เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน

สถาปัตยกรรมกอทิก vs. โครงสร้างทรงโค้งมีสัน

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น. รงสร้างทรงโค้งมีสันที่มหาวิหารแร็งส์ โครงสร้างทรงโค้งมีสัน โครงสร้างทรงโค้งมีสัน (rib vault; croisée d'ogives) เป็นโครงสร้างทรงโค้งแบบหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณจุดที่ตัดกันระหว่างโครงสร้างทรงโค้งประทุน (barrel vault) จำนวนสองหรือสามส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดสันซึ่งมักจะตกแต่งด้วยบริเวณโค้งสันด้วยหินแกะสลักเป็นลายต่าง ๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับโครงสร้างทรงโค้งสันทแยงมุม (groin vault) ซึ่งเป็นโครงสร้างของเพดานโค้งในยุคที่เก่ากว่า โดยกลไกคือการถ่ายเทน้ำหนักของบริเวณเพดานลงออกด้านข้างไปยังบริเวณเสาโดยรอบ ซึ่งเหมือนกันกับแบบโค้งสัน เพียงแต่แบบใหม่นี้สามารถทำให้สถาปนิกสามารถสร้างสรรค์ความอลังการได้มากกว่าโดยเฉพาะในสมัยสถาปัตยกรรมกอทิกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ซึ่งมักจะคู่กันกับครีบยันลอย ซึ่งต่างกับสมัยโรมาเนสก์ที่ใช้เพียงครีบยันธรรมดาและกำแพงอันหนาเพื่อรับแรงโดยตรงจากโครงสร้างทรงโค้งแบบครึ่งวงกลม ในสถาปัตยกรรมกอทิก โครงสร้างทรงโค้งมีสันนี้เป็นวิธีที่กระจายน้ำหนักรวมลงที่ปลายเสาโดยตรงโดยไม่ผ่านผนังหรือกำแพง ซึ่งทำให้สามารถสร้างกำแพงที่บาง สูง และยังเป็นบานหน้าต่างขนาดใหญ่เพื่อใส่งานกระจกสีได้อย่างง่ายดาย และจากบริเวณปลายเสาก็ถ่ายเทน้ำหนักลงที่ครีบยันลอย โครงสร้างทรงโค้งมีสันในสมัยแรกซึ่งฝังอยู่ในโครงสร้างของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบตัวอย่างได้ที่บริเวณทางเดินข้างของบริเวณร้องเพลงสวดของมหาวิหารเดอรัม และที่โบสถ์แซ็ง-เอเตียนแห่งก็อง ซึ่งทั้งสองที่นี้เป็นวิหารในยุคแรก ๆ ที่มีการใช้โครงสร้างทรงโค้งมีสันเข้ากับสถาปัตยกรรมโรมาเนสก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน

สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ครีบยัน

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และโครงสร้างทรงโค้งมีสัน · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยัน

รีบยันในงานก่อสร้าง มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง ครีบยัน (buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทล.

ครีบยันและสถาปัตยกรรมกอทิก · ครีบยันและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน

สถาปัตยกรรมกอทิก มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ โครงสร้างทรงโค้งมีสัน มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.25% = 2 / (75 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้างทรงโค้งมีสัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: