โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาฮินดูและโฮลี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาสนาฮินดูและโฮลี

ศาสนาฮินดู vs. โฮลี

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ. ผู้เข้าร่วมเทศกาล ผงสี โฮลี (Holi) คำว่า "โฮลี" หมายถึง "การส่งท้ายปีเก่า" เป็นเทศกาลฉลองรื่นเริงที่มีพื้นเพมาจากความเชื่อในศาสนาฮินดูในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยชาวฮินดูจะออกมาเล่นสาดสีใส่กัน โฮลีจัดขึ้น 2 วันในช่วงเดือนมีนาคม (แรม 1 ค่ำ เดือน 4) เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า "เทศกาลแห่งสีสัน" เนื่องจากผู้คนจะออกมาเฉลิมฉลองด้วยการสาดสีหรือป้ายสี ซึ่งเป็นฝุ่นผงใส่กัน ด้วยสีสันต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน ซึ่งการสาดสีใส่กันนี้สันนิษฐานว่า เป็นพื้นเพที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมา และปรับเปลี่ยนเป็นการสาดน้ำใส่กันแทน คือ สงกรานต์ ฝุ่นผงสีที่ใช้สาดกันนั้นจะทำมาจากธรรมชาติ เช่น ดอกทองกวาว, บีทรูท, ขมิ้น อันเป็นนัยที่บ่งบอกถึงการสิ้นสุดของฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ มีขนมที่ทำเพื่อรับประทานโดยเฉพาะในเทศกาลนี้ ที่ทำมาจากนมและนมเปรี้ยวเป็นหลัก เชื่อกันว่าหากได้รับประทานขนมด้วยจิตใจเบิกบานจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีของการเริ่มต้นปีใหม่ การสาดสีใส่กันนั้น เชื่อว่า เป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย มีปกรณัมมากมายเกี่ยวกับที่มาของเทศกาลนี้ แต่ที่เชื่อกันมากที่สุด คือ การเฉลิมฉลองที่พระวิษณุ หนึ่งในตรีมูรติ เอาชนะนางมารโฮลิกะ ซึ่งเป็นน้องสาวของหิรัณยกศิปุ ที่ดูหมิ่นผู้ที่นับถือพระองค์ ทำให้นางมารถูกไฟแผดเผาจนมอดไหม้ วันก่อนการสาดสีจะมีการก่อกองไฟเพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีไปจากจิตใจ การสาดสีจะเล่นกันเฉพาะช่วงเช้าจนถึงเที่ยงวันเท่านั้น จากนั้น ผู้คนก็จะแยกย้ายไปพักผ่อน เมื่อตกเย็นจะออกมาพบปะสังสรรค์กัน แจกขนมหวานและสวมกอดกัน เทศกาลโฮลี่จึงถือเป็นเทศกาลแห่งมิตรภาพ มิตรสหายได้แสดงไมตรีเข้าสวมกอดกัน ผู้ที่เคยขัดแย้งกันก็จะได้ปรับความเข้าใจกัน โฮลีมักจัดในประเทศอินเดียและเนปาลเป็นหลัก แต่ยังมีการเฉลิมฉลองโดยชาวฮินดูกลุ่มน้อยในบังกลาเทศและปากีสถานด้วย เช่นเดียวกับประเทศที่มีประชากรเชื้อสายอินเดียพลัดถิ่นขนาดใหญ่ที่นับถือศาสนาฮินดู เช่น ซูรินาม มาเลเซีย กายอานา แอฟริกาใต้ ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา มอริเชียส ฟิจิ และไทย The Wall Street Journal (2013) Visit Berlin, Germany (2012).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาสนาฮินดูและโฮลี

ศาสนาฮินดูและโฮลี มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระวิษณุศาสนาฮินดูตรีมูรติ

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

พระวิษณุและศาสนาฮินดู · พระวิษณุและโฮลี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ศาสนาฮินดูและศาสนาฮินดู · ศาสนาฮินดูและโฮลี · ดูเพิ่มเติม »

ตรีมูรติ

ทวรูปตรีมูรติในศาลเคารพ บริเวณหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ตรีมูรติ เมื่อแยกออกเป็น 3 (จากซ้าย พระพรหม, พระวิษณุ, พระศิวะ) ตรีมูรติ (Trimurati, Trinity; त्रिमूर्ति) คือ การอวตารรวมของพระเป็นเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ (ผู้ปกป้องรักษา) และ พระศิวะ (ผู้ทำลาย) คำว่า ตรีมูรติ มาจากภาษาสันสกฤต ตรี หมายถึง สาม มูรติ หมายถึง รูปแบบ ตรีมูรติ หมายถึง รูปแบบทั้งสามหรือรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ อันประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหลักสำคัญในศาสนาฮินดู หากมองตามหลักปรัชญาสามารถหมายถึง พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย หรือสามารถเปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ และ ดับไป.

ตรีมูรติและศาสนาฮินดู · ตรีมูรติและโฮลี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาสนาฮินดูและโฮลี

ศาสนาฮินดู มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ โฮลี มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 3 / (24 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนาฮินดูและโฮลี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »