สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
สภาปกครองโรมัน vs. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
ตราอาร์มของสันตะสำนัก สภาปกครองโรมันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405 (Curia Romana กูเรียโรมานา) เป็นองค์การปกครองของสันตะสำนัก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานในคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดร่วมกับพระสันตะปาปา คำว่า กูเรีย ในภาษาละตินแปลว่า ราชสำนัก ดังนั้น กูเรียโรมานา จึงแปลตามตัวอักษรว่า ราชสำนักโรม ซึ่งหมายถึงสำนักสันตะปาปา และมีหน้าที่ช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการบริหารปกครองศาสนจักร จึงมีลักษณะคล้ายกับรัฐบาลในฝ่ายอาณาจักร และมีสมณะกระทรวงทำหน้าที่คล้ายกระทรวง สภาปกครองโรมันประกอบด้วยองค์กรในระดับต่าง ๆ ดังนี้;สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน (The Secretariat of State) เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดในสภาปกครองโรมัน ก่อตั้งมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นรัฐบาลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐเป็นหัวหน้า มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองและการทูตของสันตะสำนัก;สมณะกระทรวง สมณะกระทรวง (Congregations) เป็นองค์การปกครองส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีสมณมนตรีซึ่งล้วนแต่มีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลเป็นหัวหน้า;ศาลชำนัญพิเศษ ศาลชำนัญพิเศษ (Tribunals) ของสันตะสำนักประกอบด้วย สมณทัณฑสถาน โรมันโรตา และศาลชำนัญพิเศษสูงสุดแห่งพระสมณนาม;สมณะทบวง สมณะทบวง (Pontifical Councils) คือกลุ่มตัวแทน ซึ่งรวมเป็นองค์กรขนาดกลางช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการจัดการด้านต่าง ๆ แต่ละสมณะทบวงมีพระคาร์ดินัลหรืออัครมุขนายกเป็นประธาน;สมัชชามุขนายก สมัชชามุขนายก (Synod of Bishops) ก่อตั้งขึ้นสมัยสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ถือเป็นคณะที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาในการตัดสินใจ สมาชิกของสมัชชาคัดเลือกมาจากมุขนายกจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีพระสันตะปาปาดำรงตำแหน่งประธานสมัชชา;สำนักงาน สำนักงาน (Offices) มีอยู่ 3 สำนักงาน ทำหน้าที่ดูแลการเงินและทรัพย์สินของศาสนจักร;สมณะกรรมาธิการ สมณะกรรมาธิการ (Pontifical Commissions) คือคณะกรรมาธิการที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งขึ้นจากชาวคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน;องครักษ์สวิส องครักษ์สวิส (Swiss Guard) เป็นทหารชาวสวิสที่ทำนหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับพระสันตะปาปาและศาสนพิธีต่าง ๆ;สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก (Labour Office of the Apostolic See) เป็นหน่วยงานที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ทรงตั้งขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องแรงงานสัมพันธ์ระหว่างสันตะสำนักกับเหล่าลูกจ้าง;สมณบัณฑิตยสถาน สมณบัณฑิตยสถาน (Pontifical Academies) เป็นสมาคมผู้คงแก่เรียนที่ก่อตั้งโดยสันตะสำนัก ปัจจุบันมีสมณบัณฑิตยสถานอยู่ทั้งสิ้น 11 แห่ง ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกัน กรุงโรม. มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): โรม
ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).
สภาปกครองโรมันและโรม · สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีและโรม · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
การเปรียบเทียบระหว่าง สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
สภาปกครองโรมัน มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.59% = 1 / (18 + 45)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สภาปกครองโรมันและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: