ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามกรุงทรอยและอะธีนา
สงครามกรุงทรอยและอะธีนา มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อีเลียดซูสแอโฟรไดทีโพรมีเทียสโฮเมอร์เฮอร์มีสเฮเลนแห่งทรอย
อีเลียด
ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.
สงครามกรุงทรอยและอีเลียด · อะธีนาและอีเลียด ·
ซูส
ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.
ซูสและสงครามกรุงทรอย · ซูสและอะธีนา ·
แอโฟรไดที
แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.
สงครามกรุงทรอยและแอโฟรไดที · อะธีนาและแอโฟรไดที ·
โพรมีเทียส
วาดโพรมีเธียสขโมยไฟมาให้มนุษย์ วาดโดย ไฮน์ริช ฟูเกอร์ ในปี ค.ศ. 1817 โพรมีเทียส หรือ โพรมีทีอูส (Prometheus, Προμηθεύς แปลว่า มองการณ์ไกล) เป็นเทพไททันองค์หนึ่งที่มีความเฉลียวฉลาด เป็นผู้ขโมยไฟจากเฮสเทีย เทพีแห่งเตาไฟ ลงไปให้มนุษย์ จึงทำให้มนุษย์รู้จักใช้ไฟในการหุงหาอาหารและใช้เพื่อแสงสว่างจนสามารถสร้างอารยธรรมต่างๆ ได้ จึงทำให้ซูสโกรธและลงโทษโพรมีเทียสด้วยการขังไว้ในถ้ำบนคอคาซัส และมีนกอินทรียักษ์มาจิกกินตับของโพรมีเทียสทุกวันโดยที่ไม่ตาย และทุกคืนตับของโพรมีเทียสจะงอกใหม่เพื่อให้นกอินทรียักษ์จิกกินในวันรุ่งขึ้น แต่สำหรับมนุษย์แล้ว โพรมีเทียสถือว่าเป็นเทพที่กล้าหาญและเป็นเพื่อนที่ดีต่อมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องและนับถือ.
สงครามกรุงทรอยและโพรมีเทียส · อะธีนาและโพรมีเทียส ·
โฮเมอร์
รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.
สงครามกรุงทรอยและโฮเมอร์ · อะธีนาและโฮเมอร์ ·
เฮอร์มีส
อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.
สงครามกรุงทรอยและเฮอร์มีส · อะธีนาและเฮอร์มีส ·
เฮเลนแห่งทรอย
เฮเลนแห่งทรอย ภาพวาด ''เฮเลนกับปารีส'' โดย ฌาคส์-หลุยส์ เดวิด ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประเทศฝรั่งเศส เฮเลน (Helen, ภาษากรีกว่า Ἑλένη – Helénē) คือหญิงสาวผู้เป็นชนวนศึกในสงครามเมืองทรอย ปกรณัมเก่าแก่ของกรีก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานมหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ ส่วนใหญ่มักเรียกชื่อนางว่า เฮเลนแห่งสปาร์ตา หรือ เฮเลนแห่งทรอย นางเป็นบุตรีของเทพซูสกับนางลีดา มีพี่ชายคือแคสเตอร์ พอลลักซ์ และคลีเทมเนสตรา เมื่อเฮเลนเติบโตถึงวัยวิวาห์ บิดามารดาได้จัดพิธีเลือกคู่ให้แก่นาง โดยมีกษัตริย์ เจ้าชาย และนักรบจากเมืองต่างๆ ทั่วแคว้นกรีกมาร่วมงาน ได้แก่ โอดิซูส เมเนสทีอัส ไดโอมีดีส อจักซ์ ปโตรกลัส เมนนิเลอัส และอักกะเมมนอน นางเลือกเมนนิลิอัสเป็นคู่วิวาห์ ส่วนกษัตริย์อื่นต่างให้สัญญาว่าจะคอยช่วยปกป้องนาง เฮเลนมีชื่อเสียงว่าเป็นหญิงงามไม่อาจหามนุษย์ผู้ใดเทียบได้ เมื่อครั้งปารีสแห่งทรอยเป็นผู้ตัดสินความงามระหว่างเหล่าเทพี อโฟรไดท์สัญญาว่าจะให้นางเฮเลนแก่เขาหากเขาเลือกให้พระนางเป็นเทพีผู้งามที่สุด เหตุนี้ปารีสจึงมาชิงตัวเฮเลนไปเสียโดยความช่วยเหลือของเทพเจ้า แล้วพานางหนีกลับไปเมืองทรอย ทำให้เหล่ากษัตริย์ที่ได้ให้สัตย์ไว้ต่อเมนนิลิอัส ต้องยกทัพมาช่วยเหลือเพื่อชิงนางเฮเลนกลับคืน หมวดหมู่:อีเลียด หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ สงครามกรุงทรอยและอะธีนา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามกรุงทรอยและอะธีนา
การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามกรุงทรอยและอะธีนา
สงครามกรุงทรอย มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ อะธีนา มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 10.94% = 7 / (30 + 34)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามกรุงทรอยและอะธีนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: