โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์

ดัชนี สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์

มเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ (พระนามเดิม เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กและไอซ์แลนด์ พระนามเต็ม คริสเตียน เฟรเดอริก คาร์ล จอร์จ วัลเดมาร์ แอกเซล; Christian Frederik Carl Georg Valdemar Axel, ต่อมาเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์) 3 สิงหาคม พ.ศ. 2415 - 21 กันยายน พ.ศ. 2500) พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าหญิงหลุยส์แห่งสวีเดน ในปีพ.ศ. 2448 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์พระองค์แรกหลังการยุบสหภาพระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนโดยการสลายรัฐร่วมประมุขร่วมกับสวีเดน พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์ชเลสวิก-ฮอลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก ในฐานะที่ทรงเป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเลือกตั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนได้ทรงชนะใจพสกนิกรด้วยความเคารพและความรักจากประชาชนของพระองค์ และทรงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมจิตใจชาตินอร์เวย์ในการทำการต่อต้านกองทัพนาซีที่ทำการรุกรานและต่อมายาวนานอีกห้าปีทรงต่อต้านการที่นาซียึดครองนอร์เวย์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนทรงถือเป็นหนึ่งในชาวนอร์เวย์ที่มีความสำคัญสูงสุดในศตวรรษที่ 20 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับในความกล้าหาญของพระองค์ในระหว่างการรุกรานของเยอรมัน พระองค์ทรงขู่ว่าจะสละราชบัลลังก์ถ้ารัฐบาลร่วมมือกับผู้รุกรานชาวเยอรมัน และสำหรับความเป็นผู้นำของพระองค์ และยังทรงรักษาความเป็นสามัคคีของนอร์เวย์ได้ในระหว่างการยึดครองของเยอรมัน พระองค์เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุ 85 พรรษา ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2500 หลังจากทรงครองราชสมบัติมายาวนานเกือบ 52 ปี.

65 ความสัมพันธ์: บาร์กเชอร์ฟริดท์จอฟ นันเซนพ.ศ. 2415พ.ศ. 2448พ.ศ. 2449พ.ศ. 2450พ.ศ. 2500พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังบักกิงแฮมพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดนพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์กพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรกรกฎาคมการทัพนอร์เวย์ภาวะหัวใจวายภาษานอร์สโบราณภาษานอร์เวย์ม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ยุทธการที่ฝรั่งเศสระบอบนาซีรัฐบาลพลัดถิ่นรัฐร่วมประมุขรัฐหุ่นเชิดราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์กราชวงศ์โอลเดินบูร์กรายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ลอนดอนลูอีสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กวิดคัน ควิสลิงสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์กสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กสงครามโลกครั้งที่สองหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กออสโลอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฮ็อลชไตน์ทรอนด์เฮมทรุมเซอทูต...ดัชชีชเลสวิจครีกซมารีเนอประเทศนอร์เวย์โคเปนเฮเกนไทม์เวร์มัคท์เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดนเจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์เดอะบลิตซ์เดนมาร์ก–นอร์เวย์18 พฤศจิกายน21 กันยายน22 มิถุนายน3 สิงหาคม ขยายดัชนี (15 มากกว่า) »

บาร์กเชอร์

ร์กเชอร์ (Berkshire) บางทีก็เรียกว่า “ราชมณฑลบาร์กเชอร์” เพราะเป็นที่ตั้งของ พระราชวังวินด์เซอร์ การเรียกนี้ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ยอมรับโดยสมเด็จพระราชินีในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และบาร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟริดท์จอฟ นันเซน

ฟริดท์จอฟ เวเดล จาร์ลสเบิร์ก นันเซน (Fridtjof Wedel-Jarlsberg Nansen) เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2404 ที่หมู่บ้านโฟรน ใกล้เมืองคริสเตียนเนีย ประเทศนอร์เวย์ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2473 นอกกรุงออสโล) เป็นชาวนอร์เวย์ซึ่งเป็นทั้งนักสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ และนักการทูต นันเซนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2465 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2404 หมวดหมู่:นักสำรวจชาวนอร์เวย์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ หมวดหมู่:นักการทูตชาวนอร์เวย์ หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และฟริดท์จอฟ นันเซน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2415

ทธศักราช 2415 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1872 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพ.ศ. 2415 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2448

ทธศักราช 2448 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1905 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิต.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพ.ศ. 2448 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2449

ทธศักราช 2449 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1906 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพ.ศ. 2449 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2450

ทธศักราช 2450 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1907 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพ.ศ. 2450 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังบักกิงแฮม

ระราชวังบักกิงแฮม (Buckingham Palace) เดิมชื่อ คฤหาสน์บักกิงแฮม เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักรเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ พระราชวังบักกิงแฮมแต่เดิมชื่อ “คฤหาสน์บักกิงแฮม” (Buckingham House) สิ่งก่อสร้างเดิมเป็นคฤหาสน์ที่สร้างสำหรับจอห์น เชฟฟิลด์ ดยุคแห่งบักกิงแฮมในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระราชวังบักกิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม คริสเตียน คาร์ล เฟรเดริค อัลเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ วิลเฮล์ม; Christian Carl Frederik Albert Alexander Vilhelm ประสูติ 26 กันยายน พ.ศ. 2413 - 20 เมษายน พ.ศ. 2490) พระราชโอรสพระองค์โตในเจ้าฟ้าชายเฟรเดริค มกุราชกุมารแห่งเดนมาร์ก และ เจ้าฟ้าหญิงโลวิซา มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 14 แห่งสวีเดน เมื่อพระชนมายุ 28 พรรษา ทรงเข้าอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอเล็กซานไดรน์ แห่งเม็คเล็นบูร์ก-สเตรลิทธ์ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2441 มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก (Christian III of Denmark) กษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ครองสิริราชสมบัติช่วง พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2102 พระเจ้าคริสเตียนที่ 3 ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2047 เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ที่ประสูติแต่พระนางแอนนาแห่งบรันเดนบูร์กเมื่อพระราชบิดาสวรรคตใน พ.ศ. 2077 เจ้าชายคริสเตียนจึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยในรัชสมัยของพระองค์ได้สถาปนาให้นิกาย ลูเทอแรน นิกายย่อยใน นิกายโปรแตสแตนท์ เป็นศาสนาประจำชาติ พระเจ้าคริสเตียนที่ 3 สวรรคตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2102 หลังจากครองสิริราชสมบัติได้ 25 ปีรวมพระชนมายุ 56 พรรษาเจ้าชายเฟรเดอริคพระราชโอรสองค์ใหญ่จึงขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อม.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์ก (Christian IV of Denmark) (12 เมษายน ค.ศ. 1577 - 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1648) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์แห่งราชวงศ์โอลเดนบวร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1588 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1648 คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1577 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 และ โซฟีแห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์ พระองค์ทรงเสกสมรสกับแอนน์ แคทเธอรินแห่งบรานเดนบวร์ก พระองค์เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 3 พระเจ้าคริสเตียนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1648 ในเดนมาร์ก พระบรมศพได้รับการบรรจุที่มหาวิหารรอสคิล.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก

มเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก (คริสเตียน เฟรเดอริค) (18 กันยายน พ.ศ. 2329 - 20 มกราคม พ.ศ. 2391) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก ระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (ประสูติ 8 เมษายน ค.ศ. 1818 — สวรรคต 29 มกราคม ค.ศ. 1906) คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน

ระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน เป็นพระมหากษัตริย์สวีเดนและพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ ครองราชย์ตั้งแต..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

มเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (Frederick II of Denmark; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1534 - 4 เมษายน ค.ศ. 1588) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์แห่งราชวงศ์โอลเดนบวร์ก ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 1699 จนเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1588 คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1534 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 3 และ โดโรเทียแห่งแซ็กซ-เลาเอินบวร์ก พระองค์ทรงเสกสมรสกับโซฟีแห่งเม็คเคลนบวร์ก-กึสโทรว์ พระองค์เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 และ แอนน์แห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ พระเจ้าคริสเตียนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1588 ในเดนมาร์ก พระบรมศพได้รับการบรรจุที่มหาวิหารรอสคิล.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์ก (Frederik III) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 3 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ก่อนการเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และทรงมีลักษณะเด่นพิเศษที่เป็นรัชทายาทในรัชบัลลังก์ยาวนานกว่าใครในประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นบันทึกสถิติที่เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์องค์ปัจจุบันไล่ตามมาอย่างรวดเร็ว รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเรียกว่า สมัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian Period) ทำให้เห็นถึงการยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2448 พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2451 ถึงแม้ว่าทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2449 (เพราะว่าโปรดสภาดูมามากกว่าซาร์) พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากองทัพเรืออังกฤษให้ทันสมัยขึ้นและการปฏิรูปหน่วยการแพทย์ในกองทัพบกอังกฤษหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอังกฤษกับนานาประเทศของทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ของพระองค์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า "ผู้สร้างสันติภาพ" (Peacemaker) ได้ถูกทำให้ผิดแผกแปลกไปอย่างน่าเศร้าจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2457.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

กรกฎาคม

กรกฎาคม เป็นเดือนที่ 7 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกรกฎาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกรกฎ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีสิงห์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกรกฎาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่และปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวปู เดิมเดือนนี้ใช้ชื่อว่า ควินตีลิส (Quintilis) ในภาษาละติน และเป็นเดือนที่ 5 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "July" ตามชื่อของจูเลียส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เกิด และอ่านออกเสียงว่าจูลีจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และกรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

การทัพนอร์เวย์

การทัพนอร์เวย์ หรือปฏิบัติการเวแซร์รืบุง (9 เมษายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940) นั้นเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาแวนเจอร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และการทัพนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์สโบราณ

ภาษานอร์สโบราณ (Norrœnt mál) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ พูดในสแกนดิเนเวียและอาณานิคมโพ้นทะเลของชาวสแกนดิเนเวียในยุคไวกิงจนถึงประมาณค.ศ. 1300 ภาษานอร์สโบราณพัฒนามาจากภาษานอร์สดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และพัฒนาไปเป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือหลายภาษาหลังยุคไวกิง ภาษาในปัจจุบันที่มาจากภาษานอร์สโบราณได้แก่ภาษาไอซ์แลนด์ แฟโร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ นอร์สโบราณ หมวดหมู่:ประเทศกลุ่มนอร์ดิก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และภาษานอร์สโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานอร์เวย์

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานือนอชก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") หมวดหมู่:สแกนดิเนเวีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศนอร์เวย์.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และภาษานอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์

้าหญิงม็อดแห่งเวลส์ (ม็อด ชาร์ล็อต แมรี วิกตอเรีย ต่อมาทรงเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์; 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2412 - 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) ทรงเป็นสมาชิกของพระราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย และต่อมาทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ พระองค์เป็นพระราชินีแห่งประเทศนอร์เวย์พระองค์แรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2405 ที่มิได้ทรงเป็นทั้งพระราชินีแห่งประเทศเดนมาร์กและประเทศสวีเดน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลพลัดถิ่น

รัฐบาลพลัดถิ่น (government in exile) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่ เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครองประเทศเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักรเพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ตซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และรัฐบาลพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รัฐร่วมประมุข

ียนฉลองรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนียเป็นสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ” การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายต่อการแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน “สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์ รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และรัฐร่วมประมุข · ดูเพิ่มเติม »

รัฐหุ่นเชิด

รัฐหุ่นเชิด (Puppet state) หรือ รัฐบาลหุ่นเชิด (Puppet government หรือ Marionette government) ใช้อธิบายถึงสภาพของรัฐที่มีเอกราชแต่เพียงในนาม แต่ถูกควบคุมโดยอำนาจต่างชาติหรือกองทัพอย่างชัดเจน คำว่า รัฐหุ่นเชิด หมายความถึง รัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยอีกรัฐบาลหนึ่ง เหมือนกับการเชิดหุ่นกระบอก และยังใช้ในความหมายที่รัฐขาดความเป็นเอกราช หรือมีการปกป้องเอกราชในสิ่งที่เป็นอิทธิพลจากต่างชาติหรือกองทั.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และรัฐหุ่นเชิด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก

ราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก (Slesvig-Holsten-Sønderborg-Lyksborg, House of Schleswig-Holstein-Sonderburg-Glücksburg) เป็นราชตระกูลจากกลึคสบวร์กทางเหนือสุดของเยอรมนี ที่เป็นสาขาย่อยของราชวงศ์โอลเดินบูร์กที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก สมาชิกของตระกูลนี้มาจากดยุคแห่งชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-เบ็ค ผู้สืบเชื้อสายคนสุดท้ายเป็นดยุคแห่งกลึคสบวร์กและเปลี่ยนบรรดาศักดิ์ตามฟรีดิช วิลเฮล์ม ดยุคแห่งชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก ฟรีดิช วิลเฮล์มสมรสกับเจ้าหญิงหลุยส์ คาโรไลน์ แห่งเฮสส์-คาสเซิลพระราชธิดาของพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โอลเดินบูร์ก

ราชวงศ์โอลเดินบูร์ก (House of Oldenburg) เป็นราชตระกูลเยอรมันเหนือและเป็นราชตระกูลที่มีอิทธิพลมากที่ราชตระกูลหนึ่งของยุโรป ราชตระกูลรุ่งเรืองขึ้นมามีความสำคัญเมื่อเคานต์คริสเตียนที่ 1 แห่งโอลเดินบูร์กได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และราชวงศ์โอลเดินบูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์

ตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ตั้งแต่ ปี 1280 สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ตั้งแต่ปี 1991 ร่วมกับพระมเหสีของพระองค์ สมเด็จพระราชินีซอนยา ในปี 2010 รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนอร์เว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และรายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ลูอีสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก

ลูอิสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นเจ้าหญิงสวีเดน โดยเป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระเจ้าชาลล์ที่ 5 แห่งสวีเดน และ ลูอีสแห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ โดยทรงเป็นพระนัดดาใน เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชปนัดดาใน พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ ผ่านทางสายพระราชมารดา ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์เดนมาร์ก ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก พระองค์และพระราชสวามีมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 8 พระองค์ เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ 1 พระองค์ และเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก 1 พระองค์ สมเด็จพระราชินีหลุยส์ เสด็จสรรคตเมื่อมีพระชนมายุ 74พรรษ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และลูอีสแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วิดคัน ควิสลิง

วิดคัน อับราฮัม เลาริทซ์ ยอนสซัน ควิสลิง (Vidkun Abraham Lauritz Jonssøn Quisling; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารของนอร์เวย์และเป็นนักการเมืองในนามของผู้นำรัฐบาลนอร์เวย์ในช่วงการยึดครองโดยนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ควิสลิงได้เข้าสู่วงการการเมืองเป็นครั้งแรกโดยเป็นผู้ประสานงานที่ใกล้ชิดกับฟริดท์จอฟ นันเซน ผู้จัดการบรรเทามนุษยธรรมในช่วงความอดอยากในรัสเซีย ค.ศ. 1921 ใน Povolzhye เขาได้ติดประกาศในฐานะเอกราชทูตนอร์เวย์ไปยังสหภาพโซเวียต และสำหรับบางครั้งก็ดำเนินการกรณีในการทูตต่ออังกฤษ เขาได้กลับมายังนอร์เวย์ในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และวิดคัน ควิสลิง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์

มเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (ภาษานอร์เวย์: Hans Majestet Kong Harald V) เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา (พระเจ้าโอลาฟที่ 5) เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 ในฐานะพระปนัดดาของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชาธิบดีซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์เดียวของพระเจ้าโอลาฟที่ 5 และเจ้าหญิงมาร์ทาแห่งสวีเดน ทรงมีสิทธิสืบราชสันตติวงศ์ราชบัลลังก์อังกฤษในลำดับที่ 48 เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชปนัดดา(เหลน) ในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ผ่านทาง ม็อดแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ ผู้เป็นพระอัยยิกา(ย่า) สมเด็จพระราชาธิบดีทรงได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดในสาขาวิชาประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ในปี 2511 ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสามัญชน นางสาวซอนยา เฮรัลด์เซ็น ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ มีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ เจ้าหญิงมาร์ทา หลุยส์ และมกุฎราชกุมารเจ้าชายโฮกุน ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกับ นางสาวเมตเต-มาริต ปัจจุบันได้รับสถาปนาเป็น เจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ เจ้าชายโฮกุนและเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พร้อมด้วยพระโอรสองค์เล็กคือเจ้าชายสแวร์เร แมกนัส เสด็จฯ เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดีเพื่อร่วมพิธีเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นนักกีฬาและนักเดินเรือผู้เชี่ยวชาญ และทรงนำทีมนักกีฬานอร์เวย์ให้ได้รับชัยชนะจากการแข่งเรือใบในนามประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง รวมทั้งจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวเมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์

มเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ (2 กรกฎาคม 1903 - 17 มกราคม 1991) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ ตั้งแต่ปี 1957 จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต พระองค์เป็นสมาชิกราชวงศ์ชเลสวิก-ฮอลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 เสด็จพระราชสมภพที่สหราชอาณาจักร พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวในสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระราชินีม็อดแห่งนอร์เวย์ พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร กับ อเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร ผ่านทางสายพระราชมาร.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

มเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (Queen Margrethe II of Denmark; มาร์เกรเธอ อเล็กซานดรีน ธอร์ฮิลดูร์ อิงกริด; พระราชสมภพ 16 เมษายน พ.ศ. 2483) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน พระนางทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 14 มกราคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน

มเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนและนอร์เวย์ (ประสูติ 21 มกราคม พ.ศ. 2372 - สวรรคต 8 ธันวาคม พ.ศ. 2450) เป็นพระมหากษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2415 ทรงสละราชสมบัติจากการเป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2448 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดนเมื่อวันเดียวกันกับการเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2450 รวมพระชนมายุได้ 78 ปี ทรงดำรงตำแหน่งตามฐานันดรดังนี้.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก

มเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 8 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ค และสมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเฮสส์ - คาสเซิล สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริคที่ 8 เสด็จพระราชสมภพที่กรุงโคเปนเฮเกน ขณะนั้นพระราชมารดาทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระรัชทายาทหญิงแห่งราชบัลลังก์ ในฐานะมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าร่วมสงครามในปี พ.ศ. 2407 ระหว่างเดนมาร์กกับปรัสเซียและออสเตรีย ระหว่างนั้นได้ทรงสำเร็จราชการแทนพระราชบิดา พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2449 คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

มเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (11 มีนาคม พ.ศ. 2442 - 14 มกราคม พ.ศ. 2515) มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้าชายเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์กและไอซ์แลนด์ เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชบิดาคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2490 พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกของ สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก กับ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรีนแห่งเดนมาร์ก เป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กพระองค์ที่สี่ที่อยู่ในราชวงศ์ชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก (ภาษาเยอรมัน: Luise Wilhelmine Friederike Caroline Auguste Julie von Hessen-Kassel; ภาษาเดนมาร์ก: Louise Wilhelmine Frederikke Caroline Auguste Julie) (7 กันยายน พ.ศ. 2360 - 29 กันยายน พ.ศ. 2441) ทรงเป็นเจ้าหญิงชาวเยอรมันและตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ออสโล

แผนที่กรุงออสโล ออสโล (Oslo; ในภาษานอร์เวย์ออกเสียง อุสลู หรือ อุชลู) เป็นเมืองหลวงของประเทศนอร์เวย์ ออสโลมีประชากรประมาณ 811,688 (เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 2005) โดยประชากรร้อยละ 22 เป็นผู้อพยพมาจากประเทศใกล้เคียง เขตการปกครองออสโลมีพื้นที่ทั้งหมด 115 ตารางกิโลเมตร ซึ่ง 7 ตารางกิโลเมตรใช้ทำการเกษตร ปัจจุบัน (ค.ศ. 2006) ออสโลเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก แทนที่โตเกียว left หอคอยเทาวเวอร์ ณ เมืองออสโล รัฐสภาแห่งนอร์เวย์ สถานที่ให้เช้ารถจักรยานกลางกรุงออสโล ศาลาว่าการออสโล โรงละครแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เวย์ สถานีรถไฟกลางแห่งเมืองออสโล ออสโลตั้งอยู่ขอบด้านเหนือของอ่าวฟยอร์ด (fjord) ที่ชื่อออสโลฟยอร์ด ตัวเมืองประกอบด้วยเกาะ 40 เกาะ เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ Malmøya นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบ 343 แห่งซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดสำคัญ ตามตำนานของเผ่านอร์ส ออสโลก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และออสโล · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮ็อลชไตน์

มุทรจัตแลนด์และทางตอนเหนือสุดของเยอรมนีแสดงบริเวณชเลสวิจและโฮลชไตน์ในรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ของเยอรมนีปัจจุบัน ฮ็อลชไตน์ (Holstein) เป็นแคว้นระหว่างแม่น้ำเอลเบและแม่น้ำไอเดอร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชเลสวิจ-โฮลชไตน์ทางตอนเหนือสุดของเยอรมนี เดิมฮ็อลชไตน์เป็น “เคาน์ตีฮ็อลชไตน์” (Grafschaft Holstein) และต่อมาเป็น “ดัชชีฮ็อลชไตน์” (Herzogtum Holstein) และเป็นดินแดนบริวารทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประวัติของฮ็อลชไตน์มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของดัชชีชเลสวิจของราชอาณาจักรเดนมาร์ก ฮ็อลชไตน์มีเมืองหลวงอยู่ที่คีล “ฮ็อลชไตน์” มาจากคำว่า “Holcetae” ซึ่งเป็นภาษาชาวแซกซันที่อาดัมแห่งเบรเมินกล่าวถึง ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเอลเบ ทางตะวันตกของฮัมบูร์ก ที่แปลว่า “คนป่า”.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และฮ็อลชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรอนด์เฮม

ทรอนด์เฮม (Trondheim) เป็นเมืองใน Sør-Trøndelag county ของนอร์เวย์ ก่อตั้งขึ้นเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และทรอนด์เฮม · ดูเพิ่มเติม »

ทรุมเซอ

ทรุมเซอ (Tromsø, ออกเสียง) เป็นเมืองและเทศบาลในเทศมณฑลทรุมส์ ประเทศนอร์เวย์ เป็นเมืองท่าทางทะเลบนเกาะขนาดเล็กระหว่างเกาะควาเลอยากับผืนแผ่นดินใหญ่ มีประชากรมากเป็นอันดับ 7 ของนอร์เวย์ เป็นเมืองที่มีบ้านเก่าทำจากไม้จำนวนมากที่สุดในนอร์เวย์เหนือ บ้านเก่าที่สุดสร้างตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และทรุมเซอ · ดูเพิ่มเติม »

ทูต

ทูต มีความหมายว่า ตัวแทน, ผู้รับเจรจาแทน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และทูต · ดูเพิ่มเติม »

ดัชชีชเลสวิจ

ัชชีแห่งชเลสวิจ (Duchy of Schleswig) หรือ ดัชชีแห่งจัตแลนด์ใต้ (Sønderjylland, Hertugdømmet Slesvig) เป็นดัชชีที่ตั้งครอบคลุมเนื้อที่ราว 60 ถึง 70 กิโลเมตรทางตอนใต้ของพรมแดนระหว่างเยอรมนี และ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นบริเวณที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า "Sleswick" (ซเลสวิค) ความสัมพันธ์ของบริเวณนี้อยู่ที่การขนส่งสินค้าระหว่างทะเลเหนือ และ ทะเลบอลติก ที่เชื่อมเส้นทางการค้าของรัสเซียกับเส้นทางการค้าตามลำแม่น้ำไรน์และฝั่งทะเลแอตแลนติก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และดัชชีชเลสวิจ · ดูเพิ่มเติม »

ครีกซมารีเนอ

รีกซมารีเนอ (สงครามกองทัพเรือ) เป็นกองทัพเรือของนาซีเยอรมนีในช่วงปี 1935 ถึง 1945.ได้ถูกแทนที่จากกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิเยอรมันและสมัยระหว่างสงคราม ไรซ์มารีเนอ.ครีกซมารีเนอเป็นหนึ่งในสามเหล่าทัพอย่างเป็นทางการพร้อมกับเฮร์ (กองทัพบก),และลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) ของกองทัพเวร์มัคท์,กองกำลังติดอาวุธของนาซีเยอรมนี.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และครีกซมารีเนอ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

โคเปนเฮเกน

ปนเฮเกน (Copenhagen; København เคอเปินเฮาน์) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์ก จำนวนประชากรในมีเมืองมีทั้งหมดประมาณ 500,000 คนและ เขตนครหลวงหรือเมโทรทั้งหมดประมาณ 1,200,000 คนเศษ กรุงโคเปนเฮเกนเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการบริหารประเทศ รัฐสภา รัฐบาลและเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวงในพระราชวงศ์เดนมาร์ก โคเปนเฮเกนถือว่าเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของยุโรป ก่อตั้งมาราว ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 10 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแถบสแกนดิเนเวี.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และโคเปนเฮเกน · ดูเพิ่มเติม »

ไทม์

ปกฉบับแรกของนิตยสาร Time ไทม์ (Time หรือตามเครื่องหมายการค้าคือ TIME) เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิมพ์ฉบับแรก โดยเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เล่มแรกของประเทศ โดยในปัจจุบันไทม์มีจัดพิมพ์หลายแห่งทั่วโลก โดยในยุโรปใช้ชื่อว่า "ไทม์ยุโรป" (หรือที่ในอดีตเรียกว่า ไทม์แอตแลนติก) มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอน และออกจำหน่ายในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมถึงละตินอเมริกา ส่วนในเอเชีย ใช้ชื่อว่า "ไทม์เอเชีย" มีสำนักงานที่ฮ่องกง ขณะที่ "ไทม์แคนาดา" เป็นฉบับสัญชาติแคนาดาซึ่งจัดจำหน่ายในประเทศแคนาดา และ "ไทม์เซาท์แปซิฟิก" ซึ่งจัดจำหน่ายครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ซิดนีย์ ในปัจจุบัน นิตยสารไทม์จัดการโดยบริษัทไทม์วอร์เนอร์ สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีนายริชาร์ด สเตนเจล เป็นบรรณาธิการบริหาร.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน

้าฟ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน (Princess Märtha of Sweden, มาร์ธา โซเฟีย โลวิซา แด็กมาร์ ไธรา; 28 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 5 เมษายน พ.ศ. 2497) ทรงเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์พระองค์แรกในยุคปัจจุบัน ซึ่งมิได้ทรงเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดนหรือเดนมาร์ก อีกทั้งยังทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งนอร์เวย์มาตั้งแต่แรกประสูติจนกระทั่งถึงการแยกออกตัวออกจากการรวมตัวกันระหว่างประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ในปี พ.ศ. 2448 พระองค์เป็นพระชายาและพระญาติชั้นที่สองในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ เมื่อสมัยที่ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร เนื่องจากพระชนกและพระชนนีของทั้งสองพระองค์เป็นพี่น้องกัน และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน โดยทรงเกี่ยวข้องเป็นพระอัยยิกาอยู่ทางฝ่ายพระชนกของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน เนื่องจากทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติชั้นที่สองในเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน ดยุคแห่งวาสเตอร์บ็อตเต็น และเป็นพระชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงประสูติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2444 ณ กรุงสต็อกโฮล์ม โดยเป็นพระธิดาพระองค์รองในเจ้าชายคาร์ล ดยุกแห่งเวสเตร์เกิตลันด์ และ เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเวสเตร์เกิตลันด์ พระอัยกาทางฝ่ายพระชนกคือ สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ส่วนพระอัยกาฝ่ายพระชนนีคือ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงมาร์กาเรธา พระภคินีองค์ใหญ่ทรงอภิเษกกับเจ้าชายแอ็กเซลแห่งเดนมาร์ก พระญาติชั้นที่หนึ่งทางฝ่ายพระชนนี ส่วนเจ้าหญิงแอสตริดแห่งสวีเดน พระขนิษฐาองค์เล็กทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโพลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม ในขณะที่พระอนุชาพระองค์เล็กคือ เจ้าชายคาร์ลแห่งสวีเดน ดยุคแห่งออสเตอเกิตลานด์ ทรงอภิเษกสมรสต่างฐานันดรศักดิ์กับหญิงสาวสามัญชน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และเจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์

้าหญิงรัญฮิลด์ อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์ (ประสูติ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1930 ณ พระราชวังหลวง กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ - สิ้นพระชนม์ 16 กันยายน ค.ศ. 2012 ณ รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล) พระราชธิดาองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์‎ กับเจ้าหญิงมาร์ธา มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ เป็นพระเชษฐภคินีในเจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ และสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และเจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์

้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ (ประสูติ: 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 ณ วิลลาซูลบักเคิน กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์) พระราชธิดาองค์รองในสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์‎ กับเจ้าหญิงมาร์ธา มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ เป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และเป็นพระขนิษฐาในเจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ พระองค์ถือเป็นเหลนในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์จึงอยู่ในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระญาติชั้นที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม และสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมในสายพระมารดาของพระอง.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และเจ้าหญิงอัสตริดแห่งนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะบลิตซ์

อะบลิตซ์ (The Blitz) หมายถึงการทิ้งระเบิดเกือบทุกเมืองทั้งใหญ่และเล็กในสหราชอาณาจักรโดยนาซีเยอรมันอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 และวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน (Luffwaffe) การเน้นหนักอยู่ที่นครลอนดอน เดอะบลิตซ์ ทำให้คนตาย 43,000 คน บ้านเรือนถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านหลัง แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้สหราชอาณาจักรหมดความสามารถในการทำสงคราม หรือหมดขีดความสามารถในการต่อต้านการรุกรานของนาซี ถึงแม้ว่าคำว่า "บลิตซ์" (Blitz) เป็นคำย่อของ 'blitzkrieg' ซึ่งแปลว่า "การโจมตีสายฟ้าแลบ" แต่ยุทธการเดอะบลิตซ์กลับไม่ตรงความหมายคือรวดเร็วอย่างฟ้าแลบ แต่ได้กลายเป็นแบบอย่างของ "การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์" (strategic bombing)ที่ทุกฝ่ายนำไปใช้ในเวลาต่อมา การโจมตีทางอากาศของนาซีต่อสหราชอาณาจักรได้เบาบางลงและทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง มาเริ่มต้นใหม่ในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และเดอะบลิตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เดนมาร์ก–นอร์เวย์

นมาร์ก-นอร์เวย์ (Dänemark-Norwegen, Danmark-Norge, Denmark-Norway) เป็นรัฐร่วมประมุขที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ และรวมทั้งดินแดนอิสระไอซ์แลนด์ของนอร์เวย์ หลังจากการล่มสลายของสหภาพคาลมาร์แล้ว สองราชอาณาจักรก็ทำการตกลงรวมกันเป็นราชอาณาจักรร่วมประมุขใหม่ในปี ค.ศ. 1536 และรุ่งเรืองมาจนถึง ค.ศ. 1814 บางครั้งคำว่า "ราชอาณาจักรเดนมาร์ก" ก็จะหมายถึงทั้งสองอาณาจักรระหว่างปี ค.ศ. 1536 จนถึง ค.ศ. 1814 เพราะอำนาจทางการเมืองและทางการเศรษฐกิจมีศูนย์กลางอยู่ที่โคเปนเฮเกนในเดนมาร์ก คำนี้ครอบคลุมส่วนที่เป็น "ราชอาณาจักร" โอลเดนบูร์กของปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และเดนมาร์ก–นอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

18 พฤศจิกายน

วันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 322 ของปี (วันที่ 323 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 43 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และ18 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

21 กันยายน

วันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่ 264 ของปี (วันที่ 265 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 101 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และ21 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

22 มิถุนายน

วันที่ 22 มิถุนายน เป็นวันที่ 173 ของปี (วันที่ 174 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 192 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และ22 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

3 สิงหาคม

วันที่ 3 สิงหาคม เป็นวันที่ 215 ของปี (วันที่ 216 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 150 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์และ3 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »