เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามอินโดจีนและหวอ เงวียน ซ้าป

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามอินโดจีนและหวอ เงวียน ซ้าป

สงครามอินโดจีน vs. หวอ เงวียน ซ้าป

งครามอินโดจีน (Indochina Wars, Chiến tranh Đông Dương) เป็นสงครามย่อยหลายสงครามที่เกิดขึ้นทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1946 จนถึง 1989 ระหว่างชาวเวียดนามชาตินิยมกับฝรั่งเศส อเมริกา และจีน คำว่า "อินโดจีน" เดิมทีจะหมายถึงอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งรวมทั้งรัฐปัจจุบันของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา การใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่หมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์มากกว่าพื้นที่ทางการเมือง สงครามแบ่งออกเป็นสงครามย่อย 4 สงครามได้แก. หวอ เงวียน ซ้าป หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ โวเหงียนเกี๊ยบ (Võ Nguyên Giáp; 25 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นนายทหารนอกราชการสังกัดกองทัพประชาชนเวียดนามและนักการเมือง เขาเป็นผู้บัญชาการหลักสงครามใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2489-2497) และสงครามเวียดนาม (อีกนัยหนึ่งคือสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2, พ.ศ. 2503-2518) และมีส่วนร่วมในยุทธการครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อันได้แก่ยุทธการที่หลั่งเซิน (พ.ศ. 2493) ยุทธการที่ฮหว่าบิ่ญ (พ.ศ. 2494-2495) ยุทธการที่เดียนเบียนฟู (1954) การรุกวันตรุษญวน (พ.ศ. 2511) การรุกวันอีสเตอร์ (ในเวียดนามเรียกชื่อว่า "การรุกเหงียนเว้", พ.ศ. 2515) การทัพโฮจิมินห์ (พ.ศ. 2518) และ สงครามจีน-เวียดนาม (พ.ศ. 2522) นอกจากนี้ย้าบยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ รัฐมนตรีมหาดไทยในรัฐบาลเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ ผู้บัญชาการทหารของเวียดมินห์ ผู้บัญชาการกองทัพประชาชนเวียดนาม รัฐมนตรีกลาโหม และรับตำแหน่งในคณะกรมการเมือง (โปลิตบูโร) ของพรรคแรงงานเวียดนาม (พรรคลาวด่ง) อีกด้วย ซ้าปเป็นผู้บัญชาการทหารที่โดดเด่นที่สุดที่อยู่เคียงข้างประธานาธิบดีโฮจิมินห์ในช่วงสงคราม และรับผิดชอบในการนำปฏิบัติการต่างๆ ที่สำคัญมาโดยตลอดจนกระทั่งสงครามยุติ นอกจากนี้ซ้าปยังเป็นที่จดจำว่ามีชีวิตอยู่ยืนยาวยิ่งกว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่สงครามทุกคน และเป็นนายทหารระดับสูงที่โดดเด่นที่สุดในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามอินโดจีนและหวอ เงวียน ซ้าป

สงครามอินโดจีนและหวอ เงวียน ซ้าป มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กองทัพประชาชนเวียดนามยุทธการที่เดียนเบียนฟูสงครามจีน–เวียดนามสงครามโลกครั้งที่สองสงครามเวียดนามอินโดจีนของฝรั่งเศสฮานอยประเทศกัมพูชาประเทศเวียดนามประเทศเวียดนามใต้ประเทศเวียดนามเหนือโฮจิมินห์เวียดมินห์25 สิงหาคม

กองทัพประชาชนเวียดนาม

กองทัพประชาชนเวียดนาม (Quan Nhan Dan Việt Nam Djoi) เป็นชื่อกองทัพในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีหน้าที่รับผิดชอบการป้องกันประเทศ กองทัพประชาชนเวียดนามมีลักษณะคล้ายกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคอยดูแล.

กองทัพประชาชนเวียดนามและสงครามอินโดจีน · กองทัพประชาชนเวียดนามและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู

ทธการที่เดียนเบียนฟู (Bataille de Diên Biên Phu; Chiến dịch Điện Biên Phủ) เป็นการเผชิญหน้าครั้งสำคัญสุดยอดในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง ระหว่างกองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลของสหภาพฝรั่งเศสและนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์-ชาตินิยมเวียดมินห์ ยุทธการนี้เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม..

ยุทธการที่เดียนเบียนฟูและสงครามอินโดจีน · ยุทธการที่เดียนเบียนฟูและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–เวียดนาม

งครามจีน–เวียดนาม (Chiến tranh biên giới Việt-Trung) หรือรู้จักกันในชื่อ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นสงครามชายแดนสั้น ๆ สู้รบกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในต้นปี 2522 ประเทศจีนเปิดฉากการรุกเพื่อตอบโต้การบุกครองและยึดครองกัมพูชาของเวียดนามในต้นปี 2521 (ซึ่งยุติการปกครองของเขมรแดงที่จีนหนุนหลัง) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เฮนรี คิสซินเจอร์ เขียนว่า ผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิง มองเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความพยายามของโซเวียตที่จะ "เหยียดหนวดชั่วร้ายของมันมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล...

สงครามจีน–เวียดนามและสงครามอินโดจีน · สงครามจีน–เวียดนามและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

สงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

สงครามอินโดจีนและสงครามเวียดนาม · สงครามเวียดนามและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีนของฝรั่งเศส

อินโดจีนของฝรั่งเศส (Indochine française, French Indochina) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise) เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงได้รวมเอาลาวเข้ามา อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 2445 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชีและยังถูกญี่ปุ่นรุกรานด้วย ในต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่าสงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้งรัฐเวียดนามซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู.

สงครามอินโดจีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส · หวอ เงวียน ซ้าปและอินโดจีนของฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ฮานอย

นอย (Hanoi; Hà Nội ห่าโหน่ย) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง..

สงครามอินโดจีนและฮานอย · หวอ เงวียน ซ้าปและฮานอย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ประเทศกัมพูชาและสงครามอินโดจีน · ประเทศกัมพูชาและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ประเทศเวียดนามและสงครามอินโดจีน · ประเทศเวียดนามและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามใต้

รณรัฐเวียดนาม เป็นรัฐที่ปกครองบริเวณตอนใต้ของเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2518 ซึ่งต่างชาติโดยเฉพาะรัฐประชาธิปไตยและชาติต่อต้านคอมมิวนิสต์นิยมเรียกในชื่อว่า เวียดนามใต้ คำเรียก เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี พ.ศ. 2497 ในการประชุมที่เจนีวา ซึ่งแบ่งประเทศเวียดนามออกเป็นสองส่วนโดยเส้นขนานที่ 17 ในระหว่างสงครามเวียดนาม เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ในอดีต เวียดนามใต้เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในชื่อ โคชินไชนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ซึ่งนำโดยโฮจิมินห์ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ในปีพ.ศ. 2492นักการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่เมืองไซ่ง่อนซึ่งนำโดยอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในปี 2498 บ๋าว ดั่ย ถูกปลดโดยนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยม และแต่งตั้งตนขึ้นเป็นประธานาธิบดี หลังจากเสี่ยมเสียชีวิตจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2506 ได้มีรัฐบาลทหารอายุสั้นหลายสมัยได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2510 พลโท เหงียน วัน เถี่ยวได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามเริ่มต้นในปี..

ประเทศเวียดนามใต้และสงครามอินโดจีน · ประเทศเวียดนามใต้และหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามเหนือ

วียดนามเหนือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Việt Nam Dân Chủ Cộng Hòa) คือประเทศที่เกิดจากการรวมของแคว้นตังเกี๋ยและแคว้นอันนัมของฝรั่งเศส ประกาศก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) โดยประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ตั้งอยู่บริเวณครึ่งบนของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน.

ประเทศเวียดนามเหนือและสงครามอินโดจีน · ประเทศเวียดนามเหนือและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

โฮจิมินห์

มินห์ (Hồ Chí Minh, โห่ จี๊ มิญ; คำแปล "แสงสว่างที่นำทาง") เป็นนักปฏิวัติชาวเวียดนาม ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) หลังจากสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ไซ่ง่อน เมืองหลวงเก่าของเวียดนามใต้ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นนครโฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่โฮจิมินห์ โฮจิมินห์ เป็นบุคคลที่ชาวเวียดนามถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม.

สงครามอินโดจีนและโฮจิมินห์ · หวอ เงวียน ซ้าปและโฮจิมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

เวียดมินห์

งเวียดมินห์ กองทัพประชาชนเวียดนาม หรือ เหวียดมิงห์ หรือ เวียดมินห์ (Việt Nam Độc Lập Đồng Minh Hội หรือ Việt Minh) หรือบางแหล่งก็เรียก สันนิบาตเพื่อเอกราชเวียดนาม คือ ขบวนการทางการเมือง โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลดปล่อยเวียดนามออกจากการปกครองของฝรั่งเศส จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดยมีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ และมีนายพลหวอ เงวียน ซ้าป เป็นผู้บัญชาการกองทัพคนแรก.

สงครามอินโดจีนและเวียดมินห์ · หวอ เงวียน ซ้าปและเวียดมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

25 สิงหาคม

วันที่ 25 สิงหาคม เป็นวันที่ 237 ของปี (วันที่ 238 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 128 วันในปีนั้น.

25 สิงหาคมและสงครามอินโดจีน · 25 สิงหาคมและหวอ เงวียน ซ้าป · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามอินโดจีนและหวอ เงวียน ซ้าป

สงครามอินโดจีน มี 49 ความสัมพันธ์ขณะที่ หวอ เงวียน ซ้าป มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 18.92% = 14 / (49 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามอินโดจีนและหวอ เงวียน ซ้าป หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: