์บากูย้อนไปถึงช่วง 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ส่วนเอกสารที่อ้างถึงเมืองนี้เป็นครั้งแรกอยู่ในปี ค.ศ. 885 บากูเคยเป็นเมืองหลวงของดินแดนต่าง ๆ ที่เป็นประเทศอาเซอร์ไบจานปัจจุบันในหลายยุคสมัย ได้แก่ แคว้นชีร์วาน (ในสมัยของพระเจ้าอัคซีตันที่ 1 และพระเจ้าคาลีลุลลาห์ที่ 1) รัฐข่านบากู จังหวัดบากูของรัสเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาเซอร์ไบจาน และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan SSR) ตั้งแต่อดีต เมืองแห่งนี้ต้องประสบกับการรุกรานของชนชาติต่าง ๆ เสมอ ไม่ว่าจะเป็นมองโกล ซาฟาวิด ออตโตมัน และรัสเซีย ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 การค้นพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติได้นำความรุ่งเรืองมั่งคั่งมาสู่เมืองนี้ ผังของเมืองที่ร่ำรวยน้ำมันแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเพียงส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองภายในกำแพงป้อมเท่านั้น ที่มีถนนที่มีลักษณะโค้งและแคบ เขตตัวเมืองที่มีความเจริญมั่งคั่ง (ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองเก่า) ถูกสร้างขึ้นหลังจากมีการนำปิโตรเลียมจำนวนมหาศาลขึ้นมาใช้ประโยชน์เมื่อเกือบศตวรรษที่ผ่านมา และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม รวมพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวรรณคดีตั้งอยู่นั่นด้วย ปัจจุบันบากูสมัยใหม่ขยายเขตออกไปนอกกำแพงเมือง อาคารและถนนสายต่าง ๆ จึงเริ่มปรากฏขึ้นบนเนินเขาริมอ่าว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและบากู · ดูเพิ่มเติม »

บิชเคก

ก (Bishkek) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคีร์กีซสถาน และยังเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดชึยที่อยู่รอบเมือง แม้ว่าเมืองจะไม่ได้อยู่ในฐานะจังหวัดแต่มีฐานะเท่าจังหวัด บิชเคกตั้งอยู่ที่ มีแม่น้ำชึยไหลผ่าน บิชเคกยังอยู่ในเส้นทางรถไฟสายเตอร์กีสถาน-ไซบีเรี.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและบิชเคก · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในชื่อรายการว่า ยูโรเปียนเนชันส์คัพ (European Nations Cup) จากแนวคิดของ อองรี เดอโลเนย์ เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้การแข่งขัน 5 ครั้งแรก มีทีมชาติร่วมแข่งขัน รอบสุดท้ายเพียง 4 ประเทศ ต่อมาตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ยูโรเปียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีทีมชาติเข้าแข่งรอบสุดท้าย เพิ่มเป็น 8 ประเทศ ส่วนการแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศ ในรอบสุดท้าย และในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ประเทศ สำหรับการแข่งขันครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์และประเทศยูเครน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก 1966

ฟุตบอลโลก 1966 (1966 FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 8 ที่จัดขึ้นที่ประเทศอังกฤษระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน-10 กรกฎาคม ค.ศ. 1966 โดยประเทศอังกฤษได้รับเลือกเป็นประเทศเจ้าภาพจากฟีฟ่าเมื่อเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและฟุตบอลโลก 1966 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2461

ทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2461 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2465

ทธศักราช 2465 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1922 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2465 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2504

ทธศักราช 2504 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1961 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2504 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

รรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Коммунисти́ческая Па́ртия Сове́тского Сою́за; КПСС) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองสหภาพโซเวียตและเป็นสถาบันหรือองค์กรที่มีอำนาจและบทบาททั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัยในการกำหนดดำเนินนโยบายต่างประเทศ อำนาจในการบริหารและตัดสินใจมาจากกลุ่มบุคคลชั้นนำในคณะกรรมการการเมือง หรือ 'โปลิตบูโร' (Politburo / Политбюро).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์

กลยุทธ์ (strategy) หรือ ยุทธศาสตร์ เป็นศัพท์ที่มีกำเนิดในทางทหาร หมายถึง แผนการปฏิบัติซึ่งวางเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จำเพาะ กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในทางทหารนั้นแตกต่างจากยุทธวิธี ซึ่งว่าด้วยการดำเนินการรบปะทะ (engagement) ขณะที่ยุทธศาสตร์นั้น ว่าด้วยวิธีการเชื่อมโยงการรบปะทะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน คำถามที่ว่า "จะสู้รบอย่างไร" เป็นปัญหาทางยุทธวิธี แต่ข้อกำหนดและเงื่อนไขซึ่งมีการสู้รบกันและความเหมาะสมในการสู้รบกันนั้นเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสงคราม (warfare) สี่ระดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือยุทธศาสตร์หลัก, ยุทธศาสตร์, ปฏิบัติการและยุทธวิธี นักคิดคนหนึ่งนิยามยุทธศาสตร์ไว้ว่าเป็น "วิถีอย่างครอบคลุมในอันที่จะพยายามปฏิบัติเพื่อผลเบื้องปลายทางการเมือง รวมทั้งการข่มขู่หรือการใช้กำลังอย่างแท้จริง ในวิภาษวิธีแห่งเจตจำนง ซึ่งจำต้องมีอย่างน้อยสองฝ่ายในความขัดแย้งหนึ่ง ๆ ฝ่ายเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กัน และดังนั้น ยุทธศาสตร์จะประสบความสำเร็จน้อยครั้งหากไม่แสดงความสามารถในการดัดแปลง"Beatrice Heuser, The Evolution of Strategy: Thinking War from Antiquity to the Present (Cambridge University Press, 2010), ISBN 978-0-521-19968-1, p.27f.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกลยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลัสนอสต์

กลัสนอสต์ (гла́сность, Glasnost; ท. "การเผยแพร่") เป็นนโยบายเรียกร้องให้เพิ่มความเปิดเผยและความโปร่งใสในสถาบันและกิจกรรมรัฐบาลในสหภาพโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟริเริ่มนโยบายดังกล่าวในครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1980 มักถูกจับคู่กับเปเรสตรอยคา (Perestroika) ซึ่งเป็นอีกการปฏิรูปที่กอร์บาชอฟริเริ่มในห้วงเวลาเดียวกัน กอร์บาชอฟมักใช้คำนี้เพื่อเจาะจงนโยบายที่เขาเชื่อว่าอาจช่วยลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงในผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลโซเวียต และบรรเทาการละเมิดอำนาจบริหารในคณะกรรมการกลาง กลัสนอสต์ยังหมายถึงสมัยที่เจาะจงในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อมีการตรวจพิจารณาลดลงและมีเสรีภาพในสารสนเทศเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกลัสนอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มตะวันออก

นการณ์ทางการเมืองของโลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น. โลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น คำว่า กลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) เป็นชื่อเรียกที่หมายถึงอดีตรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันออก และอาจหมายรวมถึงประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอด้วยเช่นกัน คำว่า "กลุ่มตะวันออก" เป็นชื่อที่ใช้เรียกในยุคสงครามเย็น (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1989) รัฐต่างๆ ที่อยู่ในโลกตะวันออกส่วนใหญ่เป็นรัฐที่ถูก สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐแต่ละรัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก็ได้แยกตัวตั้งตนเป็นอิสระและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตยแทน รวมอีกทั้งประเทศเยอรมันทั้งตะวันออกและตะวันตกก็ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งภายหลังการทำลายกำแพงเบอร์ลิน ทำให้กลุ่มตะวันออกล่มสล.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกลุ่มตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ัญลักษณ์ของ IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

การกวาดล้างใหญ่

อัยการสูงสุด อันเดรย์ วืยชินสกี (คนกลาง), กำลังอ่านข้อกล่าวหาต่อ Karl Radek ในช่วง การพิจารณาคดีมอสโกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2481 การกวาดล้างครั้งยิ่งใหญ่ (Большо́й терро́р, Great Purge) หรือ ความน่ากลัวอันยิ่งใหญ่ (Great Terror) เป็นการปราบปรามทางการเมืองในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการกวาดล้างใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

การยึดครองรัฐบอลติก

การยึดครองรัฐบอลติก (occupation of the Baltic states) เป็นการยึดครองด้วยทหารต่อรัฐบอลติกทั้งสามคือลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย โดยสหภาพโซเวียตตามสนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพในวันที่ 14 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการยึดครองรัฐบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534

แบบลงประชามติ การลงประชามตินี้ มีขึ้นที่สหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 17 มีนาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการลงประชามติสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ตามปฏิญญาหมายเลข 142-เอชแห่งสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐ (Soviet of the Republics)Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

การผ่อนคลายความตึงเครียด

เลโอนิด เบรจเนฟ แห่งสหภาพโซเวียต (ซ้าย) และริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐอเมริกา (ขวา) ระหว่างการเยือนสหรัฐอเมริกาของเบรจเนฟในปี 2516 นับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญในช่วงการผ่อนคลายความตึงเครียด การผ่อนคลายความตึงเครียด (Détente) คือ ช่วงเวลาระหว่าง..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการผ่อนคลายความตึงเครียด · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจพิจารณา

การตรวจพิจารณา (censorship) คือ การระงับหรือทำลายซึ่งถ้อยคำหรือวัตถุแห่งการติดต่อสื่อสารอันได้รับการพิจารณาโดยผู้ตรวจแล้วว่า ผิดศีลธรรม ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่พึงประสงค์ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง เป็นหัวข้ออ่อนไหว หรือสร้างความลำบากให้แก่รัฐบาลหรือองค์การสื่อสาร.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการตรวจพิจารณา · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติรัสเซีย

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) คือภาพรวมของระลอกการปฏิวัติในรัสเซียช่วงปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการปฏิวัติรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติเดือนตุลาคม

การปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution, Октя́брьская револю́ция) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การปฏิวัติสังคมนิยมแห่งเดือนตุลาคมอันยิ่งใหญ่ (Great October Socialist Revolution, Вели́кая Октя́брьская социалисти́ческая револю́ция) และเรียกโดยทั่วไปว่า ตุลาคมแดง, การลุกฮือเดือนตุลาคม หรือ การปฏิวัติบอลเชวิก เป็นการยึดอำนาจรัฐ ซึ่งมีความสำคัญส่วนหนึ่งของการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ลักษณะเหตุการณ์เป็นการก่อการกบฏด้วยอาวุธในกรุงเปโตรกราดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและการปฏิวัติเดือนตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) หรือชื่อทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи) บางครั้งเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า วอร์แพ็ก (WarPac) เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)"In reaction to West Germany’s NATO accession, the Soviet Union and its Eastern European client states formed the Warsaw Pact in 1955." Citation from: ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกติกาสัญญาวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

นื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน) กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (German–Soviet Non-aggression Pact) และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในกติกาสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม)Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1-897984-00-6 Page 7 ความตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ภาคีผู้ลงนามทั้งสองสัญญาจะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" กติกาสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง กติกาสัญญานาซี–โซเวียต (Nazi–Soviet Pact), กติกาสัญญาฮิตเลอร์–สตาลิน, กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี–โซเวียตBenjamin B. Fischer, "", Studies in Intelligences, Winter 1999–2000, last accessed on 10 December 2005 กติกาสัญญามีผลจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 1941 เมื่อเยอรมนีเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา นอกเหนือจากการกำหนดเงื่อนไขในการไม่รุกรานระหว่างกันแล้ว กติกาสัญญาดังกล่าวยังรวมไปถึงข้อตกลงลับ ซึ่งแบ่งยุโรปตะวันออกให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนีและโซเวียต เพื่อให้มีการจัดระเบียบทางดินแดนและทางการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ หลังจากนั้น เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ร่วมกันบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและดินแดนทางตอนเหนือของโรมาเนียเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการผนวกดินแดนทางตะวันออกของฟินแลนด์ หลังจากความพยายามรุกรานของสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว ภาคผนวกลับดังกล่าวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดสงครามแห่งการรุกราน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

มินสค์

ริเวณจัตุรัสแห่งชัยชนะในกรุงมินสค์ มินสค์ (Minsk; Мінск; Минск) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเบลารุส ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวิสลาช (Svislach) และแม่น้ำเนียมีฮา (Niamiha) ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 280.4 เมตร กรุงมินสค์เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเครือรัฐเอกราช (CIS) ในที่เป็นฐานะเมืองหลวงของประเทศ ยังมีสถานะการบริหารพิเศษและยังเป็นศูนย์กลางการบริหารของจังหวัดมินสค์และเขตมินสค์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 2006 กรุงมินสค์มีประชากรประมาณ 1,780,000 คน และมีนายมีคาอิล ปัฟลอฟ (Mikhail Pavlov) เป็นนายกเทศมนตรี หลักฐานยุคแรกเริ่มสุดที่กล่าวถึงมินสค์นั้นย้อนไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ค.ศ. 1067) ในปี ค.ศ. 1242 มินสค์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐลิทัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania) และได้รับอภิสิทธิ์เมืองในปี ค.ศ. 1499 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1569 เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของมินสค์วอยวอดชิป (Minsk Voivodship) ในเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย ต่อมาถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งเป็นผลจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1919-1991 มินสค์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ก่อนสหภาพโซเวียตล่มสล.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและมินสค์ · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและมีฮาอิล กอร์บาชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล คาลีนิน

มีฮาอิล อีวาโนวิซ คาลีนิน (Михаи́л Ива́нович Кали́нин; 3 มิถุนายน ค.ศ. 1946), ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยพลเมืองชาวโซเวียตว่า "Kalinych",เป็นนักปฏิวัติบอลเชวิกและเจ้าหน้าที่โซเวียต เขาได้ทำหน้าที่ในฐานะประมุขแห่งรัฐของสหพันธรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและต่อมาได้เป็นสหภาพโซเวียตตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและมีฮาอิล คาลีนิน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สตาลินกราด

ทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและยุทธการที่สตาลินกราด · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธวิธีทางทหาร

ทธวิธีทางทหาร เป็นศาสตร์และศิลป์ของการจัดกำลังทหาร เป็นเทคนิคสำหรับการจัดยุทโธปรกรณ์ในกับหน่วยรบและการใช้ยุทโธปกรณ์และหน่วยรบในการเผชิญหน้ากับศัตรูและเอาชนะศัตรูในการทำศึก การเปลี่ยนแปลงปรัชญาและเทคโนโลยีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถูกสะท้อนออกมาด้วยการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีทางทหาร ศาสตร์การทหารในปัจจุบัน ยุทธวิธีเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในการวางแผนสามระดับ อันได้แก่ (1)แผนยุทธศาสตร์, (2)แผนปฏิบัติการ และ (3)แผนยุทธวิธี การวางแผนระดับสูงที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยกำลังทางทหารจะแปลเป็นวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างไร โดยเชื่อมโยงว่าด้านการเมืองต้องการอะไรจึงต้องใช้กำลัง และเมื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการอะไรบ้างจึงจะยุติสงคราม ระดับกลาง คือ แผนปฏิบัติการ เป็นการแปรแผนยุทธศาสตร์ลงไปเป็นแผนยุทธวิธี ซึ่งโดยหลักแล้วเกี่ยวข้องกับการจัดกำลังพลและกำหนดภาระหน้าที่ที่ต้องกระทำรวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่ต้องบรรลุ ส่วนแผนยุทธวิธี เป็นการเตรียมแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจดำเนินการหรือตอบสนองต่ออุปสรรคเฉพาะหน้าในรูปแบบต่างๆขณะทำศึก โดยพื้นฐานความเข้าใจทั่วๆไป การตัดสินใจทางยุทธวิธี เป็นไปเพื่อให้บรรลุผลดีที่สุดและส่งประโยชน์เฉพาะหน้าโดยทันทีซึ่งเป็นขอบเขตในภาพเล็ก ในขณะที่การตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ กระทำเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุดโดยภาพรวมอันเป็นขอบเขตภาพใหญ่สุด ซึ่งไม่คำนึงถึงผลลัพท์ในเชิงยุทธวิธี.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและยุทธวิธีทางทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ยูริ กาการิน

นาวาอากาศเอก ยูริ อะเลคเซเยวิช กาการิน (Юрий Алексеевич Гагарин; อักษรโรมัน: Yuri Alekseyevich Gagarin) ชาวโซเวียต เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่สามารถเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2476 ในเมืองกชาทสค์ และเสียชีวิตวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ใกล้กรุงมอสโก กาการินเป็นบุตรช่างไม้ในนารวม (เมื่อครั้งรัสเซียเป็นประเทศคอมมิวนิสต์) ได้เรียนเป็นช่างปั้นจากโรงเรียนการค้าใกล้กรุงมอสโก ปี พ.ศ. 2494 จากนั้นศึกษาต่อในวิทยาลัยอุตสาหกรรมที่เมืองซาราตอฟ และในเวลาเดียวกันก็เข้าอบรมการบินด้วย เมื่อสำเร็จหลักสูตรก็เข้าโรงเรียนนายเรืออากาศโซเวียต ในโอเรนบูร์ก และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2500 ภารกิจของยูริกาการินครั้งนี้ไม่ได้ประกาศเป็นการล่วงหน้า ยานวอสตอค 1 (Vostok 1) ของกาการินมีน้ำหนัก 4 ¾ ตัน ปล่อยจากฐานยิงเมื่อเวลา 9.07 น. วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504 และโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 48 นาที ที่ระดับความสูงมากที่สุด 187 ไมล์ (301 กิโลเมตร) และลงจอดเมื่อเวลา 10.55 นาฬิกา ตามเวลาในรัสเซีย ซึ่งการบินในอวกาศครั้งนี้ทำให้กาการินมีชื่อเสียงก้องไปทั่วโลก และได้รับเครื่องประดับเกียรติยศเลนิน และได้ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ยังมีการสร้างอนุสรณ์สถานและตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแต่กาการินในสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ยูริ กาการินไม่ใช่มนุษย์คนแรกที่ขึ้นไปยังอวกาศ ก่อนหน้านั้น สหภาพโซเวียตได้พยายามส่งมนุษย์ขึ้นไปหลายครั้ง คนที่ได้รับการเปิดเผยคือ วลาดีมีร์ โคมารอฟ เพื่อนของกาการิน ที่เสียชีวิตในเที่ยวบินทดสอบในโครงการโซยูส เนื่องจากร่มไม่กางระหว่างเดินทางกลับโลก ทำให้ร่างเขาแหลกด้วยแรงกระแทกพื้นโลก.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและยูริ กาการิน · ดูเพิ่มเติม »

ยูรี อันโดรปอฟ

ยูรี วลาดีมีโรวิช อันโดรปอฟ (Ю́рий Влади́мирович Андро́пов) เป็นผู้นำสหภาพโซเวียตคนที่ 4 เลขาธิการกลางคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต เอกอัครทูตสหภาพโซเวียตประจำสาธารณรัฐประชาชนฮังการีระหว่างปี 1954 ถึงปี 1957 และ ประธานคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ ระหว่างปี 1967 ถึงปี 1982 อันโดรปอฟเป็นผู้นำหัวปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญต่อการเมืองของสหภาพโซเวียต เพราะเป็นคนที่พยายามจัตระเบียบ และ ยกระดับคุณภาพการทำงานในวงราชการ ความเป็นผู้นำของเขาทำให้ อันโดรปอฟ ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของโปลิตบูโร ในปี 1973 และเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากเลโอนิด เบรจเนฟ ในปี 1982 หมวดหมู่:ผู้นำในสงครามเย็น หมวดหมู่:บุคคลจากสตัฟโรปอล หมวดหมู่:นักการเมืองโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและยูรี อันโดรปอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริวาร

รัฐบริวาร (Client state หรือ Satellite state) เป็นคำศัพท์ทางการเมือง หมายถึง ประเทศที่มีเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมาก หรือถูกควบคุมโดยอีกประเทศหนึ่ง โดยเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อโดยเปรียบเทียบกับดาวบริวาร ซึ่งโคจรรอบดาวดวงอื่น และคำว่า รัฐบริวาร มักจะใช้หมายความถึง รัฐในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต ระหว่างสงครามเย็น รัฐบริวารอาจหมายถึงประเทศที่ถูกครอบงำทางการเมืองและทางเศรษฐกิจโดยอีกประเทศหนึ่ง ในเวลาสงคราม รัฐบริวารบางครั้งทำหน้าที่เป็นรัฐกันชนระหว่างประเทศฝ่ายศัตรูกับประเทศที่มีอิทธิพลอยู่เหนือรัฐบริวารนั้น คำว่า "รัฐบริวาร" เป็นหนึ่งในคำที่ใช้อธิบายถึงสภาพที่รัฐหนึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของอีกรัฐหนึ่งซึ่งคล้ายกับ รัฐหุ่นเชิด โดยทั่วไปแล้ว คำว่า "รัฐบริวาร" แสดงให้เห็นถึงความสวามิภักดิ์ทางความคิดให้กับอำนาจความเป็นประมุขอย่างลึกซึ้ง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและรัฐบริวาร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบอลติก

รัฐบอลติก (Baltic states) เป็นชื่อรวมเรียกสามประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลบอลติก คือลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ในระหว่างปี 1918-1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชปกครองตนเองแบบสาธารณรัฐระหว่าง..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและรัฐบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพรรคการเมืองเดียว

รัฐพรรคการเมืองเดียว หรือ รัฐพรรคการเมืองเดี่ยว เป็นระบอบการปกครองของประเทศที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรดเดียว ส่วนใหญ่ประเทศที่มีพรรคการเมืองเดียวจะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ อาทิเช่น จีน,ลาว,คิวบา แต่ก็มีบางประเทศที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์แต่ก็อนุญาตหรือมีพรรคการเมืองเดียว อาทิ เอริเทรีย,เวสเทิร์นสะฮารา ทั้งนี้การขึ้นอยู่กับกฎหมาย สถานการณ์ภายใน และรัฐธรรมนูญของแต่ละประเท.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและรัฐพรรคการเมืองเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โรมานอฟ

งราชวงศ์โรมานอฟ ตราแผ่นดินของจักรวรรดิรัสเซีย ตราประจำพระราชวงศ์ ราชวงศ์โรมานอฟ ตามสำเนียงอังกฤษ หรือ รามานาฟ ตามสำเนียงรัสเซีย (Romanov) เป็นราชวงศ์ที่สองและราชวงศ์สุดท้ายของรัสเซีย โดยราชวงศ์นี้ปกครองจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1613 ถึง ค.ศ. 1917 กษัตริย์โรมานอฟพระองค์แรก คือพระเจ้าซาร์มิฮาอิลที่ 1 ได้รับแต่งตั้งใน ค.ศ. 1613 ภายหลังสมัยแห่งความวุ่นวาย (Time of Troubles) ราชวงศ์นี้ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกือบตลอดเวลา โดยได้มีความพยายามร่างรัฐธรรมนูญ โดยพระจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แต่พระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์เสียก่อน แม้ว่าจักรพรรดินีโคไลที่ 2 จะทรงตั้งสภาดูมาใน ค.ศ. 1905 ก็มิได้มีสิทธิในการออกกฎหมายอย่างเต็มที่ จนเกิดการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย จักรพรรดินิโคสัสที่ 2 ต้องทรงสละราชสมบัติในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และถูกปลงพระชนม์โดยกำลังของฝ่ายบอลเชวิกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งสาเหตุของการปลงพระชนม์เนื่องด้วย พระจักรพรรดินิโคสัสที่ 2 เข้าร่วมสงครามและทุ่มงบประมาณไปกับสงครามมาก ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้ประชาชนก่อการปฏิวัติ และทางราชวงศ์ได้พยายามหลบหนีแต่ไม่สำเร็จ ได้ถูกนำมากักตัวและถูกลอบปลงพระชนม.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและราชวงศ์โรมานอฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย

ักรพรรดิแห่งรัสเซีย หรือที่มักเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าพระเจ้าซาร์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองอาณาจักรซาร์รัสเซีย และจักรวรรดิรัสเซีย โดยนับตั้งแต่ ค.ศ. 1721 จะทรงใช้พระยศว่า "จักรพรรดิ" จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายคือ จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 โดยนับตั้งแต่การยกฐานะเป็นจักรวรรดิมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์โรมานอฟทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1809 - ค.ศ. 1917, พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1916.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและรายพระนามผู้ปกครองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต

รัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียตได้กำหนดว่าประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตเป็นตำแหน่งสูงสุดของประเทศหรือประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัย ทว่าในทางพฤตินัยเกือบระยะเวลาของสหภาพโซเวียต อำนาจการเมืองฝ่ายบริหารที่มีผลทั้งหมดอยู่ในมือของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต โดยประธานคณะผู้บริหารสูงสุดใช้อำนาจในหน้าที่เชิงสัญลักษณ์และแต่ในนามเป็นส่วนมาก.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและรายนามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

รีกา

ทัศนียภาพกรุงรีกาจากโปสต์การ์ดในปี พ.ศ. 2443 รีกา (Rīga) เป็นเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบอลติก บนปากแม่น้ำเดากาวา (Daugava) มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ละติจูด 56°58′เหนือ กับลองจิจูด 24°8′ตะวันออก กรุงรีกาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มรัฐบอลติก และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม การศึกษา การเมืองการปกครอง ธุรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมในแถบนี้ นอกจากนี้ ศูนย์ประวัติศาสตร์รีกา (Historic Centre of Riga) ยังได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและรีกา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิทธิเบรจเนฟ

ลิทธิเบรจเนฟ (Доктрина Брежневав; Brezhnev Doctrine) เป็นนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตครั้งที่แรกที่ระบุไว้อย่างชัดเจนมากที่สุดโดยเอ.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและลิทธิเบรจเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ เลนิน

วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดีมีร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov, Владимир Ильич Ульянов) เป็นผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวลาดีมีร์ เลนิน · ดูเพิ่มเติม »

วอสตอค 1

วอสตอค 1 (Vostok 1) เป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกในโครงการวอสตอค และเป็นครั้งแรกของการบินอวกาศที่มีมนุษย์ขึ้นไปในประวัติศาสตร์ วอสตอค 3เคเอถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 เที่ยวบินนี้มียูริ กาการิน นักบินอวกาศจากสหภาพโซเวียตขึ้นสู่อวกาศ เป็นเที่ยวบินครั้งแรกที่มีมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ เช่นเดียวกับเที่ยวบินแรกของวงโคจรของยานพาหนะบรรจุ วอสตอค 1 ถูกส่งโดยโครงการอวกาศโซเวียต และได้รับการออกแบบโดยวิศวกรชาวโซเวียตนำโดย เซอร์ไก โคโรเลฟ ภายใต้การกำกับดูแลของKerim Kerimov และคนอื่น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวอสตอค 1 · ดูเพิ่มเติม »

วันชัย (9 พฤษภาคม)

วันแห่งชัยชนะหรือ 9 พฤษภาคม เป็นเครื่องหมายการยอมจำนนของนาซีเยอรมนีต่อสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง (ในสหภาพโซเวียต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ) เริ่มครั้งแรกในสิบหกสาธารณรัฐแห่งสหภาพโซเวียต ให้หลังการลงนามตราสารยอมจำนนในคืนวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (เป็นเวลาหลังเที่ยงคืน จึงเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม ตามเวลามอสโก) รัฐบาลโซเวียตประกาศชัยชนะในเช้าวันที่ 9 พฤษภาคมหลังพิธีลงนามในกรุงเบอร์ลิน แม้วันดังกล่าวเริ่มอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1945 (ซึ่งหมายความว่ามีการเฉลิมฉลองตั้งแต..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวันชัย (9 พฤษภาคม) · ดูเพิ่มเติม »

วันพิทักษ์ปิตุภูมิ

วันพิทักษ์ปิตุภูมิ (День защитника Отечества (Den' zashchitnika Otechestva); Отан қорғаушы күні; Рӯзи артиши миллӣ; Мекенди коргоочулардын күнү; Дзень абаронцы Айчыны) เป็นวันหยุดราชการในประเทศรัสเซีย, เบลารุส, คีร์กีซสถาน, คาซัคสถาน, และ ทาจิกิสถาน โดยมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ยกเว้นประเทศคาซัคสถานที่จะฉลองในวันที่ 7 พฤษภาคม วันพิทักษ์ปิตุภูมิฉลองกันครั้งแรกในปี 1919 วันหยุดถูกกำหนดในปี 1918 ในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย ตามเอกสารฉบับร่างหมู่ของกองทัพแดง ที่ควบคุมนครเปโตรกราด และ มอสโก (ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์) ในเดือน มกราคม 1919 ก็ได้มีประกาศวันหยุดอย่างเป็นทางการเพื่อระลึกถึงการสถาปนากองทัพแดง (ก่อตั้งวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1918) โดยในปี 1919 ได้ใช้วันจันทร์ 17 กุมภาพันธ์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ นับแต่นั้นมา โดยที่ชื่อเดิมที่รู้จักคือ "วันกองทัพแดง" (День Красной Армии), Ukrayinska Pravda (23 February 2013) และในปี 1923 จึงใช้ชื่ออย่างเป็นทางการคือ วันกองทัพแดงและกองทัพเรือ ในปี 1949 ชื่อวันถูกเปลี่ยนชื่อวันกองทัพโซเวียตและกองทัพเรือ (День Советской Армии и Военно-Морского флота (Dyen' Sovyetskoy Armii i Voyenno-Morskogo flota)) จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ในปี 1991 ชื่อวันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเรื่มใช้ในปี 2002 โดย ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน โดยประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ (ในรัสเซีย).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวันพิทักษ์ปิตุภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

วันสตรีสากล

ปสเตอร์ภาษาเยอรมันสำหรับวันสตรีสากล 8 มีนาคม ค.ศ. 1914 วันสตรีสากล (International Women's Day) เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (International Working Women's Day) มีการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ในแต่ละภูมิภาคความสนใจของการเฉลิมฉลองมีตั้งแต่การเฉลิมฉลองความนับถือ ความซาบซึ้งและความรักต่อหญิงสำหรับความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของหญิงทั่วไป เริ่มแรกเป็นงานการเมืองสังคมนิยม แล้ววันหยุดนี้ก็กลืนวัฒนธรรมของหลายประเทศซึ่งส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มตะวันออก ในบางภูมิภาค วันดังกล่าวเสียรสทางการเมือง และกลายเป็นเพียงโอกาสสำหรับบุคคลในการแสดงความรักแก่หญิงในวิธีซึ่งคล้ายการผสมระหว่างวันแม่และวันวาเลนไทน์ ทว่า ในบางภูมิภาค แก่นการเมืองและสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติกำหนดยังมั่นคงอยู่ และความตระหนักทางการเมองและสังคมขอการต่อสู้ของหญิงทั่วโลกมีการเผยแพร่และพิจารณาด้วยความหวัง บางคนเฉลิมฉลองวันดังกล่าวโดยการสวมริบบิ้นสีม่วง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวันสตรีสากล · ดูเพิ่มเติม »

วันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินเกรโกเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวันขึ้นปีใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วันนักบินอวกาศ

วันนักบินอวกาศ (Cosmonautics Day, День Космона́втики) เป็นวันหยุดในรัสเซียและบางประเทศอดีตสหภาพโซเวียตอื่น ตรงกับวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองการบินอวกาศครั้งแรกของมนุษย์ในวันที่ 12 เมษายน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวันนักบินอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

วาเลนตีนา เตเรชโควา

วาเลนตีนา วลาดีมีรอฟนา เตเรชโควา (Валенти́на Влади́мировна Терешко́ва; 6 มีนาคม 2479 -) นักบินอวกาศรัสเซียเกษียณอายุ นักบินอวกาศสตรีคนแรกของโลกขึ้นสู่วงโคจรกับยานอวกาศชื่อ "ยานวอสตอค 6" เมื่อปี พ.ศ. 2506 วาเลนตีนา เตเรชโควา เกิดที่บอลโชเยมัสเลนนีโคโว หมู่บ้านขนาดเล็กในแคว้นยาโรสลัฟล์ หลังจากจบการศึกษามัธยมปลายได้เข้าทำงานในโรงงานทำยางรถอยู่ระยะหนึ่งแลัวจึงเข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรม ต่อมาได้เข้าเป็นนักกระโดดร่มที่สโมสรการบินท้องถิ่นและกระโดดร่มเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 22 ปี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2502 สองปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวาเลนตีนา เตเรชโควา · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ประธานาธิบดีเคนเนดี พบปะกับเอกอัครราชทูตโซเวียต อังเดร โกรมิโก ที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ก่อนเกิดการเผชิญหน้า แผนที่แสดงรัศมีของการใช้ขีปนาวุธที่คิวบา วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missle Crisis) คือการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียตและประเทศคิวบาอีกฝ่ายหนึ่ง ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นอยู่ในช่วงความตึงเครียดจนเกือบจะกลายไปเป็นสงครามปรมาณู ชาวรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวิกฤตการณ์แคริบเบียน ส่วนชาวคิวบาเรียกมันว่าวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในการเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามเย็นนอกจากการปิดล้อมเบอร์ลิน การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อภาพถ่ายจากเครื่องบินสังเกตการณ์ ยู-2 ของสหรัฐอเมริกา เผยให้เห็นฐานปล่อยขีปนาวุธ กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา ภายใต้การปกครองของฟีเดล กัสโตร เพื่อตอบโต้การสร้างฐานขีปนาวุธของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณพรมแดนของตุรกีและสหภาพโซเวียต ทางสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการกักกัน ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมคิวบา ห้ามเรือบรรทุกสินค้าทุกลำผ่านเข้ามาในน่านน้ำทะเลแคริบเบียน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

วิลนีอุส

อนุสาวรีย์ไม้กางเขน 3 อันในกรุงวิลนีอุส วิลนีอุส (Vilnius) (ภาษาเบลารุส Вільня, ภาษาโปแลนด์ ไฟล์:Ltspkr.png Wilno, ภาษารัสเซีย Вильнюс, อดีต Вильно, ภาษาเยอรมัน Wilna) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลิทัวเนีย มีจำนวนประชากรมากกว่า 540,000 คน ในปี พ.ศ. 2546 นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารของเทศบาลนครวิลนีอัส (Vilnius city municipality) และเทศบาลเขตวิลนีอัส (Vilnius district municipality) รวมทั้งเป็นที่ตั้งเทศมณฑลวิลนีอัสด้ว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและวิลนีอุส · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ

ื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (Council for Mutual Economic Assistance) หรือ คอมิคอน (Comecon) เป็นองค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มตะวันออก และรัฐคอมมิวนิสต์บางแห่งทั่วโลก มอสโกกังวลเรื่องแผนมาร์แชลล์ คอมิคอนมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศในขอบเขตอิทธิพลของโซเวียตไปสู่อิทธิพลของอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คอมิคอนได้รับการตอบรับจากกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ถึงการก่อตัวในยุโรปตะวันตกขององค์การเพื่อการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของยุโรป (OEEC)"Germany (East)", Library of Congress Country Study, การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในปี 1957 และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1961.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยระหว่างสงคราม

ำว่า สมัยระหว่างสงคราม (interwar period; interbellum, inter- "ระหว่าง" + bellum "สงคราม") มักหมายถึง ยุคสมัยระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลง และสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น คือ เริ่มต้นด้วยการสงบศึกกับเยอรมนีอันยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสมัยระหว่างสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐ

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐเดี่ยว สหพันธรัฐ (federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์ สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเท.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหพันธรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส (Закавказская Советская Федеративная Социалистическая Республика – ЗСФСР) เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคซัส · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian Soviet Socialist Republic; มอลโดวา/Република Советикэ Сочиалистэ Молдовеняскэ; Молда́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งของสหภาพโซเวียต นับตั้งแต่การประกาศอำนาจอธิปไตยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1990 จนถึงการประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐแห่งนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลโดวา (Soviet Socialist Republic of Moldova) และเมื่อได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐมอลโดวา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1940 โดยรวมพื้นที่บางส่วนของเบสซาเรเบีย (ภูมิภาคของโรมาเนียที่ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน) เข้ากับสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian Autonomous Soviet Socialist Republic) ซึ่งในขณะนั้นเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองแห่งหนึ่งในเขตสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ชื่อย่อ: Ukrainian SSR) หรือ ยูเครน (Українська Радянська Соціалістична Республіка, Українська РСР; Украинская Советская Социалистическая Республика, Украинская ССР) หรือ โซเวียตยูเครน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย (ข้อ 68 รัฐธรรมนูญแห่งยูเครนปี 1978) และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1919) และล่มสลายในปี 1991 แม้สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจะเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรในกิจการต่างประเทศ ซึ่งถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยทางการมอสโก ในการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเปเรสตรอยกา สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนถูกแปลงเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ยูเครน แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของยูเครนได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1996.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (Latvian Soviet Socialist Republic; Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (Lithuanian Soviet Socialist Republic; Lietuvos Tarybų Socialistinė Respublika; Лито́вская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐแห่งนี้ดำรงอยู่ระหว่าง..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย (Հայկական Սովետական Սոցիալիստական Հանրապետություն, Армя́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นสาธารณรัฐหนึ่งในจำนวนสิบห้าสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนียก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน (Азәрбајҹан Совет Сосиалист Республикасы, Azərbaycan Sovet Sosialist Respublikası; Азербайджанская Советская Социалистическая Республика, Azerbaydzhanskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika)เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต และล่มสลายในปี 1991.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก (Uzbek Soviet Socialist Republic; Ўзбекистон Совет Социалистик Республикаси, O'zbekiston Sovet Sotsialistik Respublikasi; Узбе́кская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1924 และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 ได้กลายเป็นรัฐเอกราชโดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อุซเบกิสถาน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย คือหนึ่งในสาธารณรัฐที่ประกอบเป็นประเทศสหภาพโซเวียต ปัจจุบันคือประเทศจอร์เจีย ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) ซึ่งต่อมาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก (Tajik SSR; Республикаи Советии Социалистии Тоҷикистон; Таджикская Советская Социалистическая Республика) เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1929 และล่มสลายในปี 1991โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐทาจิกีสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ทาจิกิสถาน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช (Karjalais-suomalainen sosialistinen neuvostotasavalta; Каре́ло-Фи́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตมาตั่งแต่ปี 1940 จนถูกผนวกกลับเข้าไปในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในปี 1956 และลดสถานะเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองสังคมนิยมโซเวียตคาเรลียาจนล่มสลายในปี 1991 และแทนที่โดยสาธารณรัฐคาเรลียาในปัจจุบัน หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคารีโล-ฟินนิช · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (คาซัคҚазақ Кеңестік Социалистік Республикасы, Qazaq Keñestik Socïalïstik Respwblïkası;รัสเซีย (Казахская Советская Социалистическая Республика - КССР, Kazakhskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika - KSSR) เป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของ สหภาพโซเวียต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1920 เริ่มแรกถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองคีร์กีซ (Kirghiz ASSR) และเป็นส่วนหนึ่งของ สหภาพโซเวียต ต่อมาวันที่ 15-19 เมษายน ปีค.ศ. 1925 ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตคาซัค และในวันที่ 5 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1936 ถูกยกระดับให้กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (Kazakh SSR) ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 1950 – 1960 พลเมืองโซเวียตถูกกระตุ้นให้ตั้งถิ่นฐานยังโครงการดินแดนบริสุทธิ์ฮรุชชอฟของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค การไหลหลั่งเข้ามาของผู้อพยพย้ายถิ่นเช่น รัสเซีย (อพยพเข้ามาเป็นส่วนใหญ่) ยูเครน เยอรมัน ยิว เบลารุส เกาหลี ทำให้เกิดการผสมผสานในหลายเชื้อชาติจนมีจำนวนของชาวต่างชาติมากกว่าชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้มีการใช้ภาษาคาซัคน้อยลงแต่ก็ถูกนำกลับมาใช้อีกตั้งแต่ถูกแยกตัวออกมาเป็นอิสระ วันที่ 10 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1991 Kazakh SSR ถูกเรียกใหม่ว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Republic of Kazakhstan) และแยกตัวเป็นอิสระจาก สหภาพโซเวียต ในวันที่ 16 ธันวาคม ปีเดียวกัน ซึ่งคาซัคสถานเป็นสาธารณรัฐสุดท้ายที่แยกตัวออกมาก่อนที่จะเกิดการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ (Kirghiz SSR; Кыргыз Советтик Социалисттик Республикасы; Киргизская Советская Социалистическая Республика),ป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1936 และล่มสลายในปี 1991โดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐคีร์กีซสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์คีร์กิซสถาน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian Soviet Socialist Republic; Белару́ская Саве́цкая Сацыялісты́чная Рэспу́бліка; Белору́сская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต หลังการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 กลุ่มบอลเชวิคจากสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองดินแดนเบลารุสและประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซีย (Socialist Soviet Republic of Byelorussia) ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1919 ต่อมาสาธารณรัฐแห่งนี้ถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบลารุส แต่ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 โดยใช้ชื่อว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย" สาธารณรัฐสังคมนิยมเบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1922 ร่วมกับสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทรานส์คอเคเชีย และสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย เบียโลรัสเซียเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐหลายแห่งในสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมนีนาซียึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับชาติอื่น ๆ รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียตอีกด้วย จุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียมาถึงในปี ค.ศ. 1991 เมื่อสาธารณรัฐแห่งนี้กลายเป็นรัฐเอกราชและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐเบลารุส เบียโลรัสเซีย หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปยุโรป หมวดหมู่:อดีตรัฐสมาชิกสหประชาชาติ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2463.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย (Estonian Soviet Socialist Republic; Eesti Nõukogude Sotsialistlik Vabariik; Эсто́нская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียตโดยได้รับการบริหารจากรัฐบาลกลางของสหภาพ ในขั้นแรก สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนียถูกจัดตั้งขึ้นในดินแดนของสาธารณรัฐเอสโตเนียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเอสโตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน

รณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน (เติร์กเมนТүркменистан Совет Социалистик Республикасы, Türkmenistan Sowet Sotsialistik Respublikasy;รัสเซียТуркменская Советская Социалистическая Республика, Turkmenskaya Sovetskaya Sotsialisticheskaya Respublika) หรือ โซเวียตเติร์กเมน เป็นรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่มีประชาธิปไตย และเป็นหนึ่งใน 15 สาธารณรัฐองค์ประกอบ (constituent republic) ของสหภาพโซเวียต ก่อตั้งขึ้นในปี 1922 (สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1921 และล่มสลายในปี 1991.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัย และหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสถาบันสมิธโซเนียน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

| casualties1.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ. 1989 เป็นสัญลักษณ์ว่าสงครามเย็นใกล้ยุติ สงครามเย็น (Cold War Холодная война) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรเนโท ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ) นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสงครามเย็น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต

นธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต หรือชื่อเต็มว่า สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต เป็นเอกสารซึ่งทำให้การสร้างสหภาพอันเกิดจากการวมตัวของสาธารณรัฐโซเวียตในรูปแบบของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการตรา คำประกาศก่อตั้งสหภาพโซเวียต ด้วย ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอารัมภกถาของสนธิสัญญาดังกล่าว วันที่ 29 ธันวาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและสนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

อภิมหาอำนาจ

แผนที่อภิมหาอำนาจในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา (น้ำเงิน), สหภาพโซเวียต (แดง), และ จักรวรรดิอังกฤษ (เขียวน้ำเงิน) รัสเซีย อภิมหาอำนาจ (superpower) คือ รัฐซึ่งเป็นผู้นำในระบบระหว่างประเทศและความสามารถในการใช้อำนาจชักจูงให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและวางแผนใช้อำนาจในระดับทั่วโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ รัฐ "อภิมหาอำนาจ" ถูกพิจารณาว่ามีความเหนือกว่ารัฐ "มหาอำนาจ" อลิซ ไลแมน มิลเลอร์ ศาสตราจารย์แห่งกิจการความมั่นคงแห่งชาติ ณ บัณฑิตวิทยาลัยกองทัพเรือ ให้คำจำกัดความของอภิมหาอำนาจว่า "ประเทศซึ่งมีความสามารถจะรักษาอำนาจครอบงำและส่งอิทธิพลได้ในทุกพื้นที่ในโลก และในบางครั้ง ในมากกว่าหนึ่งภูมิภาคของโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าบรรลุสถานะความเป็นเจ้าโลก คำดังกล่าวเริ่มถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและอภิมหาอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

อะเลคเซย์ โคซีกิน

อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช โคซีกิน (Алексе́й Никола́евич Косы́гин; Alexei Nikolayevich Kosygin; 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2523) เป็นประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ดำรงตำแหน่งคู่กับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ จึงเรียกยุคนี้ว่าสมัยผู้นำร่วมเบรจเนฟ-โคชิกิน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและอะเลคเซย์ โคซีกิน · ดูเพิ่มเติม »

อะเลคเซย์ เลโอนอฟ

อะเลคเซย์ อาร์ฮีโปวิช เลโอนอฟ (p เป็นทหารอากาศโซเวียตที่ปลดประจำการแล้ว เขาเป็นบุคคลคนแรกของโลกที่เดินบนอวกาศ หมวดหมู่:นักบินอวกาศชาวโซเวียต หมวดหมู่:บุคคลจากเคเมโรโวโอบลาสต์‎ หมวดหมู่:ภารกิจอวกาศในปี พ.ศ. 2508 หมวดหมู่:วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและอะเลคเซย์ เลโอนอฟ · ดูเพิ่มเติม »

อัลมาตี

อัลมาตี (คาซัค: Алматы) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคาซัคสถาน มีประชากร 1,226,000 คน ซึ่งคิดเป็น 8% ของประชากรในประเทศคาซัตสถาน และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ เมืองอัลมาตีเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศคาซัคสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 ถึง พ.ศ. 2541.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและอัลมาตี · ดูเพิ่มเติม »

อาชกาบัต

อาชกาบัต เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเติร์กเมนิสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีประชากร 695,300 คน และตั้งอยู่ระหว่างทะเลทรายคาราคัมกับเทือกเขาโกเปต แด๊ก กรุงอัชกาบัตมีชนพื้นเมืองเป็นชาวเติร์ก และมีเชื้อสายรัสเซีย อาร์เมเนียนและอเซริสอยู่ด้วย ทั้งนี้ทางตอนใต้ติดกับเมืองมาชฮัด ประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและอาชกาบัต · ดูเพิ่มเติม »

อุดมการณ์

อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง แนวความคิดทางการเมืองที่นำไปปฏิบัติจริง มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐ และการให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังสะท้อนสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชน อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและอุดมการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย

ระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 (1896) จักรพรรดินีโคไลที่ 2 (Николай II, Николай Александрович Романов, tr.) หรือ นิโคลัสที่ 2 (Nicholas II; 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2411 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2461) เป็นจักรพรรดิแห่งรัสเซีย, แกรนด์ดยุคฟินแลนด์และกษัตริย์แห่งโปแลนด์โดยสิทธิ์พระองค์สุดท้าย เช่นเดียวกับจักรพรรดิรัสเซียองค์อื่นๆ พระองค์เป็นที่รู้จักด้วยพระอิสริยยศ ซาร์ บรรดาศักดิ์โดยย่ออย่างเป็นทางการของพระองค์ คือ นิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์แห่งปวงรัสเซีย ศาสนจักรออโธด็อกซ์รัสเซียออกพระนามพระองค์ว่า นักบุญนิโคลัสผู้แบกมหาทรมาน (Passion-Bearer) และถูกเรียกว่า นักบุญนิโคลัสมรณสักขี จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงปกครองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทบิลีซี

ทบิลีซี (თბილისი) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศจอร์เจีย และก็ยังเป็นศูนย์กลางการปกครองและย่านเศรษฐกิจของประเทศจอร์เจีย ทบิลีซีมีประชากรประมาณ 1,473,551 คน ประกอบกับมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เพราะมีแหล่งน้ำมากมายพร้อมกับมีทำเลที่ดีในการปกครองทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองหลวงในที.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและทบิลีซี · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยูเรเชีย

ทวีปยูเรเชีย เป็นมหาทวีปที่รวมเอาทวีปยุโรป กับทวีปเอเชียเข้าด้วยกัน โดยเส้นแบ่งของทวีปยุโรปกับเอเชียคือเทือกเขายูราล คำนี้ส่วนใหญ่จะใช้พูดถึงกับเรื่องในประวัติศาสตร์เมื่อครั้งโลกหลายร้อยล้านปีที่ทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียยังติดกัน ทวีปนี้ขยายตัวมาจากมหาทวีปพันเจีย โดยมีทวีปต่างๆที่แยกตัวออกมาคือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ (แยกออกมาจากทวีปแอฟริกา) ทวีปยูเรเชีย เกาะอินเดีย ออสเตรเลีย และขั้วโลกใต้ โดยที่ทวีปยูเรเชียนั้น ในปัจจุบันเรามักจะเรียกว่า ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย มากกว่าที่จะเรียกว่า ยูเรเชีย สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากที่ การเรียกอย่างนี้จะทำให้เกิดการสับสนว่าเป็น ทวีปใดกันแน่ ทั้งวัฒนธรรม การเมือง ประเพณี ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต อาหารการกิน ยังแตกต่างกันด้วย นอกจากเราจะยังพูดถึงโลกล้านปีแล้ว การที่ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ติดกันตรงพรมแดนของประเทศจีน-ประเทศรัสเซีย เป็นต้น เป็นเสมือนเกาะใหญ่ และการคมนาคม ประวัติศาสตร์ยังคล้ายคลึงกันอีกด้วย เราจึงยังจะคงเรียกอยู.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและทวีปยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคสเปียน

ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 371,000 ตร.กม. และจุดลึกที่สุดลึกประมาณ 980 เมตร ทะเลแคสเปียนมีลักษณะร่วมของทั้งทะเลและทะเลสาบ บางครั้งจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามน้ำในทะเลแคสเปียนกลับไม่ได้เป็นน้ำจืด มีปริมาณเกลือประมาณ 1.2% ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณเกลือในน้ำทะเลทั่วไป.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและทะเลแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ทาชเคนต์

ทางอากาศกรุงทาชเคนต์ ทาชเคนต์ (Tashkent หรือ Toshkent; อุซเบก: Тошкент; Ташкент; ชื่อมีความหมายในภาษาอุซเบกว่า "นครศิลา") เป็นเมืองหลวงของประเทศอุซเบกิสถาน มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและทาชเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาลลินน์

ทาลลินน์ (Tallinn; เยอรมัน; สวีเดน: Reval เรวัล เป็นชื่อประวัติศาสตร์ในภาษาเยอรมัน และ ภาษาสวีเดน) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าหลักของประเทศเอสโตเนีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลบอลติกทางด้านเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเฮลซิงกิ (เมืองหลวงของประเทศฟินแลนด์) 80 กิโลเมตร.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและทาลลินน์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเทียมสปุตนิก 1

ปุตนิก 1 (Спутник-1; IPA:; Sputnik 1) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก สหภาพโซเวียต ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรีในวันที่ 4 ตุลาคม 1957 ซึ่งโคจรสามสัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรี่จะเสียอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในอีกสองเดือนต่อมา สปุตนิก 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและดาวเทียมสปุตนิก 1 · ดูเพิ่มเติม »

ดิอินดีเพ็นเดนต์

อินดีเพ็นเดนต์ (The Independent) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยIndependent News & Media ฉบับวันราชการเรียกกันสั้นๆ ว่า “อินดี้” และฉบับวันอาทิตย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “ซันดี้” “ดิอินดีเพ็นเดนต์” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับล่าที่สุดฉบับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและดิอินดีเพ็นเดนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดูชานเบ

ูชานเบ (Душанбе) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศทาจิกิสถาน คำว่า ดูชานเบ ในภาษาทาจิก มีความหมายว่า "วันจันทร์" ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากข้อเท็จจริงที่เมืองเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเรื่องตลาดวันจันทร.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและดูชานเบ · ดูเพิ่มเติม »

ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534

วามพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

เหมา เจ๋อ ตุงและนิกิตา ครุสชอฟในจีน 1958 ความแตกแยกระหว่างจีน-โซเวียต (Sino-Soviet split, Советско-китайский раскол) (1960-1989) เป็นความเสื่อมของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน (P.R.C.) และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (U.S.S.R.) ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากความแตกต่างจากการตีความแตกต่างกันของลัทธิมากซ์-เลนินซึ่งเป็นอิทธิพลในการปกครองของจีนและโซเวียตChambers Dictionary of World History, B.P. Lenman, T. Anderson editors, Chambers: Edinburgh:2000.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

คอนสตันติน เชียร์เนนโค

คอนสตันติน อุสตีโนวิช เชียร์เนนโค(Константи́н Усти́нович Черне́нко, Konstantin Ustinovich Chernenko)(24 กันยายน 1911 - 10 มีนาคม 1985) เป็นนักการเมืองโซเวียตและห้าเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เขานำสหภาพโซเวียตจาก 13 กุมภาพันธ์ 1984 จนกระทั่งเขาตายสิบสามเดือนต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1985 Chernenko ยังประธานรัฐสภาของสูงสุดสหภาพโซเวียตจาก 11 เมษายน 1984 จนกระทั่งเขาตาย หมวดหมู่:ผู้นำในสงครามเย็น หมวดหมู่:นักการเมืองโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและคอนสตันติน เชียร์เนนโค · ดูเพิ่มเติม »

คีชีเนา

อาคารที่ทำการรัฐบาลมอลโดวาในกรุงคีชีเนา คีชีเนา (Chișinău) เป็นเมืองหลวง ศูนย์กลางอุตสาหกรรม และศูนย์กลางการค้าของประเทศมอลโดวา และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดซึ่งตั้งทางตอนกลางของประเทศ ริมแม่น้ำบิก (Bîc) ซึ่งเป็นแควฝั่งขวาของแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester) ในแง่เศรษฐกิจ กรุงคีชีเนาเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดในมอลโดวาและเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางการขนส่งและอุตสาหกรรมของภูมิภาค ในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญของประเทศ กรุงคีชีเนาจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการศึกษาที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวสูงที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของทวีปยุโรป ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2004) กรุงคีชีเนามีประชากร 647,513 คน มีนายเวอาตเชสลาฟ อีออร์ดัน (Veaceslav Iordan) เป็นนายกเทศมนตรีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 คีชีเนาได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1436 ในฐานะส่วนหนึ่งของราชรัฐมอลเดเวีย (Moldavia) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมืองนี้อยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อเริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คีชีเนาเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียง 7,000 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 1812 เมืองนี้ได้ถูกจักรวรรดิรัสเซียเข้ายึดครองและตั้งเป็นศูนย์กลางของแคว้นเบสซาราเบีย (Bessarabia) เมื่อถึงปี ค.ศ. 1862 จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 92,000 คน และเพิ่มเป็น 125,787 คนเมื่อถึงปี ค.ศ. 1900 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1940-1941 และ ค.ศ. 1945-1991 เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวีย (Moldavian SSR) ในชื่อ คิชิเนฟ (Kishinev).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและคีชีเนา · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (สหภาพโซเวียต)

ณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ หรือ เคจีบี (Комите́т госуда́рственной безопа́сности; ย่อ: КГБ) เป็นอดีตหน่วยงานกลาง ดูแลการข่าว ความมั่นคง ตำรวจสันติบาล และ กิจการชายแดนของสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (สหภาพโซเวียต) · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่างๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ประวัติศาสตร์รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสลาฟตะวันออกก่อตั้งจักรวรรดิเคียฟรุส และรับเอาศาสนาคริสต์มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1531 ในปีพ.ศ. 1783 อาณาจักรคีวานรุสล่มสลายโดยการรุกรานจากจักรวรรดิมองโกล หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 มอสโกได้ค่อยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทีละน้อย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐมอสโกได้เป็นใหญ่ในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้มีการขยายอาณาเขตถึงโปแลนด์ ทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงสมัยพระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ในปี พ.ศ. 2023 พระองค์หยุดส่งเครื่องบรรณาการให้มองโกเลีย และประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของมองโกเลียอีกต่อไป หลังจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่งผลให้รัสเซียเผชิญปัญหาในการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ประชาชนลำบากแร้นแค้น กำลังทหารและเศรษฐกิจรัสเซียเข้าขั้นวิกฤต ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต เป็นประเทศแรกของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกคู่กับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น ในสมัยนั้น นโยบายของสหภาพโซเวียตได้เน้นการป้องกันประเทศและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม แต่การเน้นพัฒนาทหารขนานใหญ่ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ต่อมา เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้เริ่มนโยบายปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจึงแยกตัวออกมาเป็นเป็นสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน โดยที่รัสเซียได้รับสถานภาพตามกฎหมายในเวทีระหว่างประเทศมาจากสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประวัติศาสตร์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโซมาเลีย

ซมาเลีย (Somalia; Soomaaliya; الصومال) หรือชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐโซมาเลีย (Federal Republic of Somalia; Jamhuuriyadda Federaalka Soomaaliya; جمهورية الصومال الفدرالية) มีชื่อเดิมว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี และ สาธารณรัฐโซมาลี มีพื้นที่ติดกับแหลมแอฟริกา มีพรมแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจีบูติ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเคนยา มีพื้นที่ทางทิศเหนือติดกับประเทศเยเมนโดยมีอ่าวเอเดนเป็นพรมแดนทางทะเล ทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดกับประเทศเอธิโอเปี.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศโซมาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีเหนือ

รณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและประเทศเกาหลีเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต (Глава Правительства СССР) เป็นหัวหน้ารัฐบาลของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตตำแหน่งนี้มีสองที่ได้รับการแต่งตั่ง (วลาดิมีร์ เลนิน,โจเซฟ สตาลิน) สามคนที่ได้รับเลือกตั่ง (อะเลคเซย์ โคซีกิน, นีโคไล ตีโฮนอฟและ อีวาน ซีลาเยฟ) สถาคอมมิสซาร์ประชาชนก่อตั่งเป็นครั่งแรกหลังการปฏิวัติเดีอนตุลาคมในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียตามทีมาตราที่ 38 ของรัฐธรรมมูญสหภาพโซเวียต 1924 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียตในปี 1946 ในปี 1964 นีกีตา ครุชชอฟ ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการกลาง ในสมัยที่โคซีกินดำรงตำแหน่ง ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต โคซีกินได้เริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจโซเวียต 1965และรัฐธรรมมูญสหภาพโซเวียต 1977 ประธานสภารัฐมนตรีจึงเป็นหัวหน้ารัฐบาลไปโดยปริยาย จนหลังจากที่ นีโคไล รึจคอฟ ออกจากตำแหน่งและแทนที่โดย วาเลนติน ปัฟลอฟ ตำแหน่งนี้จึงถูกเปลี่ยนชี่ออิกครังเป็น นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียตจนเมื่อรัฐประหารล้มเหลวตำแหน่งจึงถูกเปลี่ยนเป็น Chairman of the Interstate Economic Committee – Prime Minister of the Economic Commonwealth ในช่วง 126 วันสุดท้ายของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและนายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

นารวม

นารวม หมายถึง การเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มทำการผลิตในที่ดินของกลุ่มหรือที่รัฐจัดไว้ให้ เกษตรกรจะได้รับการปันส่วนผลผลิตอย่างเท่าเทียมกัน และต้องแบ่งปันผลผลิตของกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มการผลิตอื่น ๆ ที่ใหญ่ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการครอบครองปัจจัยการผลิต เช่น "ที่ดิน" ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นปัจจัยการผลิต ในปัจจุบันจะเห็นที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตของเกษตรกรไม่ถูกนำมาใช้ในการผลิต การขยายตัวของทุนที่สร้างมูลค่าส่วนเกินทำให้มีการลงทุนเพื่อที่จะครอบครองที่ดินไว้ขายต่อหวังกำไร ทำให้มูลค่าที่ได้จากการนำที่ดินมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตไม่เกิดขึ้น ลดช่องว่างระหว่างชนชั้นกำจัดการถือครองปัจจัยการผลิตเอกชนเพื่อลดช่องว่างที่เกิดจากมูลค่าที่เป็นรายได้ของสมาชิก เกิดความเสมอภาคในการครอบครองปัจจัยการผลิตอย่างถาวร หมวดหมู่:เกษตรกรรม.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและนารวม · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นีกีตา ครุชชอฟ

นีกีตา เซียร์เกเยวิช ครุชชอฟ (Никита Сергеевич Хрущёв; Nikita Sergeyevich Khrushchev 17 เมษายน ค.ศ. 1894 - 11 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1953 ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากนิโคไล บัลกานิน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและนีกีตา ครุชชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น

รูปค้อนเคียว สัญลักษณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของโซเวียต ที่ปรากฏในช่วง ค.ศ. 1917 -1945 ในระหว่างช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 และสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป เป็นยุคที่สหภาพโซเวียตได้พยายามก่อร่างสร้างตัว เพื่อให้เป็นรัฐสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ตามแนวลัทธิมาร์ก-เลนิน และเพื่อดำรงอยู่ได้โดยไม่ถูกทำลายจากมหาอำนาจตะวันตก และป้องกันภัยจากทางตะวันออกไกล คือ ญี่ปุ่น ดังนั้นนโยบายต่างประเทศในช่วงนี้จะอยู่ในสมัยของ เลนิน (1917-1924) และส่วนใหญ่ของ สตาลิน (1924-1953).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและนโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคเริ่มต้น · ดูเพิ่มเติม »

แมกซิม กอร์กี

อะเลคเซย์ แมกซิมอวิช เปชคอฟ (Алексей Максимович Пешков) หรือรู้จักกันในนาม แมกซิม กอร์กี (Макси́м Го́рький) เป็นนักประพันธ์ชาวรัสเซีย เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและแมกซิม กอร์กี · ดูเพิ่มเติม »

แองเตอร์นาซิอองนาล

เออแฌน ปอตีเย (Eugène Pottier) ผู้ประพันธ์คำร้องของเพลงแล็งแตร์นาซียอนาล แองเตอร์นาซิอองนาล (L'Internationale; แล็งแตร์นาซียอนาล, The Internationale; ดิอินเตอร์แนชนาล, Die Internationale; "ดี อินเทอร์นาโชนาล") เป็นเพลงปลุกใจที่ใช้ในการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ มีที่มาจากบทกวีต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสของ เออแฌน ปอตีเย (Eugène Pottier) ในปี..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและแองเตอร์นาซิอองนาล · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โลกที่หนึ่ง

ติเป็นกลาง และประเทศไม่สังกัดพันธมิตรใด แนวคิดของ โลกที่หนึ่ง (First World) ถือกำเนิดขึ้นระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่ออธิบายถึงประเทศที่เข้าเป็นฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการสิ้นสุดของสงครามเย็น ความหมายของคำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า "โลกที่หนึ่ง" ได้มามีความหมายในทำนองเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว (ขึ้นอยู่กับว่ากำลังใช้คำจำกัดความใด) ประเทศโลกที่หนึ่งโดยทั่วไปมักมีเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก ในอีกมุมมองหนึ่ง สหประชาชาติจำกัดความ "โลกที่หนึ่ง" ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของรายรับและผลผลิตของชาติต่าง ๆ การจำกัดความของ "โลกที่หนึ่ง" ในปัจจุบัน จึงประจักษ์ชัดเจนน้อยกว่าระหว่างสงครามเย็น ความเคลื่อนไหวในระดับโลกระหว่างโลกที่หนึ่งและโลกอื่น ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ความสัมพันธ์กับโลกที่สองเป็นไปในเชิงการแข่งขัน และความเป็นปรปักษ์ทางความคิด ความสัมพันธ์กับโลกที่สาม โดยปกติมักเป็นไปในเชิงบวกตามทฤษฎี ในขณะที่อาจมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอยู่บ้างในทางปฏิบัติ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโลกในปัจจุบันมิได้เป็นไปอย่างตายตัวอย่างในอดีต ถึงแม้ว่าจะมีความไม่เสมอกันซึ่งโลกที่หนึ่งมีอิทธิพล ความมั่งคั่ง ข้อมูลข่าวสาร และความเจริญก้าวหน้าเหนือกว่าโลกอื่น ๆ โลกาภิวัตน์ได้เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อย ๆ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโลกที่หนึ่งและความเชื่อมโยงกับโลกอื่น ๆ ตัวอย่างของโลกาภิวัตน์ภายในโลกที่หนึ่ง คือ สหภาพยุโรป ซึ่งได้นำความร่วมมือและการบูรณาการเข้ามาสู่ภูมิภาคเป็นอันมาก บริษัทข้ามชาติยังเป็นตัวอย่างของผลกระทบของโลกที่หนึ่งซึ่งมีต่อโลกาภิวัตน์ เมื่อบริษัทเหล่านี้ได้นำมาซึ่งการรวมเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในหลายประเทศ ด้วยการเติบโตของบริษัทข้ามชาติมักมีปัญหาในกระบวนการติดต่อกับบุคคลที่สามในหลายประเทศโลกที่หนึ่ง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและโลกที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปลิตบูโร

โปลิตบูโร (รัสเซีย: Политбюро, Politburo) หมายถึงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง มักใช้กับพรรคคอมมิวนิสต์ ในอดีตสหภาพโซเวียต โปลิตบูโรประกอบด้วยเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ (The General Secretary of the Communist Party of the Soviet Union) และบุคคลสำคัญรองลงมาเช่น ประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1917-1991 มีเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มาแล้ว 7 คน คือ เลนิน สตาลิน ครุสชอฟ เบรสเนฟ อันโดรปอฟ เชอร์เนนโก และกอร์บาชอฟ หมวดหมู่:สหภาพโซเวียต หมวดหมู่:รัฐบาลสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและโปลิตบูโร · ดูเพิ่มเติม »

โนโวซีบีสค์

นโวซีบีรสค์ (p; Novosibirsk) เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศรัสเซีย รองจากกรุงมอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัสเซียส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชีย มีประชากร 1,473,754 คน (ค.ศ. 2010) เป็นเมืองหลวงของโนโวซีบีสค์โอบลาสต์ เมืองตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไซบีเรีย ริมฝั่งแม่น้ำอ็อบ มีพื้นที่ 502.1 ตร.กม.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและโนโวซีบีสค์ · ดูเพิ่มเติม »

ไลก้า

ลก้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและไลก้า · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติสหภาพโซเวียต

Slav’sya, Otechestvo nashe svobodnoye! (Славься, Отечество наше свободное!; Slav’sya, Otechestvo nashe svobodnoye!, แปล "Be glorious, our free Fatherland!"), หรือมีชื่อที่รู้จักอย่างเป็นทางการคือ "เพลงชาติสหภาพโซเวียต" (r) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 15 มีนาคม 1944 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียโดยพวกบอลเชวิคเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460) ในปีต่อมา ได้มีการใช้เพลง L'Internationale (หรือในภาษาอังกฤษ The Internationale) ซึ่งเพลงประจำของการปฏิวัติสังคมนิยมสากลเป็นเพลงชาติรัสเซีย เนื้อร้องฉบับภาษารัสเซียเป็นผลงานแปลของ อาร์คาดี้ ยาคอฟเลวิช ก็อตส์ เมื่อปี ค.ศ. 1902 (พ.ศ. 2445) เพลงนี้ได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียตที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) และใช้ต่อมาจนถึงปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) จากนั้นมีการใช้เพลงชาติใหม่ ที่ประพันธ์ทำนองโดย อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานดรอฟ และประพันธ์เนื้อร้องโดย เซอร์เกย์ มิคาลกอฟ และ จี.แอล. เรจิสตาน ก่อนที่เพลงนี้จะได้ใช้เป็นเพลงชาติสหภาพโซเวียต ทำนองของเพลงนี้เคยถูกใช้ในงานหลายชิ้นของอเล็กซานดรอฟ ครั้งแรกได้ใช้เป็นเพลงประจำพรรคบอลเชวิคใน ค.ศ. 1938 (พ.ศ. 2481) และเมื่อ องค์การคอมมิวนิสต์สากล หรือโคมินเทิร์นสลายตัวไปในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) ผู้นำประเทศมองว่าเพลงชาติใหม่ของสหภาพโซเวียต สมควรเข้ามาแทนที่เพลง L'Internationale ซึ่งตามประวัติแล้วเกี่ยวข้องกับขบวนการคอมมิวนิสต์สากลมากกว่า โจเซฟ สตาลิน ผู้นำประเทศในยุคนั้นจึงตัดสินใจเลือกเอาทำนองที่อเล็กซานดรอฟประพันธ์ มาใช้เป็นทำนองเพลงชาติฉบับใหม่ ส่วนคำร้องที่ร่วมประพันธ์โดย มิคาลกอฟ และ แอล.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเพลงชาติสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

เยเรวาน

รวาน (Yerevan; Երևան) บางครั้งเรียกว่า เอเรวาน (Erevan) ชื่อเดิมคือ เอเรบูนี (Erebuni) และ เอรีวาน (Erivan) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอาร์มีเนีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฮรัซดัน (Hrazdan River) กรุงเยเรวานเป็นศูนย์กลางการบริหาร วัฒนธรรม และอุตสาหกรรมของประเทศ ปัจจุบันมีประชากร 1,088,000 คน (ค.ศ. 2004) มีนายตารอน มาร์กาเรียน (Taron Margaryan) เป็นนายกเทศมนตรี ประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของเมืองนี้ย้อนไปถึงในช่วงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการตั้งป้อมอูราร์เตียนแห่งเมืองเอเรบูนีเมื่อ 782 ปีก่อนคริสต์ศักราช กรุงเยเรวานเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเยเรวานสเตต (1919) บัณฑิตยสถานอาร์มีเนีย รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ โรงอุปรากร ห้องแสดงดนตรี สถาบันเทคโนโลยี ห้องสมุดสาธารณะขนาดใหญ่ สวนพฤกษศาสตร์ และสวนสัตว์อีกหลายแห่ง สถาบันมาเตนาดารัน (Matenadaran) ได้สะสมเอกสารต้นฉบับของอาร์มีเนียโบราณ กรีก ซีเรีย ฮีบรู โรมัน และเปอร์เซียที่มีค่าเอาไว้มากมาย เยเรวานยังเป็นหัวใจของเครือข่ายทางรถไฟและเป็นศูนย์กลางการค้าหลักของสินค้าเกษตรกรรมของประเทศ นอกจากนี้ โรงงานอุตสาหกรรมในเมืองนี้ยังผลิตโลหะ เครื่องมือจักรกล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์อาหารอีกด้ว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเยเรวาน · ดูเพิ่มเติม »

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต

ลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (Генеральный секретарь ЦК КПСС) เป็นตำแหน่งที่มอบให้แก่ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ด้วยข้อยกเว้นบางประการ ตำแหน่งนี้เทียบได้กับผู้นำสหภาพโซเวียต ที่ผ่านมาตำแหน่งนี้มีชื่ออื่นอีกสี่ชื่อ ได้แก่ เลขาธิการผู้เชี่ยวชาญ (ค.ศ. 1917-1918), ประธานสำนักเลขานุการ (ค.ศ. 1918-1919), เลขานุการผู้รับผิดชอบ (ค.ศ. 1919-1922) และเลขานุการลำดับที่หนึ่ง (ค.ศ. 1953-1966) ต่อมาภายหลังการเสียชีวิตของเลนิน โจเซฟ สตาลินยกระดับตำแหน่งนี้ให้บังคับบัญชาพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งหมด และสหภาพโซเวียตทั้งหมดโดยนิยามด้วย ตำแหน่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนิด เบรจเนฟ

ลโอนิด อิลลิช เบรจเนฟ (Леонид Ильич Брежнев; Leonid Illyich Brezhnev; 19 ธันวาคม 2449 – 10 ธันวาคม 2525) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีโซเวียตคนที่ 8 ระหว่างสงครามเย็น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเลโอนิด เบรจเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

เหมา เจ๋อตง

หมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อตุง (26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 — 9 กันยายน พ.ศ. 2519) หรือที่นิยมเรียกอีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเหมา เจ๋อตง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียกลาง

แผนที่เอเชียกลางแสดงเขตแดนตามคำนิยามที่ต่างกัน 3 แบบ เอเชียกลาง(อังกฤษ: Central Asia หรือ Middle Asia รัสเซีย: Центральная Азия) เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกทะเล มีคำนิยามที่ต่างกันออกไปสำหรับขอบเขตของดินแดนที่จัดอยู่ในภูมิภาคเป็นเอเชียกลาง และยังไม่มีคำนิยามใดที่เป็นที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามลักษณะโดยทั่วไปของดินแดนในภูมิภาคนี้คือ มีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์กับกลุ่มชนร่อนเร่ (nomad) และ เส้นทางสายไหม ซึ่งทำให้ในอดีตนั้นดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนเส้นทางของ สินค้า คน รวมถึง แนวความคิด ระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเอเชียกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เฮลซิงกิ

ลซิงกิ() (Helsingfors) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟินแลนด์ ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศ ริมชายฝั่งอ่าวฟินแลนด์ ตัวเมืองมีประชากรประมาณ 600,000 คน เฮลซิงกิอยู่ติดกับเมืองวันตาและเอสโปซึ่งรวมตั้งเป็นเขตเมืองหลวงหรือมหานครเฮลซิงกิ มีประชากรเกือบหนึ่งล้านคน และถ้านับเขตที่อยู่อาศัยในปริมณฑลด้วยจะมีประชากรมากกว่า 1.2 ล้านคน เฮลซิงฟอร์สเป็นชื่อเมืองดั้งเดิม และยังคงเป็นชื่อเมืองในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นชื่อที่ใช้ในระดับนานาชาติด้ว.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเฮลซิงกิ · ดูเพิ่มเติม »

เจอรัลด์ ฟอร์ด

อรัลด์ รูดอล์ฟ ฟอร์ด จูเนียร์ (ภาษาอังกฤษ: Gerald Rudolph Ford, Jr.) (14 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 – 26 ธันวาคม ค.ศ. 2006) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 38 ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 จนถึงวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1977 และเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 40 ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเจอรัลด์ ฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก

อะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก (The World Factbook, ISSN) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ซีไอเอเวิลด์แฟกต์บุ๊ก (CIA World Factbook) เป็นทรัพยากรอ้างอิงที่สำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) ผลิต โดยมีสารสนเทศแบบกาลานุกรมเกี่ยวกับประเทศของโลก เดอะแฟกต์บุ๊ก เข้าถึงได้ในรูปเว็บไซต์ ซึ่งมีการปรับบางส่วนทุกสัปดาห์ และยังมีให้ดาวน์โหลดเพื่อใช้แบบออฟไลน์ เอกสารดังกล่าวให้ข้อมูลสรุปประมาณสองถึงสามหน้าเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การสื่อสาร การปกครอง เศรษฐกิจ และการทหารของหน่วยการปกครอง 267 แห่ง (entity) ซึ่งได้แก่ประเทศ เขตสังกัด และพื้นที่อื่นในโลกที่สหรัฐรับรอง สำนักข่าวกรองกลางจัดทำ เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อข้าราชการสหรัฐ วัจนลีลา การจัดรูปแบบ ขอบเขต และเนื้อหาได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาเป็นหลัก อย่างไรก็ดี เอกสารวิจัยวิชาการและบทความข่าวมักใช้เป็นทรัพยากร แม้จะมีคุณภาพสารสนเทศกำกวมก็ตาม เนื่องจากเป็นงานของรัฐบาลสหรัฐ จึงถือเป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เครมลินแห่งมอสโก

รมลินแห่งมอสโก (Моско́вский Кремль) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครมลิน เป็นคำที่ใช้เรียกบริเวณหมู่ตึกและป้อมปราการบริเวณใจกลางกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ทางใต้เริ่มตั้งแต่บริเวณแม่น้ำมอสโก ทางตะวันออกเริ่มตั้งแต่มหาวิหารเซนต์เบซิลและจัตุรัสแดง ทางตะวันตกเริ่มตั้งแต่สวนอะเล็กซานเดอร์ เครมลินแห่งมอสโกได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโกเมื่อ..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเครมลินแห่งมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์

เซียร์เกย์ มีไคโลวิช ไอเซนสไตน์ (Sergei Mikhailovich Eisenstein; Сергей Михайлович Эйзенштейн) (26 มกราคม ค.ศ. 1898 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948) เป็นผู้กำกับนักปฏิวัติวงการภาพยนตร์ชาวโซเวียต เป็นนักทฤษฎีภาพยนตร์ ผลงานภาพยนตร์เงียบของเขาอย่างเช่น Strike, โบรเนโนเซตส์โปติออมกิน และ ออคเตียบร์ และผลงานมหากาพย์อิงประวัติศาสตร์อย่าง อะเลคซันดร์ เนฟสกี และ Ivan the Terrible ผลงานของเขาเป็นอิทธิพลให้แก่วงการผู้สร้างภาพยนตร์ยุคแรก หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวโซเวียต.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปโตรซาวอดสค์

ปโตรซาวอดสค์ (p; คาเรเลีย/Vepsian/Petroskoi) เป็นเมืองหลักของสาธารณรัฐคาเรเลีย, ประเทศรัสเซีย, โดยอยู่ทางทิศตะวันตกของ ทะเลสาบโอเนกา ระหว่างการยึดครองคาเรเลียตะวันออกของฟินแลนด์ในช่วง สงครามต่อเนื่อง (1941–1944) เปโตรซาวอดสค์ถูกเรียกชื่อในภาษาฟินแลนด์ว่า Äänislinna (หรือ Ääneslinna), หรือแบบดั้งเดิมคือ Petroskoi เปโตรซาวอดสค์ถูกปกครองโดยกองทัพฟินแลนด์เป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่กองทัพโซเวียตจะยึดคืนในวันที่ 28 มิถุนายน 1944.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเปโตรซาวอดสค์ · ดูเพิ่มเติม »

เปเรสตรอยคา

''เปเรสตรอยคา'' ในไปรษณียากรของสหภาพโซเวียต ในปี 1988 เปเรสตรอยคา (перестро́йка, Perestroika) เป็นขบวนการทางการเมืองเพื่อการปฏิรูปภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งสัมพันธ์กับผู้นำโซเวียต มีฮาอิล กอร์บาชอฟ และการปฏิรูปนโยบายกลัสนอสต์ของเขา มีความหมายตามอักษรว่า "การปรับโครงสร้าง" ซึ่งหมายถึง การปรับโครงสร้างระบบการเมืองและเศรษฐกิจของโซเวียต มักแย้งว่าเปเรสตรอยคาเป็นสาเหตุแห่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การปฏิวัต..

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและเปเรสตรอยคา · ดูเพิ่มเติม »

.su

.su เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับ ประเทศสหภาพโซเวียต ก่อนหน้านี้องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) ได้เคยระบุว่าเป็นโดเมนระดับบนสุดที่เลิกใช้แล้ว แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานะเป็นใช้งานได้ตามปกติ และยังมีการรับจดทะเบียนโดเมนเนมใหม่ใน.su อยู่ แม้.su จะไม่เป็นที่นิยมนักเมื่อเทียบกับ.ru ที่เป็นโดเมนตามรหัสประเทศรัสเซียในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ.su · ดูเพิ่มเติม »

1 พฤษภาคม

วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ 121 ของปี (วันที่ 122 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 244 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ1 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

12 เมษายน

วันที่ 12 เมษายน เป็นวันที่ 102 ของปี (วันที่ 103 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 263 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ12 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

19 สิงหาคม

วันที่ 19 สิงหาคม เป็นวันที่ 231 ของปี (วันที่ 232 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 134 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ19 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 สิงหาคม

วันที่ 20 สิงหาคม เป็นวันที่ 232 ของปี (วันที่ 233 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 133 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ20 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 กุมภาพันธ์

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 54 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 311 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ23 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

25 ธันวาคม

วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่ 359 ของปี (วันที่ 360 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 6 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ25 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

5 ธันวาคม

วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันที่ 339 ของปี (วันที่ 340 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 26 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ5 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 พฤศจิกายน

วันที่ 7 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 311 ของปี (วันที่ 312 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 54 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ7 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

7 กุมภาพันธ์

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 38 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 327 วันในปีนั้น (328 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ7 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

7 ตุลาคม

วันที่ 7 ตุลาคม เป็นวันที่ 280 ของปี (วันที่ 281 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 85 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ7 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 มีนาคม

วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันที่ 67 ของปี (วันที่ 68 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 298 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ8 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 พฤษภาคม

วันที่ 9 พฤษภาคม เป็นวันที่ 129 ของปี (วันที่ 130 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 236 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สหภาพโซเวียตและ9 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Soviet UnionU.S.S.R.USSRUnion of Soviet Socialist Republicsยุทธศาสตร์โซเวียตยู.เอส.เอส.อาร์.ยูเอสเอสอาร์สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตประเทศโซเวียตโซเวียต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »