เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามครูเสดครั้งที่ 8และสงครามครูเสดครั้งที่ 9

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 8และสงครามครูเสดครั้งที่ 9

สงครามครูเสดครั้งที่ 8 vs. สงครามครูเสดครั้งที่ 9

งครามครูเสดครั้งที่ 8 (Eighth Crusade) (ค.ศ. 1270) สงครามครูเสดครั้งนี้เริ่มขึ้นโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1270 บางครั้ง “สงครามครูเสดครั้งที่ 8” ก็นับเป็นครั้งที่เจ็ด ถ้ารวมสงครามครูเสดครั้งที่ 5 และ ครั้งที่ 6 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้าเป็นครั้งเดียวกัน และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 ก็นับเป็นครั้งเดียวกับครั้งที่ 8 พระเจ้าหลุยส์ทรงพระราชวิตกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อสุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตีอาณาจักรครูเสดที่ยังเหลืออยู่ ไบบาร์ฉวยโอกาสหลังจากที่สาธารณรัฐเวนิส และ สาธารณรัฐเจนัวต่อสู้กันในสงครามระหว่างปี.. งครามครูเสดครั้งที่ 9 (Ninth Crusade) เป็นหนึ่งในสงครามครูเสดและเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้าย ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1271 – ค.ศ. 1272 เป็นสงครามที่ต่อสู้กันในตะวันออกใกล้ระหว่างฝ่ายผู้นับถือคริสต์ศาสนาและฝ่ายผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในสงครามครั้งนี้ฝ่ายมุสลิมเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ ที่เป็นผลทำให้สงครามครูเสดยุติลงในที่สุดและอาณาจักรครูเสดต่างๆ ในบริเวณลว้านก็สลายตัวไป ทางฝ่ายคริสเตียนมีกำลังคนทั้งสิ้นประมาณ 60,000 คน โดยมีผู้นำที่รวมทั้ง สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งเนเปิลส์, สมเด็จพระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส, เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษ, โบฮีมอนด์ที่ 6 แห่งอันติโอค, อบาคา ข่านแห่งมงโกเลีย และ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอาร์มีเนีย ทางฝ่ายมุสลิมมีกำลังคนที่ไม่ทราบจำนวน โดยมีไบบาร์สเป็นผู้นำ สงครามครูเสดครั้งที่ 9 บางครั้งก็รวมกับสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ถือกันว่าเป็นสงครามครูเสดครั้งสุดท้ายและเป็นสงครามใหญ่สงครามสุดท้ายของยุคกลางในการที่ฝ่ายคริสเตียนพยายามยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสไม่ทรงสามารถยึดตูนิสได้ในสงครามครูเสดครั้งที่ 8 เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษก็เสด็จไปเอเคอร์เพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 9 แต่เป็นสงครามที่ทางฝ่ายคริสเตียนพ่ายแพ้ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะพลังใจในการที่จะดำเนินการสงครามเหือดหายไป และเพราะอำนาจของมามลุคในอียิปต์ขยายตัวมากขึ้น นอกจากนั้นผลของสงครามก็นำมาซึ่งการล่มสลายของที่มั่นต่างๆ ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนไปด้วยในขณะเดียวกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 8และสงครามครูเสดครั้งที่ 9

สงครามครูเสดครั้งที่ 8และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษรัฐนักรบครูเสดราชอาณาจักรเยรูซาเลมศาสนาคริสต์สงครามครูเสดอ็องฌูจักรวรรดิมองโกลประเทศอียิปต์เอเคอร์ (อิสราเอล)

พระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์

มเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งซิซิลี หรือ ชาร์ลส์แห่งอองชู (Charles Ier de Sicile, Charles I of Sicily หรือ Charles of Anjou) (21 มีนาคม ค.ศ. 1226 – 7 มกราคม ค.ศ. 1285) สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งซิซิลีเป็นพระราชโอรสองค์เล็กของพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสและบล็องช์แห่งคาสตีล สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และเป็นพระอนุชาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรซิซิลี ผู้ได้ราชบัลลังก์มาจากการพิชิตได้ในปี ค.ศ. 1226 หลังจากที่ได้รับหนังสือประกาศอภิสิทธิ์จากสมเด็จพระสันตะปาปามตั้งแต่ปี..

พระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์และสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · พระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 9 (Louis IX, Louis IX) (25 เมษายน ค.ศ. 1214 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270) หรือ นักบุญหลุยส์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาแประหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1270 นอกจากเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพระองค์ก็ยังทรงใช้พระนามว่า “หลุยส์ที่ 2 เคานต์แห่งอาร์ตัว” ระหว่างปี ค.ศ. 1226 จนถึงปี ค.ศ. 1237 ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงทำงานร่วมกับรัฐสภาแห่งปารีสในการพยายามปรับปรุงเพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพทางด้านกฎหมาย พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1214 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส และพระนางบล็องช์แห่งคาสตีล พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสพระองค์เดียวที่ทรงได้รับการประกาศเป็นนักบุญ ซึ่งทำให้มีสถานที่ต่างๆ มากมายที่ตั้งชื่อตามพระอง.

พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Edward I of England) (17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307) หรือพระนามเดิมคือ เอ็ดเวิร์ด ลองแชงก์ส (Edward Longshanks) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 รู้จักกันในนามว่า “Longshanks” เพราะพระวรกายที่สูงราว 6 ฟุต 2 นิ้ว หรือ “ผู้พระราชทานกฎหมาย” (the Lawgiver) เพราะทรงเป็นผู้ปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษ และ “ผู้ปราบชาวสกอต” (Hammer of the Scots) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ ได้อภิเษกสมรสกับเอลินอร์แห่งคาสตีล และต่อมากับพระนางมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307 ที่บรัฟบายแซนด์ส คัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ได้รับชัยชนะต่อเวลส์และทรงพยายามปราบปรามสกอตแลนด์แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 จะเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 4 ที่มีพระนามว่า “เอ็ดเวิร์ด” หลังจาก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี แต่การลำดับนามเดียวกันด้วยตัวเลขเป็นประเพณีของชาวนอร์มัน ฉะนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสามพระองค์ที่ทรงปกครองอังกฤษก่อนหน้าการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันจึงมิได้รับการเรียงลำดับแต่ทรงใช้พระสมัญญานามเพื่อบ่งความแตกต่างของแต่ละพระองค์แทน เอ็ดเวิร์ด ลองแชงค์จึงกลายเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในปี..

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

รัฐนักรบครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · รัฐนักรบครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ราชอาณาจักรเยรูซาเลมและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · ราชอาณาจักรเยรูซาเลมและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ศาสนาคริสต์และสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · ศาสนาคริสต์และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

อ็องฌู

ที่ตั้งของจังหวัดแมเนลัวร์ในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ซึ่งใกล้เคียงกับอาณาบริเวณอ็องฌูในอดีต อ็องฌู (Anjou) เป็นอดีตอาณาจักรเคานต์ (ราว ค.ศ. 880), ดัชชี (ราว ค.ศ. 1360) และจังหวัดที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอ็องเฌในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน อาณาบริเวณของอาณาจักรใกล้เคียงกับจังหวัดแมเนลัวร์ในปัจจุบัน อ็องฌู.

สงครามครูเสดครั้งที่ 8และอ็องฌู · สงครามครูเสดครั้งที่ 9และอ็องฌู · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

จักรวรรดิมองโกลและสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · จักรวรรดิมองโกลและสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ประเทศอียิปต์และสงครามครูเสดครั้งที่ 8 · ประเทศอียิปต์และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

เอเคอร์ (อิสราเอล)

อเคอร์ หรือ อักโก (Acre หรือ Akko) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของบริเวณกาลิลีทางตอนเหนือของอิสราเอล ตัวเมืองตั้งอยู่บนแหลมหรือแผ่นดินที่ยื่นออกไปในทะเล (promontory) ของอ่าวไฮฟา (Haifa Bay) ตามสถิติของสำนักงานสถิติกลางแห่งอิสราเอล เอเคอร์มีประชากรทั้งหมดราว 46,000 คนในปลายปี..

สงครามครูเสดครั้งที่ 8และเอเคอร์ (อิสราเอล) · สงครามครูเสดครั้งที่ 9และเอเคอร์ (อิสราเอล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 8และสงครามครูเสดครั้งที่ 9

สงครามครูเสดครั้งที่ 8 มี 34 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามครูเสดครั้งที่ 9 มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 18.97% = 11 / (34 + 24)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 8และสงครามครูเสดครั้งที่ 9 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: