เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สยามมนัสและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สยามมนัสและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

สยามมนัส vs. สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

มมนัส เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Siamanthus และเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบทางภาคใต้ของไทย แถบจังหวัดนราธิวาส ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร แตกกอแน่น เหง้ามีเส้นใยหนาแน่น ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลมยาว โคนเรียวสอบ ขอบมีขนยาว ก้านใบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ช่อดอกออกที่ยอด มีได้ถึง 20 ดอก ดอกสีส้มอมแดงออกเดี่ยว ๆ บนแกนช่อ ไม่มีใบประดับ ก้านดอกยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาว 3-4 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 5-6 เซนติเมตร ไม่มีแผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันด้านข้าง ก้านชูอับเรณูยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร อับเรณูยาว 2.5-3 เซนติเมตร ผลรูปแถบแบบแห้งแตกห้อยลง ยาว 5-11 เซนติเมตร เมล็ดเป็นเหลี่ยมขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สยามมนัสและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

สยามมนัสและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พืชประเทศไทย

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

พืชและสยามมนัส · พืชและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและสยามมนัส · ประเทศไทยและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สยามมนัสและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

สยามมนัส มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 2 / (9 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สยามมนัสและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: