โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส

สงครามกรุงทรอย vs. เอสคิลัส

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ. อสคีลัส (Aeschylus; Αἰσχύλος ไอส-คู-ลอส;; ราว 525/524 – 456/455 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประพันธ์บทละครชาวกรีกโบราณ และได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งโศกนาฏกรรม งานประพันธ์ของเอสคีลัสเป็นงานโศกนาฏกรรมชุดแรกสุดที่เหลือรอดมาจากยุคโบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานประเภทนี้ในสมัยแรกเริ่ม ล้วนแต่ได้มาจากการอนุมานผ่านงานที่หลงเหลืออยู่ของท่าน เอสคีลัสจึงเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์วรรณกรรมกรีกโบราณ อริสโตเติลให้เครดิตเอสคีลิสในฐานะเป็นศิลปินคนแรกที่ขยายจำนวนนักแสดงบนเวทีการละครของกรีก ทำให้สามารถนำเสนอความขัดแย้งระหว่างตัวละครได้ ในขณะที่ก่อนหน้านั้นการละครของกรีกมีแค่ตัวนักแสดงนำกับกลุ่มประสานเสียง (คอรัส) ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ เอสคีลัสประพันธ์บทละครไว้ระหว่าง 70 ถึง 90 เรื่อง แต่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันเพียง 7 เรื่อง หนึ่งในนั้น พันธนาการโพรมีเทียส (Prometheus Bound) ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องตัวตนของผู้ประพันธ์ (บ้างเชื่อว่า ยูฟอเรียน บุตรชายของเอสคีลัส เป็นผู้แต่งขึ้น) งานนาฎกรรมบทละครที่เอสคีลัสประพันธ์ขึ้น เป็นงานที่แต่งเพื่อเข้าแข่งขันในงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเทศกาลไดโอไนซัส ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ ที่เมืองไดโอไนเซีย (Dionysia) ซึ่งมีการแข่งขันสองรอบ คือ รอบแข่งขันงานโศกนาฏกรรม และรอบแข่งขันงานสุขนาฏกรรม (comedies) งานทั้งหมดที่เหลือรอดมาของเอสคิลัส ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย, ศึกเจ็ดขุนพลชิงธีบส์, ดรุณีร้องทุกข์, ไตรภาคโศกนาฏกรรม โอเรสเตอา ประกอบด้วย: อะกาเมมนอน, ผู้ถือทักษิโณทก (the Libation Bearers), และ ยูเมนิดีส (the Eumenides) เคยได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันละครโศกนาฏกรรม ที่เมืองไดโอไนเซียมาแล้วทั้งสิ้น เว้นก็แต่ พันธนาการโพรมีเทียส เท่านั้น นอกจากนี้เอสคิลัสอาจเป็นนาฏศิลปินเพียงท่านเดียว (เท่าที่ทราบ) ที่เคยนำเสนอละครเป็นโศกนาฏการมไตรภาค ละครเรื่อง โอเรสเตอา เป็นตัวอย่างเดียวของบทประพันธ์ไตรภาคที่หลงเหลือมาจากยุคโบราณ ในวัยหนุ่มเอสคีลัสเคยเป็นทหารที่ร่วมรบในสงครามระหว่างกรีซกับเปอร์เซียทั้งสองครั้ง ในตอนต้นของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ในปีที่ 490 ก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส

สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วรรณกรรมกรีกโบราณ

วรรณกรรมกรีกโบราณ

หน้ากระดาษจากหนังสือเรื่อง ''งานและวัน'' ของเฮสิโอด ฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1539 วรรณกรรมกรีกโบราณ คือ วรรณคดีที่เขียนด้วยภาษากรีกโบราณ ตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีการจารึกเป็นภาษากรีกต่อมาจนถึงสมัยจักรวรรดิไบเซนไทน์ งานวรรณคดีภาษากรีกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมา คือ มหากาพย์สองเรื่องที่กวีโฮเมอร์รจนาขึ้นในยุคอาร์เคอิก หรือประมาณศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล ได้แก่ อีเลียด และโอดิสซี ซึ่งเล่าเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคขุนศึกของอารยธรรมไมซีนี มหากาพย์สองเรื่องนี้ กับงานเขียนร้อยกรองในยุคเดียวกัน ได้แก่ เพลงสวดโฮเมอริค (Homeric Hymns) และบทกวีอีกสองเรื่องของเฮสิโอด คือ ธีออโกนี (Theogony) และ งานและวัน (works and days) ถือได้ว่าเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและรากฐานของธรรมเนียมทางวรรณกรรมของชาวกรีก สืบต่อไปถึงยุคคลาสสิค, สมัยอารยธรรมเฮเลนิสติก และยังเป็นรากฐานให้กับวรรณคดีของชาวโรมันอีกด้วย งานวรรณกรรมกรีกโบราณ เริ่มต้นขึ้นจากบทกวีขับร้องประกอบการเล่นดนตรีอย่างเช่น มหากาพย์ของโฮเมอร์ และบทกวีไลริค (lyric poetry) ซึ่งมีกวีนามอุโฆษ เช่น แซพโพ อัลซีอัส และพินดาร์ เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลในช่วงยุคบุกเบิกของศิลปะทางกวีนิพนธ์ ต่อมามีการพัฒนาศิลปะการละครขึ้น งานนาฏกรรมบทละครที่ตกทอดมาได้แก่ของ เอสคิลัส (ราว 525-456 ก.คริสต์) ซอโฟคลีส (497-406 ก.คริสต์) ยูริพิดีส (480-406 ก.คริสต์) และอริสโตฟานีส (446-436 ก.คริสต์) ในบรรดานาฏศิลปินทั้งสี่ เอสคิลัสเป็นนักประพันธ์ละครคนแรกสุดที่มีงานตกทอดมาถึงเราอย่างสมบูรณ์ ซอโฟคลีสเป็นนักแต่งบทละครที่มีชื่อเสียงจากงานโศกนาฏกรรมไตรภาคเกี่ยวกับอีดิปัส โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอีดิปัส (Oedipus Rex) และแอนติโกเน่ฯ ยูริพิดีสมีชื่อเสียงจากการสร้างงานประพันธ์ที่พยายามท้าทายขอบเขตของโศกนาฏกรรม ส่วนนักประพันธ์สุขนาฏกรรม (หรือ หัสนาฏกรรม) อริสโตฟานีสมีปรีชาสามารถในสาขางานสุขนาฏกรรมแบบดั้งเดิม (old comedy) ในขณะที่เมแนนเดอร์เป็นผู้บุกเบิกสุขนาฏกรรมใหม่ ภาพวาดจากซีนในบทสนทนา ซิมโพเซียม (ปรัชญาว่าด้วยความรัก) ของเพลโต (Anselm Feuerbach, 1873) สำหรับงานร้อยแก้วมีเฮโรโดตัส และธิวซิดิดีส เป็นผู้บุกเบิกงานเขียนทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกรีซในช่วงศตวรรษที่ 5 (และความเป็นมาก่อนหน้านั้น) ซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งสองท่านมีชีวิตอยู่ เพลโตถ่ายทอดความคิดเชิงปรัชญาผ่านบทสนทนา ซึ่งมีโสเครตีสผู้เป็นอาจารย์ของท่านเป็นจุดศูนย์กลาง ในขณะที่อริสโตเติ้ลลูกศิษย์ของเพลโตบุกเบิกสาขาปรัชญาใหม่ๆ รวมทั้งพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลายแขนง รวมทั้งการจำแนกหมวดหมู่สัตว์ และทฤษฎีทางกลศาสตร์ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่สังคมตะวันตกยึดถือกันต่อมาอีกเกือบสองพันปีจนกระทั่งถูกเปลี่ยนแปลงในสมัยของไอแซก นิวตัน.

วรรณกรรมกรีกโบราณและสงครามกรุงทรอย · วรรณกรรมกรีกโบราณและเอสคิลัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส

สงครามกรุงทรอย มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอสคิลัส มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.70% = 1 / (30 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามกรุงทรอยและเอสคิลัส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »