โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน

สงครามอ่าวเปอร์เซีย vs. เรือรบแนวเส้นประจัญบาน

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล. รือรบแนวเส้นประจัญบาน หรือ เรือแนวเส้นประจัญบาน (ship of the line; le bâtiment de ligne) เป็นเรือรบประเภทหนึ่งที่นิยมต่อขึ้นใช้ ระหว่างศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้ในยุทธวิธีทางน้ำที่เรียกกันว่า แนวเส้นประจัญบาน (line of battle) โดยกองเรือของแต่ละฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กัน จะแปรขบวนเรือให้เป็นแถวยาว เพื่อใช้อานุภาพการยิงวอลเลย์จากทางกราบเรืออย่างพร้อมเพรียงกันให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งต่างไปจากการประจัญบานทางน้ำในยุคก่อนๆ ซึ่งจะใช้ยุทธวิธีโจมตีโดยนำเรือเข้าประชิดเรือข้าศึก หรือไม่ก็ใช้เรือพุ่งเข้ากระแทก (ramming) เนื่องจากผลแพ้ชนะในยุทธวิธีนี้มักจะขึ้นอยู่กับว่าใครมีเรือระวางขับน้ำมากกว่า และบรรทุกปืนใหญ่อานุภาพสูงได้มากกว่า ความเป็นมหาอำนาจทางทะเลในสมัยนั้นจึงวัดกันว่าใครมีเรือแนวเส้นประจัญบานมากลำกว่า และใหญ่กว่า แบบดีไซน์ของเรือแนวเส้นประจัญบาน ค่อยๆพัฒนาขึ้นตลอดศตวรรษที่ 17 โดยมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ การใช้เสากระโดงเรือ 3 เสา และมีท้ายเรือที่ลดต่ำลง โครงสร้างยกระดับที่ท้ายเรือ (อย่างเรือในยุคบุกเบิกการเดินทะเล) หายไป ความยาวมาตรฐานของเรือประเภทนี้อยู่ที่ประมาณ 200 ฟุต มีระวางขับน้ำระหว่าง 1,200 ถึง 2,000 ตัน ใช้ลูกเรือประมาณ 600 ถึง 800 คน อาวุธประจำเรือถูกเรียงเป็นสามชั้น ปืนใหญ่ของหน่วยยิง (battery) แถวล่างมีอำนาจการยิงมากที่สุด โดยอาจมีปืนใหญ่ที่ยิงลูกปืนใหญ่ขนาด 32-48 ปอนด์ ถึงสามสิบกระบอก; หน่วยยิงแถวกลางมีปืนจำนวนเท่ากันแต่ยิงกระสุนขนาดเล็กกว่า (ประมาณ 24 ปอนด์); แถวบนสุดมีปืนยิงกระสุนขนาด 12 ปอนด์ 30 กระบอก หรือมากกว่านั้น ราชนาวีอังกฤษจัดเรือแนวเส้นประจัญบานออกเป็น 3 ระดับตามจำนวนปืนที่สามาถบรรทุกได้ เรือ "ชั้นเอก" (first-rate) กับชั้นโท จะมีแถวยิงสามแถวเหมือนกัน แต่เรือชั้นเอกจะมีปืนมากกระบอกกว่า คือ ประมาณ 100 ถึง 110 กระบอก ส่วนเรือชั้นตรีจะมีแถวยิงเพียงสองแถว ทำให้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เรือปืนสองแถว (Two-deckers) เรือธงชั้นเอกของกองเรือ อย่างเช่น เรือหลวง''วิกตอรี'' (HMS Victory) เรือธงของราชนาวีที่ได้รับชัยชนะในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ มีปืนประมาณหนึ่งร้อยกระบอก และอาจใช้ลูกเรือมากถึง 850 นาย นับแต่เครื่องจักรไอน้ำ เข้ามามีบทบาทในการเดินเรือ ยุทธนาวีทางน้ำก็พึ่งพาแรงลมและใบเรือน้อยลง หันมาใช้การขับเคลื่อนด้วยกังหันหรือใบพัดแทน แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเทคโนโลยีคือการเกิดขึ้นของ เรือรบหุ้มเกราะ ไอรอนแคลด ในราวปี 1859 และมีบทบาทสำคัญในการยุทธนาวีในสงครามกลางเมืองอเมริกา และในสงครามโบะชิงของญี่ปุ่น หลังจากนั้นมาเรือแนวเส้นประจัญบานก็เสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว เรือรบหุ้มเกราะวิวัฒนาการต่อจนกลายเป็น เรือประจัญบาน ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นชื่อเรียกเรือรบขนาดใหญ่ที่ลดรูปมาจากคำว่า เรือแนวเส้นประจัญบานนั่นเอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน

สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เรือประจัญบาน

เรือประจัญบาน

เรือประจัญบานยามาโตะในปี ค.ศ. 1941 เรือประจัญบาน คือเรือรบหุ้มเกราะขนาดใหญ่ที่มีอาวุธประจำเรือเป็นปืนใหญ่มีระยะยิงไกล ในช่วงปลายสตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เรือประจัญบานถือเป็นเรือรบที่มีพลานุภาพที่สุดในบรรดาเรือรบทั้งหลาย และการมีฝูงเรือประจัญบานถือว่ามีความสำคัญมาก สำหรับประเทศใดๆก็ตามที่ต้องการคงไว้ซึ่งความเป็นใหญ่ทางทะเล คำว่า เรือประจัญบาน ถูกกำหนดขึ้นเมื่อราว ปี 1794 และเป็นคำลดรูปมาจาก เรือรบแนวเส้นประจัญบาน (ship of the line of battle) หรือที่เรียกสั้นๆว่า เรือเส้นประจัญบาน (ship of the line) อันเป็นเรือรบต่อด้วยไม้ ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดใน ยุคสมัยของเรือใบ (Age of Sail)"battleship" The Oxford English Dictionary.

สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือประจัญบาน · เรือประจัญบานและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน

สงครามอ่าวเปอร์เซีย มี 86 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรือรบแนวเส้นประจัญบาน มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.09% = 1 / (86 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »