ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สมิงทอพุทธกิตติและแคว้นเชียงใหม่
สมิงทอพุทธกิตติและแคว้นเชียงใหม่ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ตองอูองค์คำ
ราชวงศ์ตองอู
ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้านยองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญ.
ราชวงศ์ตองอูและสมิงทอพุทธกิตติ · ราชวงศ์ตองอูและแคว้นเชียงใหม่ ·
องค์คำ
ระบรมเชษฐขัตติยสุริยวงศา มีพระนามเดิมว่า เจ้าองค์คำ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ต่อจาก เจ้ากิ่งกิสราช พระองค์มีนามแรกประสูติว่า หม่อมน้อย เป็นโอรสใน เจ้าอินทกุมาร เจ้าเมืองศรีฟ้าวาหะหัวขาวเชื้อสายกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง กับ หม่อมคำแล เมื่อแรกพระบิดาของพระองค์ทรงลี้ภัยสงครามลงมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารใน พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราช ที่อณาจักรล้านช้าง เมื่อ เจ้ากิ่งกิสราช สวรรคตลง เจ้ากิ่งกิสราช ไม่มีพระโอรสสืบบัลลังค์ อันจะมีแต่พระธิดา 2 องค์ เหล่าบรรดาขุนนาได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราช และให้ เจ้านางแทนสาว เจ้านางแทนคำ ขึ้นเป็นเทวี คู่กับพระองค์ แต่เมือ เจ้าอินทโฉม ซึ่งตอนนั้นครองเมืองเชียงขอมอยู่ทราบข่าวการสวรรคตของ เจ้ากิ่งกิสราช จึงได้รวบรวมไพล่พลลงมาตีเอาเมืองคืน เจ้าองค์คำ เห็นว่าสู้ไม่ได้จึงได้จึงได้พาบริวาลส่วนหนึ่งเดินทางหนีไปผนวชอยู่ที่วัดช้างเผือกในเมืองเชียงใหม.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ สมิงทอพุทธกิตติและแคว้นเชียงใหม่ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง สมิงทอพุทธกิตติและแคว้นเชียงใหม่
การเปรียบเทียบระหว่าง สมิงทอพุทธกิตติและแคว้นเชียงใหม่
สมิงทอพุทธกิตติ มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ แคว้นเชียงใหม่ มี 38 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 2 / (14 + 38)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมิงทอพุทธกิตติและแคว้นเชียงใหม่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: