โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สกุลบาร์โบนีมัสและอุทยานแห่งชาติเขาสก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง สกุลบาร์โบนีมัสและอุทยานแห่งชาติเขาสก

สกุลบาร์โบนีมัส vs. อุทยานแห่งชาติเขาสก

กุลบาร์โบนีมัส (Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1999 โดยมอริส ก็อตลา ซึ่งเป็นนักมีนวิทยาชาวสวิสที่พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยแยกออกมาจากสกุล Barbodes โดยคำว่า Barbonymus มาจากคำว่า Barbus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์เดียวกัน ที่เคยรวมกันเป็นสกุลเดียวกันก่อนหน้านั้น และคำว่า ἀνώνυμος (anṓnumos) ในภาษากรีกโบราณ ที่แปลว่า "ที่ไม่ระบุชื่อ" เนื่องจากปลาสกุลนี้ก่อนหน้านี้ขาดชื่อทั่วไปที่เหมาะสม. อุทยานแห่งชาติเขาสก มีพื้นที่อยู่ในท้องที่อำเภอพนมและอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสภาพพื้นที่เป็นธรรมชาติอันกว้างใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขตอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน พื้นที่ราบมีน้อย พื้นที่ส่วนหนึ่งด้านทิศเหนือบริเวณคลองพระแสงเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) ประกอบไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด อุทยานแห่งชาติเขาสกมีเนื้อที่ประมาณ 741.01 ตารางกิโลเมตร หรือ 463,131.43 ไร่ ได้มีการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2523.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง สกุลบาร์โบนีมัสและอุทยานแห่งชาติเขาสก

สกุลบาร์โบนีมัสและอุทยานแห่งชาติเขาสก มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวั.

จังหวัดสุราษฎร์ธานีและสกุลบาร์โบนีมัส · จังหวัดสุราษฎร์ธานีและอุทยานแห่งชาติเขาสก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง สกุลบาร์โบนีมัสและอุทยานแห่งชาติเขาสก

สกุลบาร์โบนีมัส มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ อุทยานแห่งชาติเขาสก มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.00% = 1 / (24 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สกุลบาร์โบนีมัสและอุทยานแห่งชาติเขาสก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »