โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถานะเพศ

ดัชนี สถานะเพศ

นะเพศ (gender) หรือ เพศสภาพ คือลักษณะต่างๆ ที่บ่งบอกความเป็นชาย (masculinity) และความเป็นหญิง (femininity) ซึ่งอาจหมายถึง เพศทางชีววิทยา (เช่น เพศชาย เพศหญิง เพศกำกวม) โครงสร้างทางสังคมที่อาศัยความเป็นเพศ (เช่น บทบาทประจำเพศ และบทบาททางสังคมด้านอื่นๆ) หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ (หรือ เพศเอกลักษณ์, gender identity) แล้วแต่บริบท ผู้ที่ไม่มองว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงมักเรียกรวมๆ ว่าเป็นเพศทางเลือก มีคำเรียกหลายอย่าง เช่น non-binary, genderqueer บางวัฒนธรรมจะมีบทบาทโดยเฉพาะของเพศที่สาม เช่น กลุ่มฮิจรา ในเอเชียใต้ เป็นต้น องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายของสถานะเพศ เอาไว้ว่า ไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง" ในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ส่วนภาษาไทย อาจมีคนแปลความหมายของคำว่า gender ว่า “เพศภาวะ” “ความเป็นชาย ความ เป็นหญิง” “บทบาทหญิงชาย” “มิติหญิงชาย” หรือ “เพศทางสังคม”.

10 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาบทบาททางเพศภาวะเพศกำกวมลิงค์ (ภาษาศาสตร์)องค์การอนามัยโลกความเป็นชายความเป็นหญิงเพศเพศชายเพศหญิง

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: สถานะเพศและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

บทบาททางเพศ

ทบาททางเพศ (gender role หรือ sex role) คือบทบาททางสังคม ครอบคลุมทั้งพฤติกรรมและทัศนคติของแต่ละคนที่เชื่อว่าเหมาะสม เป็นที่ยอมรับและน่าชื่นชมโดยใช้เพศสภาพเป็นตัวกำหนด บทบาททางเพศนั้นเน้นแนวคิดของความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชาย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นและรูปแบบหลากหลาย ซึ่งอาจแตกต่างไปแล้วแต่วัฒนธรรม หลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวสิทธิสตรีพยายามเปลี่ยนแปลงบทบาททางเพศนี้ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นการกดขี่หรือไม่ถูกต้อง.

ใหม่!!: สถานะเพศและบทบาททางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเพศกำกวม

ตัวอย่างอวัยวะเพศกำกวมแบบหนึ่งของมนุษย์ ภาวะเพศกำกวม (intersexuality) เป็นภาวะของสิ่งที่มีชีวิตในสปีชีส์ gonochoristic ที่โครโมโซมเพศ, อวัยวะเพศ และ/หรือ ลักษณะเฉพาะทางเพศเมื่อเติบโตขึ้น ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหญิงหรือชายอย่างชัดเจน สิ่งมีชีวิตที่มีเพศกำกวมอาจมีลักษณะทางชีวภาพของทั้งเพศหญิงและเพศชาย คนที่อยู่ในภาวะเพศกำกวม อาจเผชิญกับปัญหาการเป็นตราบาปและการแบ่งแยกตั้งแต่เกิดหรือเมื่อค้นพบว่ามีลักษณะภาวะเพศกำกวม มีการบันทึกไว้ในในบางประเทศเช่น แอฟริกาและเอเชียว่าอาจมีการฆ่าทารก การละทิ้งและถูกมองว่าเป็นตราบาปของครอบครัว ทั่วโลก ทารกและเด็กที่มีภาวะเพศกำกวม เช่นผู้ที่มีอวัยวะเพศภายนอกคลุมเครือ มันถูกเปลี่ยนแปลงทางการผ่าตัดหรือฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะทางเพศที่เป็นที่ยอมรับทางสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตามนี่ถือเป็นข้อโต้แย้งโดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีผลลัพธ์ที่ดี, Australasian Paediatric Endocrine Group (APEG), 27 June 2013 การรักษาดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการทำหมัน ผู้ใหญ่รวมทั้งนักกีฬาหญิงแนวหน้าต่างได้รับการรักษาแบบนี้ด้วยเช่นกัน ประเด็นเหล่านี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ, Office of the UN High Commissioner for Human Rights, February 2013.

ใหม่!!: สถานะเพศและภาวะเพศกำกวม · ดูเพิ่มเติม »

ลิงค์ (ภาษาศาสตร์)

ลิงค์ (อ่านว่า ลิง) หรือ เพศทางไวยากรณ์ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทคำนามในบางตระกูลภาษา โดยเฉพาะตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เช่น ภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต แม้ในภาษาสมัยใหม่ ก็ยังมีการใช้ลิงค์ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี เป็นต้น ลิงค์โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 จำพวก คือ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง ตำราไวยากรณ์ของไทย มักจะใช้ศัพท์บาลี หรือสันสกฤต ว่า ปุลลิงค์ (ปุงลิงค์), อิตถีลิงค์ (สตรีลิงค์) และนปุงสกลิงค์ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว ลิงค์ ในทางไวยากรณ์ไม่ได้ผูกพันกับลักษณะทางเพศในเชิงชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตแต่อย่างใด หมวดหมู่:ไวยากรณ์.

ใหม่!!: สถานะเพศและลิงค์ (ภาษาศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: สถานะเพศและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นชาย

ราคลีส ผู้แสดงถึงความเป็นชายของชาวอพอลโล ความเป็นชาย (masculinity) คือ คุณสมบัติ พฤติกรรมและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเด็กผู้ชายและผู้ชาย โดยสังคมเป็นผู้กำหนดต่างจากความหมายของเพศชายFerrante, Joan (2008), "", in มาตร่ฐานต่างกันไปตามวัฒนธรรมและยุคสมัย ทั้งเพศชายและเพศหญิงสามารถแสดงออกลักษณะและพฤติกรรมของผู้ชายได้ ลัษณะที่แสดงถึงความเป็นชายในสังคมตะวันตกได้แก่ ความกล้าหาญ พึงพาตนเอง ความรุนแรง และการกล้าแสดงออกThomas, R. Murray (2001), "", in ความเป็นลูกผู้ชาย(Machismo)เป็นรูปแบบหนึ่งของความเป็นชายที่เน้นพลังอำนาจและความเป็นชายโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบและหน้าที.

ใหม่!!: สถานะเพศและความเป็นชาย · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นหญิง

การสืบพันธุ์ ความเป็นหญิง(Femininity) คือ คุณสมบัติ พฤติกรรมและบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเด็กผู้หญิงและผู้หญิง ความเป็นหญิงส่วนหนึ่งสังคมเป็นผู้กำหนดและอีกส่วนจากลักษณะทางชีววิทยา แตกต่างจากนิยามของเพศหญิงที่ทั้งเพศชายและเพศหญิงสามารถแสดงออกถึงความเป็นหญิงได้ ลัษณะที่แสดงถึงความเป็นหญิงได้แก่ ความอ่อนโย เห็นใจผู้อื่น และความอ่อนไหวVetterling-Braggin, Mary "Femininity," "masculinity," and "androgyny": a modern philosophical discussionWorell, Judith, Encyclopedia of women and gender: sex similarities and differences and the impact of society on gender, Volume 1 Elsevier, 2001,, แม้ว่าลัษณะความเป็นหญิงจะขึ้นอยู่กับสถานที่และสิ่งแวดล้อมและได้รับอิทธิพลจากทั้งสังคมและวัฒนธรรม ในประเทศที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ บางคอนเซ็ปหรือสิ่งของก็ถูกมองว่าดูมีความเป็นหญิงหรือความเป็น.

ใหม่!!: สถานะเพศและความเป็นหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เพศ

การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ เพศ (sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: สถานะเพศและเพศ · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: สถานะเพศและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เพศหญิง

ัญลักษณ์เพศหญิง เพศหญิง (♀) หรือเพศเมีย (female) คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ โดยเซลล์ไข่สามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายที่เรียกว่า อสุจิ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่าการผสมพันธุ์ เพศหญิงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงอสุจิของเพศชายอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: สถานะเพศและเพศหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Genderบทบาทหญิงชายเพศภาวะเพศสภาพเพศสถานะเพศทางสังคม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »