เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอกเฟนเนก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอกเฟนเนก

สกุลวูลเปส vs. หมาจิ้งจอกเฟนเนก

กุลวูลเปส (Fox, True fox) เป็นสกุลของหมาจิ้งจอกสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Vulpes จัดได้ว่าเป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ ซึ่งคำว่า "Vulpes" เป็นภาษาลาตินหมายถึง "หมาจิ้งจอก" สกุลวูลเปส นับเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของหมาจิ้งจอก คือ มีทั้งหมด 12 ชนิด โดยมี หมาจิ้งจอกแดง (Vulpes vulpes) เป็นต้นแบบของสกุล พบกระจายพันธุ์ไปแทบทุกส่วนของโลก ทั้ง ป่า, ชายป่าใกล้ชุมชนมนุษย์, ทะเลทราย, ที่ราบสูง หรือแม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ. หมาจิ้งจอกเฟนเนก หรือ หมาจิ้งจอกทะเลทราย (Fennec fox, Desert fox) เป็นหมาจิ้งจอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vulpes zerda อยู่ในวงศ์สุนัข (Canidae) หมาจิ้งจอกเฟนเนกเป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก ถือได้ว่าเป็นสัตว์ในวงศ์สุนัขที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เนื่องจากขนาดเมื่อโตเต็มที่แล้ว มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 1.75 กิโลกรัมสำหรับตัวผู้ และ 1.25 กิโลกรัมสำหรับตัวเมีย ซึ่งถือได้ว่าเล็กกว่าสุนัขบ้านเสียอีก นับได้ว่ามีขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับชิวาวา ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็ก และมีความยาวลำตัวประมาณ 24-40 เซนติเมตร มีความยาวหาง 8 นิ้ว มีขนสีน้ำตาลเหลืองตลอดทั้งตัว ดวงตาสีดำ มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ ใบหูที่ยาวมาก บางตัวอาจยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร คล้ายกับหมาจิ้งจอกหูค้างคาว (Otocyon megalotis) ซึ่งถือได้ว่าเป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็กเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หมาจิ้งจอกเฟนเนกมีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา โดยอาศัยอยู่ในทะเลทราย มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก หากินในเวลากลางคืน โดยมีอาหารหลักคือ แมลงชนิดต่าง ๆ ด้วยการขุดคุ้ยจากการฟังเสียงจากใบหูที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถกินสัตว์ที่มีขนาดเล็ก, ไข่นก และผลไม้ได้อีกด้วย กระนั้นหมาจิ้งจอกเฟนเนกก็ยังตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อีกด้วย แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เหมาะกับการอาศัยอยู่ในทะเลทราย ทำให้สามารถเอาตัวรอดได้ โดยขนที่อุ้งเท้าจะหนาสำหรับใช้เดินบนพื้นทรายที่ร้อนระอุได้ ขนสีน้ำตาลเหมือนสีของทรายของช่วยให้อำพรางตัวได้ในทะเลทราย นอกจากนี้แล้วยังหนาต่างจากสัตว์ที่อยู่ในทะเลทรายจำพวกอื่น ๆ โดยขนจะทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดดในเวลากลางวันออกไป ส่วนตอนกลางคืนก็ทำหน้าที่สะสมความอบอุ่นไว้เพื่อต่อสู้กับความหนาวเย็น เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคึน ขยายพันธุ์ด้วยการตั้งท้องนานครั้งละ 2 เดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 9 เดือน โดยจะตกลูกปี​ละ​ครั้ง ​เป็น​สัตว์​ที่​มี​คู่​ตัว​เดียว​ตลอด​ชีวิต ตัวผู้​จะ​ดุร้าย​และ​หวง​คู่ อีก​ทั้ง​ทำ​หน้าที่​คอย​หา​อาหาร​ให้​ตัวเมีย​ตลอด​เวลา​ช่วง​ที่​ตั้ง​ท้อง​และ​ให้​นม ตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว คำว่า "เฟนเนก" นั้น มาจากภาษาอาหรับคำว่า "ثعلب" (fanak) หมายถึง "หมาจิ้งจอก" ส่วนชื่อชนิดทางวิทยาศาตร์คำว่า zerda มาจากภาษากรีกคำว่า xeros ซึ่งหมายถึง "ความแห้ง" อันหมายถึงสภาพของสถานที่อยู่อาศัยนั่นเอง ด้วยรูปลักษณ์ที่น่ารัก และมีขนาดเล็ก จึงทำให้หมาจิ้งจอกเฟนเนกกลายเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งของมนุษย์ เช่นเดียวกับ สัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นฉายาของทีมฟุตบอลทีมชาติแอลจีเรียอีกด้วย โดยเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Les Fennecs หมายถึง "หมาจิ้งจอกทะเลทราย".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอกเฟนเนก

สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอกเฟนเนก มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณแห้งแล้งการตั้งชื่อทวินามสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์หมาจิ้งจอก

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

บริเวณแห้งแล้งและสกุลวูลเปส · บริเวณแห้งแล้งและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและสกุลวูลเปส · การตั้งชื่อทวินามและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สกุลวูลเปสและสัตว์ · สัตว์และหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

สกุลวูลเปสและสัตว์กินเนื้อ · สัตว์กินเนื้อและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สกุลวูลเปสและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

สกุลวูลเปสและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

สกุลวูลเปสและสปีชีส์ · สปีชีส์และหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอก · หมาจิ้งจอกและหมาจิ้งจอกเฟนเนก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอกเฟนเนก

สกุลวูลเปส มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ หมาจิ้งจอกเฟนเนก มี 44 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 12.12% = 8 / (22 + 44)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สกุลวูลเปสและหมาจิ้งจอกเฟนเนก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: