โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาพุทธแบบทิเบตและโพธิสัตว์ศีล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาสนาพุทธแบบทิเบตและโพธิสัตว์ศีล

ศาสนาพุทธแบบทิเบต vs. โพธิสัตว์ศีล

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต. ัตว์ศีล คือศีลที่ปรากฏเฉพาะในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้สมาทานศีลนี้ มีความสำรวมทั้งกาย วาจา ใจเพื่อการก้าวสู่สถานะพระโพธิสัตว์รื้อขนสรรพสัตว์สู่พระนิพพาน โดยปกติแล้วฝ่ายบรรพชิตฝ่ายเถรวาทจะถือพระปาติโมกข์หรือศีล 227 ข้อ หรือที่ฝ่ายมหายานเรียกในภาษสันสกฤตว่า ปราติโมกษ์ โดยบรรพชิตฝ่ายมหายานก็ถือศีลชุดนี้เช่นกัน โดยอาศัยพระวินัยปิฎกจากพระไตรปิฎกของนิกายธรรมคุปต์ ซึ่งมีเนื้อหาตรงกับพระวินัยและ/หรือพระปาติโมกข์ของฝ่ายเถรวาท โดยบรรจุรวมอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาจีน อย่างไรก็ตาม นอกจากปาติโมกข์ หรือปราติโมกษ์ แล้ว บรรพชิตฝ่ายมหายานยังถือโพธิสัตว์ศีลอีกด้วย เพื่อขัดเกลาตนเองและศีลให้บริสุทธิ์สมกับการดำเนินตามครรลองโพธิสัตว์มรรคยิ่งขึ้น อันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญของพุทธศาสนิกชนนิกายมหายาน เสถียร โพธินันทะ ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา และผู้แปลพระวินัยในพุทธศาสนามหายาน กล่าวถึงโพธิสัตว์ศีลไว้ในหนังสือ "ประมวญกำหนดสิกขาบทในอุตตรนิกาย" ไว้ว่า "อนึ่ง ถ้าจะพิจารณาตามกำเนิดของลัทธิมหายาน จักประจักษ์ว่า เป็นด้วยวัตถุประสงค์ส่งเสริมจริยาแห่งพระบรมโพธิสัตว์เป็นสำคัญ โดยสอนให้บุคคลตั้งปณิธาน มุ่งพระพุทธภูมิ เพื่อมีโอกาสในการโปรดสรรพสัตว์ได้กว้างขวาง ฉะนั้น ลัทธิมหายานจึงมีสิกขาบทพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีในลัทธิฝ่ายสาวกยานนั่นคือ “โพธิสัตว์สิกขาบท” หรือ “โพธิสัตว์ศีล” ซึ่งศีลประเภทนี้ เป็นสาธรณทั่วไป แก่บรรพชิต และฆราวาสชน มิได้จำกัดเพศ ใคร ก็ตามที่มีโพธิจิตต์ตั้งความปรารถนา จักลุพุทธภูมิไซร้ ก็ย่อมบำเพ็ญตามสิกขาบทนี้ และโพธิจริยาอื่นๆ มีทศบารมี เป็นต้น" โพธิสัตว์ศีล ของฝ่ายมหายานปรากฏในในพรหมชาลสูตร (มหายาน) ซึ่งระบุถึงศีลสำหรับพระโพธิสัตว์ อันเป็นมูลฐานของการเป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และพุทธะธาตุ หรือความเป็นพุทธะในตัวของสรรพสัตว์ แบ่งออกเป็นมหาโพธิสัตว์ศีล 10 (ครุกาบัติ) และจุลโพธิสัตว์ศีล 48 (ลหุกาบัติ) รวมเป็นโพธิสัตว์ศีล 58 ทั้งนี้ หากละเมิดครุกาบัติถือเป็นปาราชิก อย่างไรก็ตาม อาบัติโทษสถานหนัก 10 ข้อ แยกไว้เป็น 3 ประเภท เจตนา บังเอิญ หรือ สุดวิสัย คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาสนาพุทธแบบทิเบตและโพธิสัตว์ศีล

ศาสนาพุทธแบบทิเบตและโพธิสัตว์ศีล มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหายานเถรวาท

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

มหายานและศาสนาพุทธแบบทิเบต · มหายานและโพธิสัตว์ศีล · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ศาสนาพุทธแบบทิเบตและเถรวาท · เถรวาทและโพธิสัตว์ศีล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาสนาพุทธแบบทิเบตและโพธิสัตว์ศีล

ศาสนาพุทธแบบทิเบต มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ โพธิสัตว์ศีล มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.41% = 2 / (75 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนาพุทธแบบทิเบตและโพธิสัตว์ศีล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »