เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร vs. โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

ระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม.. ลเรือโท โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 ดยุกแห่งบรงเต (Horatio Nelson, 1st Viscount Nelson, 1st Duke of Bronté) เป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ เป็นหนึ่งในชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ผู้มากด้วยกลยุทธ์ ชั้นเชิงสมัยใหม่ นำมาซึ่งชัยชนะของฝ่ายอังกฤษในหลายยุทธนาวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามนโปเลียน ตลอดการรับราชการทหารของลอร์ดเนลสัน เขาได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งเขาสูญเสียดวงตาข้างหนึ่งไปที่คอร์ซิกา และสูญเสียแขนข้างหนึ่งไปในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ (Santa Cruz de Tenerife) เขาเสียชีวิตขณะบัญชาการรบในยุทธการที่ตราฟัลการ์ ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะอันงดงามของอังกฤษ เนลสันเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในนอร์ฟอล์กของอังกฤษ และเข้ารับราชการในราชนาวีตามกัปตันเมาริช ซัคลิง (Maurice Suckling) ผู้เป็นลุง เนลสันเติบโตในราชการอย่างรวดเร็วจนได้ทำงานกับเหล่าผู้บัญชาการระดับสูง ก่อนที่ตัวเขาเองจะได้เป็นผู้บัญชาการเรือครั้งแรกในปี 1778 ความกล้าหาญตลอดจนการคิดค้นกลยุทธ์ต่างๆทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามปฏิวัติอเมริกาซึ่งทำให้อังกฤษตกต่ำ เขาก็ต้องประสบกับความเจ็บป่วยตลอดจนถูกให้เกษียณจากราชการ เมื่อสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้น เขาก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยคุมกองเรืออยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เขาเข้าต่อสู้ในศึกย่อยๆที่ชายฝั่งเมืองตูลงตลอดจนศึกสำคัญอย่างการเข้ายึดครองคอร์ซิกา และเป็นผู้ประสานงานทางการทูตกับบรรดาแคว้นในอิตาลี เขาโดดเด่นขึ้นมาอย่างมากจากชัยชนะในยุทธนาวีที่แหลมเซาวีแซงต์ (São Vicente) ของโปรตุเกสในปี 1797 ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ทำศึกในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเขาและตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียแขนขวา เขาจำต้องกลับอังกฤษเพื่อพักรักษาตัว และในปีต่อมา เขาก็ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือฝรั่งเศสในยุทธนาวีที่แม่น้ำไนล์ และยังคงประจำการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อคอยสนับสนุนราชอาณาจักรเนเปิลส์เพื่อต้านทานการรุกรานโดยฝรั่งเศสของนโปเลียน ต่อมาในปี 1801 เขาถูกโอนย้ายไปคุมกองเรือที่ทะเลบอลติกและได้รับชัยชนะเหนือเดนมาร์ก-นอร์เวย์ในยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน ต่อมาเขาบัญชาการการปิดล้อมกองเรือผสมของฝรั่งเศสและสเปนที่ตูลง แต่กองเรือผสมก็สามารถฝ่าออกไปได้ เขาไล่ตามกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไปจนถึงหมู่เกาะเวสต์อินดีสในทวีปอเมริกา แต่ก็ไม่สามารถล่อกองเรือผสมให้ออกมาทำศึกได้ หลังจากนำกองเรือกลับมายังอังกฤษ เขาก็ไปปิดล้อมเมืองกาดิซในปี 1805 แต่เมื่อกองเรือฝรั่งเศส-สเปนเคลื่อนกำลังออกจากท่า กองเรือของเนลสันก็ไล่ตามไปจนถึงแหลมตราฟัลการ์ และเกิดเป็นยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ ซึ่งถือเป็นชัยชนะทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ความทะเยอทะยานในการพิชิตอังกฤษของนโปเลียนได้แตกสลาย อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปะทะ เนลสันที่กำลังบัญชาการรบอยู่บนดาดฟ้าเรือหลวงวิกตอรี ก็ถูกกระสุนปืนจากพลแม่นปืนของฝรั่งเศสยิงเข้าที่บริเวณหน้าอกและเสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำตัวกลับไปยังอังกฤษ มีการจัดรัฐพิธีศพให้อย่างสมเกียรติและยิ่งใหญ่ มีการสร้างอนุสาวรีย์ของเขาและนำขึ้นประดับไว้บนเสากลางตั้งจัตุรัสทราฟัลการ์ของกรุงลอนดอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สงครามปฏิวัติอเมริกาสงครามนโปเลียน

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (United Kingdom of Great Britain and Ireland.) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร ในช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801)1 มกราคม..

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ · สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์และโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติอเมริกา

งครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War; ค.ศ. 1775–1783) หรือเรียก สงครามประกาศอิสรภาพอเมริกา (American War of Independence) หรือสงครามปฏิวัติในสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างบริเตนใหญ่และสิบสามอาณานิคมอเมริกาเหนือซึ่งหลังสงครามเปิดฉากประกาศอิสรภาพเป็นสหรัฐอเมริกา สงครามนี้มีจุดกำเนิดจากการต่อต้านภาษีบางชนิดและพระราชบัญญัติซึ่งชาวอเมริกันจำนวนมากอ้างว่าไม่ชอบธรรมและมิชอบด้วยกฎหมาย การประท้วงของแพทริอัต (Patriot) ลุกลามเป็นการคว่ำบาตร และในวันที่ 16 ธันวาคม 1773 พวกเขาทำลายการส่งสินค้าชาในท่าบอสตัน รัฐบาลบริเตนตอบโต้โดยปิดท่าบอสตัน แล้วผ่านมาตรการโดยมุ่งลงโทษอาณานิคมที่เป็นกบฏ แพทริอัตสนองโดยซัฟฟอล์กรีซอฟส์ (Suffolk Resolves) คือ การสถาปนารัฐบาลเงาซึ่งกำจัดการควบคุมมณฑลจากคราวน์นอกบอสตัน สิบสองอาณานิคมตั้งสภาภาคพื้นทวีปเพื่อประสานงานการต่อต้าน และสถาปนาคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ซึ่งยึดอำนาจชะงัด ความพยายามยึดยุทโธปกรณ์อเมริกันของบริเตนในเดือนเมษายน 1775 นำสู่การยุทธ์อย่างเปิดเผยระหว่างกำลังคราวน์และทหารอาสาสมัครแพทริอัต ทหารอาสาสมัครเดินหน้าล้อมกำลังบริติชในบอสตัน บังคับให้ต้องอพยพนครในเดือนมีนาคม 1776 สภาภาคพื้นทวีปตั้งจอร์จ วอชิงตันให้บังคับบัญชาทหารอาสาสมัคร ต่อมา เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพภาคพื้นทวีปที่เพิ่งตั้ง ตลอดจนประสานงานหน่วยทหารอาสาสมัครของรัฐ ในเวลาเดียวกับการทัพบอสตัน ความพยายามบุกครองควิเบกของอเมริกาและปลุกการกบฏต่อพระมหากษัตริย์บริติชล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วันที่ 2 กรกฎาคม 1774 สภาลงมติสนับสนุนเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยออกคำประกาศในวันที่ 4 กรกฎาคม เซอร์วิลเลียม ฮาว (William Howe) เริ่มการตีโต้ตอบซึ่งมุ่งยึดนครนิวยอร์กคืน ฮาวชนะวอชิงตันด้วยอุบาย ทำให้ความมั่นใจของฝ่ายอเมริกาแตะจุดต่ำสุด วอชิงตันสามารถยึดกองทัพเฮชชัน (Hessian) ได้ที่เทรนตัน และขับบริเตนออกจากนิวเจอร์ซีย์ ฟื้นความมั่นใจของฝ่ายอเมริกา ในปี 1777 บริเตนส่งกองทัพใหม่โดยมีจอห์น เบอร์กอยน์ (John Burgoyne) เป็นผู้บังคับบัญชาให้ยกลงใต้จากแคนาดาและแยกอาณานิคมนิวอิงแลนด์ ทว่า ฮาวไม่สนับสนุนเบอร์กอยน์ แต่นำกองทัพของเขาในอีกการทัพหนึ่งต่อกรุงฟิลาเดลเฟีย เมืองหลวงฝ่ายปฏิวัติ เบอร์กอยน์หมดกำลังบำรุง ถูกล้อมและยอมจำนนในเดือนตุลาคม 1777 ความปราชัยของบริเตนที่ซาราโทกา (Saratoga) มีผลใหญ่หลวง ฝรั่งเศสและสเปนได้จัดหาอาวุธ เครื่องกระสุนและกำลังบำรุงอื่นให้ชาวอาณานิคมอย่างลับ ๆ ตั้งแต่เดือนเมษายน 1776 บัดนี้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเป็นทางการในปี 1778 โดยลงนามพันธมิตรทางทหารซึ่งรับรองเอกราชของสหรัฐ บริเตนตัดสินใจยอมเสียอาณานิคมทางเหนือ และกู้อดีตอาณานิคมทางใต้ กำลังบริเตนโดยมีชาลส์ คอร์นวอลลิส (Charles Cornwallis) เป็นผู้บังคับบัญชายึดจอร์เจียและเซาท์แคโรไลนา ยึดกองทัพอเมริกาได้ที่ชาลส์ตัน เซาท์แคโรไลนา ยุทธศาสตร์นี้อาศัยการก่อการกำเริบของลอยัลลิสต์ (Loyalist) ติดอาวุธจำนวนมาก แต่มีผู้มาเข้าร่วมน้อยเกินไป ในปี 1779 สเปนเข้าร่วมสงครามเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสภายใต้สนธิสัญญาตระกูล (Pacte de Famille) โดยเจตนายึดยิบรอลตาร์และอาณานิคมบริติชในแคริบเบียน บริเตนประกาศสงครามต่อสาธารณรัฐดัตช์ในปี 1780 ในปี 1781 หลังปราชัยอย่างเด็ดขาดสองครั้งที่คิงส์เมาน์เทนและคาวเพนส์ คอร์นวอลลิสถอยไปเวอร์จิเนียโดยตั้งใจอพยพ ชัยทางเรืออย่างเด็ดขาดของฝรั่งเศสในเดือนกันยายนตัดทางหนีของบริเตน กองทัพร่วมฝรั่งเศส-อเมริกาโดยมีเคาต์รอช็องโบ (Count Rochambeau) และวอชิงตันเป็นผู้นำล้อมกองทัพบริติชที่ยอร์กทาวน์ เมื่อเห็นว่าไม่มีการช่วยเหลือและสถานการณ์ป้องกันไม่อยู่ คอร์นวอลลิสยอมจำนนในเดือนตุลาคม และทหารถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 คน วิกในบริเตนคัดค้านฝ่ายข้างมากทอรีนิยมสงครามในรัฐสภาอย่างยาวนาน ทว่า ความปราชัยที่ยอร์กทาวน์ทำให้วิกเป็นฝ่ายเหนือกว่า ต้นปี 1782 พวกเขาลงมติยุติปฏิบัติการบุกทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่สงครามกับฝรั่งเศสและสเปนยังดำเนินต่อ โดยบริเตนชนะทั้งสองประเทศระหว่างการล้อมใหญ่ยิบรอลตาร์ นอกเหนือจากนี้ พวกเขาชนะฝรั่งเศสทางเรือหลายครั้งทโดยที่เด็ดขาดที่สุด คือ ยุทธนาวีที่ซานต์ (Battle of the Saintes) ในแคริบเบียนปีเดียวกัน วันที่ 3 กันยายน 1783 คู่สงครามลงนามสนธิสัญญากรุงปารีสซึ่งยุติสงคราม บริเตนตกลงรับรองเอกราชของสหรัฐเหนือดินแดนโดยมีขอบเขตคร่าว ๆ อยู่ที่แคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก แม้การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสมีผลชี้ขาดต่อสาเหตุของเอกราชอเมริกา แต่ได้ดินแดนเพียงเล็กน้อย และมีปัญหาหนี้สินมหาศาล สเปนได้อาณานิคมฟลอริดาของบริเตนและเกาะมินอร์กา แต่ไม่สามารถชิงยิบรอลตาร์คืนซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ฝ่ายดัตช์มีแต่เสีย โดยถูกบังคับให้ยกดินแดนบางส่วนให้บริต.

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและสงครามปฏิวัติอเมริกา · สงครามปฏิวัติอเมริกาและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและสงครามนโปเลียน · สงครามนโปเลียนและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร มี 77 ความสัมพันธ์ขณะที่ โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 4.08% = 4 / (77 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: