เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล

สกุลแพนเทอรา vs. เสือโคร่งเบงกอล

กุลแพนเทอรา (Roaring cat) เป็นสกุลของวงศ์ Felidae (วงศ์แมว) ที่ประกอบไปด้วย เสือโคร่ง, สิงโต, เสือจากัวร์, และ เสือดาว สปีชีส์ของสกุลเป็นสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งของวงศ์ย่อย Pantherinae ใช้ชื่อสกุลว่า Panthera เสือในสกุลแพทเทอรา ทั้ง 4 ชนิดมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ช่วยให้พวกมันสามารถคำรามได้ เริ่มแรกมีสมมุติฐานว่าเกิดจากการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงว่าความสามารถในการคำรามมาจากลักษณะสัณฐานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องเสียง เสือดาวหิมะ (Uncia uncia) บางครั้งถูกรวมอยู่ในสกุล Panthera แต่มันไม่สามารถคำรามได้ เพราะแม้ว่ามันมีขบวนการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่ขาดลักษณะพิเศษของกล่องเสียงไป. ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล

สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การสูญพันธุ์วงศ์เสือและแมวสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคาโรลัส ลินเนียสเสือโคร่งเสือโคร่งไซบีเรีย

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

การสูญพันธุ์และสกุลแพนเทอรา · การสูญพันธุ์และเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

วงศ์เสือและแมวและสกุลแพนเทอรา · วงศ์เสือและแมวและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สกุลแพนเทอราและสัตว์ · สัตว์และเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

สกุลแพนเทอราและสัตว์กินเนื้อ · สัตว์กินเนื้อและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สกุลแพนเทอราและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

สกุลแพนเทอราและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

คาโรลัส ลินเนียสและสกุลแพนเทอรา · คาโรลัส ลินเนียสและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

สกุลแพนเทอราและเสือโคร่ง · เสือโคร่งและเสือโคร่งเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งไซบีเรีย

ือโคร่งไซบีเรีย หรือ เสือโคร่งอามูร์ หรือ เสือโคร่งจีนเหนือ หรือ เสือโคร่งแมนจูเรีย (Siberian tiger จีนตัวเต็ม: 东北虎; จีนตัวย่อ: 東北虎; รัสเซีย: Амурский тигр; มองโกล: Сибирийн бар; เปอร์เซีย: ببر سیبری; เกาหลี: 시베리아호랑이) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่ง (P. tigris) เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึงเกือบ 3 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 300 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัว ในอดีต เสือโคร่งไซบีเรียเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางของทวีปเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียมีแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นป่าผืนเล็กที่อยู่ตอนเหนือของเมืองวลาดิวอสตอค ประเทศรัสเซีย ตามแนวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นทางตอนเหนือ และมีจำนวนเพียง 400 ตัว การทำเหมืองแร่และการทำไม้ในแถบไซบีเรียตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นของเสือโคร่งไซบีเรีย ที่ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1990 มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในเทือกเขาฉางไป๋ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในประเทศเกาหลีเหนือ สันนิษฐานว่ายังมีเสือโคร่งไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขาเปกดู ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อเทือกเขาฉางไป๋ของจีน ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย พบอาศัยอยู่ในป่าไทก้าของไซบีเรีย คาดมีเหลืออยู่ในธรรมชาติราวกว่า 200 ตัว ส่วนในจีนคาดว่ามีประมาณ 14-17 ตัว โดยพบล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน..

สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งไซบีเรีย · เสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่งไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล

สกุลแพนเทอรา มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสือโคร่งเบงกอล มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 12.86% = 9 / (43 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สกุลแพนเทอราและเสือโคร่งเบงกอล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: