เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สงครามครูเสดครั้งที่ 6และเศาะลาฮุดดีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 6และเศาะลาฮุดดีน

สงครามครูเสดครั้งที่ 6 vs. เศาะลาฮุดดีน

ระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2ทรงพบกับอัล-คามิล สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (Sixth Crusade) (ค.ศ. 1228-ค.ศ. 1229) สงครามครูเสด ครั้งนี้เริ่มขึ้นเพียงเจ็ดปีหลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 5. วาดแซลาดิน จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบี หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า แซลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า เศาะลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบน์ อัยยูบ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร เศาะลาฮุดดีน ยูซุฟ เกิดเมื่อ..1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 6และเศาะลาฮุดดีน

สงครามครูเสดครั้งที่ 6และเศาะลาฮุดดีน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชอาณาจักรเยรูซาเลมสงครามครูเสดประเทศซีเรีย

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ราชอาณาจักรเยรูซาเลมและสงครามครูเสดครั้งที่ 6 · ราชอาณาจักรเยรูซาเลมและเศาะลาฮุดดีน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

สงครามครูเสดและสงครามครูเสดครั้งที่ 6 · สงครามครูเสดและเศาะลาฮุดดีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ประเทศซีเรียและสงครามครูเสดครั้งที่ 6 · ประเทศซีเรียและเศาะลาฮุดดีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 6และเศาะลาฮุดดีน

สงครามครูเสดครั้งที่ 6 มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ เศาะลาฮุดดีน มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 8.57% = 3 / (20 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามครูเสดครั้งที่ 6และเศาะลาฮุดดีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: