โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมาคมมวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สมาคมมวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส

สมาคมมวยโลก vs. อาเซลีนู เฟรย์ตัส

ำหรับ WBA ความหมายอื่น ดูที่: สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมวิชอัลเบียน สัญลักษณ์สมาคมมวยโลก เข็มขัดแชมป์โลกสมาคมมวยโลก สมาคมมวยโลก (World Boxing Association, ตัวย่อ: WBA; Asociación Mundial de Boxeo, ตัวย่อ: AMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สมาคมมวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1962 โดยแยกตัวออกมาจากสถาบันสมาคมมวยแห่งชาติ (National Boxing Association - NBA) ของสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งเป็นบุคคลในวงการมวยชาวอเมริกันและต่อมาจึงมีชาติในสมาชิกกลุ่มลาตินอเมริกาเข้าร่วมด้วยอีกหลายชาติ ปัจจุบัน สมาคมมวยโลก เป็นอีกหนึ่งสถาบันมวยสากลที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานและได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มี กิลแบร์โต เมนโดซา ชาวเวเนซุเอลาเป็นประธาน ที่ตั้งสถาบัน ตั้งอยู่ที่กรุงคารากัส ประเทศเวเนซุเอล. อาเซลีนู เฟรย์ตัส (Acelino Freitas) ยอดนักมวยชาวบราซิล เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1975 ที่เมืองซัลวาดอร์ รัฐบาเยีย ประเทศบราซิล เฟรย์ตัสมีชื่อเล่นว่า "ปอปอ" (Popó) เป็นชื่อที่แม่ของเขาตั้งให้ ซึ่งเป็นเสียงของเฟรย์ตัสในวัยทารกที่กำลังดูดนม อาเซลีนู เฟรย์ตัส ถือได้ว่าเป็นนักมวยชาวบราซิล ที่ทำให้วงการกีฬาบราซิลตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยสถิติการชกที่น่าทึ่ง นอกเหนือจากฟุตบอลที่เป็นกีฬาอันดับหนึ่งของประเทศ และทั่วโลกก็รู้จักบราซิลจากการเป็นแชมป์ฟุตบอลโลกถึง 5 สมัยด้วยกัน มีการเปรียบเทียบเฟรย์ตัสว่าเสมือนกับเอเดร์ โชฟรี (Eder Jofre) อดีตยอดนักมวยชาวบราซิลในรุ่นแบนตัมเวตในยุคทศวรรษที่ 60 และในงานแต่งงานของเฟรย์ตัสมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วประเทศบราซิลอีกด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สมาคมมวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส

สมาคมมวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มวยสากลสภามวยโลกอเมริกันซูเปอร์ไลท์เวทซูเปอร์เฟเธอร์เวทแบนตั้มเวทไลท์เวท

มวยสากล

การแข่งขันมวยสากลระดับโลกระหว่าง รีการ์โด โดมิงเกวซ (ซ้าย) ฮุกซ้ายใส่ ออเรออน'ส ราฟาเอล ออร์ตีซ ที่แคลิฟอร์เนีย พ.ศ. 2548 มวยสากล (Boxing) เป็นศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่งที่สู้กันด้วยหมัดทั้ง 2 ข้าง มีการแข่งขันตั้งแต่สมัยกีฬาโอลิมปิกยุคโบราณ และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน มวยสากล จะกำหนดการให้คะแนน ถ้าไม่มีฝ่ายไหนแพ้ชนะน็อต จะตัดสินจากคะแนนรวมยกที่ 20 คือยกสุดท้.

มวยสากลและสมาคมมวยโลก · มวยสากลและอาเซลีนู เฟรย์ตัส · ดูเพิ่มเติม »

สภามวยโลก

ัญลักษณ์สภามวยโลกที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 เข็ดขัดแชมป์โลกของสภามวยโลก สภามวยโลก (World Boxing Council; ตัวย่อ: WBC, Consejo Mundial de Boxeo; ตัวย่อ: CMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สภามวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก โดยเริ่มแรกมีชาติสมาชิก 11+1 ประเทศ ปัจจุบัน สภามวยโลกมี มัวริซิโอ สุไลมาน ชาวเม็กซิกัน เป็นประธานสถาบัน หลังจาก โฮเซ่ สุไลมาน ที่เป็นประธานตัวจริงและเป็นบิดาของมัวริซิโอ ทำหน้าที่อย่างยาวนานถึง 38 ปี ถึงแก่กรรมไปในต้นปี..

สภามวยโลกและสมาคมมวยโลก · สภามวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกัน

อเมริกัน อาจหมายถึง.

สมาคมมวยโลกและอเมริกัน · อาเซลีนู เฟรย์ตัสและอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์ไลท์เวท

ซูเปอร์ไลท์เวท (Super lightweight) ชื่อเรียกรุ่นมวยรุ่นหนึ่งที่อยู่ระหว่างรุ่นไลท์เวทกับรุ่นเวลเตอร์เวท นักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) และไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กิโลกรัม) โดยสถาบันสภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) ก่อตั้งรุ่นนี้ขึ้นมาพร้อมกันในปี ค.ศ. 1967 โดยเริ่มแรกเรียกว่า ไลท์เวลเตอร์เวท (Light welterweight) ต่อมาทางสภามวยโลกได้เปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น ซูเปอร์ไลท์เวท ส่วนทางสมาคมมวยโลกและสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) เรียกว่า จูเนียร์เวลเตอร์เวท (Junior welterweight) แต่ในวงการมวยสากลสมัครเล่นยังคงเรียกว่า ไลท์เวลเตอร์เวท อยู่ สำหรับนักมวยไทยเคยครองแชมป์โลกในรุ่นนี้มาแล้ว 1 คน คือ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นแชมป์โลกรุ่นใหญ่สุดที่นักมวยไทยเคยเป็นแชมป์มาด้วย และมีนักมวยสากลสมัครเล่นเคยได้ครองเหรียญทองโอลิมปิกมาแล้วในปี ค.ศ. 2004 คือ มนัส บุญจำนงค์ และได้เหรียญเงินโอลิมปิก 2 คน คือ ทวี อัมพรมหา ในปี ค.ศ. 1984 และ มนัส บุญจำนงค์ ในปี ค.ศ. 2008 สำหรับนักมวยชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียง ที่ชกหรือเคยชกในพิกัดน้ำหนักนี้ ได้แก่ กัตซ์ อิชิมะสึ, อันโตนิโอ เซอร์วองเตซ, ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, โธมัส เฮิร์นส์, โรแบร์โต้ ดูรัน, ฮูลิโอ ซีซาร์ ชาเวซ, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, มิเกล แองเจิล กอนซาเลซ, มิเกล คอตโต, แมนนี่ ปาเกียว, อีริค โมราเลส, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์, อาร์ตูโร กัตติ, อาเมียร์ ข่าน, รุสลัน โปรวอดนิคอฟ เป็นต้น.

ซูเปอร์ไลท์เวทและสมาคมมวยโลก · ซูเปอร์ไลท์เวทและอาเซลีนู เฟรย์ตัส · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์เฟเธอร์เวท

ซูเปอร์เฟเธอร์เวท (Super featherweight) ชื่อเรียกรุ่นมวยที่อยู่ระหว่างรุ่นเฟเธอร์เวทกับรุ่นไลท์เวท โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 126 ปอนด์ (57.153 กิโลกรัม) และไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) ทางสภามวยโลก (WBC) จะเรียกชื่อรุ่นนี้ว่า ซูเปอร์เฟเธอร์เวท แต่ทางสมาคมมวยโลก (WBA) กับ สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) และในวงการมวยไทยเรียกชื่อรุ่นนี้ว่า จูเนียร์ไลท์เวท (Junior lightweight) นักมวยไทยที่เคยเป็นแชมป์โลกในรุ่นนี้ มีทั้งหมด 2 คน คือ ยอดสนั่น ส.นันทชัย กับ ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์ สำหรับนักมวยชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงที่ชกหรือเคยชกในพิกัดนี้ ได้แก่ แฟลซ อีลอสเด้, อเล็กซิส อาร์กูเอลโล่, อซูม่าห์ เนลสัน, ฮูลิโอ ซีซาร์ ชาเวซ, ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ จูเนียร์, อีริค โมราเลส, ฮวน มานูเอล มาร์เกซ, แมนนี่ ปาเกียว, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, อเซลิโน่ ไฟรตัส เป็นต้น.

ซูเปอร์เฟเธอร์เวทและสมาคมมวยโลก · ซูเปอร์เฟเธอร์เวทและอาเซลีนู เฟรย์ตัส · ดูเพิ่มเติม »

แบนตั้มเวท

แบนตั้มเวท (Bantamweight) ชื่อเรียกรุ่นมวยรุ่นเล็กที่เคยเป็นรุ่นเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลกมาก่อน โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักตัวมากกว่า 115 ปอนด์ (52.163 กิโลกรัม) และไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กิโลกรัม) โดยทุกสถาบันจะเรียกชื่อนี้เหมือนกันหมด แชมป์โลกที่ทำสถิติป้องกันตำแหน่งไว้ได้มากที่สุดของรุ่นนี้คือ ออร์ลันโด้ คาร์นิซาเลส นักมวยชาวอเมริกัน โดยทำสถิติป้องกันตำแหน่งไว้ได้ทั้งหมด 15 ครั้ง สำหรับนักมวยไทยแล้ว รุ่นแบนตั้มเวทนี้ได้ชื่อว่าเป็นรุ่นอาถรรพ์ เพราะเคยมีนักมวยไทยหลายรายที่ขึ้นชิงตำแหน่งแชมป์รุ่นนี้แล้วไม่ประสบความสำเร็จ ถึงได้เป็นแชมป์ไปก็ป้องกันตำแหน่งไว้ได้ไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแชมป์ของสมาคมมวยโลก (WBA) เช่น จำเริญ ทรงกิตรัตน์ ที่เคยชิงแชมป์โลกในรุ่นนี้ถึง 3 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ นักมวยไทยที่เคยเป็นแชมป์โลกในรุ่นนี้มีทั้งหมด 7 ราย ได้แก่ เขาค้อ แกแล็คซี่, ดาวรุ่ง ช.ศิริวัฒน์, ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น, รัตนชัย ส.วรพิน, พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม (เป็นเพียงแชมป์เฉพาะกาล) และ ผึ้งหลวง ส.สิงห์อยู่ และในส่วนของมวยสากลสมัครเล่น มีนักมวยไทย 3 คนที่ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิก คือ ผจญ มูลสัน เหรียญทองแดงจากโอลิมปิก 1988 ที่โซล ประเทศเกาหลีใต้, วิชัย ราชานนท์ เหรียญทองแดงจากโอลิมปิก 1996 ที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา และ วรพจน์ เพชรขุ้ม เหรียญเงินจากโอลิมปิก 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ สำหรับนักมวยต่างชาติที่มีชื่อเสียงที่ชกในพิกัดนี้ นอกจาก ออร์ลันโด้ คาร์นิซาเลส แล้ว ได้แก่ จิมมี่ คาร์รัทเธอร์, โรแบร์ โคฮัง, ไฟติ้ง ฮาราด้า, อีดอร์ โจเฟร่, หลุยส์ ซีโต้ เอสปิโนซา, อิสราเอล คอนเทรรัส, โจอิชิโร่ ทัตสุโยชิ, มุน ซังกิล, นานา คอนาดู, พอล อยาล่า, โฮซูมิ ฮาเซกาว่า, เฟอร์นันโด มอนเทียล, โกกิ คาเมดะ เป็นต้น.

สมาคมมวยโลกและแบนตั้มเวท · อาเซลีนู เฟรย์ตัสและแบนตั้มเวท · ดูเพิ่มเติม »

ไลท์เวท

ลท์เวท (Lightweight) ชื่อเรียกรุ่นมวยรุ่นเล็กรุ่นหนึ่ง โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) โดยทุกสถาบันจะเรียกชื่อนี้เหมือนกันหมด สำหรับนักมวยไทยยังไม่เคยมีใครได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นนี้ และยังไม่เคยประสบความสำเร็จในแบบมวยสากลสมัครเล่นระดับโลก เช่น กีฬาโอลิมปิก เป็นต้น สำหรับนักมวยต่างชาติที่มีชื่อเสียง ที่ชกในพิกัดนี้ ได้แก่ อเล็กซิส อาร์กูเอลโล่, คิม ดุ๊กกู, โรแบร์โต ดูรัน, เจฟฟ์ เฟเนค, อซูม่าห์ เนลสัน, มิเกล แองเจิล กอนซาเลซ, ฮูลิโอ ซีซาร์ ชาเวซ, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, แมนนี่ ปาเกียว, อาเมียร์ ข่าน เป็นต้น สำหรับประวัติศาสตร์ของรุ่นไลท์เวท ถือว่าเป็นพิกัดน้ำหนักมวย 3 รุ่นแรกของโลกด้วย โดยถือกำเนิดขึ้นมาในปี ค.ศ. 1850 พร้อมกับรุ่นมิดเดิลเวท และเฮฟวี่เวท.

สมาคมมวยโลกและไลท์เวท · อาเซลีนู เฟรย์ตัสและไลท์เวท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สมาคมมวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส

สมาคมมวยโลก มี 77 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาเซลีนู เฟรย์ตัส มี 36 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 6.19% = 7 / (77 + 36)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สมาคมมวยโลกและอาเซลีนู เฟรย์ตัส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »