โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์

สงครามกลางเมืองอังกฤษ vs. แควาเลียร์

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ. แควาเลียร์ (Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์

สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์ มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2185พ.ศ. 2194พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษกองทัพตัวแบบใหม่ยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์รัฐสภาอังกฤษสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1หัวเกรียนจอร์จ กอริง ลอร์ดกอริงโอลิเวอร์ ครอมเวลล์เจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิงเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์

พ.ศ. 2185

ทธศักราช 2185 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2185และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · พ.ศ. 2185และแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2194

ทธศักราช 2194 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2194และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · พ.ศ. 2194และแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพตัวแบบใหม่

หน้าปก "กฎ, กฎหมาย และระเบียบการฝึก" ของกองทัพตัวแบบใหม่ กองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ก่อตั้งเมื่อปี..

กองทัพตัวแบบใหม่และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · กองทัพตัวแบบใหม่และแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์

ทธการที่เอดจ์ฮิลล์ (Battle of Edgehill) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1642 ที่เมืองเอดจ์ฮิลล์ในเทศมณฑลวอริกเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ที่นำโดยเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ กับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 3 แห่งเอสเซกซ์ ผลของสงครามครั้งนี้ไม่มีฝ่ายใดแพ้ไม่มีฝ่ายใดชนะ ฝ่ายนิยมกษัตริย์เสียชีวิต 500 คนและบาดเจ็บ 1,500 คนส่วนฝ่ายรัฐสภาเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนเท่ากัน.

ยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์และสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์และแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

รัฐสภาอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · รัฐสภาอังกฤษและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 (First English Civil War) (ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646) เป็นสงครามกลางเมืองสงครามแรกในสามสงครามกลางเมืองอังกฤษ สงครามกลางเมืองอังกฤษเป็นสงครามต่อเนื่องฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยมที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651 สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651.

สงครามกลางเมืองอังกฤษและสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 · สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1และแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

หัวเกรียน

“ฝ่ายรัฐสภา” โดยจอห์น เพ็ตติ (John Pettie) กลุ่มหัวเกรียน หรือ ฝ่ายรัฐสภา (ภาษาอังกฤษ: Parliamentarians หรือ Roundhead) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มพิวริตันผู้สนับสนุนรัฐสภาแห่งอังกฤษระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ และเป็นผู้สนับสนุนโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ครอมเวลล์ได้รับความก้าวหน้าทางการเมือง, เป็นสมาชิกของสภาสามัญชนผู้มีบทบาทสำคัญ และเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ และในที่สุดก็แต่งตั้งตนเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1653 ฐานะทางการเมืองและทางการศาสนาของ “ฝ่ายรัฐสภา” รวมทั้งกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterians), กลุ่มรีพับลิกันคลาสสิก (Classical republicanism), กลุ่มเลเวลเลอร์ (Levellers) และ กลุ่มอิสระทางศาสนา (Independents) ศัตรูของ “ฝ่ายรัฐสภา” คือ “ฝ่ายกษัตริย์นิยม” ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า “กลุ่มคาวาเลียร์” (Cavalier).

สงครามกลางเมืองอังกฤษและหัวเกรียน · หัวเกรียนและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ กอริง ลอร์ดกอริง

อร์จ กอริง ลอร์ดกอริง (George Goring, Lord Goring) (14 กรกฎาคม ค.ศ. 1608 - ค.ศ. 1657) จอร์จ กอริง ลอร์ดกอริงเป็นนายทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมในสงครามกลางเมืองอังกฤษ จอร์จ กอริงเกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1608 เป็นบุตรของจอร์จ กอริง เอิร์ลแห่งนอริชที่ 1 ต่อมากอริงก็สมรสกับเล็ททิส บอยล์บุตรีของริชาร์ด บอยล์ เอิร์ลแห่งคอร์คที่ 1 ผู้ที่เป็นผู้จัดการให้กอริงได้ตำแหน่งในกองทัพเนเธอร์แลนด์ในฐานะนายพัน กอริงได้รับบาดเจ็บที่ทำให้ขาพิการจากการรบที่เบรดาในปี..

จอร์จ กอริง ลอร์ดกอริงและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · จอร์จ กอริง ลอร์ดกอริงและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

สงครามกลางเมืองอังกฤษและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · แควาเลียร์และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง

อบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง (Jacob Astley, 1st Baron Astley of Reading; ค.ศ. 1579 - กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1652) เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เจคอบ แอสต์ลีย์มาจากครอบครัวที่เป็นหลักเป็นฐานในนอร์ฟอล์ก แอสต์ลีย์มีประสบการณ์ด้านการสงครามตั้งแต่อายุได้เพียง 18 ปีเมื่อเข้าร่วมในการเดินทางในการสำรวจร่วมกับรอเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 2 แห่งเอสเซกซ์ และเซอร์วอลเตอร์ รอลีไปยังอะโซร.

สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง · เจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิงและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์

้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ (Rupert, Count Palatine of the Rhine, Duke of Bavaria; Ruprecht Pfalzgraf bei Rhein, Herzog von Bayern หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า Prince Rupert of the Rhine; 17 ธันวาคม ค.ศ. 1619 - 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1682) ประสูติเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1619 ที่ปราก ราชอาณาจักรโบฮีเมีย (ในสาธารณรัฐเช็กปัจจุบัน) เป็นพระราชโอรสองค์รองของเฟรเดอริคที่ 5 เจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งพาเลไทน์และเอลิซาเบธ สจวต สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมีย และเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษผู้ที่พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้พระองค์เป็นดยุกแห่งคัมบาลันด์ และเอิร์ลแห่งโฮลเดอร์เนส เจ้าชายรูเพิร์ตทรงเป็นนักการทหาร, นักประดิษฐ์ และศิลปินสมัครเล่นในการทำภาพพิมพ์มัชฌิมรงค์ (mezzotint) เจ้าชายรูเพิร์ตทรงเป็นทหารมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มด้วยการเข้าต่อสู้ต่อต้านสเปนในเนเธอร์แลนด์และในเยอรมนี เมื่อพระชนมายุได้ 23 พรรษาก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพผู้บังคับบัญชากองทหารม้าระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่มาทรงพ่ายแพ้ในยุทธการเนสบีย์และทรงถูกขับจากเกาะอังกฤษ หลังจากนั้นก็ทรงเข้าร่วมกับฝ่ายกษัตริย์นิยมผู้ลี้ภัยอยู่ระยะหนี่ง ต่อมาก็ทรงไปเป็นโจรสลัดอยู่ในบริเวณคาริบเบียน หลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษเจ้าชายรูเพิร์ตก็เสด็จกลับอังกฤษและได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาราชนาวี, นักประดิษฐ์, ศิลปิน และทรงเป็นข้าหลวงคนแรกของบริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) เจ้าชายรูเพิร์ตมิได้ทรงเสกสมรสแต่ทรงมีโอรสธิดานอกสมรสสองคน และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1682 ที่เวสต์มินสเตอร์ในอังกฤษ.

สงครามกลางเมืองอังกฤษและเจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ · เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์และแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์

สงครามกลางเมืองอังกฤษ มี 150 ความสัมพันธ์ขณะที่ แควาเลียร์ มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 7.51% = 13 / (150 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามกลางเมืองอังกฤษและแควาเลียร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »