โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามร้อยปีและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามร้อยปีและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

สงครามร้อยปี vs. อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

งครามร้อยปี (Hundred Years' War) เป็นชุดความขัดแย้งระหว่าง.. อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส (ภาษาอังกฤษ: Isabella of France; ค.ศ.1295 - 22 สิงหาคม ค.ศ.1358) บางครั้งถูกบรรยายไว้ว่าเป็น นางหมาป่าแห่งฝรั่งเศส เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษในฐานะพระมเหสีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งอังกฤษตั้งแต..1326 จนถึง..1330 พระองค์เป็นพระราชบุตรที่รอดชีวิตคนสุดท้องและพระธิดาคนเดียวของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับพระราชินีโจแอนแห่งนาวาร์ พระราชินีอิซาเบลลาเป็นที่เลื่องลือในตอนนั้นในเรื่องของความงาม, ทักษะการทูต และความเฉลียวฉลาด พระราชินีอิซาเบลลามาถึงอังกฤษตอนพระชนมายุ 12 พรรษา ในช่วงยุคแห่งความขัดแย้งที่เติบโตขึ้นระหว่างกษัตริย์กับกลุ่มของบารอนที่มีอำนาจ พระสวามีคนใหม่ของพระองค์มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ในเรื่องของการอุปถัมภ์ค้ำชูคนโปรดของพระองค์ เพียซ กาเวสตัน จนมากเกินควร แต่พระราชินีสนับสนุนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในช่วงปีแรกๆ ทรงสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นไปด้วยดีกับเพียซและใช้ความสัมพันธ์กับระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสของพระองค์ค้ำจุนพลังและอำนาจของตนเอง ทว่าหลังการตายด้วยน้ำมือของพวกบารอนของเพียซ กาเวสตันใน..1312 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดหันไปหาคนโปรดคนใหม่ ฮิวจ์ เดสเปนเซอร์ ผู้ลูก และพยายามเอาคืนพวกบารอน ผลที่ได้คือสงครามเดสเปนเซอร์และยุคแห่งความเก็บกดภายในประเทศทั่วทั้งอังกฤษ อิซาเบลลาไม่สามารถทนกับฮิวจ์ เดสเปนเซอร์ได้และใน..1325 ชีวิตแต่งงานกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดของพระองค์ก็มาถึงจุดแตกหัก ทรงเดินทางไปฝรั่งเศสภายใต้การอำพรางว่าเป็นภารกิจทางการทูต ราชินีอิซาเบลลาเริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ และทั้งสองตกลงใจที่จะปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดลงจากตำแหน่งและขับไล่ตระกูลเดสเปนเซอร์ออกไป พระราชินีกลับมาอังกฤษพร้อมกับกองทัพทหารรับจ้างกลุ่มเล็กๆ ใน..1326 รีบเคลื่อนตัวไปทั่วอังกฤษอย่างรวดเร็ว กองทัพของกษัตริย์ทอดทิ้งพระองค์ พระราชนีอิซาเบลลาปลดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดลงจากตำแหน่ง ทรงกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในนามของพระโอรส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 หลายคนเชื่อว่าหลังจากนั้นพระราชินีอิซาเบลลาจัดการฆาตกรรมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 รัชสมัยของพระราชินีอิซาเบลลากับมอร์ติเมอร์เริ่มแตกเป็นเสี่ยงๆ ส่วนหนึ่งเพราะการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายของพระองค์ แต่ก็เป็นเพราะการแก้ไขปัญหาระยะยาวที่สำเร็จแต่ไม่เป็นที่นิยมของพระราชินี เช่น สงครามกับสกอตแลนด์ ด้วย ใน..1330 พระโอรสของอิซาเบลลา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ปลดมอร์ติเมอร์ลงจาตำแหน่งบ้าง ทรงยึดเอาอำนาจของพระองค์กลับมาและประหารชีวิตคนรักของพระราชินีอิซาเบลลา ทว่าพระราชินีไม่ได้ถูกลงโทษ และชีวิตที่เหลืออยู่อีกหลายปีของพระองค์มีความสำคัญ—แม้จะไม่ใช่ที่ราชสำนักของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด—จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ใน..1358.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามร้อยปีและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

สงครามร้อยปีและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษราชวงศ์แพลนแทเจเนตเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ

พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (Charles IV of France) (18/19 มิถุนายน ค.ศ. 1294/ค.ศ. 1293 - 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1328) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากพระเชษฐาพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ระหว่างวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1322 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1328 ชาร์ลส์เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์กาเปเตียงองค์สุดท้าย นอกจากนั้นก็ยังทรงเป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ (ชาร์ลส์ที่ 1) พระเจ้าชาร์ลส์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1328 พระร่างของพระองค์ถูกบรรจุที่มหาวิหารแซงต์เดอนีส์ ชาร์ลส์ไม่มีพระโอรส ราชบัลลังก์จึงผ่านไปยังฟิลิปของสายราชวงศ์วาลัวส์ผู้ ขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 6 แห่งฝรั่ง.

พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสงครามร้อยปี · พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (Philip IV of France หรือ Philip the Fair หรือ Philip le Bel) (เมษายน–มิถุนายน ค.ศ. 1268 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1285 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1314 และเนื่องจากทรงอภิเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีโจนที่ 1 แห่งนาวาร์ ทำให้ทรงเป็นพระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งราชอาณาจักรนาวาร์ และเคานท์แห่งชองปาญด้วย พระเจ้าฟิลิปที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราวเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1268 ที่พระราชวังฟองแตงโบลในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและ พระราชินีอิสซาเบลลา พระเจ้าฟิลิปที่ 4 ทรงได้รับพระนามว่า “le Bel” เพราะมีพระโฉมงาม แต่แท้จริงพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทะเยอทะยานและมีความชาญฉลาดในการปกครอง รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของการเริ่มรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางของฝรั่งเศส จากที่เคยเป็นสังคมแบบขุนศึกศักดินามาก่อน พระเจ้าฟิลิปปกครองโดยอาศัยข้าราชบริพารที่มีทักษะความสามารถสูง เช่น กิโยม เดอ โนกาเร (Guillaume de Nogaret) แทนที่จะอาศัยขุนศึกบารอน พระองค์แสวงหาความเด็ดขาดในอำนาจของสถาบันกษัตริย์โดยการใช้สงครามกดดันขุนศึกใต้ปกครอง และจำกัดการใช้วิธีปกครองแบบศักดินา นอกจากนี้พระองค์ยังขวนขวายให้พระประยูรญาติของพระองค์ได้ครองราชบัลลังก์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วยุโรป ความทะเยอทะยานนี้ทำให้พระองค์ทรงมีอิทธิพลในการเมืองระหว่างประเทศสูง และภายใต้รัชสมัยของพระองค์ฝรั่งเศสได้ขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกผ่านการรวบรวมเอาพื้นที่ปกครองศักดินา (fief) ที่กระจัดกระจายกันเข้ามาไว้ในอาณัติ การแสวงหาอำนาจที่เด็ดขาดของราชบัลลังก์ทำให้พระองค์พยายามเข้าควบคุมสถาบันสงฆ์ในฝรั่งเศสและนำไปสู่ความขัดแย้งกับสมเด็จพระสันตะปาปาบอนิเฟซที่ 8 (Pope Boniface VIII) เหตุการณ์นี้นำไปสู่สมณสมัยอาวีญง ซึ่งเป็นช่วงที่พระสันตปาปาทรงประทับอยู่ ณ เมืองอาวีญง ราชอาณาจักรฝรั่งเศส แทยที่จะเป็นกรุงโรม ความขัดแย้งทางทหารที่รู้จักกันดีที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าฟิลิปที่ 4 คือสงครามกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ ในช่วงเดียวกันนี้พระองค์ยังได้เข้าเป็นพันธมิตรกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งเริ่มในรัชสมัยของจอห์น บัลลิออลเพื่อต่อต้านแผนการรุกรานฝรั่งเศสของพระเจ้ากรุงอังกฤษ.

พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและสงครามร้อยปี · พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน

มเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน (Harold Godwinson หรือ Haraldur Guðinason) (ราว ค.ศ. 1022 – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์เวสเซ็กซ์และพระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอนองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันเสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1022 ที่เวสเซ็กซ์ อังกฤษ เป็นพระราชโอรสของกอดวิน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ และ กีธา ธอร์เคลสเดิทเทียร์ ทรงเสกสมรสกับเอลด์จิธ สวอนเน็ค และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1066 จนทรงถูกสังหารในยุทธการเฮสติงส์ แบตเติล เมื่อทรงพยายามต่อต้านกองทัพของดยุคแห่งนอร์มังดีที่ยกมารุกรานอังกฤษ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1066 หลังจากที่พระเจ้าฮาโรลด์เสด็จสวรรคต สภาวิททันก็ประกาศให้สมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง ขึ้นครองราชสมบัติต่อมาแต่มิได้ทรงสวมมงก.

พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันและสงครามร้อยปี · พระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ (Edward III of England; Édouard III d'Angleterre; 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 – 21 มิถุนายน ค.ศ. 1377) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของราชอาณาจักรอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377 พระองค์นับเป็นกษัตริย์อังกฤษผู้ประสบความสำเร็จที่สุดพระองค์หนึ่งในยุคกลาง โดยทรงฟื้นฟูความมั่นคงของราชบัลลังก์ หลังจากที่เสื่อมโทรมลงไปมากในรัชสมัยของพระราชบิดา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และทรงเป็นผู้ที่ทำให้ราชอาณาจักรอังกฤษเป็นรัฐที่มีอำนาจทางทหารมากที่สุดในยุโรป และเป็นรัชสมัยที่มีการวิวัฒนาการทางการปกครองทางนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิวัฒนาการของระบบรัฐสภา แต่ในสมัยเดียวกันนี้พระองค์ก็ทรงต้องเผชิญกับความหายนะจากกาฬโรคระบาดในยุโรป พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงครองราชย์เป็นเวลานานถึง 50 ปีซึ่งไม่มีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดที่ครองราชย์นานเช่นนั้นตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 และต่อจากนั้นก็ไม่มีพระองค์ใดจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง 14 พรรษา หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 พระราชบิดา ทรงถูกถอดจากการเป็นกษัตริย์ เมื่อพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระองค์ก็ทรงเป็นผู้นำในรัฐประหารโค่นล้มโรเจอร์ มอร์ติเมอร์ เอิร์ลแห่งมาร์ชที่ 1 ผู้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงเริ่มครองราชย์ด้วยพระองค์เอง หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ก็ทรงประกาศอ้างสิทธิ์ของพระองค์ว่าเป็นผู้สืบทอดอันชอบธรรมต่อราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปี..

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและสงครามร้อยปี · พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แพลนแทเจเนต

ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท (อังกฤษ: House of Plantagenet) หรือ ราชวงศ์อองชู หรือ เดิมเป็นตระกูลขุนนางมาจากฝรั่งเศส ซึ่งปกครองแคว้นอองชู (County of Anjou) ในภายหลังราชวงศ์นี้ได้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษในปี พ.ศ. 1697 - พ.ศ. 2028 รวมทั้งราชอาณาจักรเยรูซาเล็มในปี พ.ศ. 1674 - พ.ศ. 1748 แคว้นนอร์มังดี (พ.ศ. 1687 - พ.ศ. 1747 และ พ.ศ. 1958 - พ.ศ. 1993) แคว้นกาสโกนีและกุยแยน (แคว้นอากีแตนในปัจจุบัน) (พ.ศ. 1696 - พ.ศ. 1996) หมวดหมู่:ราชวงศ์อ็องฌู หมวดหมู่:ราชสำนักอังกฤษ.

ราชวงศ์แพลนแทเจเนตและสงครามร้อยปี · ราชวงศ์แพลนแทเจเนตและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ

อ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ หรือ เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ หรือที่รู้จักกันในพระนาม เอ็ดเวิร์ดแห่งวูดสต็อค (Edward, the Black Prince หรือ Edward of Woodstock) (15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 - 8 มิถุนายน ค.ศ. 1376) เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำเป็นพระราชวงศ์อังกฤษผู้มีบทบาทในการต่อสู้กับราชอาณาจักรฝรั่งเศสในสงครามร้อยปี เอ็ดเวิร์ดประสูติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1330 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระราชินีฟิลลิปปา และเป็นพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ เอ็ดเวิร์ดทรงเป็นผู้นำทางการทหารผู้มีความสามารถและทรงเป็นผู้ที่เป็นที่นิยมขณะที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เพียงปีเดียวก่อนที่พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์องค์แรกที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ราชบัลลังก์จึงตกไปเป็นของริชาร์ด พระโอรสองค์โตของพระองค์เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เสด็จสวรรคต.

สงครามร้อยปีและเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ · อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามร้อยปีและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

สงครามร้อยปี มี 66 ความสัมพันธ์ขณะที่ อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 6.45% = 6 / (66 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามร้อยปีและอิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »