โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนศึกษาและเทวัสนิยม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ศาสนศึกษาและเทวัสนิยม

ศาสนศึกษา vs. เทวัสนิยม

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ศาสนศึกษา (religious studies; religious education) คือสาขาวิชาที่ศึกษาความเชื่อ พฤติกรรม และสถาบันทางศาสนา โดยการบรรยาย ตีความ และอธิบาย ศาสนาอย่างเป็นระบบ อิงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และมุมมองจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย ศาสนศึกษาต่างจากเทววิทยาซึ่งเน้นศึกษาเพื่อให้เกิดความเชื่อและเข้าใจอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า แต่ศาสนศึกษาจะศึกษาจากมุมมองของคนนอก จึงมีการใช้หลายสาขาวิชามาเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้วย เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา และประวัติศาสตร์ศาสนา ศาสนศึกษาเกิดขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลด้วยหลักวิชาประวัติศาสตร์กำลังเป็นที่นิยม และคัมภีร์ของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูก็เพิ่งถูกแปลเป็นภาษายุโรปเป็นครั้งแรก นักศาสนศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในยุคแรก ๆ คือ ศาสตราจารย์มักซ์ มึลเลอร์ ในช่วงแรกนั้นยังใช้ชื่อว่าศาสนาเปรียบเทียบหรือศาสนศาสตร. เทวัสนิยม (deism) เป็นแนวความคิดที่สำคัญในศตวรรษที่ 18 โดยในศตวรรษนี้เป็นยุคแห่งเหตุผล นักคิดทั้งหลายต่างพยายามที่จะสร้างระบบการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ที่ได้ผลและสมเหตุสมผลขึ้น โดยไม่ยอมพึ่งพาอาศัยอำนาจเหนือธรรมชาติต่าง ๆ พระเจ้าเป็นเพียงผู้สร้างโลกเท่านั้น เราจะเห็นการแบ่งเป็นฝักฝ่ายระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้น พวกหัวเก่าโจมตีพวกหัวใหม่ว่าต่อไปนี้จะไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์หลงเหลืออยู่อีก การถกเถียงเป็นไปอย่างกว้างขวางอันเป็นเหตุให้เกิดความคิดแบบเทวัสนิยมขึ้นมา พวกนี้เชื่อในพระเจ้าแต่ในขณะเดียวกันก็เชื่อมั่นในเหตุผลและคิดว่าจะสามารถใช้เหตุผลพิสูจน์ในเรื่องพระเจ้าได้ พวกนี้เชื่อต่อไปอีกว่าเหตุผลเท่านั้นที่จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจศาสนาและศีลธรรมอย่างถูกต้อง พวกนี้ถือว่าพระเจ้านั้นมีอยู่ ทว่าหลังจากที่ทรงสร้างโลกแล้วก็มิได้ลงมายุ่งเกี่ยวกับมนุษย์อีกเลย พวกนี้ยอมรับศาสนาในสมัยแรกเริ่ม แต่มักจะโจมตีศาสนาในระยะหลังที่มีพิธีการ มีพระเป็นผู้สืบศาสนา พวกนี้เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุผลอยู่ในตัว เพียงแต่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่สามารถจะบังคับในตัวเองให้ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ทำให้พระเข้ามามีบทบาทได้ ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้ว มนุษย์ทุกคนเข้าถึงและรู้เข้าใจเกี่ยวกับศาสนาเป็นอย่างดี ตัวอย่างผู้มีความเชื่อแบบเทวัสนิยม ได้แก่ เบนจามิน แฟรงคลินและวอลแตร์ หมวดหมู่:ความเชื่อ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ศาสนศึกษาและเทวัสนิยม

ศาสนศึกษาและเทวัสนิยม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ศาสนศึกษาและเทวัสนิยม

ศาสนศึกษา มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทวัสนิยม มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (19 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ศาสนศึกษาและเทวัสนิยม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »