โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามโรมัน-เซลูซิดและเอฟิซัส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามโรมัน-เซลูซิดและเอฟิซัส

สงครามโรมัน-เซลูซิด vs. เอฟิซัส

งครามโรมัน-เซลูซิด (Roman–Seleucid War) หรือ สงครามแอนทิโอคอส หรือ สงครามซีเรีย เป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิเซลูซิดกับสาธารณรัฐโรมัน เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 192–188 ก่อนคริสตกาล สงครามครั้งนี้ทำให้โรมันกลายเป็นมหาอำนาจในกรีซและรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดเริ่มต้นของสงครามเริ่มจากทั้งสองฝ่ายต้องการเป็นใหญ่ในภูมิภาคอีเจียน โดยในปีที่ 203 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราชแห่งเซลูซิดร่วมเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งมาซิดอนเพื่อพิชิตดินแดนของราชอาณาจักรทอเลมีGreen, Alexander to Actium: The Historical Evolution of the Hellenistic Age, 304 ต่อมาในปีที่ 200 ก่อนคริสตกาล เพอร์กามอนและโรดส์ที่เคยทำสงครามกับพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ขอความช่วยเหลือจากโรมันLivy โรมันจึงยกทัพไปโจมตีมาซิดอนจนเกิดเป็นสงครามมาซิโดเนียครั้งที่สอง สงครามนี้สิ้นสุดลงเมื่อทัพโรมันและพันธมิตรชนะในยุทธการที่ไซโนสเซฟาลี ทั้งสองฝ่ายลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ โดยพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามและเป็นพันธมิตรกับโรมัน ในขณะเดียวกัน พระเจ้าแอนทิโอคัสรบชนะพระเจ้าทอเลมีที่ 5 ในยุทธการที่แพเนียม ทำให้ซีลี-ซีเรียตกอยู่ใต้อำนาจของเซลูซิด พระเจ้าแอนทิโอคัสส่งทัพเรือไปซิลิเชีย ลิเชียและแคเรียเพื่อช่วยเหลือพระเจ้าฟิลิปที่ 5Livy และได้รับคำเตือนจากโรดส์ว่าจะโจมตีกองเรือของพระองค์หากแล่นผ่านแหลมเจลิดอเนีย พระเจ้าแอนทิโอคัสเพิกเฉยต่อคำเตือนและสั่งให้กองเรือแล่นต่อไป ส่วนโรดส์ไม่ได้ทำตามคำเตือนเนื่องจากได้รับข่าวความพ่ายแพ้ของพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ที่ไซโนสเซฟาลีLivy หลังพระเจ้าแอนทิโอคัสผูกมิตรกับพระเจ้าทอเลมีที่ 5 พระองค์ก็มีแผนจะรุกเข้าไปในยุโรป ในช่วงเวลานั้น ฮันนิบาล แม่ทัพชาวคาร์เธจที่เคยสู้กับโรมันในสงครามพิวนิกครั้งที่สองได้ลี้ภัยมายังเอฟิซัสเพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าแอนทิโอคัส พระองค์ให้การช่วยเหลือLivy ด้านโรมันได้โจมตีสปาร์ตาที่ต่อต้านการแผ่อำนาจของโรมันในกรีซ สปาร์ตาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตอีโทเลียนSmith ต่อมาพระเจ้าแอนทิโอคัสได้ยกทัพข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) เพื่อช่วยเหลือสันนิบาตอีโทเลียน โรมันจึงส่งกองทัพมาที่กรีซ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี โดยโรมันเป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแอนทิโอคัสจึงถอยทัพออกจากกรีซ ลูเชียส เอเซียติคัส แม่ทัพชาวโรมันยกทัพตามไปและปะทะกับกำลังของฮันนิบาลที่ใกล้แม้น้ำยูรีมีดอน ไมโอเนสซัสและแมกนีเซีย โดยฝ่ายโรมันและพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะทั้งหมด โรมันและเซลูซิดลงนามสนธิสัญญาแอพาเมีย โดยพระเจ้าแอนทิโอคัสต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามและต้องสละดินแดนด้านทิศตะวันตกของเทือกเขาทอรัส โรดส์ได้แคเรียและลิเชีย ส่วนเพอร์กามอนได้ลิเชียเหนือและดินแดนที่เคยอยู่ใต้อำนาจของเซลูซิดในเอเชียน้อย โร. อฟิซัส (Ephesus; Ἔφεσος; Efes) เป็นเมืองกรีกโบราณที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียในจังหวัดอิซเมียร์ในประเทศตุรกีปัจจุบัน เอฟิซัสเป็นหนึ่งในสิบสองเมืองของสหพันธ์ไอโอเนีย (Ionian League) ในสมัยกรีกคลาสสิค ในสมัยโรมันเอฟิซัสเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของจักรวรรดิโรมันรองจากโรมที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอยู่เป็นเวลานาน เอฟิซัสมีประชากรกว่า 250,000 คนในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเท่ากับทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของโลกในยุคนั้นด้วย ชื่อเสียงของเมืองมาจากเทวสถานอาร์ทีมิส (สร้างเสร็จราว 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตัวเทวสถานถูกทำลายในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามโรมัน-เซลูซิดและเอฟิซัส

สงครามโรมัน-เซลูซิดและเอฟิซัส มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อานาโตเลีย

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

สงครามโรมัน-เซลูซิดและอานาโตเลีย · อานาโตเลียและเอฟิซัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามโรมัน-เซลูซิดและเอฟิซัส

สงครามโรมัน-เซลูซิด มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอฟิซัส มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 1 / (17 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามโรมัน-เซลูซิดและเอฟิซัส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »