เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

สงครามอิรัก–อิหร่าน vs. เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว. ริเวณที่อาจนับได้ว่าเป็นบอลข่านและแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Asia) หรืออาจเรียกว่า เอเชียตะวันตก หรือ ตะวันออกใกล้ และตะวันออกกลาง ล้อมรอบด้วยทะเล 5 แห่งคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน ทะเลอาหรับ ทะเลแดง และดินแดนในภูมิภาคนี้มีความเจริญทางอารยธรรมอย่างมากเช่น อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 6,835,500 ตารางกิโลเมตร มีศาสนาที่สำคัญคือศาสนาอิสลาม ศาสนายูดายห์ของอิสราเอล และมีนับถือศาสนาคริสต์ในไซปรัส ปัจจุบันภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกแยกกันในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีปยุโรปมากกว่า ได้แก่ ไซปรัส อาร์มีเนีย จอร์เจีย และอาเซอร์ไบจาน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศตุรกี

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ประเทศอิรักและสงครามอิรัก–อิหร่าน · ประเทศอิรักและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ประเทศอิหร่านและสงครามอิรัก–อิหร่าน · ประเทศอิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ประเทศตุรกีและสงครามอิรัก–อิหร่าน · ประเทศตุรกีและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

สงครามอิรัก–อิหร่าน มี 36 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.48% = 3 / (36 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: