เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเปอร์เซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเปอร์เซีย

สงครามอ่าวเปอร์เซีย vs. อ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล. แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเปอร์เซีย

สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเปอร์เซีย มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามอิรัก–อิหร่านอ่าวโอมานประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศคูเวตประเทศซาอุดีอาระเบียปิโตรเลียม

สงครามอิรัก–อิหร่าน

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว.

สงครามอิรัก–อิหร่านและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · สงครามอิรัก–อิหร่านและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวโอมาน

อ่าวโอมาน "ทะเลเปอร์เซีย" เป็นอีกชื่อหนึ่งของอ่าวโอมาน ดังแสดงในแผนที่ยุคศตวรรษที่ 18 โดยเอมานูเอล โบเวน อ่าวโอมาน (Gulf of Oman; خليج عُمان, Ḫalīdj ʾUmān), อ่าวมากราน (خليج مکران, Ḫalīdj Makrān), ทะเลอิหร่าน (دریای ایران, Daryā-e Īrān) หรือ ทะเลเปอร์เซีย (دریای فارس, Daryā-e Fārs) เป็นช่องแคบ (และไม่ใช่อ่าวอย่างแท้จริง) เชื่อมต่อทะเลอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ อ่าวโอมานถือเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวเปอร์เซีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทะเลอาหรับ ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่าน (เปอร์เซีย) ปากีสถาน โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยชายฝั่งทางตอนเหนือติดกับปากีสถานและอิหร่าน ชายฝั่งทางใต้ติดกับโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อโอมาน หมวดหมู่:อ่าวเปอร์เซีย.

สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน · อ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ประเทศอิรักและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ประเทศอิรักและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ประเทศอิหร่านและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ประเทศอิหร่านและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศคูเวต

ูเวต (الكويت) หรือชื่อทางการคือ รัฐคูเวต (دولة الكويت) เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirate) ที่มีขนาดเล็กและอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก.

ประเทศคูเวตและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ประเทศคูเวตและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia; السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (المملكة العربية السعودية) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันออกกลาง กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบียมีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกาตาร์ บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเยเมนทางใต้ เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทรายแห้งแล้ง อยู่อาศัยไม่ได้ หรือธรณีสัณฐานไม่อุดม พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งในปี 2475 โดย พระเจ้าอิบนุ ซะอูด (King Ibnu Saud) พระองค์ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านชุดการพิชิตเริ่มตั้งแต่ปี 2445 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ประเทศเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นเผด็จการสืบสายโลหิตที่ปกครองตามแบบอิสลาม ขบวนการศาสนาวะฮาบีย์ภายในนิกายซุนนีย์ถูกเรียกว่า "ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย" บ้างเรียกประเทศซาอุดีอาระเบียว่า "ดินแดนสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์" โดยหมายถึง อัลมัสยิดอัลฮาราม (Al-Masjid al-Haram) ในมักกะฮ์ และอัลมัสยิดอันนาบาวี (Al-Masjid al-Nabawi) ในมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นสองมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน สัญชาติซาอุดีอาระเบีย 20 ล้านคน และ 8.7 ล้านคนเป็นชาวต่างประเทศ มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี 2481 และประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกแต่ต่อไปน้ำมันคงไร้ความหมาย โดยควบคุมน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลกโดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ทว่า เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุดในสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรเป็นอัตตาธิปไตยราชาธิปไตยและฟรีดอมเฮาส์จัดว่า "ไม่เสรี" ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และในปี 2553–2557 SIPRI พบว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นอำนาจภูมิภาคและปานกลาง นอกเหนือจากสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปคและนอกจากนี้ยังเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอีกด้ว.

ประเทศซาอุดีอาระเบียและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ประเทศซาอุดีอาระเบียและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ปิโตรเลียมและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ปิโตรเลียมและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเปอร์เซีย

สงครามอ่าวเปอร์เซีย มี 86 ความสัมพันธ์ขณะที่ อ่าวเปอร์เซีย มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 6.86% = 7 / (86 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามอ่าวเปอร์เซียและอ่าวเปอร์เซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: