โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามและสัญญาประชาคม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สงครามและสัญญาประชาคม

สงคราม vs. สัญญาประชาคม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน.. ัญญาประชาคม (Social contract) ในความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน หมายถึง ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ความหมายที่แท้จริงนั้น "สัญญาประชาคม" หมายถึง ทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นนัยตามหลักกฎหมายธรรมชาติ มีลักษณะเป็น สำนึกของจริยธรรม ที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป (อาจเรียกได้ว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง) เพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่ แนวคิดเช่นนี้เองที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยตรรกะจากสำนึกจริยธรรมดังกล่าว หากมองในมุมกลับกันก็หมายความว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชนนั่นเอง ดังนั้นประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา และในการนี้วิธีที่เหมาะสมก็คือการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน สัญญาประชาคม นิยาม สัญญาประชาคม (Social Contract) เป็นการสมรสระหว่างคำสองคำ คือ คำว่า “สัญญา” ซึ่งหมายถึงข้อตกลง กับคำว่า “ประชาคม” ซึ่งหมายถึงชุมชนหรือกลุ่มชนซึ่งอยู่ร่วมกันและมีการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยเมื่อรวมกันแล้วจะมีความหมายว่า การทำข้อตกลงกันของประชาชนในสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยส่วนใหญ่แล้วคำว่าสัญญาประชาคมนี้มักจะถูกนำไปใช้ในสองลักษณะ คือ ในความหมายแบบแคบที่หมายถึงตัวทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 และในความหมายแบบกว้างที่หมายถึงพันธสัญญาทางการเมืองระหว่างนักการเมืองกับประชาชน (Kurian, 2011: 1548) ที่มา แนวคิดสัญญาประชาคมเกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 17 เพื่อที่จะอธิบายที่มาของสังคมการเมือง และสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลที่ปกครองอยู่ในขณะนั้น โดยอธิบายถึงที่มาในการจัดตั้งสังคมการเมืองของมวลมนุษยชาติว่าเกิดจากการตกลงร่วมกันของมนุษย์ในสภาวะที่ยังไม่มีรัฐ หรือ สภาวะธรรมชาติ (state of nature) ที่จะยินยอมสละสิทธิบางอย่างให้แก่ผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่ดูแลปกครอง และจัดตั้งสังคมการเมืองขึ้นมา โดยทฤษฎีสัญญาประชาคมนี้จะแตกต่างออกไปจากแนวคิดเรื่องที่มาของรัฐที่มีอยู่เดิมตั้งแต่สมัยกรีกโบราณว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติจากการที่มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นสัตว์การเมือง (man is by nature a political animal) แต่ในทางกลับกันทฤษฎีสัญญาประชาคมจะอธิบายว่าสังคมการเมืองนั้นเกิดจากการที่มนุษย์ในสภาวะธรรมชาติได้ตกลงร่วมกันในการจัดตั้งสังคมการเมืองและการปกครองขึ้นมาเองในภายหลังต่างหาก (Wolff, 1996: 6-8) ในโลกตะวันตกนั้นแนวคิดทฤษฎีสัญญาประชาคมนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (โปรดดู Sovereignty of the people) เพราะการที่สังคมการเมืองเกิดขึ้นจากการตกลงกันของประชาชนในสังคม ดังนั้นความชอบธรรมของรัฐบาลหรือผู้ปกครองจึงอยู่ที่การได้รับความยินยอม และการยอมรับจากประชาชน แต่ทั้งหลายทั้งปวงแนวคิดเกี่ยวกับการกำเนิดของรัฐและสังคมโดยทฤษฎีสัญญาประชาคมที่ว่านี้เป็นเพียงการตั้งสมมติฐาน (hypothetical) ภายในห้วงความคิดของนักทฤษฎีการเมืองอย่าง โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ล็อก (John Lock) หรือ ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) มากกว่าที่จะเกิดขึ้นจริง กล่าวคือไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ว่าการตกลงทำสัญญาประชาคมนี้ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะทฤษฎีนี้เพียงแต่ต้องการสร้างชุดคำอธิบายขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้การปกครองสมัยใหม่เท่านั้นเอง (Wolff, 1996: 37-39) แต่ทว่าในปัจจุบัน คำว่า สัญญาประชาคม ในโลกตะวันตกได้ถูกนำมาใช้ในความหมายกว้าง ที่หมายถึงการทำข้อตกลงบางอย่างที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมจริงมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของทฤษฎีที่อธิบายการกำเนิดของรัฐเหมือนในศตวรรษที่ 17-18 ดังนั้น สัญญาประชาคมในยุคปัจจุบันนี้จึงหมายถึงข้อตกลงระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคมในเรื่องหนึ่งๆ เพื่อที่จะหาข้อสรุปที่เป็นฉันทามติร่วมกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์เหล่านั้นในสังคม นอกจากนี้ คำว่าสัญญาประชาคมในความหมายกว้างในปัจจุบันนี้มักนำมาใช้กับการให้คำมั่นสัญญาทางการเมืองระหว่างนักการเมืองกับประชาชนผ่านนโยบายในการหาเสียงเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งไปดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ เช่น การที่ประธานาธิบดีบารัคโอบามาได้ให้สัญญากับประชาชนสหรัฐอเมริกาต่อนโยบายถอนทหาร และยุติสงครามในต่างแดน ซึ่งภายหลังจากการที่นายโอบามาได้รับการเลือกตั้งให้กลับเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งนั้น สหรัฐอเมริกาก็ได้แสดงท่าทีในการยุติสงครามในอิรัก และอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะนโยบายการถอนทหารสหรัฐอเมริกาออกจากประเทศดังกล่าว และปล่อยให้กองกำลังความมั่นคง (security force) ของประเทศเหล่านั้นดูแลจัดการความสงบเรียบร้อยภายในประเทศเอง ซึ่งนโยบายที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้นายโอบามาได้นำมาเป็นหนึ่งในประเด็นหลักที่เขาได้แถลงต่อสภาคองเกรสในต้นปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สงครามและสัญญาประชาคม

สงครามและสัญญาประชาคม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สงครามและสัญญาประชาคม

สงคราม มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัญญาประชาคม มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (15 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สงครามและสัญญาประชาคม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »