โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนา

ดัชนี ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

34 ความสัมพันธ์: ชินโตพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554กฎหมายการไม่มีศาสนาภาษาสันสกฤตลัทธิลัทธิบัวขาวลัทธิบาบีลัทธิช็อนโดลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าลัทธิเซียนเทียนเต้าศาสนาบาไฮศาสนาพุทธศาสนามาณีกีศาสนายูดาห์ศาสนาอับราฮัมศาสนาอิสลามศาสนาอียิปต์โบราณศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์ศาสนาซิกข์ศาสนาแบบอินเดียศาสนาโซโรอัสเตอร์ศาสนาเชนศาสนาเทนริเกียวศีลธรรมสำนักงานราชบัณฑิตยสภาอวสานวิทยาจริยธรรมธรรมความหมายของชีวิตความเชื่อ

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: ศาสนาและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ศาสนาและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมาย

กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ" ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน..

ใหม่!!: ศาสนาและกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

การไม่มีศาสนา

การแบ่งประเทศตามร้อยละของการให้ความสำคัญแก่ศาสนา ตามผลสำรวจของสำนักวิจัยพิว ใน พ.ศ. 2545 การไม่มีศาสนา (Irreligion หรือ No religion) หมายความว่า ภาวะที่ไม่นับถือศาสนา ไม่แบ่งแยกศาสนา หรือเป็นปรปักษ์ต่อศาสนา ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา ว่ากันตามแต่ละนิยามหรือความเข้าใจของบุคคล การไม่มีศาสนาอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึง อเทวนิยม (atheism), อไญยนิยม (agnosticism), ศาสนวิมตินิยม (religious skepticism) หรือ มนุษยนิยมแบบฆราวาส (secular humanism) เป็นต้น สำหรับในบางสังคมอาจไม่ยอมรับการไม่มีศาสนา หรืออาจมีอคติต่อผู้ที่ไม่มีศาสนา เช่นการเหมารวมว่าคนที่ไม่มีศาสนาทั้งหมดคือคนที่ชั่วร้าย เป็นต้น บ่อยครั้งที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้ก่อเหตุอาชญากรรมหรือผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา แม้ว่าผู้ก่อเหตุจะแสดงตัวว่ามีศาสนาก็ตาม ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจเข้าใจการไม่มีศาสนาเท่า ๆ กับศาสนิกชน เช่น ผู้นับถือลัทธิมนุษยนิยมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งยิ่งในวัตรปฏิบัติของตนเองพอ ๆ กับความลึกซึ้งของความเชื่อที่ศาสนิกชนมีต่อศาสนาของตน เป็นต้น ถึงแม้ว่าคนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาจะมิได้รับนับถือศาสนาใด ๆ แต่ผู้ที่ไม่มีศาสนาบางกลุ่มยังคงเชื่อถือในเทวะหรือผีสางนางไม้เป็นต้น เช่น คนที่นับถือผีหรือเชื่อโชคลาง แต่ไม่ได้ประกอบพิธีกรรมใด ๆ หรือไม่ได้เป็นศาสนิก เป็นต้น พึงทราบว่า ในบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบีย บังคับให้พลเมืองต้องเป็นศาสนิกชน หรือประเทศไทย ผู้ที่ไม่มีศาสนาอาจถูกระบุโดยบุคคลอื่นว่าเป็นพุทธศาสนิกชน หรือในบางสังคมที่ไม่ยอมรับการไม่มีศาสนาอาจมีผู้ที่ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนาในการสำรวจข้อมูลหรือการทำสำมะโนประชากร ดังนั้น จำนวนของผู้ที่ไม่มีศาสนาในโลกนี้จึงยังไม่อาจระบุให้เป็นที่แน่นอนได้ แต่คาดว่าอาจมีมากกว่า 900 ล้านคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ศาสนาและการไม่มีศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ศาสนาและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิ

ลัทธิ (ลทฺธิ; doctrine) หมายถึง ความเชื่อ ความคิดเห็น และหลักการ เกี่ยวกับศาสนา ปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม ที่นับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา จนเป็นอุดมการณ์ของกลุ่มชนหรือสำนักวิชาการต่าง ๆ เช่น สังคมนิยม ชาตินิยม ทุนนิยม เป็นต้น.

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบัวขาว

ลัทธิบัวขาว (白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป.

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิบัวขาว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิบาบี

ลัทธิบาบี (Babism) หรือ อัลบาบียะฮ์ (Babi; (بابی ها)) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่พระบาบก่อตั้งขึ้นในประเทศอิหร่าน เขาประกาศตัวว่าเป็นทายาทของกาซิม รัชติ ผู้นำทางศาสนาคนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาได้อ้างว่าตนเองเป็นประตูสู่อิหม่ามมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 ตามความเชื่อของมุสลิมชีอะฮ์ ต่อมาเขากลับอ้างว่าเป็นอิหม่ามมะฮ์ดีเสียเอง และในท้ายที่สุดอ้างตนเป็นผู้เผยพระวจนะ ความเคลื่อนไหวของเขาและสาวกเรียกว่าขบวนการบาบี (Bábí) บาบถูกจำคุกระหว่าง..

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิบาบี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิช็อนโด

ชอนโดเกียว (ภาษาเกาหลี: ฮันกุล: 천도교; ฮันจา: 天道敎; อังกฤษ: Cheondoism) หรือ ศาสนาแห่งวิถีสวรรค์ ศาสนานี้แสดงออกอย่างเปิดเผยว่า "รักชาติ" และก่อตั้งมาเพื่อต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการรุกรานของต่างชาติ ศาสนาวิถีแห่งสวรรค์ก่อตั้งเมื่อคริสต์ศักราช 1860 ในช่วงแรกเรียกว่า "ทงฮัก" ซึ่งมีความหมายว่า "การเรียนรู้แบบตะวันออก" แตกต่างกับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นตัวแทนในเวลานั้น ขบวนการนี้เติบโตจนถึงขึ้นมาเป็นการปฏิวัติชาวนาในคริสต์ศักราช 1890 และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ชอนโดเกียว" ผู้นำศาสนานี้มีบทบาทสำคัญในขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นสมัยอาณานิคม หมวดหมู่:ลัทธิ หมวดหมู่:ศาสนา หมวดหมู่:ประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิช็อนโด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเซียนเทียนเต้า

อักษร 母 ''หมู่'' หมายถึง ''''พระแม่องค์ธรรม'''' พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิเซียนเทียนเต้าและอีก 5 ลัทธิที่แตกแขนงออกมา ลัทธิเซียนเทียนเต้า (先天道 Xiāntiān Dào) เป็นลัทธิศาสนาหนึ่งที่หวง เต๋อฮุย ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสืบความเชื่อมาจากลัทธิบัวขาวในสมัยราชวงศ์หยวน นอกจากนี้ยังรับคำสอนมาจากลัทธิหลัวด้วย ลัทธิเซียนเทียนเต้าเป็นต้นกำเนิดของอีก 5 ลัทธิที่แยกตัวออกมาภายหลัง ได้แก่ ลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิถงซั่นเซ่อ ลัทธิฉือฮุ่ยถัง ลัทธิเทียนเต๋อเซิ่ง และลัทธิเต้าเยวี่ยน, Division of Religion and Philosophy, University of Cumbria, เรียกข้อมูลวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: ศาสนาและลัทธิเซียนเทียนเต้า · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบาบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลก โดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนามาณีกี

นามาณีกี หรือ ศาสนามานี หรือ มานีธรรม (मानी धर्म - Manichaeism) หรือ หมอหนีเจี้ยว หรือ ม๊อนี้ก่า (摩尼教) เป็นศาสนาแบบ เอกเทวนิยม และไญยนิยม (Gnosticism) ที่มีต้นกำเนิดในจักรวรรดิแซสซานิด มีพระมานีหัยยา (मानी हय्या) เป็นศาสดา แม้ว่างานเขียนของท่านจะหายสาบสูญไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงมีฉบับแปลในภาษาต่าง ๆ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ศาสนามานี เป็นสาขาหนึ่งของ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ เป็นต้นกำเนิดของ ลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และ ลัทธิอนุตตรธรรม สอนเชิงจักรวาลวิทยาว่าจักรวาลแบ่งออกเป็นของด้าน คือด้านความดีงาม จิตวิญญาณ และความสว่าง กับความชั่วร้าย วัตถุ และความมืด สันนิษฐานว่าศาสนามานีได้รับแนวคิดนี้มาจากแนวคิดของพวกไญยนิยมในเมโสโปเตเมีย ศาสนามานีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและภาษาซีรีแอก ราว คริสต์ศตวรรษที่ 3 - 7 จนกลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งในยุคนั้น ศาสนจักรมานีแพร่ไปทางตะวันออกไกลถึงประเทศจีน และทางตะวันตกไกลถึงจักรวรรดิโรมัน โดยมีศาสนิกชนส่วนมากเป็นทหาร จนได้ชื่อว่าเป็นศาสนาของกองทัพ และกลายเป็นคู่แข่งของศาสนาคริสต์ แทนลัทธิเพกันที่เสื่อมไปก่อนหน้านั้นแล้ว ศาสนามานีในภูมิภาคตะวันออกดำรงอยู่นานกว่าทางตะวันตก โดยเสื่อมสลายไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทางใต้ของจีน ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่า ชาวมานี หรือ มานีเชียน ซึ่งในปัจจุบันใช้หมายรวมถึง ผู้มีแนวคิดทางจริยศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่มองศีลธรรมแบบทวินิยม คือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนามาณีกี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอียิปต์โบราณ

thumb เทพปกรณัมแห่งไอยคุปต์ หรือ ศาสนาของชาวไอยคุปต์ (อียิปต์โบราณ) คือศาสนาหรือความเชื่อในรูปแบบพหุเทวนิยม ของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อกว่า 3,000 ปีที่แล้ว โดยจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ที่สำคัญๆ ได้แก่ เทพรา เทพโอสิริส เทพโฮรุส เทพอานูบิส เทวีไอสิส เทวีเสลเคต อิมโฮเตป อาเมนโฮเตป เป็นต้น หมวดหมู่:อียิปต์โบราณ หมวดหมู่:เทพปกรณัม หมวดหมู่:เทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาซิกข์

ัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์ที่ใช้ในปัจจุบัน ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิกข์ (ਸਿੱਖੀ, สัท.:, Sikhism) เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของ นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า "คุรมัต" (ความหมายโดยพยัญชนะ หมายถึง "คำสอนของคุรุ" หรือ "ธรรมของซิกข์") คำว่า "ซิกข์" หรือ "สิกข์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศิษฺย" หมายถึง ศิษย์ ผู้เรียน หรือ "ศิกฺษ" หมายถึง การเรียน และภาษาบาลีว่า "สิกฺข" หรือ "สิกฺขา" หมายถึง การศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้ ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม เนื่องจากหลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์ สาหิพ" ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสา ปันถ (Khalsa Panth) การสอนและหลักปฏิบัติของศาสนาซิกข์มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคปัญจาบในลักษณะต่างๆ กัน ชาวซิกข์ทุกคนต้องทำพิธี "ปาหุล" คือพิธีล้างบาป เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะรับเอา "กะ" คือสิ่งที่เริ่มต้นด้วยอักษร "ก" 5 ประการ ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาซิกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาแบบอินเดีย

นาแบบอินเดีย (Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์Adams, C. J.,, Encyclopædia Britannica, 2007.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาแบบอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาโซโรอัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเชน

ระมหาวีระ ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (Jainism) เป็นศาสนาแบบอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเป็นเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาเชน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาเทนริเกียว

ศาสนาเทนริเกียว เน้นความคิดและการปฏิบัติเพื่อละจากความยึดในตัวตนอันเป็นมายา หรือการสร้างพิธีกรรมที่ต้องการร่วมใจกัน เช่น การร่ายรำร้องเพลง การสวด ซึ่งช่วยสลายความเป็นปัจเจกชนและเอื้อให้เกิดการยอมรับตัวตนใหม่ทางศาสนาได้ง่ายขึ้น หมวดหมู่:ศาสนา.

ใหม่!!: ศาสนาและศาสนาเทนริเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ศีลธรรม

ีลธรรม (Morality) หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลและธรรม ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5 และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้ ศีลธรรม เป็นชื่อวิชาหนึ่งในโรงเรียนที่กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียนมาตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่า วิชาศีลธรรม ปัจจุบันเรียกว่า วิชาพุทธศาสน.

ใหม่!!: ศาสนาและศีลธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ศาสนาและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

อวสานวิทยา

อวสานวิทยา หรือ โลกาวินาศศาสตร์ (Eschatology) เป็นการศึกษาเหตุการณ์ที่จะเป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลก หรือชะตากรรมสุดท้ายของมนุษยชาติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงการสิ้นสุดของทั้งจักรวาล.

ใหม่!!: ศาสนาและอวสานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

ใหม่!!: ศาสนาและจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธรรม

รรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที.

ใหม่!!: ศาสนาและธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ความหมายของชีวิต

วามหมายของชีวิต เป็นคำถามปรัชญาว่าด้วยความสำคัญของชีวิตหรือการดำรงอยู่โดยทั่วไป คำถามนี้สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น "ทำไมเราจึงอยู่ที่นี่" "ชีวิตเกี่ยวกับอะไรกันแน่" และ "อะไรคือจุดประสงค์ของการดำรงอยู่" ความหมายของชีวิตเป็นหัวข้อการคาดคะเนทางปรัชญา วิทยาศาสตร์และเทววิทยามากมายตลอดประวัติศาสตร์ มีการเสนอคำตอบจำนวนมากของคำถามนี้จากภูมิหลังทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ต่าง ๆ ความหมายของชีวิตอยู่ในแนวคิดทางปรัชญาและศาสนาเรื่องการดำรงอยู่ ความสัมพันธ์ทางสังคม พิชานและความสุข และคล้ายกับประเด็นอื่นอีกมาก เช่น ความหมายเชิงสัญลักษณ์ ภววิทยา คุณค่า จุดประสงค์ จริยศาสตร์ ความดีและความชั่ว เจตจำนงเสรี การดำรงอยู่ของพระเป็นเจ้าหนึ่งหรือหลายองค์ แนวคิดพระเป็นเจ้า วิญญาณและชีวิตหลังความตาย ผลงานวิทยาศาสตร์มุ่งอธิบายข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่สัมพันธ์กันเกี่ยวกับจักรวาล สำรวจบริบทและตัวแปรเสริมเกี่ยวกับ "อย่างไร" ของชีวิต (how of life) วิทยาศาสต์ยังศึกษาและสามารถให้การแนะนำการแสวงความเป็นอยู่ดี (well-being) และแนวคิดศีลธรรมที่สัมพันธ์กัน แนวเข้าสู่การศึกษาแบบมนุษยนิยมตั้งคำถามว่า "อะไรคือความหมายของชีวิตฉัน" คุณค่าของคำถามนี้อาจพ้องกับการบรรลุความเป็นจริงอันติมะ (ultimate reality) หรือความรู้สึกรวมเป็นหนึ่ง (oneness) หรือกระทั่งความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ (sacredness).

ใหม่!!: ศาสนาและความหมายของชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: ศาสนาและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Belief systemsการศาสนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »