เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ศาสนาคริสต์และเพรสไบทีเรียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาสนาคริสต์และเพรสไบทีเรียน

ศาสนาคริสต์ vs. เพรสไบทีเรียน

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913. ็อง กาลแว็ง นิกายเพรสไบทีเรียนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 431 (Presbyterianism) เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีต้นกำเนิดที่สกอตแลนด์ ยึดถือแนวคิดทางเทววิทยาแบบลัทธิคาลวิน และมีการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน หลักเทววิทยาแบบเพรสไบทีเรียนเน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า สิทธิอำนาจของคัมภีร์ไบเบิล และการรับพระคุณจากพระเจ้าได้โดยการศรัทธาในพระเยซูเท่านั้น ในสกอตแลนด์วิธีการปกครองคริสตจักรของเพรสไบทีเรียนได้รับการรับประกันตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 นิกายเพรสไบทีเรียนสมัยใหม่สืบเค้าไปได้ถึงการปฏิรูปศาสนาในสกอตแลนด์ คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งปกครองโดยคณะธรรมกิจซึ่งมาจากตัวแทนของคริสตจักรนั้น ในทางทฤษฎีนิกายนี้ไม่มีการแต่งตั้งบิชอป แต่มีการสถาปนาโดยการเลือกตั้งคณะผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่อภิบาลคริสต์ศาสนิกชนหรือสมาชิกคริสตจักร รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ในคริสตจักร มีมัคนายกทำหน้าที่ดูแลสมาชิกและครอบครัวและส่วนมากดูแลเรื่องการเงินของคริสตจักร ผู้ปกครองและมัคนายกจะมีวาระการประจำการ วาระละ 2-3 ปี แล้วแต่คริสตจักรนั้น ๆ จะกำหนด ตำแหน่งผู้ปกครองเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วจะอยู่ในศาสนศักดิ์นั้นตลอดชีพ นิกายเพรสไบทีเรียนมีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีฌ็อง กาลแว็งเป็นหนึ่งในนักปฏิรูปคนสำคัญ คริสตจักรปฏิรูปส่วนมากสืบมีวิธีการปกครองที่สามารถสืบย้อนไปได้ทั้งแบบเพรสไบทีเรียนและคองกรีเกชันแนล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนหลายแห่งเริ่มมีบทบาทในขบวนการคริสต์ศาสนสัมพันธ์ เช่น การตั้งสภาคริสตจักรสากล บางคริสตจักรในนิกายนี้ยังเริ่มหันมาทำงานร่วมกับคริสตจักรปฏิรูปกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็เข้าร่วมกลุ่มกับนิกายอื่นเลย เช่น คริสตจักรคองกรีเกชันแนล ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาสนาคริสต์และเพรสไบทีเรียน

ศาสนาคริสต์และเพรสไบทีเรียน มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเยซูการปฏิรูปศาสนามุขนายกคริสต์ศาสนิกชนคัมภีร์ไบเบิลโปรเตสแตนต์เทววิทยา

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

พระเยซูและศาสนาคริสต์ · พระเยซูและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนา

การปฏิรูปศาสนา อาจหมายถึงการปฏิรูปทางศาสนาคริสต์ที่สำคัญๆในประวัติศาสตร์ยุโรป ซึ่งมีหลายครั้ง ได้แก.

การปฏิรูปศาสนาและศาสนาคริสต์ · การปฏิรูปศาสนาและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

มุขนายกและศาสนาคริสต์ · มุขนายกและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

คริสต์ศาสนิกชนและศาสนาคริสต์ · คริสต์ศาสนิกชนและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

คัมภีร์ไบเบิลและศาสนาคริสต์ · คัมภีร์ไบเบิลและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ศาสนาคริสต์และโปรเตสแตนต์ · เพรสไบทีเรียนและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ศาสนาคริสต์และเทววิทยา · เทววิทยาและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาสนาคริสต์และเพรสไบทีเรียน

ศาสนาคริสต์ มี 89 ความสัมพันธ์ขณะที่ เพรสไบทีเรียน มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 6.36% = 7 / (89 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนาคริสต์และเพรสไบทีเรียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: