โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถานีรถไฟนะโงะยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สถานีรถไฟนะโงะยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง

สถานีรถไฟนะโงะยะ vs. โทไกโดชิงกันเซ็ง

''เจอาร์ เซนทรัลทาวเวอร์'' เป็นส่วนของสถานีที่อยู่ติดกับชานชาลา ป้ายบนชานชาลาของรถไฟ JR สถานีรถไฟนะโงะยะ เป็นสถานีรถไฟในเขตนะคะมุระ นครนะโงะยะ จังหวัดไอจิ ญี่ปุ่น เป็นสถานีรถไฟที่มีพื้นที่มากที่สุดในโลก (446,000 ม²) และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ บริษัทรถไฟญี่ปุ่นกลาง (เจอาร์ เซ็นทรัล) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน "เจอาร์ เซ็นทรัล ทาวเวอร์" เหนือสถานีขึ้นไป และในทางเดินใต้ดิน สถานีที่เห็นในปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ใน พ.ศ. 2548 มีผู้มาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 1,140,000 คน จัดว่าเป็นสถานีรถไฟที่คับคั่งเป็นอันดับหกในญี่ปุ่น สถานีนี้อยู่ติดกับสถานีรถไฟเมเท็ทซึนะโงะยะของ Nagoya Railroad และสถานีรถไฟคินเท็ทซึนะโงะยะของสายคินเท็ทซึนะโงะยะ อาคารแฝดของสถานีสูงกว่า 50 ชั้น ประกอบด้วยอาคารโรงแรม 59 ชั้น และอาคารสำนักงาน 55 ชั้น (มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนดาดฟ้า). | โทไกโด ชิงกันเซ็ง เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งเส้นทางแรก เปิดให้บริการในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สถานีรถไฟนะโงะยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง

สถานีรถไฟนะโงะยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลางสายหลักโทไกโดสายฮิงะชิยะมะฮิการิ (ขบวนรถไฟ)นาโงยะโคดามะ (ขบวนรถไฟ)โนโซมิ (ขบวนรถไฟ)

บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลาง

ริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลาง เป็นหนึ่งในบริษัทในกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น (JR Group) โดยมักใช้ชื่อเรียกอย่างย่อว่า JR ตอนกลาง ดำเนินการให้บริการรถไฟในภูมิภาคชูบุ (นะโงะยะ) ในปี..

บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลางและสถานีรถไฟนะโงะยะ · บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลางและโทไกโดชิงกันเซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

สายหลักโทไกโด

ทางรถไฟ สายหลักโทไกโด เป็นทางรถไฟที่ชุกชุมที่สุด ในประเทศญี่ปุ่น เชื่อมระหว่างมหานครโตเกียว กับ นครโคเบะ ด้วยระยะทางทั้งหมด 589.5 กิโลเมตร โดยไม่นับเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างเมืองรายทาง อีกทั้งรถไฟความเร็วสูง โทไกโด ชิงกันเซ็ง ยังวิ่งขนานไปกับเส้นทางนี้ด้วย สายหลักโทไกโดถูกครอบครองและดำเนินงานโดย 3 บริษัทรถไฟญี่ปุ่น คือ.

สถานีรถไฟนะโงะยะและสายหลักโทไกโด · สายหลักโทไกโดและโทไกโดชิงกันเซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

สายฮิงะชิยะมะ

นีฟูจิกาโอะกา สายฮิงะชิยะมะ (東山線) หรือสาย 1 เป็นเส้นทางรถไฟฟ้า ส่วนหนึ่งของรถไฟใต้ดินเทศบาลนะโงะยะ ในเมืองนะโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น มีสถานีปลายทาง 2 แห่ง ได้แก่ สถานีทะกะบะตะ และ สถานีฟูจิกาโอะกา มีสีทองเป็นสีประจำเส้นทาง และรหัสของทุกสถานี จะขึ้นต้นด้วยตัว H.

สถานีรถไฟนะโงะยะและสายฮิงะชิยะมะ · สายฮิงะชิยะมะและโทไกโดชิงกันเซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิการิ (ขบวนรถไฟ)

''ฮิการิเรลสตาร์'' ทำขบวนด้วยรุ่น 700 series ฮิการิ เป็นขบวนรถไฟความเร็วสูงในประเทศญี่ปุ่น ให้บริการในเส้นทางโทไกโดชิงกันเซ็งและซันโยชิงกันเซ็ง รถไฟประเภทนี้วิ่งช้ากว่าขบวนโนโซมิ แต่ยังเร็วกว่าขบวนโคดามะ หากใช้สิทธิ์ตามบัตรผ่านรถไฟญี่ปุ่น ขบวนฮิการินี้จะเป็นรถไฟประเภทที่เร็วที่สุดที่ให้บริการบนเส้นทางโทไกโดและซันโยชิงกันเซ็ง เมื่อชิงกันเซ็งเปิดให้บริการในปี 1964 ฮิการิได้เป็นรถไฟที่เร็วที่สุดบนเส้นทางที่วิ่งจากโตเกียวไปยังสถานีชินโอซะกะ มีการหยุดรถเพียงแค่สองครั้งเท่านั้นคือที่นาโงยาและที่เกียวโต ต่อมา ฮิการิได้ขยายไปให้บริการบนซันโยชิงกันเซ็งแม้ว่ารถไฟฮิการิจะเร็วกว่าเพียงขบวนโคดามะเท่านั้น ทั้งคู่จึงได้รับฉายาสั้นๆร่วมกันว่า "ฮิดะมะ" บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลางเป็นผู้ให้บริการฮิการิ ปัจจุบันนี้ใช้รถไฟขนาด 16 โบกี้ หลายซีรีส์ได้แก่ 700 ซีรีส์ และ 300 ซีรีส์ รถไฟฮิการิส่วนใหญ่จะหยุดตามสถานีต่างเช่น ชิซุโอะกะ, ไมบาระ หรือฮิเมะจิ เพื่อให้รถไฟที่เร็วกว่า เช่น ขบวนโนโซมิ วิ่งผ่านไปด้วยความเร็วสูงสุดก่อน ในเดือนมีนาคม ปี 2008 ขบวนฮิการิได้นำชิงกันเซ็ง N700 ซีรีส์ มาใช้สำหรับการเดินทางระหว่างสถานีชินโยโกะฮะมะและสถานีฮิโระชิมะ และสำหรับรถไฟเที่ยวดึกระหว่างสถานีโตเกียวและนาโงยา บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกเริ่มให้บริการฮิการิ เรล สตาร์ (Hikari Rail Star) ในปี 200 ซีรีส์0 โดยมีเฉพาะเส้นทางซันโยชิงกันเซ็งเท่านั้น โดยใช้รถไฟขบวนพิเศษขนาด 8 โบกี้ซีรีส์ 700 ซีรีส์ ที่มีความเร็วสูงสุด 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การที่บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกนำมาให้บริการนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับสายการบินที่บินอยู่ในเส้นทางโอซะกะไปยังฟุกุโอะกะ ที่นั่งที่สำรองเอาไว้บนรถไฟฮิการิ เรล สตาร์มีการจัดแบบ 2-2 แทนที่จะเป็น 3-2 เหมือนฮิการิทั่วๆไป และด้านหน้าของแต่ละที่นั่งนั้นจะมีจุดจ่ายไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอีกด้วย ก่อนและระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2นั้น ฮิการิเคยเป็นชื่อของรถไฟด่วนที่วิ่งจากปูซาน ประเทศเกาหลี ไปยังชางชุน ในแมนจูเรีย ต่อมา ในทศวรรษที่ 1950 ชื่อนี้ได้นำมาใช้เป็นชื่อรถไฟด่วนที่วิ่งจากฟุกุโอะกะไปยังคาโงชิมะและเบ็ปปุ หมวดหมู่:ชิงกันเซ็งแบ่งตามรูปแบบ.

สถานีรถไฟนะโงะยะและฮิการิ (ขบวนรถไฟ) · ฮิการิ (ขบวนรถไฟ)และโทไกโดชิงกันเซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

นาโงยะ

นครนาโงยะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคชูบุ และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบนเกาะฮนชู เป็นเมืองเอกของจังหวัดไอชิและเป็นหนึ่งในเมืองท่าหลักของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย โตเกียว, โอซะกะ, โคเบะ, โยะโกะฮะมะ, ชิบะ และ คิตะกีวชู นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครที่ใหญ่เป็นอันดับสามของญี่ปุ่นที่เรียกว่า เขตมหานครชูเกียว ซึ่งมีประชากรกว่า 9.1 ล้านคน.

นาโงยะและสถานีรถไฟนะโงะยะ · นาโงยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

โคดามะ (ขบวนรถไฟ)

มะ ซีรีส์ 0 ขณะจอดอยู่ที่สถานีโอะกะยะมะ, เมษายน 200 ซีรีส์7 โคดามะ เป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการในเส้นทางโทไกโดชิงกันเซ็งและซันโยชิงกันเซ็ง ขบวนโคดามะจะจอดทุกสถานีที่รถไฟวิ่งผ่าน ส่งผลให้ขบวนโคดามะเป็นขบวนรถไฟที่วิ่งช้าที่สุดในบรรดาบริการรถไฟชิงกันเซ็งทั้งหมดที่ผ่านเมืองใหญ่ๆ ได้แก่ โตเกียว และโอซากะ ปกติแล้วนักเดินทางจะนิยมใช้ขบวนโคดามะในการเดินทางระหว่างเมืองเล็กๆอย่างเช่นอะตะมิเท่านั้น ส่วนผู้เดินทางก็ระหว่างเมืองใหญ่ๆก็จะใช้บริการขบวน โนโซมิ หรือฮิการิแทน ซึ่งจะจอดระหว่างสถานีน้อยครั้งกว่า คำว่า โคดามะ มีความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า "เสียงสะท้อน" แต่เดิมนั้นเป็นชื่อของรถไฟด่วนที่ให้บริการบนเส้นทางหลักโทไกโด ที่ต่อมาคำว่า "โทไกโด"ก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อของรถไฟชิงกันเซ็งในปี 1964 คำว่า"โคดามะ"จึงนำมาตั้งเป็นชื่อของรถไฟที่ให้บริการบนเส้นทางนี้ด้ว.

สถานีรถไฟนะโงะยะและโคดามะ (ขบวนรถไฟ) · โคดามะ (ขบวนรถไฟ)และโทไกโดชิงกันเซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

โนโซมิ (ขบวนรถไฟ)

นโซมิ ชิงกันเซ็ง ซีรีส์ 700 ที่สถานีโอกะยะมะ, เมษายน ค.ศ. 2007 ภายในชิงกันเซ็ง ซีรีส์ 700 (โนโซมิ), กันยายน ค.ศ. 2004 โนโซมิ เป็นขบวนรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางโทไกโดชิงกันเซ็งและซันโยชิงกันเซ็ง ถ้าทำขบวนด้วยรถไฟซีรีส์ 500 จะสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้สามารถเดินทางจากโตเกียวไปยังโอซากะ ระยะทางประมาณ 515 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 2.5 ชั่วโมง ปัจจุบัน ขบวนโนโซมิ จะใช้รถไฟชิงกันเซ็ง 300 ซีรีส์, 500 ซีรีส์, 700 ซีรีส์ และ N700 ซีรีส์ ซึ่ง N700 รุ่นล่าสุดนั้นจะให้บริการไปกลับเพียงแค่ 4 รอบต่อวันเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีโครงการจะให้บริการโนโซมิทั้งหมด (เช่น โตเกียว-ฮะกะตะ) ใช้รถไฟ N700 ทั้งหมดในปี 2009 นี้ ขบวนโนโซมินี้จะหยุดไม่บ่อยครั้งเหมือนกับขบวนฮิกะริ สำหรับโทไกโด ชิงกันเซ็งนั้น ขบวนโนโซมิจะหยุดที่สถานีรถไฟโตเกียว, นะโงะยะ, เคียวโตะ และชินโอซะกะ เท่านั้น ส่วนเส้นทาง ซันโย ชิงกันเซ็ง นั้น ขบวนโนโซมิทุกขบวนจะหยุดที่สถานีชินโคเบะ, โอะกะยะมะ, ฮิโระชิมะ, โคะกุระ และฮะกะตะเท่านั้น มีโนโซมิบางขบวนเท่านั้นที่จะหยุดที่สถานีเสริมนอกเหนือจากนี้ โนโซมิให้บริการเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น โดยไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตรผ่านรถไฟญี่ปุ่นสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ คำว่า โนโซมิ เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า "ความหวัง" ได้รับการคัดเลือกให้เป็นชื่อเนื่องจากมีความเร็วกว่าบริการรถไฟที่มีอยู่ในขณะนั้นคือ ฮิกะริ ที่มีความหมายว่า "แสง" หรือ "รังสี" และโคะดะมะ ที่มีความหมายว่า "เสียงสะท้อน" ซึ่งในขณะนั้นมีความต้องการรถไฟที่เร็วกว่าฮิระกิ และ โคะดะมะอยู่มาก โนโซมิ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1992.

สถานีรถไฟนะโงะยะและโนโซมิ (ขบวนรถไฟ) · โทไกโดชิงกันเซ็งและโนโซมิ (ขบวนรถไฟ) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สถานีรถไฟนะโงะยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง

สถานีรถไฟนะโงะยะ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ โทไกโดชิงกันเซ็ง มี 59 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 9.72% = 7 / (13 + 59)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สถานีรถไฟนะโงะยะและโทไกโดชิงกันเซ็ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »