โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและอูเกอโนต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและอูเกอโนต์

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ vs. อูเกอโนต์

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5. อูเกอโนต์ (huguenots) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาของคริสเตียน (โปรเตสแตนต์) ฝรั่งเศสผู้นับถือขนบปฏิรูป คำนี้ใช้เรียกสมาชิกคริสตจักรปฏิรูปแห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 ถึงประมาณปี 1800 คำนี้มีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส อูเกอโนต์เป็นคริสเตียนฝรั่งเศสซึ่งมาจากทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของนักเทววิทยาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 และผู้สนับสนุนขนบปฏิรูปของนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งขัดกับประชากรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเยอรมันนับถือนิกายลูเทอแรนในอาลซัส มอแซลและมงเบลียาร์ ฮันส์ ฮิลเลอร์แบรนด์ (Hans Hillerbrand) ในสารานุกรมนิกายโปรเตสแตนต์อ้างว่าชุมชนอูเกอโนต์มีประชากรมากถึงร้อยละ 10 ของประชากรฝรั่งเศสในวันก่อนการสังหารหมู่วันนักบุญบาร์โทโลมิว โดยลดลงเหลือร้อยละ 7–8 เมื่อประมาณปี 1600 และยิ่งลดลงหลังการเบียดเบียนอย่างหนักซึ่งเริ่มต้นอีกหลังพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จำนวนของอูเกอโนต์สูงสุดประมาณเกือบสองล้านคนในปี 1562 โดยส่วนใหญ่กระจุกอยู่ส่วนใต้และตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เมื่ออูเกอโนต์มีอิทธิพลและแสดงออกซึ่งศรัทธาของพวกตนอย่างเปิดเผยมากขึ้น ความเป็นปรปักษ์ของคาทอลิกก็เติบโตขึ้นด้วย แม้มีการผ่อนปรนทางการเมืองและพระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนาจากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส มีความขัดแย้งทางศาสนาหลายครั้งตามมา เรียก สงครามศาสนาฝรั่งเศส ซึ่งสู้รบกันเป็นพัก ๆ ตั้งแต่ปี 1562 ถึง 1598 อูเกอโนต์มีแฌน ดาเบร (Jeanne d'Albret) และพระราชโอรส อนาคตพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และเจ้ากองเด สงครามยุติด้วยพระราชกฤษฎีกานองซ์ ซึ่งให้อัตตาณัติศาสนา การเมืองและทหารพอสมควรแก่อูเกอโนต์ กบฏอูเกอโนต์ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ทำให้มีการเลิกเอกสิทธิ์ทางการเมืองและทางทหารของพวกเขา พวกเขายังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาของพระราชกฤษฎีกานองซ์จนถึงรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ค่อย ๆ เพิ่มการเบียดเบียนอูเกอโนต์จนทรงตราพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบล (ปี 1685) ยุติการรับรองนิกายโปรเตสแตนต์ใด ๆ ตามกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและบีบให้อูเกอโนต์เข้ารีตหรือหลบหนีในระลอกดราโกนาเดอ (dragonnades) รุนแรง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำให้ประชากรอูเกอโนต์ฝรั่งเศส 800,000 ถึง 900,000 คนลดเหลือ 1,000 ถึง 1,500 คน กระนั้น อูเกอโนต์จำนวนเล็กน้อยยังเหลือรอดและเผชิญการเบียดเบียนต่อเนื่องมาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคตในปี 1774 ลัทธิคาลวินในฝรั่งเศสเกือบสูญสิ้นทั้งหมด การเบียดเบียนคริสเตียนยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยพระราชกฤษฎีกาแวร์ซาย (พระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนา) ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงลงพระปรมาภิไธยในปี 1787 สองปีให้หลัง ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 ให้คริสเตียนได้รับสิทธิเท่าเทียมเป็นพลเมืองAston, Religion and Revolution in France, 1780–1804 (2000) pp 245–50 ผู้อพยพอูเกอโนต์จำนวนมากอพยพไปยังรัฐโปรเตสแตนต์อย่างอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ รัฐผู้คัดเลือกบรันเดนบูร์กและรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีปรัสเซีย หมู่เกาะแชนเนล ตลอดจนไอร์แลนด์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกแต่โปรเตสแตนต์ควบคุม พวกเขายังแพร่ไปยังอาณานิคมแหลมดัตช์ในแอฟริกาใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกดัตช์ แคริบเบียน นิวเนเธอร์แลนด์และอาณานิคมอังกฤษหลายแห่งในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบครัวจำนวนน้อยไปยังรัสเซียที่นับถือออร์โธด็อกซ์และควิเบกที่นับถือคาทอลิก ปัจจุบัน อูเกอโนต์ส่วนใหญ่กลืนเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ แต่ชุมชนหลงเหลือกามีซาร์ (Camisards) ในเทือกเขาซีเวน (Cévennes) สมาชิกของคริสตจักรโปรเตสแตนต์รวมฝรั่งเศส สมาชิกฝรั่งเศสของคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนต์อาลซัสและลอแรนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน ตลอดจนกลุ่มอูเกอโนต์ในประเทศอังกฤษและออสเตรเลียยังคงความเชื่อของพวกตนและการเรียกชื่ออูเกอโนต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและอูเกอโนต์

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและอูเกอโนต์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสลัทธิคาลวินโปรเตสแตนต์

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส หรือ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งนาวาร์ (Henri de Bourbon; 13 ธันวาคม ค.ศ. 1553 - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1610) ทรงเป็นที่รู้จักในชื่อเรียกขานทั่วไปว่า พระเจ้าอ็องรีผู้ทรงธรรม ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1572 - ค.ศ. 1610) และพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์บูร์บงพระองค์แรก (ค.ศ. 1589 - ค.ศ. 1610) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2096 หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์นาวาร์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอาวุธมีคม หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์.

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและอูเกอโนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

ลัทธิคาลวินและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ลัทธิคาลวินและอูเกอโนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและโปรเตสแตนต์ · อูเกอโนต์และโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและอูเกอโนต์

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ มี 66 ความสัมพันธ์ขณะที่ อูเกอโนต์ มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.53% = 3 / (66 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและอูเกอโนต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »