โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร vs. แอนโทนี อีเดน

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน.. แอนโทนี อีเดน เอิร์ลแห่งเอวอง (Anthony Eden, 1st Earl of Avon) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษจากพรรคอนุรักษนิยม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสามสมัย รัฐมนตรีว่าการสงคราม รัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และนายกรัฐมนตรี เขาได้เข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่อายุยังน้อย โดยได้เป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะมีอายุเพียง 38 ปี ก่อนที่จะลาออกเพื่อเป็นการประท้วงนายกรัฐมนตรีเนวิล เชมเบอร์ลิน จากนโยบายโอนอ่อนผ่อนปรณต่อมุสโสลินี ผู้นำอิตาลีขณะนั้น ต่อมาเขาได้กลับมารับตำแหน่งนี้อีกครั้งในรัฐบาลของวินสตัน เชอร์ชิล และอยู่ในตำแหน่งนี้ตลอดช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง เขายังเป็นผู้นำอันดับสองในรัฐบาลของเชอร์ชิลยาวนานกว่า 15 ปี ก่อนที่เขาจะได้สืบต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากเชอร์ชิลในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)วิกฤตการณ์คลองสุเอซวินสตัน เชอร์ชิลสงครามโลกครั้งที่สองคริสตจักรแห่งอังกฤษนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)

รรคอนุรักษนิยม (Conservative Party) หรือชื่อเดิมว่า พรรคอนุรักษนิยมและสหภาพนิยม คือพรรคการเมืองกลาง-ขวาในสหราชอาณาจักรที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของลัทธิอนุรักษนิยมและลัทธิการรวมชาติบริเตน ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาจำนวน 330 คน สมาชิกสภาท้องถิ่นทั่วประเทศ 9,391 คน และเป็นพรรคการเมืองจากสหราชอาณาจักรที่มีที่นั่งในรัฐสภายุโรปมากที่สุดจำนวน 25 ที่นั่ง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภาสามัญชนโดยมีหัวหน้าพรรคคือนางเทเรซา เมย์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคมักถูกเรียกขานว่า พรรคขุนนาง (Tory Party) หรือ พวกขุนนาง (Tories) พรรคอนุรักษนิยมก่อตั้งขึ้นในปี..

พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)และแอนโทนี อีเดน · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์คลองสุเอซ

วิกฤตการณ์สุเอซ (The Suez Crisis หรือ Tripartite Aggression) เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดสงครามระหว่าง อียิปต์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และอิสราเอล มีมูลเหตุมาจากที่อียิปต์ต้องการให้คลองสุเอซ (ที่ขุดโดยเงินทุนของอียิปต์ กับฝรั่งเศส) กลายเป็นของประเทศ แต่คลองนี้มีความสำคัญต่ออังกฤษเพราะเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ มายังอาณานิคมทั้งหลายทั้ง อินเดีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และตะวันออกไกล ดังนั้นอังกฤษจึงซื้อหุ้นส่วนของอียิปต์ในคลองนี้ มาทำให้ตัวเองมีอำนาจเหนือคลองดังกล่าวและคานอำนาจกับฝรั่งเศส คลองนี้มีส่วนสำคัญในการรบทั้ง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง.

วิกฤตการณ์คลองสุเอซและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · วิกฤตการณ์คลองสุเอซและแอนโทนี อีเดน · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

วินสตัน เชอร์ชิลและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · วินสตัน เชอร์ชิลและแอนโทนี อีเดน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

สงครามโลกครั้งที่สองและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · สงครามโลกครั้งที่สองและแอนโทนี อีเดน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

คริสตจักรแห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · คริสตจักรแห่งอังกฤษและแอนโทนี อีเดน · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร มี 217 ความสัมพันธ์ขณะที่ แอนโทนี อีเดน มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 2.58% = 6 / (217 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรและแอนโทนี อีเดน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »