โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สสารมืดเย็นและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สสารมืดเย็นและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

สสารมืดเย็น vs. แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

รมืดเย็น (Cold dark matter; CDM) เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มทฤษฎีบิกแบง ซึ่งมีสมมุติฐานข้อใหญ่อยู่ว่า สสารส่วนใหญ่ในเอกภพนั้นเป็นสสารที่ไม่สามารถสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ มันจึงมีลักษณะ มืด ขณะที่อนุภาคที่ประกอบกันขึ้นเป็นสสารนี้มีความเร็วต่ำมาก มันจึงมีลักษณะ เย็น ตราบถึงปี.. แผนภูมิวงกลมแสดงสัดส่วนขององค์ประกอบมวลหรือพลังงานที่มีอยู่ในเอกภพ ซึ่งราว 95% เป็นสสารมืดและพลังงานมืด แลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม (Lambda-CDM) ย่อมาจาก Lambda-Cold Dark Matter หรือ แลมบ์ดา-สสารมืดเย็น มักถูกอ้างถึงในฐานะเป็น แบบจำลองมาตรฐาน ของการศึกษาจักรวาลวิทยาตามทฤษฎีบิกแบง เป็นความพยายามอธิบายถึงการมีอยู่และโครงสร้างของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ การกระจายตัวขององค์ประกอบแสง และการที่เอกภพขยายตัวออกด้วยอัตราเร่ง ซึ่งสังเกตได้จากแสงจากดาราจักรที่อยู่ห่างไกลหรือซูเปอร์โนวา เป็นแบบจำลองที่เรียบง่ายที่สุดที่เห็นพ้องกันว่าสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกตได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สสารมืดเย็นและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

สสารมืดเย็นและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บิกแบงรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลดาราจักรโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

บิกแบงและสสารมืดเย็น · บิกแบงและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล

รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (cosmic microwave background radiation; เรียกย่อว่า CMB, MBR, หรือ CMBR) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารูปแบบหนึ่งที่แผ่อยู่ในเอกภพ กล่าวให้เข้าใจง่าย เมื่อเรามองดูท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ห้วงอวกาศระหว่างดาวและดาราจักรต่างๆ จะไม่เป็นสีดำ แต่กลับมีการเรืองแสงน้อยๆ อยู่ที่เกือบจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเส้นเรืองแสงนั้นไม่ได้มาจากดาวฤกษ์หรือดาราจักรใดๆ เลย เส้นเรืองแสงนี้จะเข้มที่สุดในย่านคลื่นไมโครเวฟของสเปกตรัมวิทยุ มันจึงได้ชื่อว่า รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ส่วนที่เกี่ยวข้องกับรังสีก็เนื่องมาจากทฤษฎีซึ่งเป็นที่แพร่หลายที่อธิบายว่า การแผ่รังสีนี้เป็นสิ่งหลงเหลือจากเอกภพยุคแรกเริ่ม การตรวจวัดการแผ่รังสีพื้นหลังของจักรวาลอย่างแม่นยำมีความสำคัญมากในการศึกษาจักรวาลวิทยา เพราะแบบจำลองของเอกภพใดๆ ก็ตามจะต้องสามารถอธิบายการแผ่รังสีที่ตรวจพบนี้ได้ด้วย การค้นพบเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1965 ที่ว่ากันว่าเป็นรังสีที่แผ่ปกคลุมทั้งเอกภพ มีสเปกตรัมคล้ายกับวัตถุดำที่มีอุณหภูมิ 2.725 เคลวินในช่วงความถี่160.2 กิโลเฮิร์ตซ์ หรือคำนวณเป็นความยาวคลื่นประมาณ 1.9 มิลลิเมตรนักจักรวาลวิทยาส่วนใหญ่คิดว่าไมโครเวฟพื้นหลังนี้เป็นหลักฐานที่ดีที่สุดสำหรับการสนับสนุนทฤษฎีบิ๊กแบง อันเป็นทฤษฎีการกำเนิดเอกภพที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดในปัจจุบัน.

รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลและสสารมืดเย็น · รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ดาราจักรและสสารมืดเย็น · ดาราจักรและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ

ำหรับจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ โครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ (Large-scale structure) หมายถึงคุณลักษณะการกระจายตัวที่สังเกตได้ของสสารและแสงในจักรวาลในระดับมหภาค (โดยมากในระดับที่วัดกันเป็นหน่วย พันล้านของปีแสง) การสำรวจท้องฟ้าและการจัดทำแผนที่โดยอาศัยช่วงคลื่นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่างๆ กันช่วยทำให้เราได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะของโครงสร้างเอกภพ หากจะจัดลำดับชั้นของโครงสร้าง ระดับที่สูงที่สุดได้แก่ ซูเปอร์คลัสเตอร์ และ ใยเอกภพ ในระดับที่สูงกว่านี้ดูจะไม่มีโครงสร้างต่อเนื่องที่แน่ชัด ลักษณะเช่นนี้เรียกชื่อกันว่า จุดสิ้นสุดของความยิ่งใหญ่ (End of Greatness).

สสารมืดเย็นและโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ · แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็มและโครงสร้างขนาดใหญ่ในเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สสารมืดเย็นและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม

สสารมืดเย็น มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ แบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 20.00% = 4 / (9 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สสารมืดเย็นและแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »