โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมจอร์เจียน

ดัชนี สถาปัตยกรรมจอร์เจียน

หาสน์แบบสถาปัตยกรรมจอร์เจียนทีซอลสบรีในอังกฤษ ดันเฟิร์มไลน์ในสกอตแลนด์ที่สร้างระหว่างระหว่างปี ค.ศ. 1807 ถึง ปี ค.ศ. 1811 สถาปัตยกรรมจอร์เจียน (Georgian architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1720 จนถึง ค.ศ. 1840 ซึ่งตรงกันกับรัชสมัยพระเจ้าจอร์จสี่พระองค์ในราชวงศ์แฮโนเวอร์ที่ครองราชย์ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระเจ้าจอร์จที่ 4 ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1714 มาจนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830.

26 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2257พ.ศ. 2263พ.ศ. 2373พ.ศ. 2383พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรราชวงศ์แฮโนเวอร์วิลเลียม เคนท์สหราชอาณาจักรสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมจอร์เจียนสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอจอห์น แวนบรูห์จอห์น โซนคริสโตเฟอร์ เรนประเทศสกอตแลนด์นิโคลัส ฮอคสมอร์โรโกโกโรเบิร์ต อาดัมเสาแบบคลาสสิก

พ.ศ. 2257

ทธศักราช 2257 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพ.ศ. 2257 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2263

ทธศักราช 2263 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพ.ศ. 2263 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2373

ทธศักราช 2373 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1830 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพ.ศ. 2373 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2383

ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพ.ศ. 2383 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (George I of Great Britain, George I von Großbritannien) (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1727) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ (George II of Great Britain) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (George III of the United Kingdom) (4 มิถุนายน ค.ศ. 1738 – 29 มกราคม ค.ศ. 1820) เป็นพระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (George IV of the United Kingdom หรือ George Augustus Frederick) (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แฮโนเวอร์

ราชวงศ์แฮโนเวอร์ หรือ ราชวงศ์ฮันโนเฟอร์ เป็นราชวงศ์เยอรมันที่ครองบัลลังก์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ต่อจากราชวงศ์สจวตในปี พ.ศ. 2257 ราชวงศ์นี้ยังปกครองรัฐฮันโนเฟอร์ในประเทศเยอรมนีอันเป็นดินแดนที่ราชวงศ์นี้เป็นเจ้าของ ในบางครั้งอาจเรียกราชวงศ์นี้ว่าราชวงศ์เบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์ก สายฮันโนเฟอร์ (House of Brunswick and Lüneburg, Hanover line).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและราชวงศ์แฮโนเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เคนท์

วิลเลียม เคนท์ ผู้บุกเบิกสวนอังกฤษแบบธรรมชาติ วิลเลียม เคนท์ (William Kent พ.ศ. 2228-2291) จิตรกร นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิก เกิดที่เมืองบริดลิงตันไรดิงตะวันออกของยอร์กไชร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เคนท์ได้ไปทัศนศึกษาที่อิตาลีกับผู้อุปถัมภ์และกลับมาทำงานกับลอร์ดเบอร์ลิงตันในงานสร้างตำหนักชิสวิก ต่อมาเคนท์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนในอังกฤษ อาคารที่เคนท์ออกแบบได้แก่กลุ่มอาคารฮอร์สการ์ดที่ไวท์ฮอลล์ อาคารรอแยลมิวส์ที่จตุรัสทราฟัลกาและอาคารกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เคนท์ประสบความสำเร็จในงานออกแบบอาคารน้อยกว่างานภูมิทัศน์ สะพานและอาคารแบบพาลลาเดียนในสโตว์ โดยเคนท์ ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์” ตัวอย่างงานศิลปะบางส่วนโดยเคนท์ได้แก่ฉาก กอธิก ห้องโถงในวิหารเวสมินสเตอร์ โบสถ์กลอสเซสเตอร์ งานภายในตำหนักเบอร์ลิงตัน และตำหนักชิสวิกในลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 คเนท์ คเนท์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลอีสต์ไรดิงออฟยอร์คเชอร์.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและวิลเลียม เคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ

รงพยาบาลกรีนิช, ลอนดอนออกแบบโดยเซอร์คริสโตเฟอร์ เร็น, ค.ศ. 1694 สถาปัตยกรรมบาโรกอังกฤษ (English Baroque) เป็นคำที่ใช้กันอย่างหลวมๆ ที่อาจจะหมายถึงวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมอังกฤษที่เกิดขึ้นพร้อมกับการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบาโรกบนแผ่นดินใหญ่ยุโรประหว่างเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 (1666) และ สนธิสัญญาอูเทร็คท์ที่ลงนามกันในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก

ประตูบรานเดนบวร์กในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก (Greek Revival architecture) คือขบวนการทางสถาปัตยกรรมของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของยุโรปและสหรัฐอเมริกา สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกเป็นผลมาจากขบวนการกรีกนิยม (Hellenism) ที่อาจจะเห็นได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนามาสู่สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกก็ได้ คำว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกใช้เป็นครั้งแรกโดยชาร์ลส์ โรเบิร์ต คอคเคอเรลล์ในบทปาฐกถาที่ให้เมื่อเป็นศาสตราจารย์ทางสถาปัตยกรรมที่ราชสถาบันศิลปะเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก

มหาวิหารวิลนิอุส (Cathedral of Vilnius) วาดโดย Laurynas Gucevičius เมื่อปี ค.ศ. 1783 สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก (Neoclassical architecture) หรือ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน คือสถาปัตยกรรมที่เป็นผลมาจาก “ขบวนนิยมคลาสสิก” (Neoclassicism) ที่เริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เป็นผลจากปฏิกิริยาต่อ ศิลปะหรือสถาปัตยกรรมแบบโรโคโคที่นิยมพรางโครงร่างองค์ประกอบทางศิลปะหรือสถาปัตยกรรมด้วยการตกแต่งอย่างวิจิตร และเป็นผลจากลักษณะคลาสสิกของสถาปัตยกรรมแบบบาโรก โครงร่างที่แท้จริงของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกมาจากสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมจอร์เจียน

หาสน์แบบสถาปัตยกรรมจอร์เจียนทีซอลสบรีในอังกฤษ ดันเฟิร์มไลน์ในสกอตแลนด์ที่สร้างระหว่างระหว่างปี ค.ศ. 1807 ถึง ปี ค.ศ. 1811 สถาปัตยกรรมจอร์เจียน (Georgian architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1720 จนถึง ค.ศ. 1840 ซึ่งตรงกันกับรัชสมัยพระเจ้าจอร์จสี่พระองค์ในราชวงศ์แฮโนเวอร์ที่ครองราชย์ในสหราชอาณาจักร ได้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 1 พระเจ้าจอร์จที่ 2 พระเจ้าจอร์จที่ 3 และพระเจ้าจอร์จที่ 4 ผู้ทรงครองราชย์ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1714 มาจนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1830.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรมจอร์เจียน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ

หาสน์ที่ต่อเติมมุขด้านหน้าจากเล่ม 4 ของ "หนังสือสี่เล่มเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม" (I Quattro Libri dell'Architettura) ที่พิมพ์ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1736 อาคารกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารในรูปแบบปัลลาดีโอ สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ (Palladian architecture) หมายถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มาจากการออกแบบโดยอันเดรอา ปัลลาดีโอ (ค.ศ. 1508-1580) สถาปนิกชาวเวนิส คำว่า "แบบปัลลาดีโอ" โดยทั่วไปแล้วมักจะหมายถึงลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบของปัลลาดีโอเอง สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันที่จัดอยู่ในกลุ่มสถาปัตยกรรมลักษณะนี้วิวัฒนาการมาจากปรัชญาการออกแบบของปัลลาดีโอ งานของปัลลาดีโอมีพื้นฐานมาจากความสมมาตร ความมีทัศนมิติ และคุณค่าของสถาปัตยกรรมการก่อสร้างวัดของกรีกและโรมันโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การตีความหมายของสถาปัตยกรรมคลาสสิกกลายมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "คตินิยมปัลลาดีโอ" (Palladianism) ลักษณะนี้วิวัฒนาการต่อมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 "คตินิยมปัลลาดีโอ" กลายเป็นนิยมกันอยู่ระยะหนึ่งในบริเตนระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะนี้ก็หวนกลับมาเป็นที่นิยมไม่แต่ในอังกฤษแต่ยังในหลายประเทศทางตอนเหนือของยุโรปด้วย ต่อมาก็ลดความนิยมลงในยุโรป แต่ไปนิยมกันในทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะในสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบโดยทอมัส เจฟเฟอร์สัน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอยังคงเป็นที่นิยมกันทั่วไปในยุโรปตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 มักจะในการออกแบบสิ่งก่อสร้างทางราชการหรือทางสารธารณะ ตั้งแต่ครึ่งหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีสถาปัตยกรรมการฟื้นฟูกอทิกเข้ามาเป็นคู่แข่ง ลักษณะหลังนี้สนับสนุนโดยสถาปนิกเช่นออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin) ที่คำนึงถึงที่มาจากวัดโบราณที่ถือว่าเป็นลักษณะ "นอกศาสนา" เกินไปสำหรับผู้นับถือโปรเตสแตนต์และแองโกล-คาทอลิก แต่กระนั้นสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอก็ยังคงเป็นที่นิยมและวิวัฒนาการตลอดมา ซึ่งจะเห็นได้จากการการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันในลักษณะหน้าจั่ว ความสมมาตร และความได้สัดส่วน สถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอมีลักษณะหนา ดูทึบทึม อาคารหลายแห่งในประเทศไทยที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน, อาคารศุลกสถาน เป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น แวนบรูห์

ซอร์จอห์น แวนบรูห์โดยเจฟฟรี เนลเลอร์ (Godfrey Kneller) จอห์น แวนบรูห์ หรือ เซอร์จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) (24 มกราคม ค.ศ. 1664? – 26 มีนาคม ค.ศ. 1726) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษ และนักเขียนบทละคร (dramatist) งานชิ้นเอกของแวนบรูห์ก็เห็นจะเป็น วังเบล็นไฮม์ และ ปราสาทฮาวเวิร์ด งานอื่นก็ได้แก่บทละครฟื้นฟูราชวงศ์ (Restoration comedy) ซึ่งเป็นบทละครชวนหัวที่แรงๆ สองเรื่อง -- “คืนตัว” (The Relapse) ในปี ค.ศ. 1696 และเรื่อง “ภรรยาผู้ถูกยุ” (The Provoked Wife) ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นละครที่เล่นกันบ่อยแต่เป็นบทละครที่ทำให้มีความขัดแย้งกันมากเมื่อออกมาใหม่ๆ แวนบรูห์ค่อนข้างจะเป็นผู้มีหัวรุนแรง เมื่อหนุ่มๆ แวนบรูห์ก็เป็นสมาชิกพรรควิกและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโค่นราชบัลลังก์ของ, he was part of the scheme to overthrow สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และสนับสนุนการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เพื่อพิทักษ์ระบบรัฐสภาประชาธิปไตยของอังกฤษ และมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองจนถูกจับเป็นนักโทษการเมืองที่ถูกจำขังที่คุกบาสตีย์ในปารีส ส่วนทางด้านการเขียนบทละครแวนบรูห์มักจะเขียนบทละครแบบเสียดสี เช่นบทละครฟื้นฟูราชวงศ์ และเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากจะเป็นงานเขียนที่ออกจะเปิดเผยในเรื่องทางเพศแล้วก็ยังสื่อความหมายในการป้องกันสิทธิสตรีในการแต่งงานอีกด้วย ซึ่งก็ถูกโจมตีทั้งสองประเด็นและเป็นผู้ที่ถูกวิจารณ์ในค่านิยมโดย เจอเรอมี คอลลีเออร์ (Jeremy Collier) ในหนังสือ “ความคิดเห็นสั้นเกี่ยวกับความขาดศีลธรรมและความหยาบคายในวงการละครอังกฤษ” (Short View of the Immorality and Profaneness of the English Stage) ทางด้านสถาปัตยกรรมแวนบรูห์เป็นผู้นำในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างที่มารู้จักกันในนาม “สถาปัตยกรรมบาโรกแบบอังกฤษ” งานของแวนบรูห์ทางสถาปัตยกรรมก็เป็นการแสดงออกอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมือง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและจอห์น แวนบรูห์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น โซน

นาคารแห่งอังกฤษที่ออกแบบโดยจอห์น โซน จอห์น โซน, RA (John Soane) (10 กันยายน ค.ศ. 1753 - 20 มกราคม ค.ศ. 1837) เป็นสถาปนิกชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ลักษณะงานสถาปัตยกรรมของโซนเป็นการใช้เส้นที่สะอาด รูปทรงที่ใหญ่แต่ง่าย รายละเอียดที่เด่นชัด มีความสมส่วน และ ดีเด่นในเรื่องการใช้แหล่งแสง อิทธิพลของงานมาจากปลายสมัยจอร์เจียนที่มาประดังกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไม่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่อิทธิพลของงานของจอห์น โซนจึงได้เป็นที่รู้สึกกันอย่างกว้างขวาง งานชิ้นที่เด่นที่สุดคือธนาคารแห่งอังกฤษที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสิ่งก่อสร้างทางการค้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและจอห์น โซน · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและคริสโตเฟอร์ เรน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส ฮอคสมอร์

นิโคลัส ฮอคสมอร์ (Nicholas Hawksmoor) (ราว ค.ศ. 1661 - 25 มีนาคม ค.ศ. 1736) เป็นสถาปนิกของสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอังกฤษของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเฮาเวิร์ด โคลวินบรรยายฮอคสมอร์ว่าเป็นสถาปนิกผู้ "มีความมั่นใจในความรู้ทางคลาสสิกกว่าจอห์น แวนบรูห์ผู้ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรม, มีจินตนาการการเห็นการไกลมากกว่าผู้รอบรู้เช่นคริสโตเฟอร์ เร็น" ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและนิโคลัส ฮอคสมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรโกโก

้านเหนือของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo - ลานราชรถ: เป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองมาจนสมัยพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ทรงสั่งให้ติดช่อมะกอกแทน ท้องพระโรงของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo ศิลปะโรโกโก (Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโกโกเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโกโกจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เครื่องเรือน หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเครื่องเรือนที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็ก ๆ แบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโกโกมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก คำว่าโรโกโกมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโกโกจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโกโกเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและโรโกโก · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต อาดัม

รเบิร์ต อาดัม (Robert Adam) (3 กรกฎาคม ค.ศ. 1728 - 3 มีนาคม ค.ศ. 1792) เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และสถาปนิกของสมัยฟื้นฟูคลาสสิกคนสำคัญชาวสกอตของในคริสต์ศตวรรษที่ 18 งานชิ้นสำคัญของชาญโรเบิร์ต อาดัมก็ได้แก่คฤหาสน์ไซออน (Syon House), ปราสาทคัลแอนน (Culzean Castle), คฤหาสน์เคดเลสตัน (Kedleston Hall) และ สะพานพัลเทนีย์ (Pulteney Bridge) โรเบิร์ตเป็นลูกของสถาปนิกวิลเลียม อาดัม (ค.ศ. 1689–ค.ศ. 1748) ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญของสกอตแลนด์ในยุคนั้น และโรเบิร์ตก็ได้รับการศึกษาและฝึกฝนโดยบิดาพร้อมกับพี่ชายจอห์น หลังจากบิดาเสียชีวิตโรเบิร์ตก็ดำเนินธุรกิจของครอบครัวต่อที่รวมทั้งกิจการที่ทำเงินดีกับ Board of Ordnance ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและโรเบิร์ต อาดัม · ดูเพิ่มเติม »

เสาแบบคลาสสิก

องค์ประกอบของเสา1. entablature.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมจอร์เจียนและเสาแบบคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Colonial GeorgianGeorgian (architecture)Georgian RevivalGeorgian Revival architectureGeorgian architectureGeorgian styleGeorgian-styleNeo-Georgianสถาปัตยกรรมฟื้นฟูจอร์เจียสถาปัตยกรรมจอร์เจียแบบจอร์เจีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »