ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สล้าง บุนนาคและเหตุการณ์ 6 ตุลา
สล้าง บุนนาคและเหตุการณ์ 6 ตุลา มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลูกเสือชาวบ้านทำเนียบรัฐบาลไทยท้องสนามหลวงป๋วย อึ๊งภากรณ์
ลูกเสือชาวบ้าน
ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มของชาวบ้านที่มาทำประโยชน์ให้แก่สังคมผ่านการลูกเสือ โดยที่มีการทำงานหรือการเข้าค่ายต่าง ๆ คล้ายกับลูกเสือที่มีการเรียนการสอนตามโรงเรียน เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2512 โดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น (เพื่อป้องกันการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) โดยการฝึกได้นำเอาหลักในการฝึกวิชาลูกเสือมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายหลังได้รับการขยายไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคและทุกจังหวัดของพื้นที่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นองค์กรที่สามารถเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีความผูกพัน เสริมสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้มีผู้ใช้ชื่อของลูกเลือชาวบ้านเข้าไปร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วย เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นต้น ปัจจุบันแม้ว่ากิจการลูกเสือชาวบ้านจะได้ลดบทบาทและความสำคัญลงไป แต่ก็ยังมีการจัดฝึกอบรมบ้างตามจังหวัดต่าง ๆ อยู่พอสมควร.
ลูกเสือชาวบ้านและสล้าง บุนนาค · ลูกเสือชาวบ้านและเหตุการณ์ 6 ตุลา ·
ทำเนียบรัฐบาลไทย
ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำต่างประเทศ ซึ่งมาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 2 ไร่ 3 งาน 44 ตารางว.
ทำเนียบรัฐบาลไทยและสล้าง บุนนาค · ทำเนียบรัฐบาลไทยและเหตุการณ์ 6 ตุลา ·
ท้องสนามหลวง
ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..
ท้องสนามหลวงและสล้าง บุนนาค · ท้องสนามหลวงและเหตุการณ์ 6 ตุลา ·
ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ตราจารย์ พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว จังหวัดชัยนาท จนได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษวังน้ำขาว” เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ป๋วยได้แสดงความกล้าหาญ หลายครั้งโดยเฉพาะการส่งจดหมายในนาม "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับสังคม จุดประกายให้กับขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความที่เขาได้รับการชื่นชมมากมายจากสังคม ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป๋วยก็ถูกทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ต้องออกเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ และเสียชีวิตลงในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่ประเทศอังกฤษ สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) นักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน ได้กล่าวยกย่องป๋วยว่าเป็น "บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่" (Founding Father of Modern Thailand) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ป๋วยได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2558.
ป๋วย อึ๊งภากรณ์และสล้าง บุนนาค · ป๋วย อึ๊งภากรณ์และเหตุการณ์ 6 ตุลา ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ สล้าง บุนนาคและเหตุการณ์ 6 ตุลา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง สล้าง บุนนาคและเหตุการณ์ 6 ตุลา
การเปรียบเทียบระหว่าง สล้าง บุนนาคและเหตุการณ์ 6 ตุลา
สล้าง บุนนาค มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ เหตุการณ์ 6 ตุลา มี 116 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.84% = 4 / (25 + 116)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สล้าง บุนนาคและเหตุการณ์ 6 ตุลา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: