โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน

ศาสนาอิสลาม vs. อัลกุรอาน

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู. อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน

ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มุสลิมมุฮัมมัดอัลลอฮ์ฮัจญ์นบีโมเสส

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

มุสลิมและศาสนาอิสลาม · มุสลิมและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

มุฮัมมัดและศาสนาอิสลาม · มุฮัมมัดและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ศาสนาอิสลามและอัลลอฮ์ · อัลกุรอานและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺ แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันทำนุบำรุง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม.

ศาสนาอิสลามและฮัจญ์ · อัลกุรอานและฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

นบีและศาสนาอิสลาม · นบีและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ศาสนาอิสลามและโมเสส · อัลกุรอานและโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน

ศาสนาอิสลาม มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ อัลกุรอาน มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 11.32% = 6 / (33 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »