เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี

สงครามศาสนาของฝรั่งเศส vs. สงครามสามสิบปี

หตุการณ์สังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิว สงครามศาสนาของฝรั่งเศส (French Wars of Religion) เป็นสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส ระหว่างค.ศ. 1562 ถึง ค.ศ. 1598 ระหว่างฝ่ายคาทอลิก นำโดยตระกูลกีส (Guise) กับกลุ่มอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส นำโดยตระกูลบูร์บง ผลคือฝรั่งเศสเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่จากราชวงศ์วาลัวส์ เป็นราชวงศ์บูร์บง และเสรีภาพทางศาสนาของผู้นับถือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสตามพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 4. งครามสามสิบปี (Thirty Years' War) (ค.ศ. 1618 - ค.ศ. 1648) สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ก่อความเสียหายไว้มากที่สุดสงครามหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป สงครามส่วนใหญ่สู้รบกันในดินแดนเยอรมนีและมีผู้เข้าร่วมสงครามจากเกือบทุกประเทศในยุโรป อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสงครามที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ต้นเหตุของความขัดแย้งและจุดประสงค์ของผู้เข้าร่วมมีความซับซ้อนและมีเหตุผลในการทำสงครามของฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อเริ่มแรกการต่อสู้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และโรมันคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ความขัดแย้งการทางอำนาจทางการเมืองภายในจักรวรรดิก็เป็นส่วนสำคัญด้วย ในที่สุดสงครามก็ขยายออกไปเป็นความขัดแย้งของอาณาบริเวณต่างๆ ทั่วยุโรป สงครามสามสิบปีเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสกับราชวงศ์ฮับส์บูร์กในการเป็นมหาอำนาจในยุโรปและในที่สุดก็บานปลายไปเป็นสงครามที่ไม่มีเหตุผลใดเกี่ยวข้องกับศาสนา การต่อสู้ส่วนใหญ่ในสงครามสามสิบปีเป็นการต่อสู้โดยกองทัพทหารรับจ้างที่ทำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่บริเวณที่มีการต่อสู้ และก่อให้เกิดความอดอยากและโรคระบาดจนส่งผลให้จำนวนประชากรของรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และอิตาลีลดลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสูญเสียอำนาจในหลายบริเวณ ความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุของการต่อสู้ก็ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้การที่สงครามมีค่าจ่ายทางการทหารเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้รัฐที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ต้องล้มละลายในช่วงท้ายของสงคราม สงครามสามสิบปียุติลงด้วยสนธิสัญญามึนสเตอร์ (Treaty of Münster) ที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี

สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระราชกฤษฎีกานองซ์พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสราชวงศ์บูร์บงอูเกอโนต์โปรเตสแตนต์

พระราชกฤษฎีกานองซ์

ระราชกฤษฎีกานองซ์เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1598 พระราชกฤษฎีกานองซ์ (Édit de Nantes; Edict of Nantes) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ทรงตราขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน..

พระราชกฤษฎีกานองซ์และสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · พระราชกฤษฎีกานองซ์และสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส หรือ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งนาวาร์ (Henri de Bourbon; 13 ธันวาคม ค.ศ. 1553 - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1610) ทรงเป็นที่รู้จักในชื่อเรียกขานทั่วไปว่า พระเจ้าอ็องรีผู้ทรงธรรม ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1572 - ค.ศ. 1610) และพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์บูร์บงพระองค์แรก (ค.ศ. 1589 - ค.ศ. 1610) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2096 หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์นาวาร์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอาวุธมีคม หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์.

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ฝรั่งเศส: Maison de Bourbon; สเปน: Casa de Borbón; อังกฤษ: House of Bourbon) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนทรงเป็นประมุขแห่งประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ราชวงศ์บูร์บงและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · ราชวงศ์บูร์บงและสงครามสามสิบปี · ดูเพิ่มเติม »

อูเกอโนต์

อูเกอโนต์ (huguenots) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนาของคริสเตียน (โปรเตสแตนต์) ฝรั่งเศสผู้นับถือขนบปฏิรูป คำนี้ใช้เรียกสมาชิกคริสตจักรปฏิรูปแห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 ถึงประมาณปี 1800 คำนี้มีจุดกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส อูเกอโนต์เป็นคริสเตียนฝรั่งเศสซึ่งมาจากทางเหนือของประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนของนักเทววิทยาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1500 และผู้สนับสนุนขนบปฏิรูปของนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งขัดกับประชากรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเยอรมันนับถือนิกายลูเทอแรนในอาลซัส มอแซลและมงเบลียาร์ ฮันส์ ฮิลเลอร์แบรนด์ (Hans Hillerbrand) ในสารานุกรมนิกายโปรเตสแตนต์อ้างว่าชุมชนอูเกอโนต์มีประชากรมากถึงร้อยละ 10 ของประชากรฝรั่งเศสในวันก่อนการสังหารหมู่วันนักบุญบาร์โทโลมิว โดยลดลงเหลือร้อยละ 7–8 เมื่อประมาณปี 1600 และยิ่งลดลงหลังการเบียดเบียนอย่างหนักซึ่งเริ่มต้นอีกหลังพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบลโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส จำนวนของอูเกอโนต์สูงสุดประมาณเกือบสองล้านคนในปี 1562 โดยส่วนใหญ่กระจุกอยู่ส่วนใต้และตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เมื่ออูเกอโนต์มีอิทธิพลและแสดงออกซึ่งศรัทธาของพวกตนอย่างเปิดเผยมากขึ้น ความเป็นปรปักษ์ของคาทอลิกก็เติบโตขึ้นด้วย แม้มีการผ่อนปรนทางการเมืองและพระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนาจากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส มีความขัดแย้งทางศาสนาหลายครั้งตามมา เรียก สงครามศาสนาฝรั่งเศส ซึ่งสู้รบกันเป็นพัก ๆ ตั้งแต่ปี 1562 ถึง 1598 อูเกอโนต์มีแฌน ดาเบร (Jeanne d'Albret) และพระราชโอรส อนาคตพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และเจ้ากองเด สงครามยุติด้วยพระราชกฤษฎีกานองซ์ ซึ่งให้อัตตาณัติศาสนา การเมืองและทหารพอสมควรแก่อูเกอโนต์ กบฏอูเกอโนต์ในคริสต์ทศวรรษ 1620 ทำให้มีการเลิกเอกสิทธิ์ทางการเมืองและทางทหารของพวกเขา พวกเขายังคงไว้ซึ่งบทบัญญัติทางศาสนาของพระราชกฤษฎีกานองซ์จนถึงรัชกาลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระองค์ค่อย ๆ เพิ่มการเบียดเบียนอูเกอโนต์จนทรงตราพระราชกฤษฎีกาฟงแตนโบล (ปี 1685) ยุติการรับรองนิกายโปรเตสแตนต์ใด ๆ ตามกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและบีบให้อูเกอโนต์เข้ารีตหรือหลบหนีในระลอกดราโกนาเดอ (dragonnades) รุนแรง พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำให้ประชากรอูเกอโนต์ฝรั่งเศส 800,000 ถึง 900,000 คนลดเหลือ 1,000 ถึง 1,500 คน กระนั้น อูเกอโนต์จำนวนเล็กน้อยยังเหลือรอดและเผชิญการเบียดเบียนต่อเนื่องมาถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เสด็จสวรรคตในปี 1774 ลัทธิคาลวินในฝรั่งเศสเกือบสูญสิ้นทั้งหมด การเบียดเบียนคริสเตียนยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยพระราชกฤษฎีกาแวร์ซาย (พระราชกฤษฎีกาการยอมรับความต่างทางศาสนา) ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงลงพระปรมาภิไธยในปี 1787 สองปีให้หลัง ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองปี 1789 ให้คริสเตียนได้รับสิทธิเท่าเทียมเป็นพลเมืองAston, Religion and Revolution in France, 1780–1804 (2000) pp 245–50 ผู้อพยพอูเกอโนต์จำนวนมากอพยพไปยังรัฐโปรเตสแตนต์อย่างอังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐดัตช์ รัฐผู้คัดเลือกบรันเดนบูร์กและรัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนตในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ดัชชีปรัสเซีย หมู่เกาะแชนเนล ตลอดจนไอร์แลนด์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกแต่โปรเตสแตนต์ควบคุม พวกเขายังแพร่ไปยังอาณานิคมแหลมดัตช์ในแอฟริกาใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกดัตช์ แคริบเบียน นิวเนเธอร์แลนด์และอาณานิคมอังกฤษหลายแห่งในทวีปอเมริกาเหนือ ครอบครัวจำนวนน้อยไปยังรัสเซียที่นับถือออร์โธด็อกซ์และควิเบกที่นับถือคาทอลิก ปัจจุบัน อูเกอโนต์ส่วนใหญ่กลืนเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมต่าง ๆ แต่ชุมชนหลงเหลือกามีซาร์ (Camisards) ในเทือกเขาซีเวน (Cévennes) สมาชิกของคริสตจักรโปรเตสแตนต์รวมฝรั่งเศส สมาชิกฝรั่งเศสของคริสตจักรปฏิรูปโปรเตสแตนต์อาลซัสและลอแรนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน ตลอดจนกลุ่มอูเกอโนต์ในประเทศอังกฤษและออสเตรเลียยังคงความเชื่อของพวกตนและการเรียกชื่ออูเกอโนต.

สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและอูเกอโนต์ · สงครามสามสิบปีและอูเกอโนต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและโปรเตสแตนต์ · สงครามสามสิบปีและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี

สงครามศาสนาของฝรั่งเศส มี 36 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามสามสิบปี มี 92 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 3.91% = 5 / (36 + 92)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามศาสนาของฝรั่งเศสและสงครามสามสิบปี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: