เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามโลกครั้งที่สอง

ดัชนี สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.

สารบัญ

  1. 330 ความสัมพันธ์: บลิทซ์ครีกบอลเชวิกชาวโรมานีชาตินิยมบูดาเปสต์ฟรันซิสโก ฟรังโกพ.ศ. 2474พ.ศ. 2478พ.ศ. 2479พ.ศ. 2480พ.ศ. 2481พ.ศ. 2482พ.ศ. 2484พ.ศ. 2494พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนพรรคนาซีพลพรรคยูโกสลาเวียพอร์ตมอร์สบีพันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์กฎบัตรแอตแลนติกกรณีมุกเดนกรณีอันตอนกลุ่มตะวันออกกองทัพคันโตกองทัพแดงกองทัพเรือสหรัฐกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นกองทัพเรือเยอรมันการบุกครองยูโกสลาเวียการบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรการบุกครองอียิปต์ของอิตาลีการบุกครองนอร์ม็องดีการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นการบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียตการบุกครองแอลเบเนียของอิตาลีการบุกครองโปแลนด์การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียตการบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตรการพักรบตางกูการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คการกำหนดการปกครองด้วยตนเองการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกียการก่อการกำเริบวอร์ซอการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีการยอมจำนนของญี่ปุ่นการยึดครองบริติชโซมาลิแลนด์ของอิตาลีการยึดครองญี่ปุ่นการรุกบูดาเปสต์การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียตการรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซ... ขยายดัชนี (280 มากกว่า) »

  2. ความขัดแย้งในระดับโลก
  3. สงครามนิวเคลียร์
  4. สงครามเกี่ยวข้องกับกรีซ
  5. สงครามเกี่ยวข้องกับกัมพูชา
  6. สงครามเกี่ยวข้องกับซาอุดีอาระเบีย
  7. สงครามเกี่ยวข้องกับซีเรีย
  8. สงครามเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น
  9. สงครามเกี่ยวข้องกับนอร์เวย์
  10. สงครามเกี่ยวข้องกับบริติชอินเดีย
  11. สงครามเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย
  12. สงครามเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
  13. สงครามเกี่ยวข้องกับพม่า
  14. สงครามเกี่ยวข้องกับฟินแลนด์
  15. สงครามเกี่ยวข้องกับฟิลิปปินส์
  16. สงครามเกี่ยวข้องกับมองโกเลีย
  17. สงครามเกี่ยวข้องกับมอนเตเนโกร
  18. สงครามเกี่ยวข้องกับยูโกสลาเวีย
  19. สงครามเกี่ยวข้องกับลาว
  20. สงครามเกี่ยวข้องกับลิทัวเนีย
  21. สงครามเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียต
  22. สงครามเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
  23. สงครามเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
  24. สงครามเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐจีน
  25. สงครามเกี่ยวข้องกับออสเตรีย
  26. สงครามเกี่ยวข้องกับออสเตรเลีย
  27. สงครามเกี่ยวข้องกับอิตาลี
  28. สงครามเกี่ยวข้องกับอินเดีย
  29. สงครามเกี่ยวข้องกับอินโดนีเซีย
  30. สงครามเกี่ยวข้องกับอิรัก
  31. สงครามเกี่ยวข้องกับอิหร่าน
  32. สงครามเกี่ยวข้องกับอียิปต์
  33. สงครามเกี่ยวข้องกับฮังการี
  34. สงครามเกี่ยวข้องกับเชโกสโลวาเกีย
  35. สงครามเกี่ยวข้องกับเดนมาร์ก
  36. สงครามเกี่ยวข้องกับเนเธอร์แลนด์
  37. สงครามเกี่ยวข้องกับเม็กซิโก
  38. สงครามเกี่ยวข้องกับเยอรมนี
  39. สงครามเกี่ยวข้องกับเวียดนาม
  40. สงครามเกี่ยวข้องกับแคนาดา
  41. สงครามเกี่ยวข้องกับโครเอเชีย
  42. สงครามเกี่ยวข้องกับโปแลนด์
  43. สงครามเกี่ยวข้องกับโรมาเนีย
  44. สงครามเกี่ยวข้องกับไทย
  45. สงครามโลก

บลิทซ์ครีก

วามเสียหายหลังจากบลิทซ์ครีก บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg) การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นคำแผลงเป็นอังกฤษ เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีก เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิดบลิทซ์ครีกนั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง นำโดยพลเอกไฮนซ์ กูเดเรียน บลิทซ์ครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและบลิทซ์ครีก

บอลเชวิก

การประชุมพรรคบอลเชวิก บอลเชวิก (Bolshevik "บอลเชอวิก"; большеви́к "บาลชือวิก") แผลงมาจากคำว่าБольшинство แปลว่า ส่วนใหญ่ หรือ หมู่มาก บอลเชวิก หมายถึงสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDLP ย่อมาจาก Russian Social Democratic Labour Party) ซึ่งนิยมลัทธิมากซ์ กลุ่มนี้นำโดยเลนิน ในพรรคนี้ยังมีอีกลุ่มหนึ่งเรียกกันว่า меньшевик เมนเชวิก ซึ่งแผลงมาจากคำในภาษารัสเซีย Меньшинство แปลว่า ส่วนน้อย กลุ่มเมนเชวิกนำโดย จูเลียส มาร์ตอฟ เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดคนหนึ่งของเลนิน การแตกคอกันมีขึ้นในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์และลอนดอน เมื่อปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและบอลเชวิก

ชาวโรมานี

รมานี (Rromane, Romani people หรือ Romany หรือ Romanies หรือ Romanis หรือ Roma หรือ Roms) หรือมักถูกเรียกโดยผู้อื่นว่า ยิปซี (Gypsy) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของยุโรปที่สืบเชื้อสายมาจากยุคกลางของอินเดีย (Middle kingdoms of India) โรมานีเป็นชนพลัดถิ่น (Romani diaspora) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มโรมาซึ่งเป็นชนกลุ่มย่อยในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และกลุ่มใหม่ที่ไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา และบางส่วนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ภาษาโรมานีแบ่งออกไปเป็นสาขาท้องถิ่นหลายสาขาที่มีผู้พูดราวกว่าสองล้านคน แต่จำนวนประชากรที่มีเชื้อสายโรมานีทั้งหมดมากกว่าผู้ใช้ภาษากว่าสองเท่า ชาวโรมานีอื่นพูดภาษาของท้องถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานหรือภาษาผสมระหว่างภาษาโรมานีและภาษาท้องถิ่นที่พำนัก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและชาวโรมานี

ชาตินิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและชาตินิยม

บูดาเปสต์

กรุงบูดาเปสต์มองจากมุมสูงทางทิศเหนือ "แป็ชต์" อยู่ทางฝั่งซ้ายและ "บูดอ" อยู่ทางฝั่งขวา; เกาะมาร์กาเรตอยู่ทางด้านหน้าของรูป ส่วนเกาะเซเปลอยู่ไกลออกไปทางด้านหลัง บูดาเปสต์ (Budapest; Budapest) เป็นเมืองหลวงของประเทศฮังการี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการคมนาคมขนส่งของประเทศ มีประชากรมากกว่า 1.7 ล้านคน มีจำนวนลดลงจากกลางทศวรรษ 1980 ซึ่งมีประชากรถึง 2.07 ล้านคน บูดาเปสต์กลายเป็นเมืองเดี่ยวที่มีอาณาเขตครอบคลุมทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำดานูบหลังจากการรวมกันในพ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและบูดาเปสต์

ฟรันซิสโก ฟรังโก

ฟรันซิสโก เปาลีโน เอร์เมเนคิลโด เตโอดูโล ฟรังโก อี บาอามอนเด ซัลกาโด ปาร์โด (Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco y Bahamonde Salgado Pardo) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ จอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) และ เอลโกว์ดีโย หรือ "ท่านผู้นำ" (El Coudillo) (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฟรันซิสโก ฟรังโก

พ.ศ. 2474

ทธศักราช 2474 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1931 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2474

พ.ศ. 2478

ทธศักราช 2478 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1935.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2478

พ.ศ. 2479

ทธศักราช 2479 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1936.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2479

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2480

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2481

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2482

พ.ศ. 2484

ทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2484

พ.ศ. 2494

ทธศักราช 2494 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1951.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพ.ศ. 2494

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

รรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Communist Party of China (CPC) หรือ Chinese Communist Party (CCP)) เป็นพรรคการเมืองหลักในสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสมาชิกกว่า 80 ล้านคน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพรรคนาซี

พลพรรคยูโกสลาเวีย

ลพรรคยูโกสลาเวีย หรือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติยูโกสลาเวีย เป็นขบวนการนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ในการต่อต้านฝ่ายอักษะ (โดยเฉพาะเยอรมนี) ในเขตยึดครองยูโกสลาเวียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการเป็นขบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในยุโรปในการต่อต้านฝ่ายอักษะของขบวนการต่อต้านช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มักจะเปรียบเทียบกับขบวนการต่อต้านโปแลนด์ แม้ว่าภายหลังจะเป็นขบวนการอิสระที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เป็นส่วนใหญ่ การต่อต้านยูโกสลาเวียภายใต้การนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้บัญชาการคือจอมพลยอซีป บรอซ ตีโต.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพลพรรคยูโกสลาเวีย

พอร์ตมอร์สบี

อร์ตมอร์สบี (Port Moresby) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศปาปัวนิวกินี จากการสำรวจประชากรในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพอร์ตมอร์สบี

พันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์

ันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์ หมายถึง ข้อตกลงระหว่างสหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ในความร่วมมือระหว่างกันในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศในทวีปยุโรป ตามข้อตกลงลับในข้อตกลง "ประเทศในทวีปยุโรป" นี้เป็นที่เข้าใจว่าคือ เยอรมนี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและพันธมิตรทางการทหารอังกฤษ-โปแลนด์

กฎบัตรแอตแลนติก

อร์ชิลล์พบกับรูสเวลต์บนเรือยูเอสเอส ออกัสตาในการประชุมลับนอกฝั่งนิวฟันด์แลนด์ เชอร์ชิลล์พบกับรูสเวลต์บนเรือราชนาวีพรินซ์ออฟเวลส์ ร่างกฎบัตรแก้ไขลายมือเชอร์ชิลล์ กฎบัตรแอตแลนติก (Atlantic Charter) คำประกาศหลักการแห่งนโยบายแห่งชาติโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกฎบัตรแอตแลนติก

กรณีมุกเดน

ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 ใกล้กับเมืองมุกเดน (หรือ เสิ่นหยางในปัจจุบัน) ทางแมนจูเรียตอนใต้ ส่วนหนึ่งของรางรถไฟซึ่งกองทัพญี่ปุ่นยังคงยึดครองอยู่ในขณะนั้นเกิดการระเบิดขึ้น กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการรุกรานแมนจูเรีย และนำไปสู่การก่อตั้งแมนจูกัวในปีต่อมา ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการรบในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ถึงแม้ว่าสงครามครั้งนี้จะปะทุขึ้นมาในปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกรณีมุกเดน

กรณีอันตอน

พันเซอร์ทรูเพน(พลขับรถถัง)บนรถถังแพนเซอร์ 4 ของเยอรมันกำลังดูเรือรบฝรั่งเศสกำลังลุกไหม้ บางทีอาจจะเป็นเรือลาดตระเวนโคลแบร์ท(Colbert) ปฏิบัติการอันตอนหรือฟัลล์ อันตอน(Fall Anton)ในภาษาเยอรมัน เป็นรหัสนามสำหรับการเข้ายึดครองทางทหารที่ฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งถูกดำเนินการโดยเยอรมนีและอิตาลีในเดือนพฤศจิกายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกรณีอันตอน

กลุ่มตะวันออก

นการณ์ทางการเมืองของโลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น. โลกตะวันออกในยุคสงครามเย็น คำว่า กลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) เป็นชื่อเรียกที่หมายถึงอดีตรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันออก และอาจหมายรวมถึงประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอด้วยเช่นกัน คำว่า "กลุ่มตะวันออก" เป็นชื่อที่ใช้เรียกในยุคสงครามเย็น (ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกลุ่มตะวันออก

กองทัพคันโต

กองทัพคันโต หรือ กองทัพกวันตง (관동군 gwandong-gun; Kwantung Army, ความหมาย: "กองทัพประตูตะวันออก") คือกลุ่มกองทัพของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นับเป็นกองกำลังที่ใหญ่ที่สุดและทรงเกียรติที่สุดของกองทัพจักรวรรดิ นายทหารหลายนายจากหน่วยนี้ เช่น เสนาธิการทหารเซย์ชิโร อิทะงะกิ หรือ พลเอกฮิเดกิ โตโจ ต่างได้ดำรงตำแหน่งระดับสูงทั้งในราชการทหารและรัฐบาลพลเรือนของญี่ปุ่น อนึ่ง กองทัพคันโตยังเป็นหน่วยที่มีส่วนรับผิดชอบอย่างยิ่งในการก่อตั้งจักรวรรดิแมนจูกัว อันเป็นรัฐหุ่นเชิดภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกองทัพคันโต

กองทัพแดง

accessdate.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกองทัพแดง

กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกองทัพเรือสหรัฐ

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) (คีวจิไต: 大日本帝國海軍 ชินจิไต: 大日本帝国海軍 หรือ 日本海軍 นิปปง ไคงุง) เป็นกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพเรือเยอรมัน

ี 8 กองทัพเรือเยอรมัน (Deutsche Marine) เป็นกองทัพเรือแห่งประเทศเยอรมนี และเป็นส่วนหนึ่งของบุนเดซเวร์ (กองทัพเยอรมัน).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกองทัพเรือเยอรมัน

การบุกครองยูโกสลาเวีย

การบุกครองยูโกสลาเวีย, หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามเดือนเมษายน เรื่มขึ่นเมื่อ เยอรมนี เปิดฉากโจมตี ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ร่วมกับ ฝ่ายอักษะ โดยเริ่มขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 1941 ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง หลังเกิด รัฐประหารยูโกสลาเวีย เมื่อหลายวันก่อนหน้า ยูโกสลาเวียดำรงความเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้เกือบ 2 ปี แต่เมื่อเดือนมีนาคมปี 1941 เจ้าชาย Paul ถูกบีบบังคับให้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะ ทำให้เกิดการโค่นล้มอำนาจของพระองค์เพื่อปฏิเสธการเป็นพันธมิตรกับอักษะในเบลเกรด และ องค์มกุฏราชกุมารได้ถูกยกขึ้นมาเป็นพระเจ้า Peter II ปกครองยูโกสลาเวียแทน ฝ่ายอักษะจึงเข้าโจมตียูโกสลาเวียและแยกดินแดนยูโกสลาเวียเป็นส่วนๆแบ่งสรรกันในหมู่ฝ่ายอักษะ (อิตาลี เยอรมนี บัลแกเรีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย) แต่ที่สำคัญคือยกกลุ่ม Ustaša ให้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลปกครองรัฐเอกราชโครเอเชีย (Independent State of Croatia)  .

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองยูโกสลาเวีย

การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร

การรุกรานอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied invasion of italy) เป็นการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเพื่อรุกเข้าสู่อิตาลีบนแผ่นดินใหญ่โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร

การบุกครองอียิปต์ของอิตาลี

การรุกรานอียิปต์ของอิตาลี เป็นการรุกรานที่ของราชอาณาจักรอิตาลีต่อดินแดนอียิปต์ของสหราชอาณาจักรและฝ่ายสัมพันธมิตร.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองอียิปต์ของอิตาลี

การบุกครองนอร์ม็องดี

การรุกรานนอร์ม็องดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์ม็องดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองนอร์ม็องดี

การบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น

การรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น เป็นเหตุการณ์ที่กองทัพคันโตของจักรวรรดิญี่ปุ่น เข้ารุกรานดินแดนแมนจูเรียของจีน ในเหตุการณ์สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต

การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต ยังเป็นที่รู้จักในฐานะกลยุทธปฏิบัติการรุกแมนจูเรีย (Манчжурская стратегическая наступательная операция, lit.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต

การบุกครองแอลเบเนียของอิตาลี

การรุกรานแอลเบเนียของอิตาลี (7-12 เมษายน ค.ศ. 1939) เป็นการรบระยะสั้นระหว่างราชอาณาจักรอิตาลีกับราชอาณาจักรแอลเบเนีย ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของแอลเบเนีย ความขัดแย้งเป็นผลมาจากนโยบายขยายตัวของผู้เผด็จการอิตาลี มุสโสลินี แอลเบเนียถูกยึดครองอย่างรวดเร็วโดยกองกำลังอิตาลี พระเจ้าซ็อกที่ 1 ทรงถูกเนรเทศ และแอลเบเนียกลายเป็นรัฐในอารักขาของอิตาลีหลังจากสงคราม แอลเบเนียมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากสำหรับราชอาณาจักรอิตาลี โดยที่นักยุทธศาสตร์มองว่า โวโรร่าและเกาะซาแซน ที่ทางเข้าอ่าวโวโรร่า จะเป็นประโยชน์แก่อิตาลีอย่างมากในการควบคุมทางเข้าทะเลเอเดรียติก นอกจากนี้ แอลเบเนียยังสามารถเป็นหัวหาดของอิตาลีในแถบบอลข่าน ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อิตาลีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้ควบคุมการสร้างรัฐแอลเบเนียอิสระ เมื่อสงครามอุบัติขึ้น อิตาลีได้ทำลายโอกาสที่จะยึดครองส่วนใต้ของแอลเบเนีย เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้มันถูกยึดครองโดยออสเตรีย-ฮังการี แต่ความสำเร็จของออสเตรีย-ฮังการีก็ไม่ยืนยาว ปัญหาภายในหลังสงครามและการต่อต้านของแอลเบเนียที่ยุทธการโวโรร่าได้ทำให้อิตาลีต้องถอนตัวออกในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองแอลเบเนียของอิตาลี

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต

การบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต เป็นปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งเริ่มขึ้นโดยปราศจากการประกาศสงคราม เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต

การบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร

การรุกรานเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร หรือในชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการฮัสกี (Operation Husky) เป็นหนึ่งในปฏิบัติการหลักในสงครามโลกครั้งที่สองของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อยึดครองเกาะซิซิลีจากฝ่ายอักษะ การรุกครั้งนี้เป็นการปฏิบัติการระดับใหญ่โดยใช้ยานลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกและพลร่มจำนวนมาก และการรบภาคพื้นดินเป็นเวลานานถึง 6 สัปดาห์ การรบครั้งนี้ยังนับได้ว่าเป็นเปิดฉากของการทัพอิตาลีอีกด้วย ปฏิบัติการฮัสกี้เริ่มต้นขึ้นในคืนระหว่างวันที่ 9 และวันที่ 10 กรกฎาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร

การพักรบตางกู

การเจรจาที่ตางกู การพักรบตางกู (Tangku Truce), เป็นการพักรบ ระหว่างประเทศจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่อำเภอตางกู เทียนจิน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการพักรบตางกู

การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

ซึดดอยท์เชอไซทุง (Süddeutsche Zeitung) ลงข่าว "คำพิพากษาในเนือร์นแบร์ค" ในภาพคือ: (แถวจากซ้ายไป - รูปจากบนลงมา) ''แถวที่หนึ่ง'' เกอริง, เฮสส์, ริบเบนทรอพ, โรเซนแบร์ก, ฟรังค์ และฟริก; ''แถวที่สอง'' ฟุงค์, ชไตเชอร์ และชัชท์; ''แถวที่สาม'' เดอนิทซ์, แรเดอร์ และชีรัช; ''แถวที่สี่'' เซาค์เคล, โยเดิล, พาเพิน, ไซซ์-อินควัร์ท, สเปร์, นอยรัท และบอร์มันน์ การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค (Nuremberg trials) เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหารที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้จัด มีจุดเด่นเป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีซึ่งพ่ายสงคราม การพิจารณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ค รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยชุดแรกเป็น "การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก" ในศาลทหารระหว่างประเทศ (International Military Tribunal) เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค

การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง

การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง (Self-determination) คือ สิทธิของบุคคลที่สามารถกำหนดการกระทำของตนเองได้โดยปราศจากการบังคับจากภายนอก ในทางการเมือง หลักการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นเสรีภาพของบุคคลในดินแดนที่ยกให้หรือการรวมชาติที่จะกำหนดสถานะทางการเมืองของตน และวิธีการปกครองโดยปราศจากอิทธิพลมากเกินควรจากประเทศอื่น จนถึงปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในการจำกัดความและหลักเกณฑ์ทางกฎหมายสำหรับการกำหนดกลุ่มซึ่งกล่าวอ้างสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตนเองทางกฎหมายBetty Miller Unterberger,, Encyclopedia of American Foreign Policy, 2002.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง

การก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย

การก่อกบฏชาติสโลวาเกีย (Slovenské národné povstanie, abbreviated SNP) หรือการก่อกำเริบปี 1944 เป็นการเคลื่อนไหวของการก่อกบฏด้วยอาวุธโดยกลุ่มต่อต้านสโลวักในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์สโลวาเกีย.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย

การก่อการกำเริบวอร์ซอ

การก่อการกำเริบวอร์ซอ (powstanie warszawskie) เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อได้เกิดเหตุการณ์การจลาจลในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1944 ซึ่งประเทศโปแลนด์อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี การก่อจลาจลนั้นมาจากกองกำลังใต้ดินของกองทัพบ้านเกิดของประเทศโปแลนด์ในกรุงวอร์ซอได้ก่อจลาจลเพื่อปลดปล่อยประเทศโปแลนด์ให้เป็นอิสระจากนาซีเยอรมันให้ได้ก่อนสหภาพโซเวียตซึ่งกำลังรุกจากตะวันออก เนื่องจากเป็นวัตถุประสงค์ของสหราชอาณาจักรเพราะได้เล็งเห็นว่าสหภาพโซเวียตได้สนับสนุนคณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยโปแลนด์และหมายจะยึดครองโปแลนด์ให้กลายเป็นรัฐบริวารคอมมิวนิสต์ซึ่งได้พยายามขัดขวางไม่ให้ทำสำเร็จจึงได้สนับสนุนขบวนการใต้ดินของโปแลนด์ในการก่อจลาจลโดยได้ให้การสนับสนุนทางอากาศของตน โปลแลนด์ แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ส่วนสหภาพโซเวียตได้แสดงเจตจำนงทำการสนับสนุนกองทัพบ้านเกิดของโปแลนด์ในการก่อจลาจลจึงได้ให้การสนับสนุนกองทัพอากาศเช่น การต่อสู้ได้ถูกดำเนินเป็นเวลา 2 เดือน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ปี 1944 กองทัพเยอรมันได้ปราบปรามการจลาจลอย่างราบคาบ กองกำลังใต้ดินโปแลนด์ได้ยอมจำนน และกรุงวอร์ซอถูกทำลายเสียหายยับเยินโดยกองทัพเยอรมัน สาเหตุที่การจลาจลล้มเหลวเพราะสหภาพโซเวียตไม่ได้สนับสนุนอย่างจริงจังแต่อย่างใดเลย และยังปฏิเสธไม่ให้กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาลงจอดในลานบินแดนโซเวียตเพื่อสนันสนุนโปแลน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการก่อการกำเริบวอร์ซอ

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี

การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเนปจูน เป็นปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี

การยอมจำนนของญี่ปุ่น

ูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63) ขณะที่พลเอก ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์ มองจากฝั่งตรงข้าม การยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการยอมจำนนของญี่ปุ่น

การยึดครองบริติชโซมาลิแลนด์ของอิตาลี

การยึดครองบริติชโซมาลิแลนด์ของอิตาลี เป็นยุทธการในแหลมแอฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1940 ระหว่างกองกำลังของราชอาณาจักรอิตาลีกับสหราชอาณาจักรและกองทัพเครือจักรภพแห่งชาติ การรบที่เกิดขึ้นครั้งนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของการทัพแอฟริกาตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการยึดครองบริติชโซมาลิแลนด์ของอิตาลี

การยึดครองญี่ปุ่น

การยุบจักรวรรดิญี่ปุ่น คลิกที่รูปภาพสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และเครือจักรภพอังกฤษเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นการยึดครองแผ่นดินญี่ปุ่นโดยชาวต่างชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกว่า 2,000 ปี การยึดครองดังกล่าวเปลี่ยนแปลงประเทศญี่ปุ่นจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยซึ่งทำให้หวนคิดถึงการเมือง "นิวดีล" (New Deal) ของอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1930 การยึดครองดังกล่าวมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการบัญชีดำ (Operation Blacklist) สิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก ที่ลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการยึดครองญี่ปุ่น

การรุกบูดาเปสต์

การรุกบูดาเปสต์ เป็นการรบโดยทั่วไปของกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียต เพื่อกวาดล้างกองทัพนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายอักษะให้ออกไปจากฮังการี การรุกเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกบูดาเปสต์

การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต

การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต หรือ การบุกครองเปอร์เซียของบริเตนและสหภาพโซเวียต เป็นการรุกรานจักรวรรรดิเปอร์เซียระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองกำลังของสหภาพโซเวียต จักรวรรดิบริเตน และเครือจักรภพ การรุกรานได้กินเวลาตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม - 17 กันยายน ปี 1941 และมีการใช้รหัสนามว่า ปฏิบัติการ Countenance มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบ่อน้ำมันของอิหร่านและการรับประกันของสัมพันธมิตรในการสนับสนุนแก่สหภาพโซเวียตที่ได้สู้รบกับกองกำลังฝ่ายอักษะในแนวรบด้านตะวันออก แม้ว่าอิหร่านได้ตั้งตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวสงคราม แต่ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้พิจารณาเห็นว่าพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ได้มีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อฝ่ายอักษะ จึงได้บีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ในระหว่างการยึดครองและได้แต่งตั้งพระโอรสของพระองค์มาแทนที่คือพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต

การรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซ

การรุกลูวอฟ-ซานโดเมียร์ซ (Львівсько-Сандомирська операція, Львовско-Сандомирская стратегическая наступательная операция) เป็นแผนการหลักของกองทัพแดงเพื่อบีบให้กองทัพเยอรมันถอยออกจาก ยูเครน และโปแลนด์ตะวันออก การรบดำเนินไปในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 1944 กองทัพแดงประสบความสำเร็จภายในหนึ่งเดือนของการโจมตี หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซ

การรุกวิสตูลา–โอเดอร์

การรุกวิสตูลา-โอเดอร์ เป็นการรุกที่ประสบความสำเร็จของ กองทัพแดง ใน แนวรบด้านตะวันออก และสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปในเดือนมกราคมปี 1945 โดยปลดปล่อยเมือง กรากุฟ, วอร์ซอ และ พอซนาน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกวิสตูลา–โอเดอร์

การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์

การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์ของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นยุทธวีธีหนึ่งในแนวรบตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้นอยู่ในช่วงท้ายของการรบในนอร์มังดีหรือปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (25 สิงหาคม 1944),เยอรมันได้รวบรวมกองกำลังในการรุกโต้ตอบในช่วงฤดูหนาวผ่านป่าอาร์แดน (เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ ยุทธการตอกลิ่ม) และปฏิบัติการ Nordwind (ใน Alsace และ Lorraine).ถึงสัมพันธมิตรได้เตรียมความพร้อมที่จะข้ามแม่น้ำไรน์ในช่วงต้นเดือน ปี 1945.ประมาณตรงคร่าวๆด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทหาร หน่วยปฏิบัติการยุโรปของกองทัพสหรัฐอเมริกา (ETOUSA) ของการทัพไรน์และอาร์แดน-Alsace.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์

การรุกซาร์ลันด์

การรุกซาร์ลันด์ เป็นปฏิบัติการของฝรั่งเศสเข้าไปในซาร์ลันด์ในพื้นที่ป้องกันของกองทัพที่ 1 ของเยอรมนี ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนโปแลนด์ ซึ่งกำลังถูกเยอรมนีบุกครอง อย่างไรก็ตาม การโจมตีของฝรั่งเศสหยุดลงและต้องถอนตัวออกไป ถึงแม้ว่าการรุกดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี มันได้กลายมาเป็นการโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสเพียงครั้งเดียวตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตามข้อตกลงทางทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ กองทัพฝรั่งเศสจะต้องเตรียมการสำหรับการโจมตีครั้งใหญ่ภายในสามวันหลังจากมีการระดมพล กองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดครองดินแดนระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและแนวเยอรมัน ตลอดจนสามารถเจาะผ่านการป้องกันของเยอรมนีได้ เมื่อวันที่ 15 ของการระดมผล (16 กันยายน) กองทัพฝรั่งเศสได้ทำการโจมตตีเต็มกำลังต่อเยอรมนี การระดมพลของฝรั่งเศสมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม และได้มีการประกาศระดมพลเต็มกำลังเมื่อวันที่ 1 กันยายน การโจมตีของฝรั่งเศสในหุบเขาไรน์เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน สี่วันหลังจากการประกาศสงครามของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และทหารฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าทางกำลังพลอย่างมากตลอดแนวชายแดนกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสมิได้ดำเนินการใด ๆ ซึ่งสามารถช่วยเหลือโปแลนด์ได้เลย ทหารฝรั่งเศส 11 กองพลได้รุกคืบตามแนวรบยาว 32 กิโลเมตรใกล้กับซาร์บรืกเคินและเผชิญหน้ากับการต้านทานที่อ่อนแอของเยอรมนี กองทัพฝรั่งเศสโจมตีลึกเข้าไป 8 กิโลเมตรและยึดหมู่บ้านได้ราว 20 หมู่บ้านซึ่งกองทัพเยอรมันอพยพกลับไปโดยปราศจากการสู้รบ อย่างไรก็ตาม การโจมตีอย่างไม่เต็มใจนี้ถูกยับยั้งหลังจากฝรั่งเศสยึดป่าวาร์นดท์ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ฝังทุ่นระเบิดอย่างหนาแน่นสามตารางกิโลเมตรของเยอรมนี การโจมตีมิได้เบี่ยงเบนความสนใจของกองทัพเยอรมันแต่อย่างใด การรุกรานเต็มกำลังดำเนินการโดยทหาร 40 กองพล รวมไปถึง 1 กองพลยานเกราะ 3 กองพลยานยนต์ กรมทหารปืนใหญ่ 78 กรม และกองพันรถถัง 40 กองพัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน สถาสงครามสูงสุดอังกฤษ-ฝรั่งเศสประชุมกันเป็นครั้งแรกที่แอ็บวิลล์ ฝรั่งเศส มีการตัดสินใจว่าปฏิบัติการรุกรานใด ๆ จะต้องถูกยับยั้งในทันที โมไรซ์ เกมลิน สั่งการให้ทหารของเขาหยุด "ไม่เข้าใกล้เกินกว่า 1 กิโลเมตร" จากตำแหน่งของเยอรมนีตามแนวซีกฟรีด โปแลนด์ไม่ทราบถึงการตัดสินใจนี้ เกมลินกลับแจ้งแก่จอมพลเอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่ว่าครึ่งหนึ่งของกองกำลังทั้งหมดของเขากำลังรบอยู่กับข้าศึก และการโจมตีของฝรั่งเศสได้ทำให้กองทัพเยอรมันอย่างน้อย 6 กองพลถอนตัวออกจากโปแลดน์ ในวันรุ่งขึ้น ผู้บัญชาการทูตทหารฝรั่งเศสประจำโปแลนด์ นายพลหลุยส์ โฟลี รายงานแก่เสนาธิการโปแลนด์ นายพลเวนสเลาส์ สตาชีวิกซ์ ว่าแผนการรุกรานครั้งใหญ่ในแนวรบด้านตะวันตกได้เลื่อนจากวันที่ 17 กันยายนไปเป็นวันที่ 20 กันยายน ในขณะเดียวกัน กองทัพฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ถอนตัวกลับค่ายทหารของตนเองหลังแนวมากิโนต์ ซึ่งได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามลวง หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง de:Sitzkrieg#Saar-Offensive.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกซาร์ลันด์

การรุกปรัสเซียตะวันออก

การรุกปรัสเซียตะวันออกคือการรุกของกองทัพแดงต่อกองทัพเวร์มัคท์ในแนวรบด้านตะวันออกเรื่มขึ้นในวันที่13 มกราคม – 25 เมษายน 1945 กองทัพเวร์มัคท์ยังไม่ยอมจำนนจนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กคือยุทธการสุดท้ายในการรุกที่โซเวียตได้รับชัยชนะอย่างเด็.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกปรัสเซียตะวันออก

การรุกปราก

การรุกปราก(Пражская стратегическая наступательная операция การรุกปรากทางยุทธศาสตร์)เป็นปฏิบัติการสำคัญครั้งสุดท้ายของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป.การรุกรานและสู้รบจากกรุงปราก,เป็นการสู้รบในแนวรบด้านตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม - 11 พฤษภาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกปราก

การรุกเบลเกรด

การรุกเบลเกรดหรือปฏิบัติการการรุกทางยุทธศาสตร์เบลเกรด (Beogradska operacija, Београдска операција; Белградская стратегическая наступательная операция, Belgradskaya strategicheskaya nastupatel'naya operatsiya) (14 กันยายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกเบลเกรด

การรุกเวียนนา

การรุกเวียนนาเรื่มขึ้นด้วยแนวรบยูเครนที่ 3เพื่อยึดกรุงเวียนนาในออสเตรียการรุกเรืมขืนในวันที่ 2–13 เมษายน 1945 กรุงเวียนนายอมแพ้และถูกล้อมจนกรุงเวียนนาถูกยึ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการรุกเวียนนา

การสังหารหมู่นานกิง

การสังหารหมู่นานกิง (Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre) หรือรู้จักกันในนามการข่มขืนนานกิง (Rape of Nanking) เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนยามสงคราม (war rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหกสัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครนานกิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่าTotten, Samuel.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการสังหารหมู่นานกิง

การทัพกัวดัลคะแนล

การทัพกัวดัลคะแนล (Guadalcanal Campaign) หรือเรียก ยุทธการที่กัวดัลคะแนล และมีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการวอชทาวเวอร์ (Operation Watchtower) เดิมใช้เฉพาะกับปฏิบัติการชิงเกาะทูลากิ (Tulagi) โดยกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นการทัพที่ต่อสู้ระหว่างวันที่ 7 สิงหาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพกัวดัลคะแนล

การทัพมาลายา

การทัพมาลายา เป็นชุดเหตุการณ์การรบระหว่างกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในบริติชมาลายา (มาลายาของบริเตน) นับตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพมาลายา

การทัพหมู่เกาะอะลูเชียน

การทัพหมู่เกาะอะลูเชียน เป็นการทัพที่เริ่มขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นยึดเกาะแอตตู และ Kiska จนมีการตอบโต้จนกองทัพสหรัฐเปิดฉากโจมตีเกาะแอตตู ในวันที่ 11 พฤษภาคม 1943 และบุกสำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม กองทัพญี่ปุ่นเรื่มใช้กลุยุทธ banzai charge จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม แต่กองทัพสหรัฐยังโจมตี เกาะอื่นจนในที่สุดกองทัพญี่ปุ่นก็ยอมออกจากเกาะในวันที่ 29 กรกฎาคม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพหมู่เกาะอะลูเชียน

การทัพตูนิเซีย

การทัพตูนิเซีย (Tunisia Campaign) เป็นการรบที่เกิดขึ้นในตูนิเซียในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างกองกำลังฝ่ายอักษะกับฝ่ายสัมพันธมิตร กองกำลังหลักของฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยกองทัพของจักรวรรดิอังกฤษ, กองทัพอเมริกันและกองทัพฝรั่งเศส การรบครั้งนี้เริ่มต้นด้วยความสำเร็จของฝ่ายอักษะ แต่ด้วยความเหนือกว่าทั้งทางด้านยุทธปัจจัยและด้านกำลังพลที่เหนือกว่าของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้สุดท้ายฝ่ายอักษะก็พ่ายแพ้ลงอย่างราบคาบ ทหารเยอรมันและอิตาลีมากกว่า 230,000 คน ถูกจับเป็นเชลยศึก รวมถึงกองกำลังส่วนใหญ่ของกองพลน้อยแอฟริกาอันโด่งดังของฝ่ายอักษะ การทัพแอฟริกาเหนือ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพตูนิเซีย

การทัพนอร์เวย์

การทัพนอร์เวย์ หรือปฏิบัติการเวแซร์รืบุง (9 เมษายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940) นั้นเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาแวนเจอร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพนอร์เวย์

การทัพแอฟริกาตะวันออก

การทัพแอฟริกาตะวันออกเป็นการสู้รบในแอฟริกาตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สองโดยจักรวรรดิอังกฤษและประเทศเครือจักรภพ โดยสู้กับราชอาณาจักรอิตาลี โดยกองทัพอังกฤษและเครือจักรภพเป็นฝ่ายชนะ การทัพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทัพแอฟริกา หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับซูดาน da:Felttoget i Østafrika.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพแอฟริกาตะวันออก

การทัพแอฟริกาเหนือ

การทัพแอฟริกาเหนือ (North African Campaign) ใน สงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ถึง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1943 ในทะเลทรายแถบแอฟริกาเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ทะเลทรายของประเทศลิเบีย อียิปต์ (การรบในทะเลทรายตะวันตก หรือที่รู้จักกันในชื่อ"สงครามทะเลทราย") และในประเทศแอลจีเรีย โมร็อกโก (ปฏิบัติการคบเพลิง) และตูนิเซีย(การทัพตูนิเซีย) เป็นการรบระหว่างฝ่ายอักษะ นำโดยนาซีเยอรมนีและจักรวรรดิอิตาลี กับฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยสหราชอาณาจักรและประเทศในเครือจักรภพ ในช่วงแรก จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทัพแอฟริกาเหนือ

การทำเหมืองเหล็กสวีเดนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

แร่เหล็กสวีเดน ถือได้ว่าเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตสงครามยุโรปของสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและนาซีเยอรมนีต่างต้องการควบคุมย่านอุตสาหรรมเหมืองแร่ทางเหนือสุดของสวีเดน ล้อมรอบเมืองทำเหมืองเยลิวาระและคิรูนา ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นหลังจากแหล่งแร่เหล็กอื่น ๆ ของเยอรมนีถูกขัดขวางโดยการปิดล้อมทางทะเลของสหราชอาณาจักรระหว่างยุทธนาวีแอตแลนติก ทั้งแผนการที่จะให้ความช่วยเหลือฟินแลนด์ระหว่างสงครามฤดูหนาวของอังกฤษและฝรั่งเศส และการยึดครองเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ปฏิบัติการแวเซรือบุง) ล้วนตั้งอยู่บนเจตนาที่จะกีดกันมิให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถเข้าถึงการผลิตเหล็กกล้าอันสำคัญยิ่งระหว่างสงคราม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทำเหมืองเหล็กสวีเดนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

การทิ้งระเบิดดาร์วิน

การทิ้งระเบิดดาร์วิน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 เป็นการโจมตีเที่ยวเดียวครั้งแรกและครั้งใหญ่ที่สุดโดยต่างชาติต่อออสเตรเลีย ในวันนั้น อากาศยานญี่ปุ่น 242 ลำโจมตีเรือในท่าเรือของดาร์วินและสนามบินสองแห่งของเมือง ในความพยายามที่จะกันมิให้ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เป็นฐานขัดขวางการรุกรานติมอร์และชวา เมืองดาร์วินมีการป้องกันอย่างเบาบาง และฝ่ายญี่ปุ่นได้ก่อความเสียหายอย่างหนักต่อกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะที่ญี่ปุ่นเสียหายเพียงเล็กน้อย พื้นที่เมืองดาร์วินยังเผชิญกับความเสียหายจากการตีโฉบฉวยบ้าง และมีพลเรือนเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์นี้มักถูกเรียกว่า "เพิร์ลฮาร์เบอร์แห่งออสเตรเลีย" แม้ดาร์วินเป็นเป้าหมายทางทหารที่สำคัญน้อยกว่ามาก แต่มีการใช้ระเบิดถล่มดาร์วินจำนวนมากกว่าที่ใช้เมื่อครั้งโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เสียอีก รัฐบาลออสเตรเลียปกปิดข่าวการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดถล่มดาร์วิน โดยเชื่อว่าสื่อออสเตรเลียจะนำเสนอข่าวที่มีผลด้านจิตวิทยาต่อประชากรออสเตรเลีย การตีโฉบฉวยนี้เป็นครั้งแรกและครั้งใหญ่ที่สุดในบรรดาการตีโฉบฉวยทางอากาศเกือบ 100 ครั้งต่อออสเตรเลียระหว่าง..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทิ้งระเบิดดาร์วิน

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ

การตีโฉบฉวยดีแยป

การโจมตีที่ดีแยป, เป็นที่รู้จักกันคือยุทธการที่ดีแยป, ปฏิบัติการรูท์เทอร์ (Operation Rutter), ระหว่างขั้นตอนการวางแผนและโดยชื่อรหัสนามสุดท้ายอย่างเป็นทางการคือ ปฏิบัติการจูบีลี (Operation Jubilee), เป็นการจู่โจมของฝ่ายสัมพันธมิตรบนเขตภายใต้การยึดครองของเยอรมันคือท่าเรือดีแยป(Dieppe) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการตีโฉบฉวยดีแยป

การประชุมพ็อทซ์ดัม

"สามผู้ยิ่งใหญ่": อัตต์ลี, ทรูแมน, สตาลิน การประชุมพ็อทซ์ดัม (Potsdamer Konferenz) เป็นการประชุมระหว่างสามฝ่ายแห่งฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง,ได้แก่ สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต.ที่มีความเกี่ยวข้องกับการยึดครองทางทหารและทำการฟื้นฟูเยอรมนี, ชายแดน,สถานภาพของอดีตดินแดนตะวันออก, เขตแดนยุโรปทั้งหมดของสงคราม นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการทำให้ประเทศเยอรมนีปลอดทหาร, การชดใช้ค่าเสียหาย และการฟ้องร้องต่อเหล่าอาชญากรสงคราม โดยการประชุมจัดขึ้นที่ ตำหนักของเจ้าชายวิลเฮล์มในเมือง พ็อทซ์ดัม เยอรมนีภายใต้การยึดครอง ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 1945 หมวดหมู่:ผลที่ตามมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการประชุมพ็อทซ์ดัม

การประชุมยัลตา

แฟรงกลิน โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน การประชุมยัลตา บ้างเรียก การประชุมไครเมีย และชื่อรหัสว่า การประชุมอาร์โกนอต (Argonaut Conference) จัดระหว่างวันที่ 4 ถึง 11 กุมภาพัน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการประชุมยัลตา

การประชุมเตหะราน

การประชุมเตหะราน(รหัสนามว่า ยูเรก้า) เป็นการประชุมทางยุทธศาสร์ของโจเซฟ สตาลิน, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิล ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการประชุมเตหะราน

การปลดปล่อยกรุงปารีส

การปลดปล่อยกรุงปารีส เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพสัมพันธมิตรทางตะวันตก อันได้แก่ สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ สหรัฐอเมริกา และกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้ทำการปลดปล่อยกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศลให้พ้นจากการปกครองของนาซีเยอรมันซึ่งถูกยึดครองมา 4 ปี จุดเริ่มต้นนั้นมาจากหลังการยึดครองหาดนอร์มังดีของกองทัพสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด กองทัพสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพและกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ทำการขับไล่กองทัพเยอรมันโดยกองทัพสหรัฐจะทำการรุกเข้ายึดดินแดนส่วนทางด้านตะวันตกและทางใต้ของฝรั่งเศล ส่วนกองทัพอังกฤษและแคนนาดาจะรุกเข้าตีจากทางเหนือ แม้กองทัพเยอรมันได้พยายามจะขับไล่กองทัพสัมพันธมิตรออกไปจากนอร์มังดีแต่ต้องประสบกับความล้มเหลวและต้องตั้งรับอย่างยากลำบาก กองทัพสหรัฐและอังกฤษได้ร่วมมือกันทำการโอบล้อมกองทัพเยอรมันสองกองพลโดยทั้งสองกองทัพได้นัดหมายไปที่เมือง chambois เมื่อโอบล้อมได้สำเร็จ กองทัพเยอรมันสองกองพลก็ถูกบดขยี้อย่างหนักทำให้บางส่วนถูกทำลาย บางส่วนถูกจับกุมเป็นเชลย และบางส่วนหนีรอดออกจากวงโอบล้อมไว้ได้ ทางด้านกรุงปารีส ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทราบข่าวการรุกของกองทัพสัมพันธมิตรและเชื่อว่านครปารีสกำลังจะเป็นอิสระจากนาซีเยอรมันจึงทำการลุกขึ้นต่อต้านกองทัพเยอรมันที่ประจำการในกรุงปารีสจนเกิดการปะทะกันทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังจากนั้นภายในสี่วัน กองทัพสหรัฐและกองทัพเสรีฝรั่งเศสได้เคลื่อนพลจากเมือง chambois เข้าสู่กรุงปารีส จนกระทั่งกองทัพเยอรมันในกรุงปารีสได้ยอมจำนนเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม..1944 ประชาชนชาวฝรั่งเศลได้ทำการจัดงานเฉลิมฉลองในกรุงปารีสหลังจากได้รับอิสรภาพและคอยต้อนรับเหล่าทหารสัมพันธมิตรอย่างอบอุ่น รวมทั้งฝรั่งเศลได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศลใหม่ การปลดปล่อยในกรุงปารีสนั้นทำให้กองทัพเยอรมันทั้งหมดในฝรั่งเศลต้องถอนกำลังออกจากฝรั่งเศลไปตั้งรับที่แนวป้องกันซิกฟรีดในชายแดนระหว่างฝรั่งเศลและเยอรมัน รวมทั้งดินแดนที่อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีที่เหลืออยู่ได้แก่ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก หลังการปลดปล่อยกรุงปารีสนั้นได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กองทัพสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะสงคราม เพราะนาซีเยอรมันต้องตั้งรับทั้งสองด้านคือแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออก แม้กองทัพเยอรมันจะมีสภาพยำแย่จากการพ่ายแพ้สงครามหลายครั้งแต่กลับยืดหยัดจะสู้จนตัวตาย ดังนั้นกองทัพสัมพันธมิตรจะต้องรุกเข้าสู่เยอรมนีเพื่อยุติสงครามให้ได้.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการปลดปล่อยกรุงปารีส

การให้เอกราช

การให้เอกราช (decolonization หรือ decolonisation) หมายถึงล้มล้างลัทธิล่าอาณานิคม การก่อตั้งวิธีการปกครองหรือองค์กรบริการอำนาจผ่านทางการสร้างข้อตกลงกับประเทศอื่น ๆ หรือเขตอำนาจศาล คำดังกล่าวมักหมายถึงการได้รับเอกราชของอาณานิคมและรัฐในอารักขาของชาติตะวันตกในทวีปเอเชียและแอฟริกาหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง การบรรลุการให้เอกราชเป็นผลมาจากการได้รับเอกราช การผสมผสานเข้ากับอำนาจการบริหารหรือรัฐอื่น หรือการสร้างสถานะ "การรวมตัวเสรี" คณะกรรมการพิเศษด้านการให้เอกราชของสหประชาชาติ ระบุว่า กระบวนการให้เอกราชนั้น ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากแนวคิดของการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง การให้เอกราชอาจรวมไปถึงการเจรจาอย่างสันติ และ/หรือการปฏิบัติอย่างรุนแรง และการต่อสู้ด้วยกำลังของประชากรพื้นเมือง การให้เอกราชอาจเป็นกิจการภายในหรืออาจเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงจากอำนาจต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สันนิบาติชาติหรือสหประชาชาติ ก็ได้ ถึงแม้ว่าตัวอย่างของการให้เอกราชจะพบได้นับแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา ในช่วงเวลาสมัยใหม่ มีช่วงเวลาการให้เอกราชที่เฉพาะเป็นจำนวนมาก อาทิ การล่มสลายของจักรวรรดิสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 การล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน และจักรวรรดิรัสเซียภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การล่มสลายของจักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิเยอรมัน และจักรวรรดิอาณานิคมอิตาลี ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตภายหลังกำแพงเบอร์ลินถูกพังทลาย ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการให้เอกราช

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

การโจมตีท่าเพิร์ลเป็นการโจมตีทางทหารอย่างจู่โจมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์

การเกณฑ์ทหาร

ม่มีข้อมูล การเกณฑ์ (conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยการออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยการจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและการเกณฑ์ทหาร

กติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) หรือชื่อทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи) บางครั้งเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า วอร์แพ็ก (WarPac) เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)"In reaction to West Germany’s NATO accession, the Soviet Union and its Eastern European client states formed the Warsaw Pact in 1955." Citation from: ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น นายมัสซูโอกะ กำลังลงนามในกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น (Soviet–Japanese Neutrality Pact) คือสนธิสัญญาระหว่าง สหภาพโซเวียตและจักรวรรดิญี่ปุ่น ลงนามกันเมื่อปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น

กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น

กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น (Anti-Comintern Pact) คือ สนธิสัญญาเกิดจากความร่วมมือระหว่างนาซีเยอรมนีและจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

นื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน) กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (German–Soviet Non-aggression Pact) และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในกติกาสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม)Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1-897984-00-6 Page 7 ความตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ภาคีผู้ลงนามทั้งสองสัญญาจะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" กติกาสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง กติกาสัญญานาซี–โซเวียต (Nazi–Soviet Pact), กติกาสัญญาฮิตเลอร์–สตาลิน, กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี–โซเวียตBenjamin B.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

กติกาสัญญาไตรภาคี

กติกาสัญญาไตรภาคี (Tripartite Pact) หรือ กติกาสัญญาเบอร์ลิน เป็นความตกลงทางการทหาร ทำขึ้นระหว่าง นาซีเยอรมนี, ราชอาณาจักรอิตาลี และ จักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกติกาสัญญาไตรภาคี

กติกาสัญญาเหล็ก

กติกาสัญญาเหล็ก (Pact of Steel) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญามิตรภาพและพันธมิตรระหว่างเยอรมนีและอิตาลี (Pact of Friendship and Alliance between Germany and Italy) เป็นสนธิสัญญาระหว่างอิตาลีและนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและกติกาสัญญาเหล็ก

ก๊กมินตั๋ง

รรคชาตินิยมจีน (Chinese Nationalist Party) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินตั่ง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีน ซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและก๊กมินตั๋ง

ฝรั่งเศสเขตวีชี

ฝรั่งเศสเขตวีชี (La France de Vichy; Vichy France) คือรัฐเฉพาะกาลที่ปกครองประชาชนชาวฝรั่งเศส โดยเป็นรัฐที่สนับสนุนนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฝรั่งเศสเขตวีชี

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจและเป็นพันธมิตรทางการทหารกลุ่มหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งร่วมมือกันต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำโดยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฝ่ายมหาอำนาจกลาง

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฝ่ายอักษะ

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

วะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) เป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

มยิจีนา

มยิจีนา (Myitkyina) เป็นเมืองหลวงของรัฐกะฉิ่น ประเทศพม่า ห่างจากย่างกุ้ง 1,480 กม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมยิจีนา

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมหาสมุทรแปซิฟิก

มหาอำนาจ

มหาอำนาจ หมายถึงรัฐซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถแผ่อิทธิพลในระดับโลกได้ ลักษณะของรัฐมหาอำนาจ คือ ครอบครองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ ตลอดจนอิทธิพลทางการทูตและอำนาจแบบอ่อน (soft power) ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ประเทศด้อยอำนาจต้องพิจารณาความเห็นของมหาอำนาจก่อนดำเนินการใด ๆ ของตน นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระบุว่า ลักษณะของสถานภาพมหาอำนาจสามารถจำแนกเป็นขีดความสามารถของอำนาจ และมิติสถานภาพ ในบางครั้ง สถานภาพมหาอำนาจได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมที่สำคัญ ดังเช่น การประชุมแห่งเวียนนาDanilovic, Vesna.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมหาอำนาจ

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมอสโก

มิดเวย์อะทอลล์

แผนที่มิดเวย์อะทอลล์ มิดเวย์อะทอลล์ (Midway Atoll) ตั้งอยู่มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโก ทางตะวันตก ราว 2,800 ไมล์ทะเล(5,200 กม./3,200 ไมล์) และ ห่างจากโตเกียวทางตะวันออก ราว 2,200ไมล์ทะเล(4,100 กม./2,500 ไมล์) มีพื้นที่ 6.2 ตารางกิโลเมตร มีสภาพเป็นหมู่เกาะปะการัง มีแนวปะการังล้อมรอบ จุดสูงสุดอยู่ที่ 13 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีประชากรทั้งหมด 40 คน เป็นเจ้าหน้าที่ปลาของสหรัฐอเมริกา มีท่าเรือที่สำคัญอยู่บนเกาะแซนด์ มีสนามบินอยู่ 3 แห่ง มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากองค์กรของสหรัฐที่อยู่บนหมู่เกาะ การทหารนั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ มิดเวย์อะทอลล์ตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมิดเวย์อะทอลล์

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมณฑลหูหนาน

มณฑลเหอหนาน

หอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือชื่อย่อ อวี้ และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลเหอหนานมีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน ภูมิประเทศ ทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาทอดตัวยาวสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ทางตะวันออกเป็นพื้นที่ราบ สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 100 เมตร จุดที่สูงที่สุดของมณฑลอยู่ที่ยอดเหล่ายาช่า ในเมืองหลิงเป่า ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2413.8 เมตร ภูมิอากาศมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น มีฤดู 4 ฤดูอย่างชัดเจน อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 13-15 องศาเซลเซียส เศรษฐกิจปี 2547 เหอหนันมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเท่ากับ 881,509 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 13.7 % อุตสาหกรรมเหอหนันถือเป็นฐานผลิตพลังงานที่สำคัญ มีธุรกิจถ่านหิน 65 ราย สามารถผลิตถ่านหินได้ปีละประมาณ 100 ล้านตัน เป็นที่ 2 ของจีน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและมณฑลเหอหนาน

ม่านเหล็ก

การแตกแยกของจีน-โซเวียต ฉะนั้น จึงแรเส้นเงาสีเทา ม่านเหล็ก (Iron Curtain) เป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางอุดมการณ์และพรมแดนเชิงกายภาพที่แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองพื้นที่ นับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติในปี 2488 ถึงสงครามเย็นสิ้นสุดในปี 2534 สหภาพโซเวียตตั้งม่านเหล็กขึ้นเพื่อปิดกั้นตนเอง รัฐในภาวะพึ่งพิง และพันธมิตรยุโรปกลางจากการติดต่ออย่างเปิดเผยกับตะวันตกและพื้นที่ที่มิใช่คอมมิวนิสต์ ด้านตะวันออกของม่านเหล็กเป็นประเทศที่เชื่อมต่อกับหรือได้รับอิทธิพลจากอดีตสหภาพโซเวียต ทั้งสองด้านของม่านเหล็ก รัฐต่าง ๆ พัฒนาพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทหารระหว่างประเทศของตนเอง ดังนี้.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและม่านเหล็ก

ยอซีป บรอซ ตีโต

อซีป บรอซ (Јосип Броз/Josip Broz) หรือ ตีโต (Тито/Tito, พ.ศ. 2435-2523) เป็นรัฐบุรุษและประธานาธิบดีของประเทศยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496-2523) เกิดที่เมืองคุมรอเวตส์ อาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศโครเอเชีย) คำว่า "ตีโต" แปลว่า "นั่น-นี่" เป็นสมญานามที่ได้มาจากการชอบสั่งนั่นสั่งนี่เป็นประจำของเขาเมื่อมีอำนาจ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ตีโตเข้าประจำการเป็นทหารในกองทัพบกออสเตรีย-ฮังการี ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพรัสเซียและได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา ตีโตถูกจองจำเนื่องจากการสมรู้ร่วมคิดต่อต้านระบอบการปกครองในยูโกสลาเวีย (..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยอซีป บรอซ ตีโต

ยุทธการที่บริเตน

ยุทธการบริเตน (Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศหลวงของสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ยุทธการบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง หมวดหมู่:แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่บริเตน

ยุทธการที่กรีซ

ทธการที่กรีซ (Battle of Greece) หรือชื่อรู้จักในเยอรมันคือ ปฏิบัติการมารีทา (Unternehmen Marita) เป็นปฏิบัติการบุกครองราชอาณาจักรกรีซ โดย ฟาสซิสต์อิตาลี และ นาซีเยอรมนี (เมษายน 1941) ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง ยุทธการเรื่มต้นจากรุกรานกรีซในเดือนตุลาคม 1941 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ สงครามอิตาลี-กรีซ และต่อเนื่องโดยการบุกครองโดยเยอรมนีในเดือน เมษายน 1941 ยุทธการจบลงด้วยการที่พลร่มเยอรมนียกพลขึ้นบกที่เกาะครีต (พฤษภาคม 1941) ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรแพ้ในกรีซแผ่นดินใหญ่ ยุทธการยังเป็นหนึ่งในยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในช่วงการทัพบอลข่าน ของเยอรมนี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่กรีซ

ยุทธการที่กาซาลา

ทธการที่กาซาลา(ใกล้กับเมืองปัจจุบันของ Ayn al Ghazālah) เป็นการสู้รบกันในช่วงการทัพทะเลทรายตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง,ทางตะวันตกของท่าเรือของเมืองทูบลัก(Tobruk)ในประเทศลิเบีย,ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 21 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่กาซาลา

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่ฝรั่งเศส

ยุทธการที่มอสโก

ทธการมอสโก เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์โซเวียตตั้งโดยหมายถึงการสู้รบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สองช่วงบนพื้นที่ 600 กิโลเมตรบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างเดือนตุลาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่มอสโก

ยุทธการที่สตาลินกราด

ทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่สตาลินกราด

ยุทธการที่อิโวะจิมะ

ทธการที่อิโวะจิมะ (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะอิโวะจิมะจากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส ปฏิบัติการดีแทชเมนต์ (Operation Detachment) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐ ที่ตั้งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะมีป้อมค่ายหนาแน่น โดยมีเครือข่ายบังเกอร์ ที่มั่นปืนใหญ่ซ่อน และอุโมงค์ใต้ดิน 18 กิโลเมตร ทหารอเมริกันภาคพื้นได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองทัพเรืออย่างกว้างขวางและความเป็นเจ้าอากาศเบ็ดเสร็จเหนืออิโวะจิมะตั้งแต่เริ่มยุทธการโดยนักบินของกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธิน อิโวะจิมะยังเป็นยุทธการเดียวสำหรับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐที่กำลังพลสูญเสียของฝ่ายอเมริกันสูงกว่าญี่ปุ่น แม้การเสียชีวิตจากการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นคิดเป็นสามเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายอเมริกัน จากทหารญี่ปุ่น 22,000 นายบนอิโวะจิมะ มีถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 นาย ซึ่งบางส่วนถูกจับเพราะถูกทำให้หมดสติไม่ก็ถูกทำให้พิการBurrell 2006, p.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่อิโวะจิมะ

ยุทธการที่ดันเคิร์ก

ทธการที่ดันเคิร์ก เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งเกิดที่ดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การยุทธ์นี้ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและนาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศสบนแนวรบด้านตะวันตก ยุทธการที่ดันเคิร์กเป็นการป้องกันและอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรประหว่างวันที่ 26 พฤษภาคมถึง 4 มิถุนายน 1940 หลังสงครามลวง ยุทธการที่ฝรั่งเศสเริ่มอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ทางทิศตะวันตก กองทัพเยอรมันกลุ่มบีบุกครองประเทศเนเธอร์แลนด์และบุกไปทางทิศตะวันตก ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอกฝรั่งเศส โมรีส เกมลิน (Maurice Gamelin) เริ่ม "แผนดี" และเข้าประเทศเบลเยียมเพื่อประจัญบานกับฝ่ายเยอรมันในประเทศเนเธอร์แลนด์ แผนดังกล่าวต้องพึ่งพาป้อมสนามแนวมากีโนตามชายแดนเยอรมัน–ฝรั่งเศสอย่างมาก แต่กองทัพเยอรมันข้ามแนวดังกล่าวมาแล้วผ่านประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ก่อนกองทัพฝรั่งเศสมาถึง เกมลินจึงส่งกำลังภายใต้บังคับบัญชาของเขา ได้แก่ กองทัพสนามยานเกราะ (mechanized army) สามกอง คือ กองทัพที่ 1 ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และกำลังรบนอกประเทศบริเตน (British Expeditionary Force) ไปแม่น้ำดิล (Dyle) วันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันกลุมเอทะลวงผ่านป่าอาร์เดนและบุกไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วสู่ซะด็อง (Sedan) แล้วหันขึ้นเหนือสู่ช่องแคบอังกฤษ การนี้จอมพลเอริช ฟอน มันชไตน์ เรียกว่า "เกี่ยวออก" (หรือเรียก "แผนเหลือง" หรือแผนมันชไตน์) ซึ่งเป็นการโอบทัพฝ่ายสัมพันธมิตร การตีโต้ตอบหลายครั้งของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งยุทธการที่อารัส (Arras) ไม่สามารถหยุดยั้งหัวหอกของเยอรมันได้ ซึ่งไปถึงชายฝั่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม แยกกองทหารบริติชใกล้กับแอคม็องตีแย (Armentières) กองทัพที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และกองทัพเบลเยียมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกำลังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของการบุกทะลวงของเยอรมัน เมื่อถึงช่องแคบแล้ว กำลังเยอรมันกวาดไปทางเหนือตามชายฝั่ง คุกคามที่จะยึดท่าและดักกองทัพบริติชและฝรั่งเศสก่อนที่จะสามารถอพยพไปบริเตน ฝ่ายเยอรมันหยุดการบุกเข้าดันเคิร์กซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดครั้งหน่งของสงคราม สิ่งที่เรียกว่า "คำสั่งหยุด" นั้นมิได้มาจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งขัดต่อความเชื่อของมหาชน จอมพลแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์และกึนเทอร์ ฟอน คลูเกอเสนอว่ากองทัพเยอรมันรอบวงล้อมดันเคิร์กควรหยุดการบุกเข้าท่าและสะสมกำลังเพื่อเลี่ยงการตีฝ่าของฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์อนุมัติคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมด้วยการสนับสนุนของกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพหยุดเป็นเวลาสามวันซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีเวลาเพียงพอสำหรับจัดระเบียบการอพยพดันเคิร์กและตั้งแนวป้องกัน แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะประเมินสถานการณ์ดังกล่าวไว้อย่างเลวร้าย โดยบริเตนถึงขั้นอภิปรายกันเรื่องยอมจำนนแบบมีเงื่อนไขต่อเยอรมนี ในบั้นปลายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการช่วยเหลือกว่า 330,000 น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่ดันเคิร์ก

ยุทธการที่คาบสมุทรเคียร์ช

ทธการที่คาบสมุทรเคียร์ช ซึ่งเริ่มต้นด้วยปฏิบัติการยกพลขึ้นบกเคียร์ช-ฟีโอโดซียาของโซเวียต(Керченско-Феодосийская десантная операция, Kerchensko-Feodosiyskaya desantnaya operatsiya) และยุติลงด้วยปฏิบัติการบัสตาร์ด ฮัทของเยอรมัน(Unternehmen Trappenjagd), เป็นการสู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างกองทัพที่ 11 ของเยอรมันภายใต้การบัญชาการของจอมพลแอริช ฟอน มันชไตน์และโรมาเนียและกองกำลังแนวรบไครเมียของโซเวียตในคาบสมุทรเคียร์ช ในทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไครเมีย เริ่มต้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่คาบสมุทรเคียร์ช

ยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 2

ทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 2 เป็นการโจมตีตอบโต้ของฝ่ายอักษะในภูมิภาครอบๆของเมืองคาร์คอฟ (ปัจจุบันคือคาร์คิฟ) ต่อสู้กับกองทัพแดงที่หัวสะพาน Izium การรุกได้ปฏิบัติการเมื่อวันที่ 12-28 พฤษภาคม ปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 2

ยุทธการที่คูสค์

ทธการที่คูสค์ (Курская битва, Битва на Курской дуге) เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครคูสค์ (Kursk) ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่คูสค์

ยุทธการที่นานกิง

ทธการที่นานกิง เริ่มหลังจากยุทธการเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่นานกิง

ยุทธการที่โอกินาวะ

ทธการโอกินาวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง (Operation Iceberg) เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะรีวกีวของโอกินาวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบกินเวลาถึง 82 วันจากต้นเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่โอกินาวะ

ยุทธการที่เบอร์ลิน

ทธการที่เบอร์ลิน หรือที่สหภาพโซเวียตตั้งชื่อว่า ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบอร์ลิน (Битва за Берлин, Берлинская наступательная операция, Штурм Берлина) เป็นการรุกใหญ่ในช่วงปลายเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มจากวันที่ 12 มกราคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่เบอร์ลิน

ยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่สอง

ทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่สอง (23 ตุลาคม–11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942) เป็นยุทธการในสงครามโลกครั้งที่สองใกล้กับจุดแวะทางรถไฟอียิปต์เอล อาลาเมน (El Alamein) เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรคว้าชัย ยุทธการนี้เป็นจุดเปลี่ยนในการทัพทะเลทรายตะวันตก ยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่หนึ่งป้องกันฝ่ายอักษะมิให้รุกคืบเข้าไปในอียิปต์มากขึ้น ชัยของบริเตนพลิกกระแสในการทัพแอฟริกาเหนือและยุติภัยคุกคามของฝ่ายอักษะต่ออียิปต์ คลองสุเอซและทุ่งน้ำมันตะวันออกกลางและเปอร์เซียทางแอฟริกาเหนือ ยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่สองช่วยฟื้นขวัญกำลังใจของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นความสำเร็จสำคัญของฝ่ายอักษะครั้งแรกนับแต่ปฏิบัติการครูเซเดอร์ในปลายปี 1941 ยุทธการดังกล่าวสอดคล้องกับการบุกครองแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการคบเพลิงซึ่งเริ่มในวันที่ 8 พฤศจิกายน ตลอดจนยุทธการที่สตาลินกราดและการทัพกัวดัลคะแนล.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่สอง

ยุทธการตอกลิ่ม

German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการตอกลิ่ม

ยุทธการฉางชา (1939)

ทธการฉางชา (17 กันยายน – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1939) เป็นความพยายามครั้งแรกของญี่ปุ่นในการยึดครองฉางชา ประเทศจีน ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการฉางชา (1939)

ยุทธการเกาะครีต

ทธการเกาะครีต (Luftlandeschlacht um Kreta; Μάχη της Κρήτης) เป็นชื่อของการรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดำเนินไปบนเกาะครีต ประเทศกรีซ โดยเริ่มต้นในเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธการเกาะครีต

ยุทธวิธีทางทหาร

ทธวิธีทางทหาร เป็นศาสตร์และศิลป์ของการจัดกำลังทหาร เป็นเทคนิคสำหรับการจัดยุทโธปรกรณ์ในกับหน่วยรบและการใช้ยุทโธปกรณ์และหน่วยรบในการเผชิญหน้ากับศัตรูและเอาชนะศัตรูในการทำศึก การเปลี่ยนแปลงปรัชญาและเทคโนโลยีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถูกสะท้อนออกมาด้วยการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีทางทหาร ศาสตร์การทหารในปัจจุบัน ยุทธวิธีเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในการวางแผนสามระดับ อันได้แก่ (1)แผนยุทธศาสตร์, (2)แผนปฏิบัติการ และ (3)แผนยุทธวิธี การวางแผนระดับสูงที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยกำลังทางทหารจะแปลเป็นวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างไร โดยเชื่อมโยงว่าด้านการเมืองต้องการอะไรจึงต้องใช้กำลัง และเมื่อบรรลุสิ่งที่ต้องการอะไรบ้างจึงจะยุติสงคราม ระดับกลาง คือ แผนปฏิบัติการ เป็นการแปรแผนยุทธศาสตร์ลงไปเป็นแผนยุทธวิธี ซึ่งโดยหลักแล้วเกี่ยวข้องกับการจัดกำลังพลและกำหนดภาระหน้าที่ที่ต้องกระทำรวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่ต้องบรรลุ ส่วนแผนยุทธวิธี เป็นการเตรียมแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจดำเนินการหรือตอบสนองต่ออุปสรรคเฉพาะหน้าในรูปแบบต่างๆขณะทำศึก โดยพื้นฐานความเข้าใจทั่วๆไป การตัดสินใจทางยุทธวิธี เป็นไปเพื่อให้บรรลุผลดีที่สุดและส่งประโยชน์เฉพาะหน้าโดยทันทีซึ่งเป็นขอบเขตในภาพเล็ก ในขณะที่การตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ กระทำเพื่อบรรลุประโยชน์สูงสุดโดยภาพรวมอันเป็นขอบเขตภาพใหญ่สุด ซึ่งไม่คำนึงถึงผลลัพท์ในเชิงยุทธวิธี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธวิธีทางทหาร

ยุทธนาวีทะเลคอรัล

ทธนาวีทะเลคอรัล เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธนาวีทะเลคอรัล

ยุทธนาวีที่มิดเวย์

ทธนาวีมิดเวย์ (Battle of Midway, ミッドウェー海戦) เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธนาวีที่มิดเวย์

ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

ทธนาวีอ่าวเลย์เต หรือในอดีตรู้จักกันในชื่อ ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินครั้งที่สอง เป็นยุทธนาวีครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองและใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สมรภูมิอยู่ในทะเลบริเวณใกล้กับเกาะเลย์เต ซามาร์ และลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 23-26 ตุลาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

ยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน

ทธนาวีทะเลฟิลิปปิน เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นยุทธนาวีเรือบรรทุกอากาศยานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการสู้รบระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19–20 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน

ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค

"ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค"เป็นการรบครั้งสุดท้ายของเรือบิสมาร์ค ซึ่งได้ถูกจมลงในวันที่ 27 พฤษภาคม..1941 โดยเครื่องบินสวอร์คฟิชจากเรือหลวงวิคตอเรียสเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ถือเป็นจุดจบของเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของครีกซมารีเนอ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค

ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน

ยุทธนาวีแหลมมะตะปัน (Battle of Cape Matapan) เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างวันที่ 27 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1941 ที่บริเวณแหลมมะตะปัน ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส ประเทศกรีซ กองเรือรบกองทัพเรืออังกฤษพร้อมด้วยเรือรบจากกองทัพเรือออสเตรเลียหลายลำ ภายใต้บังคับบัญชาของพลเรือเอกอังกฤษ แอนดรู คันนิงแฮม ได้เข้าขัดขวาง จม และสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อเรือของกองทัพเรืออิตาลีภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกอันเจโล ยากีโน หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุทธนาวีแหลมมะตะปัน

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุโรปภาคพื้นทวีป

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยุโรปตะวันออก

ยูโกสลาเวีย

ูโกสลาเวีย (Yugoslavia; สลาวิกใต้: Jugoslavija; เซอร์เบีย: Југославија) เป็นชื่ออดีตประเทศบริเวณคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความหมายของคำว่ายูโกสลาเวียคือ "ดินแดนของชาวสลาฟตอนใต้".

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและยูโกสลาเวีย

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและย่างกุ้ง

รักร่วมเพศ

รักร่วมเพศ (homosexuality) หมายถึงพฤติกรรมทางเพศหรือความสนใจของคนในเพศเดียวกันหรือรสนิยมทางเพศ ในเรื่องรสนิยมทางเพศหมายถึง "มีเพศสัมพันธ์หรือความรักในทางโรแมนติกพิเศษกับบุคคลในเพศเดียวกัน" และยังหมายถึง "ความรู้สึกส่วนตัวและการแสดงออกทางสังคมโดยยึดจากความชอบ พฤติกรรมที่พวกเขาแสดงออก และการเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมเดียวกันของพวกเขา" รักร่วมเพศ, ไบเซ็กชวล และรักต่างเพศ ถือเป็นกลุ่มคนหลัก 3 ประเภทของรสนิยมทางเพศ สัดส่วนของประชากรที่เป็นกลุ่มคนรักเพศเดียวกันค่อนข้างยากที่จะประเมินLeVay, Simon (1996).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรักร่วมเพศ

รัฐบอลติก

รัฐบอลติก (Baltic states) เป็นชื่อรวมเรียกสามประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลบอลติก คือลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ในระหว่างปี 1918-1920 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศเหล่านี้ได้รับเอกราชปกครองตนเองแบบสาธารณรัฐระหว่าง..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบอลติก

รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลาง

รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลาง (Neutrality Acts) เป็นกฎหมายที่ผ่านโดยรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เพิ่มทวีขึ้นมาในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายดังกล่าวนับว่าเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาจากลัทธิการแยกตัวโดดเดี่ยวและปลีกตัวออกจากชาติอื่น หลังจากที่สหรัฐอเมริกาต้องเข้าไปพัวพันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นความพยายามที่จะฉุดไม่ให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างประเทศ รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลางในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นมรดกที่ชนรุ่นหลังเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากว่ามันไม่ได้แบ่งแยกว่าชาติผู้รุกรานและเหยื่อ แต่ปฏิบัติต่อทั้งสองประเทศเหมือนกับว่าเป็น "ผู้เข้าร่วมสงคราม" เท่านั้น สหรัฐอเมริกายังให้ความช่วยเหลือแก่สหราชอาณาจักรเพื่อต่อต้านนาซีเยอรมนีไม่มากนัก จนกระทั่งถึงการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลาง

รัฐหุ่นเชิด

รัฐหุ่นเชิด (Puppet state) หรือ รัฐบาลหุ่นเชิด (Puppet government หรือ Marionette government) ใช้อธิบายถึงสภาพของรัฐที่มีเอกราชแต่เพียงในนาม แต่ถูกควบคุมโดยอำนาจต่างชาติหรือกองทัพอย่างชัดเจน คำว่า รัฐหุ่นเชิด หมายความถึง รัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยอีกรัฐบาลหนึ่ง เหมือนกับการเชิดหุ่นกระบอก และยังใช้ในความหมายที่รัฐขาดความเป็นเอกราช หรือมีการปกป้องเอกราชในสิ่งที่เป็นอิทธิพลจากต่างชาติหรือกองทั.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐหุ่นเชิด

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐฮาวาย

รัฐซาร์ลันท์

รัฐซาร์ลันท์ (Saarland) เป็น 1 ใน 16 รัฐของเยอรมนี มีเมืองหลวงของรัฐคือเมือง ซาร์บรึคเคิน รัฐมีพื้นที่ 2570 ตร.กม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรัฐซาร์ลันท์

ราชนาวี

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร หรือ ราชนาวี (Royal Navy อักษรย่อ: RN) เป็นเหล่าทัพหลักของกองทัพสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เหล่าทัพนี้เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุด โดยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชนาวีสหราชอาณาจักรจัดเป็นทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและราชนาวี

รายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง

นายแฟรงกลิน ดี.รูสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 32.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง

รายชื่อปฏิบัติการทางทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa) เป็นปฏิบัติการที่กองทัพนาซีใช้ในการรุกรานสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรายชื่อปฏิบัติการทางทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง

รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่งเป็นการลงนามสนธิสัญญา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและรถถัง

ลัทธิบูชาบุคคล

ลสักการะรูปปั้นคิม อิล-ซ็องในกรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ครุชชอฟ และสมาชิกโปลิตบูโรพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต เข้าร่วมพาเรดวันแรงงานสากล ในปี 1964 ลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) เกิดขึ้นเมื่อปัจเจกบุคคลใช้สื่อมวลชน โฆษณาชวนเชื่อ หรือวิธีการอื่นเพื่อสร้างภาพลักษณ์อุดมคติ วีรกรรม และบางครั้ง น่าเคารพบูชา มักผ่านการประจบและสรรเสริญโดยปราศจากข้อสงสัย มักซ์ เวแบร์ นักสังคมวิทยา พัฒนาการจำแนกอำนาจสามประการ โดยลัทธิบูชาบุคคล ถือขนานกับสิ่งที่เวแบร์นิยามเป็น "อำนาจบุญบารมี" ลัทธิบูชาบุคคลคล้ายกับการบูชาวีรบุรุษ ยกเว้นดำเนินโดยสื่อมวลชนและโฆษณาชวนเชื่อซึ่งปกติรัฐเป็นผู้ดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและลัทธิบูชาบุคคล

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและลัทธิคอมมิวนิสต์

วันชัย (9 พฤษภาคม)

วันแห่งชัยชนะหรือ 9 พฤษภาคม เป็นเครื่องหมายการยอมจำนนของนาซีเยอรมนีต่อสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง (ในสหภาพโซเวียต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ) เริ่มครั้งแรกในสิบหกสาธารณรัฐแห่งสหภาพโซเวียต ให้หลังการลงนามตราสารยอมจำนนในคืนวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและวันชัย (9 พฤษภาคม)

วันชัยในทวีปยุโรป

วันชัยในทวีปยุโรป (Victory in Europe Day หรือ VE Day) หมายถึง วันที่ 7 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 คือ วันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของนาซีเยอรมนี ในวันที่ 30 เมษายน หลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายที่หลุมหลบภัยในกรุงเบอร์ลิน ตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีตกเป็นของ คาร์ล เดอนิทซ์ เขาได้ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนในวันที่ 7 พฤษภาคม ในเมืองแรมส์ ฝรั่งเศส นอกจากนั้นวิลเฮล์ม ไคเทล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพเวร์มัคได้ลงนามในสนธิสัญญายอมจำนนต่อสหภาพโซเวียตในวันที่ 8 พฤษภาคม ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและวันชัยในทวีปยุโรป

วิลเฮล์ม ไคเทิล

วิลเฮล์ม โยดีวิน โยฮันท์ กุสตาฟ ไคเทิล (Wilhelm Bodewin Johann Gustav Keitel) เป็นจอมพลเยอรมันซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตำแหน่งของเขาเทียบได้กับรัฐมนตรีกลาโหม หลังสิ้นสุดสงคราม เขาถูกนำตัวเข้ารับการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กของสัมพันธมิตร เขาได้พยายามต่อสู้คดีแต่กลับถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เขาถือเป็นหนึ่งในสามผู้บัญชาการทหารระดับสูงสุดของเยอรมันที่ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและวิลเฮล์ม ไคเทิล

วิทยาการเข้ารหัสลับ

วิทยาการเข้ารหัสลับ วิชาเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับคือการแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยข้อความลับคือข้อความที่ผู้อื่น นอกเหนือจากคู่สนทนาที่ต้องการ ไม่สามารถเข้าใจได้ มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการรักษาความลับของเรามาตั้งนาน นับตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเข้ารหัสลับและถอดรหัสลับ การเข้ารหัสแบบซีซ่าร์ทำได้โดยการนำตัวอักษรที่อยู่ถัดไปอีกสองตำแหน่งมาแทนที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเข้ารหัสคำว่า HELLO เราก็นำตัวอักษรที่ถัดจากตัว H ไปอีกสองตัวนั่นคือตัว J มาแทน ตัว E แทนด้วย G ตัว L แทนด้วย N ตัว O แทนด้วย Q ดังนั้นข้อความ HELLO จึงถูกแปลงให้เป็นคำว่า JGNNQ การเข้ารหัสลับแตกต่างกับวิทยาการอำพรางข้อมูล ข้อมูลที่ถูกอำพรางนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การเข้ารหัสลับจะเปลี่ยนแปลงข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ (Modern Cryptography) เป็นวิชาการที่ใช้แนวทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยให้เฉพาะคู่สนทนาที่ต้องการสามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น ขั้นตอนวิธีของการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ ได้แก่ Data Encryption Standard, Advanced Encryption Standard หรือ One-Time Padding ฯลฯ หลักการเบื้องต้นของการเข้ารหัสลับ ประการแรกคือ ขั้นตอนวิธีต้องเป็นที่รู้โดยทั่วไป และประการต่อมา รหัสจะต้องใหม่เสมอ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและวิทยาการเข้ารหัสลับ

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและวินสตัน เชอร์ชิล

วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

อาณาบริเวณวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ในปี ค.ศ. 1942 โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อ แสดงภาพสันติภาพระหว่างญี่ปุ่น จีนฮั่น และแมนจูกัว สแตมป์รูปแผนที่วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่จะรวบรวมและสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพลฮะชิโร อะริตะ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเชียตะวันออก "Greater East Asia" ในระหว่างที่สงครามกำลังดำเนินอยู่นั้น ญี่ปุ่นได้พยายามโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีประโยคที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asians) โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลดปล่อยชาติในเอเชียให้หลุดพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยทำการบุกประเทศเพื่อนบ้าน และขับไล่ทหาร อังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา ออกไปจากภูมิภาคนี้.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล

ลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลประชุมกันที่ศาลอิจิงายะ เดิมเป็นอาคารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเอช ในอิจิงายะ กรุงโตเกียว ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล (International Military Tribunal for the Far East) หรือเรียก การพิจารณาคดีกรุงโตเกียว (Tokyo Trials) หรือ ศาลอาชญากรรมสงครามกรุงโตเกียว (Tokyo War Crimes Tribunal) เป็นศาลทหารซึ่งประชุมกันเมื่อวันที่ 29 เมษายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล

สกอชท์เอิร์ธ

ระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย กองเรือบินสหรัฐบินเหนือทุ่งบ่อน้ำมันในคูเวตเพื่อจุดไฟเผาบ่อน้ำมันระหว่างทางที่ทหารอิรักที่ถอยทัพใน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสกอชท์เอิร์ธ

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสหภาพโซเวียต

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสหรัฐ

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสหประชาชาติ

สันนิบาตชาติ

ันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสันนิบาตชาติ

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (Troisième République Française บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) (พ.ศ. 2413 -10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อ พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐสังคมอิตาลี

รณรัฐสังคมอิตาลี (Repubblica Sociale Italiana, RSI) เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนีระหว่างช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการเกิดใหม่ของรัฐฟาสซิสต์อิตาลี นำโดย เบนิโต มุสโสลินีและพรรคฟาสซิสต์สาธารณรัฐนิยมปฏิรูปของเขา รัฐดังกล่าวประกาศว่ากรุงโรมเป็นเมืองหลวง แต่เนื่องจากโรมไม่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยพฤตินัยจึงกระจุกอยู่รอบซาโล อันเป็นสำนักงานใหญ่ของมุสโสลินีและกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมอิตาลีมีอำนาจอธิปไตยในนามในทางเหนือของอิตาลี แต่ต้องพึ่งพาทหารเยอรมันเพื่อรักษาการควบคุมเป็นส่วนใหญ่ ด้วยความล้มเหลวของกองทัพเยอรมันในการป้องกันการบุกของสัมพันธมิตรจากทางใต้ของอิตาลี ทำให้กองทัพเยอรมันต้องล่าถอยออกจากอิตาลีกลับไปยังเยอรมนีและสาธารณรัฐสังคมอิตาลีล่มสลายไปพร้อมกับเบนิโต มุสโสลินีถูกจับตัวและถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าและแขวนประจานในที.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐสังคมอิตาลี

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย

รณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย (People's Socialist Republic of Albania (PSRA); Republika Popullore Socialiste e Shqipërisë) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย

รณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย (RSR; โรมาเนีย Republica Socialistă România, อังกฤษ Socialist Republic of Romania) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1947 ถึง ค.ศ. 1989 โดยในระหว่างปี 1947 ถึง ปี 1965 รัฐแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า สาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย (Romanian People's Republic) ประเทศนี้เคยอยู่ในรัฐบริวารโซเวียต ค่ายตะวันออก ด้วยการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย ด้วยการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง, ราชอาณาจักรโรมาเนีย เป็นอดีตสมาชิกของฝ่ายอักษะ ถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต ที่มีบทบาทในฝ่ายสัมพันธมิตร วันที่ 6 มีนาคม 1945 หลังจากถูกสังหารหมู่ โซเวียตได้สนับสนุนและก่อตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้น ในธันวาคม ปี 1947 กษัตริย์มีไฮที่ 1ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ และสาธารณรัฐประชาชนโรมาเนียได้ก่อตั้งขึ้น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก

รณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก (เช็กและสโลวัก: Československá socialistická republika) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์ตั้งแต..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก

สาธารณรัฐประชาชนฮังการี

รณรัฐประชาชนฮังการี (Magyar Népköztársaság), หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ฮังการี เป็นยุคหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ฮังการี ตั้งแต่ปี 1949 ถึงปี 1989 โดยประเทศนี้เป็น สาธารณรัฐสังคมนิยม สาธารณรัฐประชาชนฮังการีถูกปกครองโดย พรรคแรงงานสังคมนิยมฮังการี, ภายได้การหนุนหลังของ สหภาพโซเวียตRao, B.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐประชาชนฮังการี

สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์

รณรัฐประชาชนโปแลนด์ (Polska Rzeczpospolita Ludowa People's Republic of Poland (PRP)) เป็นรัฐคอมมิวนิสต์ตั้งแต..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์

สาธารณรัฐไวมาร์

รณรัฐไวมาร์ (Weimarer Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสาธารณรัฐไวมาร์

สงครามกลางเมืองยุโรป

งครามกลางเมืองยุโรป เป็นคำซึ่งอธิบายถึงแนวคิดที่เชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง และสมัยระหว่างสองสงครามโลกเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อซึ่งเกิดขึ้นในทวีปยุโรป คำดังกล่าวมักใช้อ้างอิงถึงการเผชิญหน้าหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ไม่มีข้อยุติที่เหมาะสมเกี่ยวกับรายละเอียดและเหตุผลเชื้อมโยง เช่น ระดับความเกี่ยวพันของนานาชาติในสงครามกลางเมืองสเปน และในบางครั้ง สงครามกลางเมืองรัสเซีย คำดังกล่าวมักถูกใช้อธิบายแนวคิดของการเสื่อมสภาพความเป็นเจ้าในโลกของทวีปยุโรป และการเกิดขึ้นของสหภาพยุโรป ดร.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองยุโรป

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

งครามกลางเมืองรัสเซีย (Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)Mawdsley, pp.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองรัสเซีย

สงครามกลางเมืองสเปน

งครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถึงความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, มาร์ธา เกลฮอร์น, จอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาป.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองสเปน

สงครามกลางเมืองจีน

งครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927-1950) เป็นสงครามกลางเมือง สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคปกครองสาธารณรัฐจีน ฝ่ายหนึ่ง กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกฝ่ายหนึ่งGay, Kathlyn.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามกลางเมืองจีน

สงครามฤดูหนาว

ทหารสกีของฟินแลนด์ในสงครามฤดูหนาว ทิศทางการโจมตีของกองทัพแดงและการวางกำลังหลักของสองฝ่าย สงครามฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter War, ฟินแลนด์: talvisota, สวีเดน: vinterkriget, รัสเซีย: Советско-финская война, และอาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) เป็นสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้น ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามฤดูหนาว

สงครามลวง

ปสเตอร์ซึ่งถูกพบเห็นได้ทั่วไปในอังกฤษระหว่าง "สงครามลวง" สงครามลวง เป็นช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกันยายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามลวง

สงครามสามสิบปีครั้งที่สอง

งครามสามสิบปีครั้งที่สอง เป็นการนับเวลาซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกในบางครั้งเพื่อเรียกรวมสงครามในทวีปยุโรปตั้งแต..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามสามสิบปีครั้งที่สอง

สงครามอังกฤษ-อิรัก

งครามอังกฤษ-อิรัก(2-31 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นการทัพทางทหารของอังกฤษเข้าปะทะกับรัฐบาลกบฏของ Rashid Ali ในราชอาณาจักรอิรักในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพครั้งนี้ทำให้อิรักถูกยึดครองกลับคืนโดยจักรวรรดิอังกฤษ และการกลับคืนสู่อำนาจของจักรวรรดิอังกฤษที่ถูกขับไล่ได้เป็นมิตรกับผู้สำเร็จราชการแห่งอิรัก เจ้าชาย Abd al-Ilah.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามอังกฤษ-อิรัก

สงครามอิตาลี-กรีซ

งครามอิตาลี-กรีซเกิดขึนเมื่ออิตาลีนำโดยมุสโสลินีอยากขยายดินแดนและอำนาจแบบเดียวกับฮิตเลอร์ โดยเริ่มจากเข้ายึดอัลบาเนีย หลังจากนั้นก็จะบุกยึดกรีซด้วยกำลังพลที่มีจำนวนมากกว่า ประมาณ 2 ต่อ 1 และยุทโธปกรณ์ที่ดีกว่า และก็ประกาศตนอยู่ตรงข้ามฝ่ายอักษะซึ่งในช่วงเวลานั้นมีเพียงอังกฤษกับกรีซเท่านั้นที่ยังสู้อยู่ กรีซสามารถต้านทานการรุกของอิตาลีด้านพรมแดนอัลบาเนีย-กรีซได้ในการรุกครั้งแรกของอิตาลีระหว่างวันที่ 28 ต..-13..1940 และกลับกลายเป็นว่ากรีซเป็นฝ่ายตีโต้ตอบระหว่างวันที่ 14..1940-มี..1941 ทำเอาอิตาลีต้องถอยเข้าไปจากพรมแดนอัลบาเนีย-กรีซ ถึง 60 ก.ม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามอิตาลี-กรีซ

สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง

งครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง หรืออีกชื่อหนึ่งคือ สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง เป็นสงครามอาณานิคมซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกองทัพราชอาณาจักรอิตาลีกับจักรวรรดิเอธิโอเปีย (หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ "อะบิสซิเนีย") โดยเริ่มต้นในเดือนตุลาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

สงครามต่อเนื่อง

งครามต่อเนื่อง ประกอบด้วยสงครามระหว่างฟินแลนด์และสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามต่อเนื่อง

สงครามโลก

งครามโลก (World War) เป็นลักษณะความขัดแย้งทางการทหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายชาติมหาอำนาจร่วมกัน โดยมักจะเกิดขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและกินเวลานานหลายปี คำว่า สงครามโลก เป็นการอธิบายถึงสงครามที่มีขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตเกิดสงครามโลก 2 ครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามโลก

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามเบ็ดเสร็จ

งครามเบ็ดเสร็จ (Total war) คือ ความขัดแย้งอันไร้ขอบเขตซึ่งประเทศคู่สงครามได้ทำการเรียกระดมทรัพยากรทั้งหมดเพื่อใช้ในการทำสงคราม ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การทหาร ธรรมชาติ เทคโนโลยีหรือปัจจัยอื่น ๆ ในความพยายามที่จะทำลายประเทศคู่สงครามอย่างสิ้นเชิง หรือทำลายความสามารถของอีกฝ่ายหนึ่งที่จะทำการรบต้านทานต่อไปอีก การทำสงครามเบ็ดเสร็จเคยถูกใช้ในการทำสงครามมานานหลายศตวรรษแล้ว ในการทำสงครามเบ็ดเสร็จ ความแตกต่างระหว่างทหารและพลเรือนมีน้อยมากเมื่อเทียบกับสงครามประเภทอื่น ๆ และมนุษย์ทุกคนจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการทำสงครามของคู่สงคราม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเบ็ดเสร็จ

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเกาหลี

สงครามเย็น

กำแพงเบอร์ลินจากฝั่งตะวันตก กำแพงถูกสร้างใน ค.ศ. 1961 เพื่อป้องกันมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหนีและหยุดการหลั่งไหลของแรงงานซึ่งเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการทลายกำแพงใน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเวียดนาม

สนธิสัญญาลอนดอน (1915)

กติกาสัญญาลอนดอน (London Pact) หรือ สนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London) ใน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาลอนดอน (1915)

สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี

นธิสัญญาการในการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี หรือเรียกว่า สนธิสัญญาสองบวกสี่ (Zwei-plus-Vier-Vertrag) มีการเจรจาขึ้นในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี

สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันฝรั่งเศส-โซเวียต

นธิสัญญาให้ความช่วยเหลือระหว่างกันระหว่างฝรั่งเศส-โซเวียต (Franco-Soviet Treaty of Mutual Assistance) เป็นสนธิสัญญาสองฝ่ายระหว่างทั้งสองประเทศ มีเป้าหมายที่จะจำกัดวงของการรุกรานจากเยอรมนีในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันฝรั่งเศส-โซเวียต

สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก

นแดนที่ฟินแลนด์ต้องยกให้แก่สหภาพโซเวียต สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก ได้รับการลงนามโดยฟินแลนด์และสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาสันติภาพมอสโก

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

โยชิดะ ชิเกรุ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก สนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น หรือ สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก (Treaty of San Francisco; Traité de paix avec le Japon; ญี่ปุ่น: 日本国との平和条約, 日本国との平和条約, โรมะจิ Nihon-koku tono Heiwa-Jōyaku, นิฮงโกะกุโทะโนะเฮวะโจยะกุ) (8 กันยายน พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาแวร์ซาย

สนธิสัญญาโลคาร์โน

นธิสัญญาโลคาร์โน คือ ข้อตกลงเจ็ดประการซึ่งได้เจรจากันที่เมืองโลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม - 16 ตุลาคม 1925 และได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออกธำรงรักษาเขตแดนของประเทศเหล่านั้น รวมไปถึงการคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี สนธิสัญญาดังกล่าวได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองหมวด ก็คือ ยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และยุโรปตะวันออกได้รับการพิจารณาใหม่อีกครั้ง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาโลคาร์โน

สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างจีน-โซเวียต

นธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างจีน-โซเวียต (Sino-Soviet Non-Aggression Pact 中蘇互不侵犯條約) ได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1937 ระหว่างสาธารณรัฐจีนและสหภาพโซเวียต ระหว่าง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เครื่องบินไอ-16 ซึ่งเป็นเครื่องบินรบหลักที่ใช้กันในกองทัพอากาศจีน และอาสาสมัครนักบินชาวโซเวียต สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐจีน ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง กับสหภาพโซเวียต หลังจากการเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว สหภาพโซเวียตได้ส่งเครื่องบินรบให้แก่รัฐบาลชาตินิยมจีนในปฏิบัติการเซท และให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการยึดครองของญี่ปุ่น ผู้นำจีน นายพลเจียงไคเช็คเชื่อว่านี่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสหภาพโซเวียตเตรียมตัวจะมทำสงคราม อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็รู้สึกตัวว่าสหภาพโซเวียตนั้นได้จำกัดการให้ความช่วยเหลือของตัวเอง รวมไปถึงไม่ได้เตือนจีนในกรณีการตกลงเป็นพันธมิตรกันอย่างเงียบๆ กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และในภายหลัง คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจีน ซึ่งจีนและญี่ปุ่นจะอ่อนแอลงกันทั้งคู่ สนธิสัญญาดังกล่าวยังเป็นการมุ่งความสนใจของสหภาพโซเวียตมาสนใจทางด้านแนวชายแดนตะวันออก ขณะที่นาซีเยอรมนีเตรียมทำสงครามกับสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่สนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่นได้ลงนามไปแล้ว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและนาซีเยอรมนีเลวร้ายลงไป และในที่สุดเยอรมนีก็ยุติ ความร่วมมือทางการทหารกับจีน ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างจีน-โซเวียต

สนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–สหภาพโซเวียต

แผนที่แนบกับสนธิสัญญาซึ่งแบ่งโปแลนด์ออกเป็นเขตยึดครองของเยอรมนีและสหภาพโซเวียต สนธิสัญญาเยอรมนี–สหภาพโซเวียตว่าด้วยมิตรภาพ ความร่วมมือ และการกำหนดเขตแดน (หรือในชื่อว่า สนธิสัญญาเยอรมนี–สหภาพโซเวียตว่าด้วยพรมแดนและมิตรภาพ) เป็นสนธิสัญญาซึ่งลงนามโดยนาซีเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 28 กันยายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–สหภาพโซเวียต

หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์

หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East Indies หรือ Netherlands East Indies; Nederlands-Indië; Hindia-Belanda) คืออาณานิคมซึ่งอยู่ในการควบคุมของอดีตบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์

อภิมหาอำนาจ

แผนที่อภิมหาอำนาจในปีค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา (น้ำเงิน), สหภาพโซเวียต (แดง), และ จักรวรรดิอังกฤษ (เขียวน้ำเงิน) รัสเซีย อภิมหาอำนาจ (superpower) คือ รัฐซึ่งเป็นผู้นำในระบบระหว่างประเทศและความสามารถในการใช้อำนาจชักจูงให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและวางแผนใช้อำนาจในระดับทั่วโลกเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้ รัฐ "อภิมหาอำนาจ" ถูกพิจารณาว่ามีความเหนือกว่ารัฐ "มหาอำนาจ" อลิซ ไลแมน มิลเลอร์ ศาสตราจารย์แห่งกิจการความมั่นคงแห่งชาติ ณ บัณฑิตวิทยาลัยกองทัพเรือ ให้คำจำกัดความของอภิมหาอำนาจว่า "ประเทศซึ่งมีความสามารถจะรักษาอำนาจครอบงำและส่งอิทธิพลได้ในทุกพื้นที่ในโลก และในบางครั้ง ในมากกว่าหนึ่งภูมิภาคของโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่าบรรลุสถานะความเป็นเจ้าโลก คำดังกล่าวเริ่มถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอภิมหาอำนาจ

อันชลุสส์

ตำรวจชายแดนเยอรมัน-ออสเตรียกำลังรื้อถอนที่กั้นชายแดนในเหตุการณ์อันชลุสส์ ปี 1938. อันชลุสส์ (Anschluss, Anschluß, ท. การผนวก หรือ การเชื่อมโยง) เป็นคำโฆษณาชวนเชื่อนาซีสำหรับการบุกครองและการรวมประเทศออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอันชลุสส์

อากาศยานไอพ่น

อากาศยานไอพ่น (jet aircraft) คือ อากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเป็นพลังงานขับเคลื่อน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์จะเกิดก๊าซร้อนมาก ซึ่งเมื่อพ่นออกมานั้นจะเกิดแรงดันไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมหาศาล สามารถผลักดันให้อากาศยานเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็วอากาศในท้องฟ้าระยะสูงจะมีความหนาแน่นน้อยลง แรงปะทะต้านทานก็น้อยลงไปด้วย แต่กำลังดันจากภายในเครื่องยนต์มิได้ลดน้อยลงเลย ดังนั้นอากาศยานไอพ่นจึงบินได้เร็วขึ้นในระยะสูงขึ้นตามลำดับ เพดานบินของอากาศยานไอพ่นจึงสูงกว่าอากาศยานธรรมดา ตามปกติเสียงวิ่งผ่านอากาศด้วยความเร็ว 1250 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 1 มัค (mach) ถ้าเร็วกว่านั้นเป็นสองเท่าหรือสามเท่าของเสียงก็เรียกว่า มัค 2 หรือ มัค 3 ตามลำดับ เครื่องบินไอพ่นเท่านั้นที่สามารถทำความเร็วได้สูงเช่นนี้ ในขณะที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียงเราจะเรียกว่า โซนิค บูม (sonic boom)เป็นเหตุให้บานกระจก ประตูหน้าต่างแตกไปได้ เครื่องบินไอพ่นสมัยเริ่มแรกมิได้ศึกษาเรื่องนี้พอ จึงสร้างไว้ให้มีความแข็งแรงอย่างธรรมดา เมื่อบินเร็วมากๆถึงขั้นเจาะข้ามเขตกำแพงเสียง เครื่องบินไอพ่นก็จะเกิดระเบิดพังทลายเป็นชิ้นเล็กๆ ตกลงมา มีลักษณะเหมือนปาขวดแก้วให้แตกละเอียดที่กำแพงหิน ดังนั้นเครื่องบินไอพ่นสมัยใหม่ที่มีความเร็วตั้งแต่หนึ่งเท่าของเสียงขึ้นไป จึงต้องมีโครงสร้างเป็นโลหะที่แข็งแรงเป็นพิเศษ ยังมีเครื่องบินอีกประเภทหนึ่ง เป็นเครื่องบินไอพ่นซึ่งสามารถขึ้นและลงตรงๆ ในทางดิ่งได้ คุณลักษณะอันนี้เกิดจากการใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพุ่งลงมาข้างล่าง ต่อเมื่อเครื่องพุ่งขึ้นได้ระยะสูงปลอดภัยแล้ว นักบินจึงบังคับให้ท่อไอพ่นหมุนเพื่อพ่นไอเสียไปข้างหลัง จะได้ผลักให้ตัวเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เครื่องบินไอพ่นแบบนี้ ไม่ต้องมีทางวิ่ง จึงใช้ประโยชน์ได้ดีมากบนเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งมีดาดฟ้าที่คับแคบอยู่แล้ว ข้อเสียเปรียบก็มีอยู่ว่า ยังไม่สามารถสร้างเครื่องบินไอพ่นแบบนี้ให้บินได้นานๆ และไกลๆ เท่าเครื่องบินไอพ่นธรรม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอากาศยานไอพ่น

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอาวุธนิวเคลียร์

อาคารไรชส์ทาค

อาคารไรชส์ทาค (Reichstagsgebäude) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาคารที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค (Plenarbereich Reichstagsgebäude) เป็นสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิเยอรมันเพื่อเป็นประชุมของรัฐสภาเยอรมัน (''ไรชส์ทาค'') อาคารนี้เริ่มใช้งานในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอาคารไรชส์ทาค

อินโดจีนของฝรั่งเศส

อินโดจีนของฝรั่งเศส (Indochine française, French Indochina) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise) เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอินโดจีนของฝรั่งเศส

อุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2481

ผู้อพยพจากตำบลฮั่วหยวนโข่ว เนื่องจากน้ำท่วม เหตุอุทกภัยที่แม่น้ำหวง..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2481

อู่ฮั่น

ทิวทัศน์เมืองอู่ฮั่น อู่ฮั่น เป็นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑล มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม. (ในเมือง 1,954 ตร.กม.) ประชากร 8,100,000 (พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอู่ฮั่น

อีนิแอก

อีนิแอก อีนิแอก (ENIAC ย่อมาจาก Electronic Numerical Integrator and Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์อเนกประสงค์เครื่องแรกของโลก พัฒนาโดยกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอีนิแอก

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฮอโลคอสต์

ฮัมบวร์ค

ัมบวร์ค (Hamburg) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเยอรมนี รองลงมาจาก เบอร์ลิน และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 8 ของยุโรป โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองฮัมบวร์คมากกว่า 1.8 ล้านคน ในขณะที่รวมปริมณฑลรอบ ๆ ไปด้วยแล้วจะทำให้ นครฮัมบวร์คมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน ท่าเรือฮัมบวร์คเป็นท่าเรือสำคัญ ซึ่งนับเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหภาพยุโรป และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก พื้นที่ท่าเรือส่วนใหญ่เป็นบริเวณปลอดภาษี ฮัมบวร์ค ถือเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญและถือเป็นหนึ่งใน เมืองที่รวยที่สุดในยุโรปและเป็นเขตเมือง อุตสาหกรรมที่แห่งหนึ่งที่สำคัญของ เยอรมันมีบริษัท ห้างร้านที่สำคัญ ๆ ของเยอรมนี อยู่ที่เมืองนี้ และที่สะคัญ ฮัมบวร์คได้รับการศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญมานานหลายศตวรรษและเป็นที่ตั้งของธนาคารที่เก่าแก่ในประเทศเยอรมันคือ ธนาคารแบร์มเบริก ธนาคารนองจากนนี้ ฮัมบวร์คยังเป็น เมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจากการจัดอันดับโดยได้อันดับที่ ที่ 17 ของโลกในปี 2555 และในปี 2553 ก็ได้อันดับที่ 10 ชื่ออย่างเป็นทางการของฮัมบวร์คคือ นครอิสระและฮันเซียติกแห่งฮัมบวร์ค (เยอรมัน: Freie und Hansestadt Hamburg) คำว่าฮันเซียติกนั้นหมายถึงการเป็นสมาชิกสันนิบาตฮันเซียติกของฮัมบวร์คตั้งแต่ยุคกลาง และบ่งบอกว่าฮัมบวร์คมีฐานะเป็นนครรัฐ ถือเป็น 1 ใน 16 รัฐสหพันธ์ของเยอรมนี ฮัมบวร์คอยู่ทางทิศใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์ ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์นั้นอยู่ระหว่างสแกนดิเนเวียกับพื้นทวีปยุโรป ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ปัจจุบันฮัมบวร์คเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ และศูนย์กลางวัฒนธรรมของเยอรมนีทางภาคเหนือ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฮัมบวร์ค

ฮิโระชิมะ

ระชิมะ หรือ ฮิโรชิม่า (広島) อาจหมายถึง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฮิโระชิมะ

ฮิเดะกิ โทโจ

กิ โทโจ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2427 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้ เขายังรู้จักกับแฮร์มันน์ เกอริง, พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นการส่วนตัวตั้งแต่สมัยเรียนวิชาการทหารอยู่ที่เยอรมัน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฮิเดะกิ โทโจ

ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

accessdate.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น

ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": โจเซฟ สตาลิน แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิลล์ ในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญต่าง ๆ จากหลาย ๆ ประเทศ ทั้งนักการเมืองและนักการทหาร บรรดาบุคคลเหล่านี้ได้แก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

จรวดวี-2

V-2 (Vergeltungswaffe 2, ชื่อทางเทคนิค "อาวุธล้างแค้น 2") Aggregat-4 (A4) เป็นขีปนาวุธระยะสั้นที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศเยอรมนีโดยมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงที่กรุงลอนดอนและต่อมาที่แอนต์เวิร์ป โดยปกติจะเรียกว่าจรวด V-2, เป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว-ที่เป็นขีปนาวุธต่อสู้ขีปนาวุธที่มีพิสัยทำการในระยะไกล เป็นครั้งแรกของโลกและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่จะเข้าสู่บริเวณพื้นที่รอบนอกอวกาศ มันเป็นต้นกำเนิดของจรวดสมัยใหม่, รวมทั้งผู้ที่นำมาใช้ในโครงการอวกาศโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในระหว่างผลพวงของสงครามโลกครั้งที่สองรัฐบาลอเมริกัน, โซเวียต, และอังกฤษทั้งหมดได้เข้าถึงจรวด V-2 ซึ่งการออกแบบทางเทคนิคนั้นได้ผลดีเช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์เยอรมันที่เคยรับผิดชอบในการสร้างจรวดที่สามารถสร้างมันขึ้นมาใช้งานได้ผลจริง ๆ มาแล้ว, จรวด V-2 ประสบความสำเร็จในการทดสอบครั้งแรกในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1942 โดยถูกปล่อยจากแท่นทดสอบที่ 6 สนามบินพีเนมุนด์ในเยอรมนี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจรวดวี-2

จักรพรรดิโชวะ

มเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ หรือพระนามตามชื่อรัชสมัย คือ จักรพรรดิโชวะ (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรพรรดิโชวะ

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิ

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิญี่ปุ่น

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิรัสเซีย

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน

ักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน (German colonial empire) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมเยอรมัน ซึ่งเยอรมันมีความพยายามในการสร้างอาณานิคมที่เริ่มมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้โดยนครรัฐต่างๆ ในเยอรมนีไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เยอรมันมีอาณานิคมโพ้นทะเลอยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และโอเชียเนี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน

จักรวรรดิอิตาลี

ักรวรรดิอิตาลี (Italian Empire) ก่อตั้งขึ้นโดยราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมชาติอิตาลี (Italian unification) ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิอิตาลี

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและจักรวรรดิเยอรมัน

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทวีปยุโรป

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทวีปแอฟริกา

ทะเลขาว

ทะเลขาว ภาพถ่ายทะเลขาวจากดาวเทียม ทะเลขาว (Белое море; White Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรคานินกับคาบสมุทรโคลา หมวดหมู่:ทะเลแบเร็นตส์ ขาว หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทะเลขาว

ทะเลแคสเปียน

ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 371,000 ตร.กม. และจุดลึกที่สุดลึกประมาณ 980 เมตร ทะเลแคสเปียนมีลักษณะร่วมของทั้งทะเลและทะเลสาบ บางครั้งจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามน้ำในทะเลแคสเปียนกลับไม่ได้เป็นน้ำจืด มีปริมาณเกลือประมาณ 1.2% ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณเกลือในน้ำทะเลทั่วไป.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทะเลแคสเปียน

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ทาส

''Le Marché aux esclaves'', ตลาดค้าทาส ฌอง-เลออง เจอโรม ราว ค.ศ. 1884) ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ (นายทาส) เช่น การรับใช้ทางด้านแรงงาน และหากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความต.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทาส

ทุ่นระเบิด

right ทุ่นระเบิด (Land mine) มีหลักการทำงาน คือทำอุปกรณ์ตัวหนึ่งเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการระเบิด ไม่ว่าจะเป็น เสียง แสง อุณหภูมิ แรงสั่นสะเทือน แรงกด ลวดสะดุด ที่นิยมกันมาก คือ เป็นตัวรับแรงกด (Pressure) ซึ่งจะเข้าไปกระทบกับ ตัวจุดระเบิด ทำให้เกิดระเบิดขึ้น ดินระเบิดที่นิยมใช้กันมากคือ TNT (Trinitrotoluene) ใช้ในการโจมตีผู้บุกรุก ส่วนวิธีการระเบิด แล้วแต่วิธีออกแบบ เช่น ระเบิดทันทีที่โดนสัมผัส หรือ เมื่อได้รับแรงกระตุ้นแล้ว จะดีดตัวขึ้นมาเหนือพื้นดิน แล้วจึงร.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและทุ่นระเบิด

ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น

้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น เป็นความขัดแย้งตามแนวชายแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น

ข้อตกลงฝรั่งเศส-อิตาลี

การทำข้อตกลงระหว่างนายพลอิตาลีและ ปิแอร์ ลาวาล ข้อตกลงฝรั่งเศส-อิตาลี (Frenco-Italian Agreement) ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและข้อตกลงฝรั่งเศส-อิตาลี

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและดอลลาร์สหรัฐ

ความตกลงมิวนิก

นแดนซูเดเทินลันด์ ความตกลงมิวนิก (Munich Agreement; Mnichovská dohoda; Mníchovská dohoda; Münchner Abkommen; Accords de Munich) เป็นการประชุมระหว่างประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อตกลงเกี่ยวกับแคว้นซูเดเทินลันด์และดินแดนเชโกสโลวาเกีย จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและความตกลงมิวนิก

คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและคอมพิวเตอร์

คอมมานโด

อมมานโด ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ทหารหรือหน่วยหน่วยชนิดพิเศษ โดยปกติในการใช้ร่วมสมัย คอมมานโด หมายถึง หน่วยทหารราบเบาหัวกะทิหรือกำลังปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก การกระโดดร่ม การไต่เขาและเทคนิคที่คล้ายกัน เพื่อปฏิบัติการโจมตี เดิมที "คอมมานโก" หมายถึง ชนิดของหน่วยรบ ซึ่งไม่ใช่ปัจเจกบุคคลในหน่วยนั้น ในกองทัพของประเทศส่วนใหญ่ คอมมานโดมีลักษณะเฉพาะตรงที่มีความเชี่ยวชาญในการโจมตีเป้าหมายทางทหารตามแบบ ในขณะที่หน่วยกำลังพิเศษอื่นมีความเชี่ยวชาญพิเศษในการต่อต้านการก่อการร้าย การลาดตระเวนสอดแนม และการก่อวินาศกรรม อย่างไรก็ดี คำว่า คอมมานโด บางครั้งยังใช้เกี่ยวข้องกับหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจอย่างหลัง (รวมทั้งหน่วยตำรวจพลเรือนบางหน่วยด้วย).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและคอมมานโด

คาร์ล เดอนิทซ์

ร์ล เดอนิทซ์ (Karl Dönitz; 16 กันยายน 1891 – 24 ธันวาคม 1980) เป็นจอมพลเรือชาวเยอรมันผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์กองทัพเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เดอนิทซ์สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐเยอรมนีต่อจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เขาเริ่มอาชีพในกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี 1918 ขณะที่เขาบังคับการเรือดำน้ำ UB-68 เรือถูกกองทัพบริติชจมและเดอนิทซ์ถูกจับเป็นเชลย ระหว่างอยู่ในค่ายเชลยศึก เขาสรุปสิ่งที่ต่อมาเขาเรียกว่ารูเดลทักทิค ("ยุทธวิธีฝูง" หรือเรียกทั่วไปว่า "ฝูงหมาป่า") เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เขาเป็นนายทหารเรือดำน้ำอาวุโสในครีกส์มารีเนอ ในเดือนมกราคม 1943 เขาได้ยศกรอสส์อัดมีรัล (จอมพลเรือ) และสืบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจากจอมพลเรือ เอริช แรดเดอร์ วันที่ 30 เมษายน 1945 หลังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถึงแก่อสัญกรรมและตามพินัยกรรมฉบับหลังสุดของฮิตเลอร์ เดอนิทซ์ถูกเสนอชื่อเป็นผู้สืบทอดประมุขแห่งรัฐจากฮิตเลอร์ ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมนีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด วันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เขาสั่งให้อัลเฟรด โยเดิล หัวหน้าเสนาธิการของกองบัญชาการทหารสูงสุด ลงนามตราสารยอมจำนนในแรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เดอนิทช์ยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลเฟลนซ์บุร์กจนถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยุบเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เขาถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมสงครามและตัดสินลงโทษจำคุกสิบปี หลังการปล่อยตัว เขาใช้ชีวิตเงียบ ๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ฮัมบุร์กจนเสียชีวิตในปี 1980.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและคาร์ล เดอนิทซ์

คำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 9066

ป้ายติดประกาศคำสั่งกักกันชาวญี่ปุ่นและผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่น ลงนามโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ คำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 9066 (Executive Order 9066) เป็นคำสั่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ลงนามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดย ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 9066

คิม อิล-ซ็อง

อนุสาวรีย์คิม อิล-ซ็อง คิม อิล-ซ็อง (15 เมษายน พ.ศ. 2455 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) เป็นผู้นำคนแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเมื่อ..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและคิม อิล-ซ็อง

ค่ายกักกันนาซี

กองกำลังสหรัฐอเมริกา ณ ค่ายกักกันซึ่งได้รับการปลดปล่อย แสดงให้พลเรือนชาวเยอรมันเห็นพร้อมกับหลักฐาน: รถบรรทุกซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ นาซีเยอรมนีได้จัดตั้งค่ายกักกันขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและค่ายกักกันนาซี

ค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมายถึง การจ่ายค่าทดแทน การถ่ายโอนทรัพย์สินและเครื่องมือซึ่งเยอรมนีถูกบังคับให้กระทำภายหลังจากสนธิสัญญาแวร์ซาย ภายหลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมาตรา 231 ว่าด้วยความผิดฐานเป็นผู้ริเริ่มสงคราม เยอรมนีและพันธมิตรถูกบังคับให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความสูญเสียของฝ่ายพันธมิตรทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากสงคราม และจำเป็นต้องจ่ายในรูปของค่าปฏิกรรมสงคราม ในเดือนมกราคม ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

ตราสารยอมจำนนซึ่งลงนามในแรมส์ วันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี เป็นตราสารจัดให้มีการหยุดยิงเป็นอันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตราสารดังกล่าวลงนามโดยผู้แทนจากกองบัญชาการใหญ่แห่งเวร์มัคท์ (OKW) และกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและตะวันออกกลาง

ฉางชา

ฉางชา เป็นเมืองหลวงของมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ในประเทศไทยนั้นบางครั้งฉางชาถูกเรียกเป็นฉางซา ซึ่งไม่ตรงกับในพินอิน.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฉางชา

ฉงชิ่ง

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและฉงชิ่ง

ซูเดเทินลันด์

ซูเดเทินลันด์ (Sudetenland; เช็กและSudety; Kraj Sudetów) คือชื่อดินแดนในภาษาเยอรมัน (และถูกใช้ในภาษาอังกฤษในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20) ที่ใช้หมายถึงอาณาเขตทางตอนเหนือ ใต้ และตะวันตก ของเชโกสโลวาเกีย อันเป็นบริเวณที่ประชากรเชื้อสายเยอรมันและใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะเขตปกครองที่ติดชายแดนอย่าง โบฮีเมีย โมราเวีย และส่วนของไซลีเซียซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของออสเตรียไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ซูเดเทินลันด์ เป็นการสมาสคำในภาษาเยอรมันระหว่าง ลันด์ ซึ่งหมายถึงประเทศหรือดินแดน กับคำว่า ซูเดเทิน ซึ่งเป็นชื่อภาษาเยอรมันของเทือกเขาซูเดเทส (Sudetes) ที่ทอดตัวยาวตามแนวเขตแดนทางตอนเหนือของสาธารณรัฐเช็กและไซลีเซียล่าง (Lower Silesia; ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์) อย่างไรก็ตามซูเดเทินลันด์เป็นคำที่ใช้หมายถึงดินแดนส่วนที่เลยไปจากแนวเทือกเขาดังกล่าวไปมากพอสมควร ในประวัติศาสตร์ไม่ปรากฎคำว่า ซูเดเทินลันด์ ไปจนกระทั่งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และไม่เป็นที่รู้จักหรือใช้กันอย่างแพร่หลายไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีของชาวเยอรมันล่มสลาย ส่งผลให้เกิดการแตกกระจายออกเป็นรัฐต่าง ๆ มากมาย ชาวเยอรมันซูเดเทินที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมจึงกลายเป็นชาวเยอรมันผลัดถิ่นในประเทศใหม่อย่างเชโกสโลวาเกียไปโดยปริยาย ต่อมาคำนี้มีความสำคัญมากขึ้นจากวิกฤตการณ์ซูเดเทิน (Sudeten crisis) ปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและซูเดเทินลันด์

ปฏิบัติการบอดีการ์ด

ปฏิบัติการบอดีการ์ด ซึ่งดำเนินการในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นแผนการลวงทางยุทธศาสตร์โดยรวมของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป ระหว่างปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการบอดีการ์ด

ปฏิบัติการบากราติออน

ปฏิบัติการบากราติออน (Oперация Багратион, Operaion Bagration) เป็นชื่อรหัสของปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบลาร..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการบากราติออน

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

แสดงแผนปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน ปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน (Operation Market Garden) เป็นปฏิบัติการทางทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยประเทศอังกฤษ ในห้วงวันที่ 17-25 กันยายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน

ปฏิบัติการมาส์

ปฏิบัติการมาส์ อีกชื่อคือ ปฏิบัติการการรุก Rzhev-Sychevka ครั้งที่สอง (Вторая Ржевско-Сычёвская наступательная операция) เป็นชื่อรหัสปฏิบัติการรุกที่กองทัพโซเวียตกระทำต่อกองทัพเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการมาส์

ปฏิบัติการยูเรนัส

ปฏิบัติการยูเรนัส (romanised: Operatsiya "Uran") เป็นรหัสนามของโซเวียต เมื่อวันที่ 19-23 พฤศจิกายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการยูเรนัส

ปฏิบัติการสิงโตทะเล

ปฏิบัติการสิงโตทะเลในการบุกเกาะอังกฤษ ปฏิบัติการสิงโตทะเล (Operation Sealion), (Unternehmen Seelöwe)เป็นชื่อรหัสของนาซีเยอรมนีสำหรับการบุกสหราชอาณาจักรในระหว่างยุทธการที่บริเตนในสงครามโลกครั้งที่สอง.หลังจากฝรั่งเศสถูกยึดครอง,นาซีได้คาดการณ์ว่าอังกฤษต้องการแสวงหาข้อตกลงสันติภาพ,และการรุกรานได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น ถ้ามีทางเลือกอื่นๆได้ล้มเหลวทั้งหม.เท่าที่สุด,ปฏิบัติการในครั้งนี้จะต้องมีทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือที่เหนือกว่าในการก้าวข้ามช่องแคบอังกฤษและลงจอดยกพลขึ้นบก.ทั้งที่เยอรมันเคยประสบความสำเร็จในช่วงแรกสงคราม.เรือบรรทุกจำนวนมากไม่เหมาะแก่การรวมพล.แต่ปฏิบัติการสิงโตทะเลถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1940 และไม่เคยปฏิบัติการ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการสิงโตทะเล

ปฏิบัติการคบเพลิง

ปฏิบัติการคบเพลิง (Operation Torch) เดิมเคยเรียกว่า ปฏิบัติการจิมแนสต์ (Operation Gymnast) เป็นปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อรุกรานอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชี ปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทัพแอฟริกาเหนือ เนื่องจากสหภาพโซเวียตได้กดดันให้รัฐบาลอเมริกาและอังกฤษเปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรปเพื่อกดดันกองทัพเยอรมันต่อกองทัพโซเวียตในแนวรบตะวันออก ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาจึงเห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัติการ "ค้อนยักษ์" (Sledgehammer) เพื่อยกพลขึ้นบกในยุโรปที่ถูกยึดครองโดยกองทัพนาซีให้เร็วที่สุด แต่ปฏิบัติการนี้ถูกผู้บัญชาการทหารของอังกฤษคัดค้านว่าจะทำให้พันธมิตรตะวันตกต้องเจอกับความสูญเสียอย่างหนัก การโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีชีจึงถูกเสนอมาแทนโดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือและทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรครองการควบคุมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มากขึ้นเพื่อเตรียมการบุกยุโรปใต้ต่อไปในปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการคบเพลิง

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการเข็มทิศ

ปฏิบัติการเข็มทิศ เป็นปฏิบัติการใหญ่ครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการทัพทะเลทรายตะวันตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กำลังอังกฤษและเครือจักรภพอื่นโจมตีกองทัพอิตาลีทางตะวันตกของอียิปต์และทางตะวันออกของลิเบียระหว่างเดือนธันวาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิบัติการเข็มทิศ

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

เอลีนอร์ โรสเวลต์แสดงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ. 1949 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) คือการประกาศเจตนารมณ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดชตัก (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมวดหมู่:ประชาธิปไตย.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศบัลแกเรีย

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศฟินแลนด์

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศพม่า

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศกรีซ

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศยูเครน

ประเทศลัตเวีย

ลัตเวีย (Latvia; Latvija) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia; Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงรีกา เมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศลัตเวีย

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศลิทัวเนีย

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศสโลวาเกีย

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศออสเตรีย

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศอิสราเอล

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศอินเดีย

ประเทศฮังการี

ังการี (Hungary, Magyarország มอยอโรรฺซาก) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปกลางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตทิศเหนือจรดประเทศสโลวาเกีย ทิศตะวันออกจรดประเทศโรมาเนียและประเทศยูเครน ทิศใต้จรดประเทศเซอร์เบียและประเทศโครเอเชีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศสโลวีเนียและทิศตะวันตกจรดประเทศออสเตรีย เมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศคือเมืองบูดาเปสต์ ชื่อประเทศฮังการีในภาษาฮังการี แปลว่า "ประเทศของชาวม็อดยอร์" (Country of the Magyars) ประเทศฮังการีมีพื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตเพียงร้อยละ 28 ของพื้นที่ราชอาณาจักรฮังการีเดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพื้นที่ปัจจุบันนับเป็นอันดับที่ 110 ของโลก โดยมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบในที่ราบพันโนเนีย และมีประชากร 9,919,128 คน นับเป็นอันดับที่ 90 ของโลก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวม็อดยอร์ ใช้ภาษาฮังการีเป็นภาษาราชการซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฟินแลนด์ และภาษามอลต.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศฮังการี

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศจีน

ประเทศตูนิเซีย

ตูนิเซีย (Tunisia; تونس‎) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (Tunisian Republic; الجمهورية التونسية) เป็นประเทศอาหรับมุสลิมที่ตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นประเทศทางตะวันออกสุดและเล็กที่สุดของ 3 ประเทศบนเทือกเขาแอตลาส (Atlas mountains) มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทั้งคู่มีบทบาทอย่างมากในสมัยโบราณ เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งเมืองคาร์เทจ (Carthage) ที่มีชื่อของชาวฟีนีเชีย (Phoenicia) และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นพื้นที่มณฑลแอฟริกา (Africa Province) เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของอาณาจักรโรมัน สันนิษฐานว่า ชื่อ ตูนิส (Tunis) มาจากภาษาเบอร์เบอร์ (Berber) แปลว่าแหลมซึ่งสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ที่เป็นแหลมยื้นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หรือ อีกความหมายหนึ่งนั้น แปลว่า "พักแรม".

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศตูนิเซีย

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศปากีสถาน

ประเทศแมนจู

ประเทศแมนจู หรือเรียกอย่างทับศัพท์ว่า หมั่นโจวกั๋ว ("ประเทศแมนจู") มีชื่อทางการว่าจักรวรรดิแมนจู เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ตั้งอยู่ในดินแดนแมนจูเรียและมองโกลเลียในด้านทิศตะวันออกปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้นับเป็นรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของชนชาติแมนจูผู้สถาปนาราชวงศ์ชิงปกครองประเทศจีนในอดีต กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองดินแดนดังกล่าวจากสาธารณรัฐจีนในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศแมนจู

ประเทศแอลจีเรีย

แอลจีเรีย (Algeria; الجزائر) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (People's Democratic Republic of Algeria; الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشّعبية) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ และเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 1ในทวีปแอฟริกา หลังจากประเทศซูดานใต้ แยกออกจากประเทศซูดานมีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศตูนิเซีย ทางตะวันออกจรดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศไนเจอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศมาลีและประเทศมอริเตเนีย และทางตะวันตกจรดประเทศโมร็อกโก รวมถึงหลายกิโลเมตรของพื้นที่ที่ยึดครองมาได้บางส่วน คือ เวสเทิร์นสะฮารา ประเทศแอลจีเรียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ ได้นิยามไว้ว่าแอลจีเรียเป็นประเทศ อิสลาม อาหรับ และอะมาซิก (เบอร์เบอร์) ชื่อประเทศแอลจีเรีย (Algeria) มาจากชื่อเมืองหลวงแอลเจียร์ ซึ่งมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัลญะซาอิร (al-jazā’ir) ซึ่งแปลว่า "หมู่เกาะ" หมายถึงเกาะ 4 เกาะ ที่อยู่นอกชายฝั่งของเมือง ก่อนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่เมื่อปี พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศแอลจีเรีย

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศแอลเบเนีย

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศโรมาเนีย

ประเทศเบลารุส

ลารุส (Беларусь บฺแยลารูสฺย; Беларусь, Белоруссия) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (Рэспубліка Беларусь; Республика Беларусь) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกัยรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสก์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ เบรสต์ กรอดโน กอเมล และวีเซี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเบลารุส

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเบลเยียม

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเชโกสโลวาเกีย

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเกาหลีใต้

ประเทศเกาหลีเหนือ

รณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเกาหลีเหนือ

ประเทศเยอรมนีตะวันออก

อรมนีตะวันออก (East Germany) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (Deutsche Demokratische Republik - DDR; German Democratic Republic - GDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"Patrick Major, Jonathan Osmond, The Workers' and Peasants' State: Communism and Society in East Germany Under Ulbricht 1945–71, Manchester University Press, 2002, และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนว Oder-Neisse เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำคอมมิวนิสต์เยอรมันในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตร National Front of Democratic Germany 29 October 1989.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเยอรมนีตะวันออก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเอสโตเนีย

อสโตเนีย (Estonia; Eesti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia; Eesti Vabariik) เป็นรัฐอธิปไตยในภูมิภาคบอลติก ในยุโรปเหนือ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ทิศตะวันตกติดกับทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย (ระยะทาง 343 กิโลเมตร) และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย (ระยะทาง 338.6 กิโลเมตร) เอสโตเนียมีพื้นที่ 45,227 ตารางกิโลเมตร (17,462 ตารางไมล์) (อันดับที่ 131 ของโลก) ประเทศเอสโตเนียปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า ทาลลินน์ โดยเอสโตเนียมีจำนวนประชากรของประเทศที่น้อยที่สุดในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เอสโตเนียประกาศเอกราชครั้งแรกในปีพ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเอสโตเนีย

ประเทศเซอร์เบีย

ซอร์เบีย (Serbia; Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (Republic of Serbia; Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเซอร์เบีย

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและประเทศเนเธอร์แลนด์

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปืนกล

ปืนกล M2: ออกแบบโดย John Browning หนึ่งในปืนระยะหวังผลไกลและเป็นปืนกลที่ออกแบบดีที่สุด ปืนกล เป็นปืนที่ทำการยิงกระสุนออกไปพร้อมทั้งบรรจุกระสุนนัดต่อไปเข้ามาในรังเพลิงตามวงรอบการทำงานจนกว่าพลยิงจะเลิกเหนี่ยวไกหรือเมื่อกระสุนหม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปืนกล

ปืนกลมือ

ปืนกลมือเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยผู้คุมกฎหมาย ทีมยุทธการและกองกำลังทางทหาร ปืนกลมือหรือปกม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปืนกลมือ

ปืนต่อสู้รถถัง

OQF 17 pdr. ขนาด 76.2 มม. (3 นิ้ว) ของประเทศอังกฤษ กองพลส่งทางอากาศที่ 82 ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังทำการยิงปืน OQF 17 pdr. ณ เมืองไนจ์เมเจน (Nijmegen) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อสกัดการรุกคืบของกองกำลังฝ่ายเยอรมัน ในปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดน ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปืนต่อสู้รถถัง

ปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาว หรือไรเฟิล (Rifle) เป็นอาวุธปืนที่มีขนาดยาว ถูกออกแบบมาเพื่อการยิงทำลายเป้าหมายที่อยู่ในระยะไกลโดยเฉพาะ โดยจะมีพานท้ายสำหรับใช้ประทับร่องไหล่ เพื่อช่วยในการเล็งหาเป้าหมาย ภายในลำกล้องมีการเซาะให้เป็นสันและร่องเกลียวที่ผนังลำกล้อง ซึ่งสันเกลียวเรียกว่า "Land" ส่วนร่องเกลียวเรียกว่า "Groove" ซึ่งสันเกลียวนี้จะสัมผัสกับหัวกระสุนและรีดหัวกระสุนไปตามสันเกลียวและหมุนควงรอบตัวเอง เพื่อรักษาการเคลื่อนที่ของหัวกระสุนไม่ให้ตีลังกาในอากาศและเพื่อเพิ่มความแม่นยำตลอดจนอานุภาพสังหาร เทียบได้กับการขว้างลูกบอลในกีฬาอเมริกันฟุตบอลหรือกีฬารักบี้ คำว่า "ไรเฟิล (Rifle)" นั้นมาจากคำว่า Rifling ซึ่งแปลว่าการทำให้เป็นร่อง นิยมใช้เป็นอาวุธของทหารในสงคราม การล่าสัตว์ และกีฬายิงปืน ในทางทหารแล้วคำว่า "ปืน (Gun)" ไม่ได้หมายถึงปืนเล็กยาว ในทางทหารคำว่า "ปืน (Gun)" หมายถึง ปืนใหญ่ นอกจากนี้ ในงานนวนิยายหลายเรื่อง คำว่าปืนเล็กยาวหรือปืนไรเฟิลจะหมายถึงอาวุธใดๆ ก็ตามที่มีพานท้ายและต้องประทับบ่าก่อนยิง ถึงแม้ว่าอาวุธดังกล่าวจะไม่ได้ทำร่องในลำกล้องหรือไม่ได้ยิงกระสุนก็ตาม.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาวจู่โจม

ปืนเอ็ม16 ประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ใช้กระสุนขนาด 5.56x45 มม. นาโต เป็นอาวุธปืนที่ประจำการยาวนานที่สุดในกองทัพสหรัฐ ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม (Assault rifle) เป็นปืนเล็กยาว ยิงด้วยระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติไปตามวงรอบจนกว่ากระสุนจะหมด ด้วยอัตราการยิงสูง ปืนเล็กยาวจู่โจมจัดเป็นอาวุธประจำกายของทหารในราชการกองทัพ ตามหลักนิยมในการจัดกำลัง 1 หมู่ (Squad) จะมีพลปืนเล็กจำนวน 5 นายและอีก 1 นายใช้ปืนเล็กกลหรือปืนกลเบา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรบ เช่น เอ็ม1 กาแรนด์และเอสวีที-40 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่างปืนเล็กยาวจู่โจม เช่น เอเค 47 เอ็ม16 ฟามาส สไตเออร์ เอยูจี ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ เออาร์-15.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและปืนเล็กยาวจู่โจม

นอร์ม็องดี

นอร์ม็องดี อาจหมายถึง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและนอร์ม็องดี

นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่น เป็นตำแหน่งสำหรับ ประมุขฝ่ายบริหาร ของญี่ปุ่น อันได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งโดย สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ภายหลังจากที่ได้รับการเสนอชื่อ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับความไว้วางใจจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ตำแหน่งนี้ถูกสถาปนาขึ้นในยุคเมจิ ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและนางาซากิ

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและนาซีเยอรมนี

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแม่น้ำแยงซี

แม่น้ำไรน์

แผนที่แดงเส้นทางแม่น้ำจากเทือกเขาแอลป์สู่ทะเลเหนือ ไรน์ (Rhine; Rein; Rhein; Rhin; Rijn) เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สำคัญ สามารถขนสินค้าเข้าสู่ภายในแผ่นดินยุโรปได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และภูมิศาสตร์ในการเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่สำคัญของยุโรป ร ร ร ร ร ร ร หมวดหมู่:แม่น้ำในทวีปยุโรป.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแม่น้ำไรน์

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแอนต์เวิร์ป

แฮร์รี เอส. ทรูแมน

ันเอก แฮร์รี เอส ทรูแมน (อังกฤษ: Harry S Truman) เกิดวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1884 เสียชีวิตวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1972 เป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 34 (ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแฮร์รี เอส. ทรูแมน

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวร่วมที่สอง

แนวร่วมที่สอง (Second United Front) คือ การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรระหว่าง พรรคก๊กมินตั๋ง และ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ในช่วง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทั้งสองตกลงที่จะพักรบ สงครามกลางเมืองจีน ในช่วงปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแนวร่วมที่สอง

แนวสเตรซา

แนวสเตรซา คือ การประชุมร่วมกันที่เมืองสเตรซา ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ และผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี เมื่อวันที่ 14 เมษายน 1935 ซึ่งได้ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่าเป็น คำประกาศสุดท้ายของที่ประชุมเมืองสเตรซา มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรักษาสนธิสัญญาโลคาร์โน และประกาศยืนยันถึงความเป็นเอกราชของออสเตรีย และพร้อมที่จะต้านทานเยอรมนีถ้าหากเกิดการฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซาย แนวสเตรซาได้ชื่อมาจาก ที่ประชุมเมืองสเตรซา ในอิตาลี ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุม แนวสเตรซานั้นมีปัจจัยมาจากการที่เยอรมนีทำการสร้างกองทัพอากาศขึ้นใหม่ และเพิ่มขนาดของกองทัพบกเป็น 36 กองพล (หรือ 400,000 นาย) และทำการประกาศเกณฑ์ทหารเมื่อเดือนมีนาคม 1935 แนวสเตรซานั้นล้มเหลวดังที่เห็นได้จากเป้าหมายที่คลุมเครือ เป้าหมายไม่ชัดเจนและเป็นการยากที่จะส่งเสริมเอาไว้ มันถูกบัญญัติออกมาไว้เพื่อให้เกิดความคลุมเครือ และไม่สนใจการพาดพิงถึงเยอรมนี ซึ่งอังกฤษพยายามรับเข้ามาเป็นนโยบายคู่ อังกฤษนั้นถือว่าข้อพิพาทใดๆ ที่พาดพิงไปถึงเยอรมนีจะไม่สร้างความเป็นปรปักษ์ระหว่างฮิตเลอร์กับการเจรจาอังกฤษ-เยอรมัน ซึ่งทำให้ดูเหมือนกับว่าการประนีประนอมระหว่างอังกฤษกับเยอรมนีก็ค่อนข้างจะประสบความสำเร็จ ฮิตเลอร์นั้นได้ใช้ยุทธวิธีที่อังกฤษและฝรั่งเศสคาดเดาล่วงหน้าได้ยาก แต่ว่าแนวสเตรซาก็ทำให้ฮตเลอร์ต้องเดาบ้างว่าอังกฤษนั้นต้องการที่จะทำอะไร อย่างไรก็ตาม การเจรจากับเยอรมนีนั้น ไม่ได้ทำให้อังกฤษได้เปรียบเลยในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี อีกเหตผลหนึ่งที่นำไปสู่ความล้มเหลว ก็คือ ไม่มีชาติใดเลยในที่ประชุมสเตรซา (ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี) ที่มีความต้องการที่จะรุกรานเยอรมนี และไม่ได้มีการตอบโต้กรณีที่เยอรมนีสร้างกำลังทหารขึ้นใหม่อย่างจริงจัง แต่ว่ารัฐบาลอังกฤษนั้นมีเจตจำนงว่าไม่ต้องการที่จะก่อสงครามตามความคิดเห็นของคนอังกฤษส่วนใหญ่ในเวลานั้น แนวร่วมดังกล่าวนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ภายในสองเดือน สหราชอาณาจักรได้เซ็นสัญญาในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมนี ซึ่งเยอรมนีได้รับไฟเขียวให้สร้างกองทัพเรือขึ้นมาใหม่ และสามารถสร้างเรือดำน้ำขึ้นมาได้ โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมีระวางน้ำหนักไม่เกิน 35% ของราชนาวีอังกฤษ อังกฤษนั้นไม่ได้ปรึกษาหารือใดๆ กับชาติร่วมประชุม ทำให้แนวร่วมดังกล่าวพบกับความเสียหายอย่างร้ายแรง ประเทศที่เข้าร่วมประชุมนั้นได้ดำเนินการตามทางของตัวเอง แนวสเตรซาจึงปราศจากความหมาย และถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงเมื่ออิตาลีรุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-อบัสซิเนียครั้งที่สอง มุสโสลินีนั้นมีความทะเยอทะยานที่จะครอบครองอะบิสซิเนีย มุสโสลินีเดือดดาลมากที่อังกฤษได้เซ็นสัญญาการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมัน เนื่องจากว่าอังกฤษไม่ยอมมาปรึกษากับเขาก่อน มุสโสลินีนั้นหันกลับไปสู่อผนการรุกรานอะบิสซิเนียซึ่งมีชายแดนติดต่อกับโซมาลิแลนด์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ เขานั้นไม่มีความต้องการที่จะให้มิตรของเขาโกรธ แต่ว่าเขามีความรู้สึกว่าอังกฤษได้ทรยศหักหลังเขา เขายังเชื่อด้วยว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐานะดังที่ได้ตกลงกันในแนวสเตรซา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1936 มุสโสลินีได้เปิดช่องว่างให้แก่ฮิตเลอร์ในการที่เขาจะส่งทหารเข้าไปประจำในไรน์แลนด์ และบอกว่าอิตาลีนั้นจะไม่ยอมทำตามสนธิสัญญาโลคาร์โนอย่างเด็ดขาด และเยอรมนีก็ควรที่จะทำเช่นนั้น หมวดหมู่:การประชุมระหว่างประเทศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแนวสเตรซา

แนวแมกิโนต์

แนวแมกิโนต์(Ligne Maginot), ชื่อที่ตั้งมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามของฝรั่งเศส อังเดร์ แมกิโนต์ เป็นแนวป้อมปราการคอนกรีต สิ่งกีดขวาง และการติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยฝรั่งเศสในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและแนวแมกิโนต์

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและโรม

โครงการแมนฮัตตัน

กรุงลอนดอน โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project หรือชื่อที่เป็นทางการ Manhattan Engineering District) เป็นความพยายามในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรและประเทศแคนาดา การวิจัยนำโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เจ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและโครงการแมนฮัตตัน

โคโลญ

ลญ (Cologne) หรือ เคิลน์ (Köln) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศเยอรมนี รองจากเบอร์ลิน ฮัมบวร์ค และมิวนิก และเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน โคโลญเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมนี สร้างโดยชาวโรมัน มีประวัติศาสตร์ย้อนไปถึง ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและโคโลญ

โซนาร์

รื่องโซนาร์ (Sonar: Sound navigation and ranging) เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจหาวัตถุใต้น้ำ มีความสำคัญเช่นเดียวกับเรือผิวน้ำ ส่วนมากจะถูกใช้ในการหาตำแหน่งของระเบิด เรืออับปาง ฝูงปลา และทดสอบความลึกของท้องทะเล มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องเรดาร์ แต่โซนาร์จะใช้คลื่นเสียง และต้องใช้ในน้ำ แต่เรดาร์จะใช้ได้ในอากาศเท่านั้น หลักการทำงานของโซนาร.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและโซนาร์

ไรน์ลันท์

รน์ลันท์ (Rheinland) เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกดินแดนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไรน์ ในเยอรมนีตะวันตก หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไรน์ลันท์เป็นแคว้นที่มีประชากรพูดภาษาเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำไรน์ ซึ่งเคยถึงผนวกเข้ากับอาณาจักรปรัสเซีย กษัตริย์แห่งปรัสเซียได้เปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ว่า มณฑลไรน์ (หรือ Rhenish Prussia) หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภาคตะวันตกของไรน์ลันท์ถูกยึดครองโดยกองทัพฝ่ายไตรภาคี ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซาย เยอรมนีได้รับไรน์ลันท์คืนเมื่อปี 1936.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและไรน์ลันท์

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเบนิโต มุสโสลินี

เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

กาหลีภายใต้การปกครองของมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น หรือ เกาหลีของญี่ปุ่น หมายถึงช่วงเวลาที่แผ่นดินเกาหลีที่มีสถานะเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ในปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเกาะชวา

เกาะมาดากัสการ์

right เกาะมาดากัสการ์ (Madagascar Island) เกาะมาดากัสการ์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาบนมหาสมุทรอินเดีย มีช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะกับฝั่งทวีปแอฟริกาห่างกันเพียง 300 ไมล์ เกาะมาดากัสการ์มีพื้นที่ 587,713 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ขนาดเท่า ๆ กับประเทศสเปน และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทั้งเกาะเป็นอาณาเขตของประเทศมาดากัสการ์ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขาสูงและที่ราบสูงในระดับตั้งแต่ 800-1800 เมตร มีที่ราบลุ่มอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ คำว่า "มาดากัสการ์" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งบรรพบุรุษ" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจะยังคงปกป้องสิ่งที่ชีวิตที่เหลือ เกาะมาดากัสการ์เริ่มมีมนุษย์เข้ามาอาศัยราว 2,000 ปีที่แล้ว ไม่ใช่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา หากแต่อพยพมาไกลจากอินโดนีเซีย เกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นมาครั้งเมื่อติดเป็นผืนแผ่นดินเดียวกับมหาทวีปกอนด์วานา ที่ถือกำเนิดเมื่อ 180 ล้านปีก่อน จนกระทั่ง 140 ล้านปีก่อน กอนด์วานาได้แตกตัวแยกออกจากกัน เกาะมาดากัสการ์ได้แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 70 ล้านปีก่อน โดยเริ่มแรกอยู่ติดกับส่วนที่เป็นอินเดียในปัจจุบัน จากนั้นเมื่อ 40 ล้านปีก่อน อินเดียได้แยกตัวลอยขึ้นเหนือไปชนกับภูมิภาคเอเชียใต้ จนให้เกิดเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย ในขณะที่เกาะมาดากัสการ์ได้อยู่ในแนวภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้ทางตอนใต้ของเกาะมีสภาพที่แห้งแล้ง แต่ต่อมาได้ค่อย ๆ เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ จนกระทั่งอยู่ใน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนที่พัดกระหน่ำชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลทำให้เกาะมาดากัสการ์มีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันอย่างสุดขั้วในปัจจุบัน โดยมีฤดูแล้งนานถึงครึ่งปี และอีกครึ่งปีฝนตกหนัก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกมาเฉลี่ยวันละ 10 นิ้ว ส่งผลให้น้ำท่วมเอ่อล้นเกิดเป็นแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่ง และทุกวันนี้ตัวเกาะก็ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปในทางเหนือเฉลี่ยปีละ 3-4 นิ้ว นั่นจึงทำให้เกาะมาดากัสการ์มีลักษณะของพืชพันธุ์และสัตว์ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับสมญาว่า "ทวีปที่ 8 ของโลก" ในบางประเภทพบได้แต่เฉพาะบนเกาะนี้เท่านั้น จากการปรับตัววิวัฒนาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ลีเมอร์ ซึ่งสภาพความหลากหลายของพืชและสัตว์บนเกาะถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดยบริษัท ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน เรื่อง มาดากัสการ์ ในปี ค.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเกาะมาดากัสการ์

เรืออู

เรืออู 995 เรืออู (AU-boat; AU-Boot, อู๋โบท, คำเต็ม: Unterseeboot, อุนเทอร์เซโบท หมายถึง "เรือใต้ทะเล") คำนี้ในภาษาเยอรมันหมายถึงเรือดำน้ำใด ๆ แต่ในภาษาอังกฤษ (ร่วมกับอีกหลายภาษา) หมายความเฉพาะถึงเรือดำน้ำเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง เรืออู๋นั้นมีเป็นอาวุธกองเรือที่มีประสิทธิภาพต่อเรือรบข้าศึก ทว่าถูกใช้มีประสิทธิภาพสูงสุดในบทบาทการสงครามเศรษฐกิจ (การตีโฉบฉวยเรือพาณิชย์) การปิดล้อมทางทะเลต่อการขนส่งสินค้าทางเรือข้าศึก เป้าหมายหลักของการทัพเรืออูในสงครามโลกทั้งสองครั้งคือกองเรือพาณิชย์ที่นำเสบียงจากประเทศแคนาดา จักรวรรดิอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ไปส่งยังหมู่เกาะสหราชอาณาจักร และรวมถึงสหภาพโซเวียตและประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (และก่อนหน้านั้น) ก็เรียกว่าเรืออู๋ว่า เอิท ชอบ เดีย หมวดหมู่:เรือดำน้ำ หมวดหมู่:เรือในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมวดหมู่:เรือในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเรืออู

เรดาร์

รดาร์ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีขององค์การนาซา เสาอากาศเรดาร์ระยะไกลที่เรียกว่า Altair ที่ใช้ในการตรวจจับและติดตามวัตถุในพื้นที่ร่วมกับการทดสอบ ABM ที่ไซต์ทดสอบโรนัลด์ เรแกนบนเกาะควาจาลีน (Kwajalein) เรดาร์ (radar) เป็นระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ (range), ความสูง (altitude) รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เดิมทีตั้งแต่ปี..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเรดาร์

เวียนนา

วียนนา (Vienna) หรือ วีน (Wien) เป็นเมืองหลวงของประเทศออสเตรีย และเป็นชื่อเขตการปกครองในออสเตรียด้วย เวียนนาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรีย เป็นศูนย์กลางทั้งเศรษฐกิจและการปกครอง มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน มีแม่น้ำดานูบไหลผ่าน เวียนนายังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานในสหประชาชาติหลายแห่ง เช่น United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรระดับนานาชาติหลายแห่ง เช่น โอเปก (OPEC).

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเวียนนา

เสรีนครดันท์ซิช

รีนครดันท์ซิช (Freie Stadt Danzig; Wolne Miasto Gdańsk) เป็นเมืองของรัฐกึ่งอิสระที่มีอยู่ระหว่างปี 1920 และ 1939 ประกอบด้วยท่าเรือบนทะเลบอลติกของเมืองดันท์ซิชและเมืองเกือบ 200 เมืองในพื้นที่โดยรอ.ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1920 ตามเงื่อนไขของมาตรา 100 (มาตรา 10 ของหน้า 3) ของสนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นครเสรีรวมเมืองดันท์ซิชและเมือง หมู่บ้าน และถิ่นฐานใกล้เคียงอื่น ๆ ที่ได้ตั้งที่อยู่อาศัยเป็นหลักโดยชาวเยอรมัน ตามสนธิสัญญาได้ระบุเอาไว้ ภูมิภาคจะยังคงแยกออกมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (สาธารณรัฐไวมาร์) และประเทศที่ได้รับเอกราชใหม่ของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ("โปแลนด์ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม") แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐเอกราช เมืองเสรีนครอยู่ภายใต้การคุ้มครองของสันนิบาตชาติและถูกบรรจุลงในความผูกผันทางด้านสหภาพศุลกากรกับโปแแลนด์ ประเทศโปแลนด์ได้รับสิทธิในการพัฒนาและดูแลในด้านการขนส่ง การสื่อสาร และความอำนวยความสะดวกบนท่าเรือในเมือง เสรีนครได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้โปแลนด์สามารถเข้าถึงท่าเรือขนาดพอดี ในขณะที่ประชากรของเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน มีชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โปแลนด์อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ประชาชนชาวเยอรมันไม่พอใจอย่างมากที่ถูกแยกออกจากเยอรมนี ถูกรังแกข่มเหงจากชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ นี่คือความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พรรคนาซีได้เข้ามาควบคุมทางการเมืองในปี 1935-1936.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเสรีนครดันท์ซิช

เหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่

หตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่(新四軍事件) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ เหตุการณ์อานฮุยทางใต้(皖南事变), เกิดขึ้นในประเทศจีนในเดือนมกราคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่

เหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล

ำลองเหตุการณ์การรบในเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล ในพิพิธภัณฑ์ฮ่องกง เหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล (Marco Polo Bridge Incident) คือการรบระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกับกองทัพคณะปฏิวัติแห่งชาติจีน เป็นจุดแตกหักที่ทำให้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล

เหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

หตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค (Reichstagsbrand) เป็นการลอบวางเพลิงอาคารไรชส์ทาค ในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันที่ 27 กุมภาพัน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาค

เอ็มจี 42

อ็มจี 42(ย่อมาจากภาษาเยอรมันว่า:Maschinengewehr 42 หรือ"machine gun 42")เป็นปืนกลเบาเอนกประสงค์ขนาด 7.92 × 57mm เมาเซอร์ ถูกออกแบบโดยนาซีเยอรมนีและถูกใช้งานอย่างกว้างขวางโดยกองทัพเวร์มัคท์และวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มันได้ถูกเข้ามาแทนที่ปืนกลก่อนหน้านี้คือ เอ็มจี 34 ซึ่งมีราคาแพงมากขึ้นและใช้เวลานานมากในการผลิต หมวดหมู่:ปืนกล หมวดหมู่:อาวุธสงครามกลางเมืองซีเรีย.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเอ็มจี 42

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เจียง ไคเชก

ียง ไคเชก (Chiang Kai-shek; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1887 — 5 เมษายน ค.ศ. 1975) หรือชื่อตามภาษาจีนมาตรฐาน คือ เจี่ยง จงเจิ้ง (蔣中正) หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) เป็นผู้นำจีน เจียงจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของซุน ยัตเซน ได้เป็นผู้นำของจีนระหว่าง..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเจียง ไคเชก

เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

มีความสำคัญอย่างมากในทุกสมรภูมิทั้งในยุโรป แอฟริกาหรือแม้กระทั่งแปซิฟิกก็ตาม เพราะถ้าจะทำให้กองทัพบกเข้มแข็งก็ต้องมีกองบินที่แข็งแกร่งก่อน เครื่องบินรบที่สำคัญก็มี สปิตไฟท์ของ อังกฤษ แมสเซอร์สมิตซ์ 109 ของเยอรมัน เครื่องบินซีโร่ของญี่ปุ่น พี-51 มัสแตง ของสหรัฐ โดยในแปซิฟิคเครื่องบินรบจะมีบทบาทมากว่าเรือรบอย่างเห็นได้ชัด ในสมรภูมิยุโรปเครื่องบินก็เป็นส่วนสำคัญในปฏิบัติการสายฟ้าแลบของเยอรมันในช่วงต้นของสงคราม อาจพูดได้ว่าเครื่องบินรบนั้นสำคัญที่สุด เป็นตัวแปรที่สำคัญในสงครามอย่างยิ่ง นอกจากนี้ นาซีเยอรมันได้คิดค้นเครื่องบินรบไอพ่นเป็นครั้งแรก ทำให้กลายเป็นที่หวาดกลัวของกองทัพอากาศสัมพันธมิตรแต่ทว่าหลังสงคราม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตได้นำมันมาพัฒนาและสร้างได้หลายชนิด หมวดหมู่:สงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ยุทโธปกรณ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

เขตอิทธิพล

ในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขตอิทธิพล (sphere of influence; SOI) หมายถึงพื้นที่หรือภูมิภาคซึ่งมีรัฐหรือองค์กรหนึ่ง ๆ มีอิทธิพลเหนือกว่าในด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การทหารหรือการเมือง ขณะที่อาจมีการจัดตั้งพันธมิตรอย่างเป็นทางการหรือพันธกรณีในรูปสนธิสัญญาอื่น ๆ ระหว่างดินแดนที่แผ่อิทธิพลและดินแดนที่อยู่ภายใต้อิทธิพล การจัดการอย่างเป็นทางการในรูปแบบเขตอิทธิพลนี้ไม่จำเป็น และบ่อยครั้งที่อิทธิพลสามารถเป็นตัวอย่างของอำนาจอย่างอ่อน และเช่นเดียวกัน พันธมิตรอย่างเป็นทางการก็ไม่จำเป็นจะต้องหมายความว่าประเทศหนึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของอีกประเทศหนึ่งด้วย ในกรณีสุดขั้ว ประเทศที่อยู่ใน "เขตอิทธิพล" ของอีกประเทศหนึ่งนั้นอาจเป็นรองรัฐนั้นและเป็นเสมือนกับรัฐบริวารหรืออาณานิคมในทางพฤตินัย ระบบเขตอิทธิพลซึ่งชาติทรงอำนาจเข้าแทรกแซงกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่งนั้นยังคงมีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และบ่อยครั้งมักจะถูกวิเคราะห์ในรูปแบบของอภิมหาอำนาจ มหาอำนาจ และ/หรือรัฐระดับกลาง ยกตัวอย่างเช่น ระหว่างช่วงที่รุ่งเรืองที่สุดของจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง จักรวรดิญี่ปุ่นมีเขตอิทธิพลขนาดใหญ่มาก รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปกครองดินแดนบางส่วนโดยตรงในกรณีของเกาหลี แมนจูเรีย เวียดนาม ไต้หวัน และบางส่วนของจีน ดังนั้น "วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" จึงสามารถถูกวาดอย่างง่าย ๆ บนแผนที่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นวงขนาดใหญ่ล้อมรอบหมู่เกาะญี่ปุ่นและชาติเอเชียและแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้การควบคุมนั่นเอง บางครั้งหลายส่วนของประเทศอาจอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลสองเขตที่แตกต่างกัน ในสมัยอาณานิคม อิหร่านและไทยมีสถานะเป็นรัฐกันชนตั้งอยู่ระหว่างจักรวรรดิของอังกฤษกับรัสเซียและอังกฤษกับฝรั่งเศสตามลำดับ ถูกแบ่งแยกระหว่างเขตอิทธิพลของรัฐจักรวรรดิ เช่นเดียวกัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นเขตยึดครองสี่ส่วน ซึ่งในภายหลังได้รวมตัวกันเป็นเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออก อดีตสมาชิกของนาโต และประเทศหลังเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาวอร์ซอ หมวดหมู่:รัฐศาสตร์ หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมวดหมู่:สังคมวิทยา.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเขตอิทธิพล

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

เดรสเดิน

รสเดิน (Dresden)) มาจากภาษาซอร์เบียโบราณว่า Drežďany แปลว่าชนเผ่าแห่งป่าริมแม่น้ำ ทั้งนี้เมืองเดรสเดินตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเอลเบอ เป็นเมืองหลวงของรัฐซัคเซิน แต่เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัฐรองจากไลพ์ซิจ นอกจากนี้ บริเวณเมืองเก่าย่านใจกลางเมืองเดรสเดินยังได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมอีกด้ว.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเดรสเดิน

เดอะบลิตซ์

อะบลิตซ์ (The Blitz) หมายถึงการทิ้งระเบิดเกือบทุกเมืองทั้งใหญ่และเล็กในสหราชอาณาจักรโดยนาซีเยอรมันอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเดอะบลิตซ์

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

รือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่างๆของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ

เครื่องบินทิ้งระเบิด

รื่องบินทิ้งระเบิดบี-17 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินทิ้งระเบิด คือ อากาศยานทางการทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจการโจมตีเป้าหมายทางภาคพื้นดินและทางทะเล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้การปล่อยลูกระเบิดลงมาเพื่อทำลายเป้าหมาย ซึ่งระเบิดที่ถูกทิ้งลงมามีหลากหลายชนิด เช่น ระเบิดนาปาล์ม ระเบิดทำลายบังเกอร์ ระเบิดอัจฉริยะ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเครื่องบินทิ้งระเบิด

เครื่องบินขับไล่

รื่องบินจู่โจมหนึ่งลำ (เอ-10) เครื่องบินขับไล่ เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาศกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดินโดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศเหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซื้อขาย การฝึก และการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเครื่องบินขับไล่

เครื่องอินิกมา

เครื่องอินิกมา (Enigma machine) แบบชุดเฟือง 3 ตัว (three-rotor) เครื่องอินิกมา (Enigma machine) เป็นเครื่องรหัสโรเตอร์ (rotor cipher machine) ไฟฟ้า-กลแบบร่วมใด ๆ ซึ่งใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสสารลับ วิศวกรชาวเยอรมัน อาร์ทูร์ แชร์บีอุส ประดิษฐ์อีนิกมาเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แบบแรก ๆ ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 และกองทัพและราชการหลายประเทศรับมาใช้ ที่โดดเด่นที่สุด คือ นาซีเยอรมนี ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตแบบอีนิกมาต่าง ๆ จำนวนมาก แต่แบบกองทัพเยอรมันเป็นแบบซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด เครื่องอินิกมาของเยอรมันนั้นมีจุดเด่นตรงที่การเข้ารหัสและถอดรหัสที่มีการสลับซับซ้อนทำให้ยากต่อการแกะรหัสมากทำให้กองทัพเยอรมันมั่นใจว่า จะไม่มีใครสามารถถอดรหัสลับได้อีกเลย แต่ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรได้พยายามหาทางถอดรหัสเครื่องอินิกมาให้ได้ จนกระทั่งแอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษสามารถถอดรหัสเครื่องอินิกมาได้สำเร็จ ทำให้ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:วิทยาการเข้ารหัสลับ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเครื่องอินิกมา

เซวัสโตปอล

ซวัสโตปอล (Sevastopol, ยูเครนและรัสเซีย: Севасто́поль) เป็นหนึ่งในสองนครที่มีสถานภาพพิเศษในประเทศยูเครน (อีกนครหนึ่ง คือ เคียฟ เมืองหลวงของประเทศ) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลดำของคาบสมุทรไครเมีย มีประชากร 342,541 คน (2544) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพการเดินเรือของท่าเรือเซวัสโตปอลทำให้นครดังกล่าวเป็นจุดนาวิกที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นรีสอร์ตริมทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช นครยังเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซีย ซึ่งเดิมเป็นของโซเวียต และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือยูเครนและรัสเซียเช่าฐานทัพเรือจากยูเครนไปถึงปี 2585 เซวัสโตปอลเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทัพเรือยูเครนและกองเรือทะเลดำของรัสเซีย ความสำคัญด้านการค้าและการต่อเรือของท่าเซวัสโตปอลเติบโตขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้จะประสบความยากลำบากที่มาจากการควบคุมท่าเรือและสะพานเทียบเรือร่วมกันของทหาร เซวัสโตปอลยังเป็นศูนย์วิจัยชีววิทยาทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการศึกษาและฝึกโลมาในนครนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ เซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในประเทศยูเครน โดยฤดูหนาวไม่หนาว และฤดูร้อนอบอุ่นปานกลาง วันที่ 6 มีนาคม 2557 เซวัสโตปอลประกาศว่าตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียฝ่ายเดียว.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเซวัสโตปอล

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

เนวิล เชมเบอร์ลิน

อาร์เธอร์ เนวิล เชมเบอร์ลิน (Arthur Neville Chamberlain) เป็นนักการเมืองพรรคอนุรักษนิยมชาวอังกฤษ เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรตั้งแต่พฤษภาคม..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเนวิล เชมเบอร์ลิน

เนโท

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization; Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (NATO) หรือ ออต็อง (OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและเนโท

24 ตุลาคม

วันที่ 24 ตุลาคม เป็นวันที่ 297 ของปี (วันที่ 298 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 68 วันในปีนั้น.

ดู สงครามโลกครั้งที่สองและ24 ตุลาคม

ดูเพิ่มเติม

ความขัดแย้งในระดับโลก

สงครามนิวเคลียร์

สงครามเกี่ยวข้องกับกรีซ

สงครามเกี่ยวข้องกับกัมพูชา

สงครามเกี่ยวข้องกับซาอุดีอาระเบีย

สงครามเกี่ยวข้องกับซีเรีย

สงครามเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น

สงครามเกี่ยวข้องกับนอร์เวย์

สงครามเกี่ยวข้องกับบริติชอินเดีย

สงครามเกี่ยวข้องกับบัลแกเรีย

สงครามเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส

สงครามเกี่ยวข้องกับพม่า

สงครามเกี่ยวข้องกับฟินแลนด์

สงครามเกี่ยวข้องกับฟิลิปปินส์

สงครามเกี่ยวข้องกับมองโกเลีย

สงครามเกี่ยวข้องกับมอนเตเนโกร

สงครามเกี่ยวข้องกับยูโกสลาเวีย

สงครามเกี่ยวข้องกับลาว

สงครามเกี่ยวข้องกับลิทัวเนีย

สงครามเกี่ยวข้องกับสหภาพโซเวียต

สงครามเกี่ยวข้องกับสหรัฐ

สงครามเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร

สงครามเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐจีน

สงครามเกี่ยวข้องกับออสเตรีย

สงครามเกี่ยวข้องกับออสเตรเลีย

สงครามเกี่ยวข้องกับอิตาลี

สงครามเกี่ยวข้องกับอินเดีย

สงครามเกี่ยวข้องกับอินโดนีเซีย

สงครามเกี่ยวข้องกับอิรัก

สงครามเกี่ยวข้องกับอิหร่าน

สงครามเกี่ยวข้องกับอียิปต์

สงครามเกี่ยวข้องกับฮังการี

สงครามเกี่ยวข้องกับเชโกสโลวาเกีย

สงครามเกี่ยวข้องกับเดนมาร์ก

สงครามเกี่ยวข้องกับเนเธอร์แลนด์

สงครามเกี่ยวข้องกับเม็กซิโก

สงครามเกี่ยวข้องกับเยอรมนี

สงครามเกี่ยวข้องกับเวียดนาม

สงครามเกี่ยวข้องกับแคนาดา

สงครามเกี่ยวข้องกับโครเอเชีย

สงครามเกี่ยวข้องกับโปแลนด์

สงครามเกี่ยวข้องกับโรมาเนีย

สงครามเกี่ยวข้องกับไทย

สงครามโลก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ WWIIWorld War IIWw2สงครามโลกครั้งที่ 2สงครามโลกครั้งที่ ๒

การรุกวิสตูลา–โอเดอร์การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์การรุกซาร์ลันด์การรุกปรัสเซียตะวันออกการรุกปรากการรุกเบลเกรดการรุกเวียนนาการสังหารหมู่นานกิงการทัพกัวดัลคะแนลการทัพมาลายาการทัพหมู่เกาะอะลูเชียนการทัพตูนิเซียการทัพนอร์เวย์การทัพแอฟริกาตะวันออกการทัพแอฟริกาเหนือการทำเหมืองเหล็กสวีเดนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองการทิ้งระเบิดดาร์วินการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิการตีโฉบฉวยดีแยปการประชุมพ็อทซ์ดัมการประชุมยัลตาการประชุมเตหะรานการปลดปล่อยกรุงปารีสการให้เอกราชการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์การเกณฑ์ทหารกติกาสัญญาวอร์ซอกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่นกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพกติกาสัญญาไตรภาคีกติกาสัญญาเหล็กก๊กมินตั๋งฝรั่งเศสเขตวีชีฝ่ายมหาอำนาจกลางฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองฝ่ายอักษะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่มยิจีนามหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกมหาอำนาจมอสโกมิดเวย์อะทอลล์มณฑลหูหนานมณฑลเหอหนานม่านเหล็กยอซีป บรอซ ตีโตยุทธการที่บริเตนยุทธการที่กรีซยุทธการที่กาซาลายุทธการที่ฝรั่งเศสยุทธการที่มอสโกยุทธการที่สตาลินกราดยุทธการที่อิโวะจิมะยุทธการที่ดันเคิร์กยุทธการที่คาบสมุทรเคียร์ชยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 2ยุทธการที่คูสค์ยุทธการที่นานกิงยุทธการที่โอกินาวะยุทธการที่เบอร์ลินยุทธการที่เอล อาลาเมนครั้งที่สองยุทธการตอกลิ่มยุทธการฉางชา (1939)ยุทธการเกาะครีตยุทธวิธีทางทหารยุทธนาวีทะเลคอรัลยุทธนาวีที่มิดเวย์ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปินยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์คยุทธนาวีแหลมมะตะปันยุโรปภาคพื้นทวีปยุโรปตะวันออกยูโกสลาเวียย่างกุ้งรักร่วมเพศรัฐบอลติกรัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลางรัฐหุ่นเชิดรัฐฮาวายรัฐซาร์ลันท์ราชนาวีรายชื่อผู้บัญชาการทหารในสงครามโลกครั้งที่สองรายชื่อปฏิบัติการทางทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่งรถถังลัทธิบูชาบุคคลลัทธิคอมมิวนิสต์วันชัย (9 พฤษภาคม)วันชัยในทวีปยุโรปวิลเฮล์ม ไคเทิลวิทยาการเข้ารหัสลับวินสตัน เชอร์ชิลวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลสกอชท์เอิร์ธสหภาพโซเวียตสหรัฐสหประชาชาติสันนิบาตชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3สาธารณรัฐสังคมอิตาลีสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนียสาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวักสาธารณรัฐประชาชนฮังการีสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์สาธารณรัฐไวมาร์สงครามกลางเมืองยุโรปสงครามกลางเมืองรัสเซียสงครามกลางเมืองสเปนสงครามกลางเมืองจีนสงครามฤดูหนาวสงครามลวงสงครามสามสิบปีครั้งที่สองสงครามอังกฤษ-อิรักสงครามอิตาลี-กรีซสงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สองสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสงครามต่อเนื่องสงครามโลกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเบ็ดเสร็จสงครามเกาหลีสงครามเย็นสงครามเวียดนามสนธิสัญญาลอนดอน (1915)สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันฝรั่งเศส-โซเวียตสนธิสัญญาสันติภาพมอสโกสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกสนธิสัญญาแวร์ซายสนธิสัญญาโลคาร์โนสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างจีน-โซเวียตสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–สหภาพโซเวียตหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์อภิมหาอำนาจอันชลุสส์อากาศยานไอพ่นอาวุธนิวเคลียร์อาคารไรชส์ทาคอินโดจีนของฝรั่งเศสอุทกภัยแม่น้ำหวง พ.ศ. 2481อู่ฮั่นอีนิแอกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฮอโลคอสต์ฮัมบวร์คฮิโระชิมะฮิเดะกิ โทโจผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้นผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองจรวดวี-2จักรพรรดิโชวะจักรวรรดิจักรวรรดิญี่ปุ่นจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันจักรวรรดิอิตาลีจักรวรรดิเยอรมันทวีปยุโรปทวีปแอฟริกาทะเลขาวทะเลแคสเปียนทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทาสทุ่นระเบิดข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่นข้อตกลงฝรั่งเศส-อิตาลีดอลลาร์สหรัฐความตกลงมิวนิกคอมพิวเตอร์คอมมานโดคาร์ล เดอนิทซ์คำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 9066คิม อิล-ซ็องค่ายกักกันนาซีค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตราสารยอมจำนนของเยอรมนีตะวันออกกลางฉางชาฉงชิ่งซูเดเทินลันด์ปฏิบัติการบอดีการ์ดปฏิบัติการบากราติออนปฏิบัติการบาร์บารอสซาปฏิบัติการมาร์เก็ตการ์เดนปฏิบัติการมาส์ปฏิบัติการยูเรนัสปฏิบัติการสิงโตทะเลปฏิบัติการคบเพลิงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดปฏิบัติการเข็มทิศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเทศบัลแกเรียประเทศฟินแลนด์ประเทศพม่าประเทศกรีซประเทศยูเครนประเทศลัตเวียประเทศลิทัวเนียประเทศสโลวาเกียประเทศออสเตรียประเทศอิสราเอลประเทศอินเดียประเทศฮังการีประเทศจีนประเทศตูนิเซียประเทศปากีสถานประเทศแมนจูประเทศแอลจีเรียประเทศแอลเบเนียประเทศโรมาเนียประเทศเบลารุสประเทศเบลเยียมประเทศเชโกสโลวาเกียประเทศเกาหลีใต้ประเทศเกาหลีเหนือประเทศเยอรมนีตะวันออกประเทศเยอรมนีตะวันตกประเทศเอสโตเนียประเทศเซอร์เบียประเทศเนเธอร์แลนด์ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)ปืนกลปืนกลมือปืนต่อสู้รถถังปืนเล็กยาวปืนเล็กยาวจู่โจมนอร์ม็องดีนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรนางาซากินาซีเยอรมนีแม่น้ำแยงซีแม่น้ำไรน์แอนต์เวิร์ปแฮร์รี เอส. ทรูแมนแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวร่วมที่สองแนวสเตรซาแนวแมกิโนต์โรมโครงการแมนฮัตตันโคโลญโซนาร์ไรน์ลันท์เบนิโต มุสโสลินีเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นเกาะชวาเกาะมาดากัสการ์เรืออูเรดาร์เวียนนาเสรีนครดันท์ซิชเหตุการณ์กองทัพใหม่ที่สี่เหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโลเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาคเอ็มจี 42เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจียง ไคเชกเทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเขตอิทธิพลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเดรสเดินเดอะบลิตซ์เครือจักรภพแห่งประชาชาติเครื่องบินทิ้งระเบิดเครื่องบินขับไล่เครื่องอินิกมาเซวัสโตปอลเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเนวิล เชมเบอร์ลินเนโท24 ตุลาคม