โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมกอทิก

ดัชนี สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

75 ความสัมพันธ์: ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ชาวกอทชาวแวนดัลฟรังซิสแห่งอัสซีซีฟลอเรนซ์ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีพ.ศ. 2253การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันก็องมรดกโลกมหาวิหารมหาวิหารแซ็ง-เดอนีมหาวิทยาลัยราชอาณาจักรลักเซมเบิร์กวังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสันนิบาตฮันเซอสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมนอร์มันสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สงครามครูเสดสแกนดิเนเวียหินทรายหินปูนหน้าต่างกุหลาบห้องโถงเอกอัลอันดะลุสอารามอาสนวิหารจอร์โจ วาซารีจักรวรรดิแซสซานิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิไบแซนไทน์ทวีปยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 12คริสโตเฟอร์ เรนครีบยันคณะฟรันซิสกันคณะดอมินิกันคณะซิสเตอร์เชียนคณะนักบวชคาทอลิกคณะเบเนดิกตินตูลูซต้นสมัยกลาง...ประเทศฝรั่งเศสประเทศสกอตแลนด์ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศสเปนประเทศออสเตรียประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศซีเรียประเทศนอร์เวย์ประเทศโปแลนด์ประเทศเบลเยียมประเทศเยอรมนีปราสาทนักบุญดอมินิกนครรัฐแอบบีย์แคว้นปกครองตนเองซิซิลีโบสถ์คริสต์โบโลญญาโครงสร้าง (แก้ความกำกวม)เมโสโปเตเมียเรือนเฝ้าประตูเวนิสเสา21 กรกฎาคม ขยายดัชนี (25 มากกว่า) »

ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้

ราชอาณาจักรซิซิลี (สีเขียว) ในปี ค.ศ. 1154 เท่ากับบริเวณที่นอรมันพิชิตได้เป็นเวลาหลายสิบปี โดยนักรบกลุ่มต่างที่เป็นอิสระต่อกัน ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ (Norman conquest of southern Italy) การพิชิตอิตาลีตอนใต้ของนอร์มันเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ที่เป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นหลายครั้งโดยผู้เข้าร่วมหลายฝ่าย ที่ต่างก็ได้ดินแตนมาเป็นของตน จนกระทั่งต่อมาเท่านั้นบริเวณนี้จึงได้รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรซิซิลีที่ไม่แต่จะประกอบด้วยเกาะซิซิลีแต่รวมทั้งดินแดนหนึ่งในสามของทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี (ยกเว้นเบเนเวนโตที่ยึดได้สองครั้ง) และกลุ่มเกาะมอลตา และบางส่วนของแอฟริกาเหนือ ภายในห้าสิบปีหลังจากที่นอร์มันได้รับชัยชนะ ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวนอร์มันก็ตามมาตั้งเมืองตั้งกลุ่มการปกครองขึ้นทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลี การพิชิตดินแดนอิตาลีแตกต่างจากการพิชิตอังกฤษในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออิตาลีตอนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกอท

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและชาวกอท · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแวนดัล

การโจมตีกรุงโรม โดยไฮน์ริช ลอยเตอมันน์ ราว ค.ศ. 1860–ค.ศ. 1880 กลุ่มชนเจอร์แมนิกในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1 แวนดัล/ลูกีอี สีเขียวในบริเวณโปแลนด์ปัจจุบัน แวนดัล (Vandals) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์เจอร์แมนิกตะวันออกที่เข้ามามีบทบาทในตอนปลายสมัยจักรวรรดิโรมัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 กษัตริย์ชาวกอทพระเจ้าธีโอดอริคมหาราชพระเจ้าแผ่นดินของชาวออสโตรกอทและผู้สำเร็จราชการของชาววิซิกอทเป็นพันธมิตรของแวนดัลโดยการสมรส และเป็นพันธมิตรกับเบอร์กันดีและแฟรงก์ภายใต้การปกครองของโคลวิสที่ 1 แวนดัลอาจจะมีชื่อเสียงจากการโจมตีกรุงโรม (Sack of Rome) ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและชาวแวนดัล · ดูเพิ่มเติม »

ฟรังซิสแห่งอัสซีซี

นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 148 (Saint Francis of Assisi) มีนามเดิมว่า ฟรันเชสโก ดี ปีเอโตร ดี แบร์นาร์โดเน เป็นไฟรเออร์และนักเทศน์ในนิกายโรมันคาทอลิกชาวอิตาลี ผู้ก่อตั้งคณะฟรันซิสกัน คณะกลาริส และคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส แม้นักบุญฟรังซิสจะไม่ใช่บาทหลวง แต่ถือเป็นศาสนบุคคลที่ไดัรับการเคารพนับถือมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์Brady, Ignatius Charles.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี

รูปปั้นฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) (ค.ศ. 1377 - 15 เมษายน ค.ศ. 1446) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี และเป็นหนึ่งในสถาปนิกกลุ่มแรกที่เข้าร่วมกระบวนการเรอเนซองซ์ในเมืองฟลอเรนซ์ งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขาจะอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์แห่งนี้ บรูเนลเลสกีเป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคของเขา ผลงานหนึ่งที่สำคัญของเขาอันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกมาจนถึงทุกวันนี้คือ การคิดค้นระบบการเขียนแบบทัศนียภาพหรือเพอร์สเปกทีฟ (perspective).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและฟีลิปโป บรูเนลเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2253

ทธศักราช 2253 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและพ.ศ. 2253 · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

ก็อง

ก็อง (Caen) เป็นเมืองหลักของจังหวัดกาลวาโดส ในแคว้นนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส เมืองก็องเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่สร้างในสมัยของวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี และเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของยุทธการที่นอร์ม็องดีในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและก็อง · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (Basilique Saint-Denis) เดิมเป็นแอบบีย์ชื่อ อารามแซ็ง-เดอนี ที่ตั้งอยู่ที่แซ็ง-เดอนีที่ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของปารีส ต่อมาถูกยกสถานะขึ้นเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแซ็ง-เดอนีในปี ค.ศ. 1966 มหาวิหารแซ็ง-เดอนีมีความสำคัญทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศฝรั่งเศส มหาวิหารแซ็ง-เดอนีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 บนที่ตั้งของที่ฝังศพของนักบุญเดนิสผู้เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสองค์หนึ่งในสามองค์ มหาวิหารกลายเป็นสถานที่สำหรับการแสวงบุญและใช้เป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสเกือบทุกพระองค์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางพระองค์จากก่อนหน้านั้น (แต่ไม่ใช่สถานที่สำหรับพระราชพิธีราชาภิเษกที่ทำกันที่มหาวิหารแร็งส์ แต่พระราชพิธีราชาภิเษกพระราชินีมักทำกันที่นี่) มหาวิหารจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างกลุ่มที่ซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อธิการซูว์เฌสร้างบางส่วนของมหาวิหารใหม่โดยใช้วิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัยสำหรับยุคนั้น และใช้การตกแต่งที่นำมาจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การก่อสร้างครั้งนี้ถือกันว่าเป็นก่อสร้างสิ่งก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมกอทิกที่แท้จริงเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นมหาวิหารก็ยังเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแรยอน็อง และกลายมาเป็นแบบการก่อสร้างของมหาวิหารและแอบบีย์อื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ต่อม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและมหาวิหารแซ็ง-เดอนี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย (University) หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและมหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักร

ราชอาณาจักร (kingdom, realm) เป็นชุมชนหรือดินแดนซึ่งมีองค์อธิปัตย์ปกครอง มักใช้เพื่ออธิบายอาณาจักรหรือรัฐอื่นที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์หรือราชวง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและวัง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตฮันเซอ

ทางอากาศของลือเบค "''ราชินีแห่งฮันเซ่อ''" สันนิบาตฮันเซอ (Hanseatic League) และรู้จักในชื่อ ฮันเซอ (Hanse) หรือ ฮันซา (Hansa) ด้วย คือกลุ่มพันธมิตรทางทหารของเมืองการค้าและสมาคมพ่อค้าที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรักษาเอกสิทธิ์ในการค้าขายตามชายฝั่งทะเลของยุโรปเหนือตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงทะเลเหนือ และบนแผ่นดินใหญ่ ในสมัยยุคกลางตอนปลายไปจนถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึง คริสต์ศตวรรษที่ 17) เมืองฮันเซอมีระบบกฎหมายและการป้องกันที่เป็นของตนเองและระบบความช่วยเหลือระหว่างกันและกัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสันนิบาตฮันเซอ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก

วัดโวทิฟ (Votivkirche) เป็นวัดกอทิกใหม่ที่ เวียนนา หอวิคตอเรียที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Victoria Tower, Palace of Westminster) ลอนดอน รายละเอียดกอทิกโดยออกัสตัส พิวจิน (Augustus Pugin สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก (Neo-Gothic architecture หรือ Gothic Revival architecture) หรีอ สถาปัตยกรรมวิกตอเรีย (Victorian architecture) เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ. 1180 ถึงราวปี ค.ศ. 1520 ลักษณะของสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษก็เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมกอทิกของส่วนอื่น ๆ ในยุโรป ที่บ่งลักษณะได้จากการใช้ซุ้มโค้งแหลม, เพดานโค้งแหลม, ค้ำยัน, หน้าต่างกว้างและสูง และหอหรือหลังคาที่เป็นยอดแหลม (spire) สถาปัตยกรรมกอทิกเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศส เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะที่เรียกว่า “กอทิก” ได้รับการสร้างรวมกันในวัดเดียวที่บาซิลิกาแซงต์เดอนีส์นอกกรุงปารีสเป็นครั้งแรกโดยแอบบ็อตซูแกร์ ที่ได้รับการสถาปนาในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมนอร์มัน

องทางเดินกลางของมหาวิหารเดอแรมที่ใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมสองข้างแม้ว่าจะมีการใช้โค้งแหลมบนเพดานเหนือช่องทางเดินกลางที่เป็นการนำทางของสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมนอร์มัน (Norman architecture) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่วิวัฒนาการโดยนอร์มันในดินแดนต่างๆ ที่ได้เข้าปกครองหรือมีอิทธิพลในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยเฉพาะในการบรรยายถึงสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอังกฤษ นอร์มันเป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้างปราสาท, ป้อมปราการที่รวมทั้งหอกลางแบบนอร์มัน, สำนักสงฆ์, แอบบี, คริสต์ศาสนสถาน และมหาวิหารเป็นจำนวนมากในอังกฤษ ในลักษณะการใช้โค้งกลม (โดยเฉพาะรอบหน้าต่างและประตู) และมีลักษณะหนาหนักเมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่กล่าวนี้เริ่มขึ้นในนอร์ม็องดีและแผ่ขยายไปทั่วยุโรปโดยเฉพาะในอังกฤษซึ่งเป็นที่ที่มีการวิวัฒนาการมากที่สุดและยังคงมีสิ่งก่อสร้างจากยุคนั้นที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่าประเทศอื่น ในขณะเดียวกันตระกูลโอตวิลล์ (Hauteville family) ซึ่งเป็นตระกูลนอร์มันที่ปกครองซิซิลีก็สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์อีกลักษณะหนึ่งที่มีอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์และซาราเซ็นที่ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” เช่นกันหรือบางครั้งก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ซิซิลี”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สแกนดิเนเวีย

แกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ ราชอาณาจักรสวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื่อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและสแกนดิเนเวีย · ดูเพิ่มเติม »

หินทราย

250px หินทราย (Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์ เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและหินทราย · ดูเพิ่มเติม »

หินปูน

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและหน้าต่างกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ห้องโถงเอก

ห้องโถงเอก (Great hall) คือห้องหลักของปราสาท, พระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์มาเนอร์ขนาดใหญ่ในยุคกลาง และในคฤหาสน์ชนบทที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในขณะนั้น “Great” ในคำว่า “Great hall” มีความหมายว่า “ใหญ่” และยังมิได้หมายถึงความเป็น “เอก” เช่นในนัยยะของความหมายที่ใช้กันในปัจจุบัน ในยุคกลางห้องโถงเอกก็จะเรียกกันเพียงว่า “ห้องโถง” เท่านั้นนอกไปเสียจากว่าสิ่งก่อสร้างนั้นจะมีห้องโถงมากกว่าหนึ่งห้อง แต่คำว่า “ห้องโถงเอก” เป็นคำที่ใช้สำหรับห้องโถงประเภทนี้มาเป็นเวลาหลายร้อยปี เพื่อที่จะแยกจากห้องโถงประเภทอื่นที่สร้างขึ้นในสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นหลังยุคกลาง ห้องโถงเอกมักจะพบในฝรั่งเศส, อังกฤษ และ สกอตแลนด์ แต่ห้องที่มีลักษณะดังว่าก็พบในประเทศอื่นๆ บางประเทศในยุโรปด้วย ลักษณะของห้องโถงเอกโดยทั่วไปมักจะเป็นห้องสี่เหลี่ยมระหว่างที่ยาวหนึ่งครึ่งถึงสามเท่าของความกว้าง และจะสูงกว่าความกว้าง ทางเข้าก็จะ “ทางเดินที่เป็นฉาก” ทางด้านหนึ่งของห้อง หน้าต่างจะอยู่ทางด้านยาวของตัวห้อง และมักจะรวม มุขหน้าต่าง และเหนือทางเข้าบางครั้งก็จะมีระเบียงนักดนตรี ด้านตรงกันข้ามของห้องยกขึ้นเป็นยกพื้นเป็นที่ตั้งของโต๊ะของประมุขของเจ้าของสถานที่และแขกสำคัญๆ ห้องส่วนตัวของเจ้าของและครอบครัวก็จะอยู่ถัดออกไปจากบริเวณนี้ ส่วนครัว, ห้องเก็บสุรา และ ห้องเก็บอาหารอยู่ตรงกันข้ามกับทางเข้า ในยุคกลางผู้เป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ มักจะมีห้องพักผ่อนเพียงไม่กี่ห้อง ฉะนั้นห้องโถงเอกจึงเป็นห้องสารพัดประโยชน์ ที่ใช้เป็นสถานที่รับแขก และสถานที่ที่สมาชิกในครอบครัวมากินอาหารร่วมกัน ที่จะรวมทั้งเจ้าของบ้าน, ผู้รับใช้ชั้นสูงและชั้นรองบางคน ในเวลากลางคืน สมาชิกในบ้านก็อาจจะใช้เป็นที่หลับที่นอนด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและห้องโถงเอก · ดูเพิ่มเติม »

อัลอันดะลุส

อัลอันดะลุส (الأندلس; Al-Andalus) เป็นชื่อภาษาอาหรับของบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ (ที่เรียกโดยทั่วไปว่ามัวร์) ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและอัลอันดะลุส · ดูเพิ่มเติม »

อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ วาซารี

อร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) (30 กรกฎาคม ค.ศ. 1511 - 27 มิถุนายน ค.ศ. 1574) เป็นสถาปนิกและจิตรกรชาวอิตาลี ผลงานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุดคืองานบันทึก ประวัติชีวิตและงานของศิลปินอิตาลีก่อนหน้าและร่วมสมัยในชื่อ “ชีวิตจิตรกร, ประติมากร, และสถาปนิกผู้ดีเด่น” (หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ชีวิตศิลปิน” (The Vite)) ซึ่งเป็นงานที่ยังมีการอ้างอิงกันในการเขียนประวัติชีวิตศิลปินหรือการวิจัยจิตรกรรมและประติมากรรมกันอยู่จนทุกวันนี้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและจอร์โจ วาซารี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแซสซานิด

ักรวรรดิซาสซานิยะห์ (ساسانیان, Sassanid Empire) ที่เป็นหนึ่งในจักรวรรดิเปอร์เชียและที่เป็นจักวรรดิสุดท้ายก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเริ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของเอเชียตะวันตกเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี ราชวงศ์ซาสซานิยะห์ก่อตั้งโดยอาร์ดาเชอร์ที่ 1 (Ardashir I) หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิพาร์เธียนองค์สุดท้ายอาร์ตาบานัสที่ 4 (Artabanus IV) และมาสิ้นสุดลงเมื่อยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) มาพ่ายแพ้หลังจากที่ทรงใช้เวลาถึงสิบสี่ปีในการต่อต้านจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิกาหลิปอิสลามที่ตามกันมา จักรวรรดิซาสซานิยะห์หรือที่เรียกว่า “Eranshahr” (“จักรวรรดิอิหร่าน”) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นปัจจุบันคืออิหร่าน, อิรัก, อาร์มีเนีย, ทางตอนใต้ของคอเคซัส (รวมทั้งทางตอนใต้ของดาเกสถาน), ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียกลาง, ตะวันตกของอัฟกานิสถาน, บางส่วนของตุรกี, บางส่วนของซีเรีย, บริเวณริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรอาหรับ, บริเวณอ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน สมัยการปกครองของซาสซานิยะห์เป็นสมัยอันยาวนานของปลายสมัยโบราณและถือกันว่าเป็นสมัยที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งของ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของวัฒนธรรมของเปอร์เซียแ ละเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มยุคการพิชิตของมุสลิมและการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของเปอร์เซียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรมันเป็นอันมากในยุคซาสซานิยะห์J.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและจักรวรรดิแซสซานิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 12

ริสต์ศตวรรษที่ 12 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1101 ถึง ค.ศ. 1200.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคริสต์ศตวรรษที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคริสโตเฟอร์ เรน · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยัน

รีบยันในงานก่อสร้าง มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง ครีบยัน (buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและครีบยัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคณะดอมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะซิสเตอร์เชียน

ตราอาร์มของคณะซิสเตอร์เชียน คณะซิสเตอร์เชียน (Ordo Cisterciensis, Cistercian Order,.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคณะซิสเตอร์เชียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

คณะเบเนดิกติน

ณะนักบุญเบเนดิกต์ (Ordo Sancti Benedicti; Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและคณะเบเนดิกติน · ดูเพิ่มเติม »

ตูลูซ

ตูลูซ (Toulouse) เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นมีดี-ปีเรเน ซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาพิเรนีสคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและตูลูซ · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญดอมินิก

นักบุญดอมินิกแห่งออสมา (Saint Dominic of Osma; ค.ศ. 1170 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1221) นักบุญดอมินิกแห่งออสมา หรือ นักบุญดอมินิกแห่งกุซมัน เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ผู้ก่อตั้งคณะดอมินิกัน เชื่อว่าเป็นบุคคลแรกที่นำสายประคำมาใช้ในการสวดภาวนาของชาวคาทอลิก และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักดาราศาสตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและนักบุญดอมินิก · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐ

โมนาโก ถือเป็นนครรัฐแห่งหนึ่ง นครรัฐ (city state) คือภูมิภาคที่ควบคุมโดยสมบูรณ์โดยเมืองเพียงเมืองเดียว ส่วนใหญ่จะมีเอกราช โดยประวัติศาสตร์แล้ว นครรัฐมักจะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ใหญ่กว่า ดังเช่นนครรัฐในกรีกโบราณ (เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา และโครินธ์) เมืองในเอเชียกลางตามเส้นทางสายไหม นครรัฐในอิตาลีเหนือ (โดยเฉพาะ ฟลอเรนซ์และเวนิซ) ปัจจุบันประเทศที่เป็นนครรัฐมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเทศ คือ สาธารณรัฐสิงคโปร์, ราชรัฐโมนาโก และนครรัฐวาติกัน แต่บางแห่งก็ถูกจัดว่าเป็นนครรัฐด้วย อาทิ สาธารณรัฐมอลตา สาธารณรัฐซานมารีโนMogens, Hansen.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและนครรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นปกครองตนเองซิซิลี

ซิซิลี (Sicily) หรือ ซีชีเลีย (Sicilia; Sicìlia) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี มีลักษณะเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางภาคใต้ของประเทศโดยมีช่องแคบเมสซีนาคั่นระหว่างตัวเกาะกับแผ่นดินใหญ่ เกาะมีพื้นที่ 25,708 ตารางกิโลเมตร นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลีและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดสูงสุดของเกาะคือภูเขาไฟเอตนา (3,320 เมตร) บนเกาะมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 5 ล้านคน เมืองสำคัญได้แก่ ปาแลร์โม (เมืองหลัก) เมสซีนา กาตาเนีย ซีรากูซา ตราปานี เอนนา คัลตานิสเซตตา และอากรีเจนโต ซิซิลีมีประวัติต่อเนื่องยาวนานกว่า 4,000 ปี ด้วยเหตุที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ซิซิลีจึงตกเป็นเป้าหมายของการยึดครองจากชนชาติที่มีอำนาจเข้มแข็งในช่วงเวลาต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ชาวกรีก โรมัน คาร์เทจ อาหรับ นอร์มัน เยอรมัน ฝรั่งเศส และสเปน แต่ละชาติผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ ขณะเดียวกันก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของตนเข้ามาด้วย เกาะนี้จึงมีสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานกัน หากแต่ลงตัว นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยความงามทางธรรมชาติของทั้งชายหาด ทะเล และภูเขาไฟ และด้วยความที่อยู่ห่างไกลออกมา จึงสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นอิตาลีดั้งเดิมอย่างที่หาไม่พบอีกแล้วตามเมืองใหญ่ในอิตาลีภาคพื้นทวีป.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและแคว้นปกครองตนเองซิซิลี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โบโลญญา

ลญญา (Bologna) เป็นเมืองในประเทศอิตาลี เป็นเมืองหลักของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาในหุบเขาโป ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโปกับเทือกเขาแอเพนไนน์ นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดคือ "Alma Mater Studiorum" ที่ก่อตั้งในปี 1088 โบโลญญายังเป็นเมืองหนึ่งที่พัฒนามากที่สุดในอิตาลี และมักติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของเมือง ในแง่ของคุณภาพชีวิตในอิตาลี จากข้อมูลปี 2006 ติดอยู่อันดับ 5 และอันดับที่ 12 ในปี 2007 จาก 103 เมืองในอิตาลี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและโบโลญญา · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้าง (แก้ความกำกวม)

รงสร้าง โดยทั่วไปแล้วหมายถึง องค์ประกอบหลักที่สำคัญ ซึ่งนำประกอบเข้ากันเป็นรูปร่าง แต่ก็อาจะหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและโครงสร้าง (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เรือนเฝ้าประตู

ประตูบาร์บิคันของปราสาทเกล็นนาร์มในไอร์แลนด์ เรือนเฝ้าประตู (Gatehouse) เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของปราสาท, คฤหาสน์มาเนอร์ และคฤหาสน์อื่นๆ ของยุโรป เดิมเรือนเฝ้าประตูเป็นสิ่งก่อสร้างแบบระบบป้อมปราการ ที่ตั้งอยู่เหนือประตูทางเข้าเมืองหรือปราสาท ในด้านสถาปัตยกรรมเรือนเฝ้าประตูหมายถึงสิ่งก่อสร้างที่อยู่ภายในหรือสร้างติดกับประตูของปราสาท, คฤหาสน์มาเนอร์ หรือสิ่งก่อสร้างในประเภทเดียวกันที่มีความสำคัญ เรือนเฝ้าประตูปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยต้นยุคกลางเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันทางเข้าของเมืองหรือปราสาท ต่อมาเรือนเฝ้าประตูก็วิวัฒนาการมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนขึ้นที่เต็มไปด้วยระบบการป้องกันหลายชั้นขึ้น เรือนเฝ้าประตูแบบสร้างเสริมมักจะมีระบบการป้องกันอื่นๆ ที่รวมทั้งสะพานชักรอก, ประตูชักรอก (portcullis), ช่องเชิงเทิน, ช่องธนู และอาจจะมีช่องสังหารที่ใช้ในการหย่อนสิ่งต่างๆ ลงมายังผู้รุกราน ในปลายยุคกลางช่องธนูก็อาจจะแปลงเป็นช่องสำหรับยิงปืน บางครั้งเรือนเฝ้าประตูก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการป้องกันเมืองที่อาจจะใช้ในการป้องกันสะพานข้ามแม่น้ำหรือคูเมืองเช่นเรือนเฝ้าประตูกลางสะพานมอนเนาว์ในมอนมอธในเวลส์ ยอร์คมีเรือนเฝ้าประตูสำคัญสี่เรือนเช่นเรือนที่มิคเคิลเกตบาร์ ภาษาฝรั่งเศสเรียกเรือนเฝ้าประตูว่า “logis-porche” ที่อาจจะมีขนาดใหญ่และมีโครงสร้างซับซ้อนที่ใช้เป็นทั้งประตูและที่พักอาศัย ถ้ามีขนาดใหญ่มากบางครั้งก็เรียกว่า “châtelet” หรือ “ปราสาทน้อย” เมื่อมาถึงปลายยุคกลางเรือนเฝ้าประตูในอังกฤษและฝรั่งเศสก็แปลงมาเป็นเรือนขนาดย่อมที่สร้างอย่างสวยงามที่ตั้งอยู่ตรงทางเข้าของคฤหาสน์หรือคฤหาสน์ที่ดินใหญ่ๆ และกลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระจากกำแพงหรือติดกับคฤหาสน์เพียงการสร้างติดกับกำแพงล้อมรอบคฤหาสน์ เมื่อมาถึงยุคนี้ความสำคัญในการเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกก็หมดความสำคัญลงไป และกลายมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างให้กลมกลืนไปกับลักษณะของตัวสิ่งก่อสร้างหลักที่อาจจะมองไม่เห็นจากทางเข้า บนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเรือนเฝ้าประตูจากยุคกลางยังมีเหลือให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในฝรั่งเศส และเยอรมนี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและเรือนเฝ้าประตู · ดูเพิ่มเติม »

เวนิส

วนิส (Venice) หรือ เวเน็ตเซีย (Venezia) เป็นเมืองหลักของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลเอเดรียติก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges) และเมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light) เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเอเดรียติก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำปลาวี มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในแตร์ราแฟร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่น ๆ ในทะเล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและเวนิส · ดูเพิ่มเติม »

เสา

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและเสา · ดูเพิ่มเติม »

21 กรกฎาคม

วันที่ 21 กรกฎาคม เป็นวันที่ 202 ของปี (วันที่ 203 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 163 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมกอทิกและ21 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gothic architectureสถาปัตยกรรมกอธิกสถาปัตยกรรมกอธิคสถาปัตยกรรมแบบกอธิคสถาปัตยกรรมโกธิกสถาปัตยกรรมโกธิค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »