โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามเพโลพอนนีเซียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามเพโลพอนนีเซียน

สงครามกรีก-เปอร์เซีย vs. สงครามเพโลพอนนีเซียน

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี. งครามเพโลพอนนีเซียน หรือ สงครามเพโลพอนนีส (Peloponnesian War; 431–404 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา สงครามนี้ออกเป็นสามช่วง โดยช่วงแรกเรียกว่า "สงครามอาร์คีเดเมีย" (Archidamian War) เป็นการรุกรานแอททิกาของกองทัพสปาร์ตา ในขณะที่ฝ่ายเอเธนส์ใช้กองเรือที่มีประสิทธิภาพโจมตีกลับ สงครามช่วงนี้จบลงในปีที่ 421 ก่อนคริสตกาล ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพนิซิอัส แต่ต่อมาในปีที่ 415 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลับยกทัพบุกซีรากูซาบนเกาะซิซิลี แต่ล้มเหลว ช่วงที่สามของสงคราม สปาร์ตาได้สนับสนุนให้มีการก่อกบฏขึ้นตามนครรัฐใต้อำนาจเอเธนส์ จนนำไปสู่ยุทธนาวีที่เอกอสพอทาไมที่เป็นจุดยุติสงครามในที่สุด เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีต่อม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามเพโลพอนนีเซียน

สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามเพโลพอนนีเซียน มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรีซโบราณสปาร์ตาอานาโตเลียจักรวรรดิอะคีเมนิดเพริคลีส

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

กรีซโบราณและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · กรีซโบราณและสงครามเพโลพอนนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

สงครามกรีก-เปอร์เซียและสปาร์ตา · สงครามเพโลพอนนีเซียนและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

สงครามกรีก-เปอร์เซียและอานาโตเลีย · สงครามเพโลพอนนีเซียนและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

จักรวรรดิอะคีเมนิดและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · จักรวรรดิอะคีเมนิดและสงครามเพโลพอนนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

เพริคลีส

ริคลีส (Pericles; Περικλῆς "เป-ริ-แคลส"; ราว 495 – 429 ก่อนคริสตกาล)เป็นรัฐบุรุษ นักปราศัย และนายพล ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลอย่างสูง แห่งนครรัฐเอเธนส์ ในช่วงยุครุ่งเรืองของนครรัฐเอเธนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กรีกทำสงครามสู้รบกับเปอร์เซีย (ดู สงครามกรีก-เปอร์เซีย) และ ในช่วงมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน เพริคลีสสืบเชื้อสายทางฝ่ายแม่มาจากตระกูลแอลคมีโอนิดีที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจ โดยเป็นหลานตาของ ไคลสธีนีส รัฐบุรุษผู้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้กับชาวเอเธนส์ เพริคลีสเป็นนักการเมืองที่อิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อนครเอเธนส์ ท่านมีส่วนอย่างมากในการสร้างอัตลักษณ์และความเจริญให้กับเอธนส์ใช่วงยุครุ่งเรือง ทิวซิดิดีสนักประวัติที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับท่าน ขนานนามเพริคลีสว่าเป็น "พลเมืองหมายเลขหนึ่งของเอเธนส์"Thucydides, 2.65 เพริคลีสเปลี่ยนสันนิบาตดีเลียน (League of Delian) ให้กลายเป็นจักรวรรดิทางทะเลที่มีศูนย์กลางที่เอเธนส์ และเป็นผู้นำของชาวเอเธนส์จนถึงช่วงสองปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ในช่วงระหว่างปี 461 ถึง 429 ก่อนคริสตกาล เพริคลีสนำนครเอเธนส์รุ่งเรืองจนสู่ขีดสูงสุด ท่านส่งเสริมการพัฒนางานศิลปะ วรรณกรรม และวิทยาการความรู้สาขาต่างๆ จนผลักดันให้เอเธนส์กลายเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมและการศึกษาของโลกกรีซโบราณ เพริคลีสริเริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่มากมายจนเปลี่ยนเอเธนส์ให้กลายเป็นนครที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมหินอ่อนที่อลังการ รวมไปถึงวิหารพาร์เธนอน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นบนอะโครโพลิสของเอเธนส์มาจนปัจจุบัน โปรเจกต์ก่อสร้างเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ และช่วยปกป้องตัวเมืองจากศัตรู แต่ยังสร้างงานให้กับประชากรเอเธนส์ ยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ยุคสมัยของเพริคลีส" เพริคลีสเป็นนักพูดที่มีทักษะและไหวพริบมาก นอกจากนี้ยังเป็นรัฐบุรุษที่มีสเน่ห์และมีบารมีน่ายำเกรง เพราะมาจากตระกูลชนชั้นสูง เพริคลีสมักใช้ทักษะการพูด กล่าวตักเตือนให้ประชาชนของเอเธนส์มีความภาคภูมิใจในชาติ และมีความสามัคคีกัน ซึ่งจะเห็นได้จากเนื้อหาของสุนทรพจน์ไว้อาลัยของเพริคลีส (Pericles' Funeral Oration) ที่ให้ไว้ต่อชาวเอเธนส์เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตในปีแรกของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน กล่าวกันว่านครเอเธนส์เป็นประชาธิปไตยอยู่ได้อย่างมั่นคงก็เพราะมีนักการเมืองอย่างเพริคลีสเป็นผู้ชี้นำ เพริคลีสจึงไม่ได้เป็นเพียงนักการเมืองประชานิยมที่เก่งกาจ แต่ยังเป็นผู้นำทางจิตใจและทางศีลธรรมของชาวเอเธนส์ด้ว.

สงครามกรีก-เปอร์เซียและเพริคลีส · สงครามเพโลพอนนีเซียนและเพริคลีส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามเพโลพอนนีเซียน

สงครามกรีก-เปอร์เซีย มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามเพโลพอนนีเซียน มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 10.64% = 5 / (29 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามกรีก-เปอร์เซียและสงครามเพโลพอนนีเซียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »